"ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง" เผย 87 ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ จาก 25 พรรคการเมืองขาดคุณสมบัติ แนะยื่นศาลฎีกาให้ตรวจสอบและวินิจฉัยภายใน 7 วัน
วันที่ 7 ม.ค. 57 นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เปิดเผยว่า ผลการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พบว่ามีผู้สมัครจำนวน 87 รายจาก 25 พรรคการเมืองขาดคุณสมบัติ แบ่งเป็นขาดคุณสมบัติจากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง 60 ราย เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ครบ 30 วัน 25 ราย อยู่ระหว่างการเพิกถอนสิทธิ์ 1 ราย และอายุไม่ครบ 25 ปีบริบูรณ์ 1 ราย
โดยในจำนวนนี้มีผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยจำนวน 4 คน คือนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง นายจรัล ดิษฐาอภิชัย พล.ต.อ.วิรุฬ ฟื้นแสน และนายถาวร ตรีรัตณรงค์ พรรคภูมิใจไทย 7 คน เช่น นายศุภชัย ใจสมุทร พรรคชาติพัฒนา 2 คน พรรคชาติไทยพัฒนาจำนวน 4 คน
โดย กกต.แนะนำให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั้งหมดใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาของ ส.ว.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งให้ตรวจสอบและวินิจฉัยภายใน 7 วัน ส่วนการดำเนินคดีกับผู้สมัครและผู้เกี่ยวข้องจะมีการพิจารณาในข้อกฎหมาย และฐานความผิดหลังมีข้อยุติในชั้นการพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว
ทั้งนี้ เลขาธิการ กกต. กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมตรี มีมติกู้เงินเพื่อดำเนินโครงการจำนำข้าวเพิ่มเติมว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 181 ระบุชัดให้ ครม.ต้องแจ้งต่อ กกต.เพื่อพิจารณา เพราะเข้าข่ายโครงการ ที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลชุดต่อไป และต้องขอความเห็นชอบจาก กกต.ก่อน แต่ขณะนี้ ยังไม่มีการทำเรื่องแจ้งมายัง กกต. นอกจากนี้ หากมีการใช้งบกลางในการดำเนินการใดๆ ก็ต้องขอความเห็นชอบจาก กกต.เช่นกัน
ส่วนกรณีที่ กปปส.ประกาศตั้งเวทีการชุมนุม ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ห้ามข้าราชการในศูนย์ราชการทำงานนั้น ทาง กกต.ได้เตรียมแผนและสถานที่ทำงานรองรับแล้ว โดยจะเปิดเผย ข้อมูลวันศุกร์ที่จะถึงนี้ โดยยืนยันว่า กกต.มีความพร้อมในการทำหน้าที่ และมั่นใจว่า การเลือกตั้งในไทยจะไม่เหมือนบังกลาเทศ
ซึ่ง กกต. มีมติให้ใช้รูปแบบการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ภายใต้สโลแกน รู้หน้าที่ รักษาสิทธิ โดยสุจริตและเที่ยงธรรม เน้นการสื่อสารทางการเมือง 4 ด้าน คือ ความเป็นกลาง ความเป็นมืออาชีพ ยึดกฎหมายในการปฏิบัติงานและไร้ความรุนแรง พร้อมขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐปลดป้าย งดสื่อโฆษณาทุกรูปแบบซึ่งปรากฏรูปภาพนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ออกทั้งหมด ป้องกันการร้องเรียนเรื่องทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
http://www.thairath.co.th/content/pol/394373
มีแต่เรื่องวุ่นไม่รู้จบ ไม่รู้ว่ากว่าจะถึงวันที่ 2 กุมภา 57 จะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับดินแดนสารขัณฑ์แห่งนี้อีกนะ
ส่อวุ่น! 87ผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์ ขาดคุณสมบัติ
"ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง" เผย 87 ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ จาก 25 พรรคการเมืองขาดคุณสมบัติ แนะยื่นศาลฎีกาให้ตรวจสอบและวินิจฉัยภายใน 7 วัน
วันที่ 7 ม.ค. 57 นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เปิดเผยว่า ผลการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามการสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พบว่ามีผู้สมัครจำนวน 87 รายจาก 25 พรรคการเมืองขาดคุณสมบัติ แบ่งเป็นขาดคุณสมบัติจากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง 60 ราย เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ครบ 30 วัน 25 ราย อยู่ระหว่างการเพิกถอนสิทธิ์ 1 ราย และอายุไม่ครบ 25 ปีบริบูรณ์ 1 ราย
โดยในจำนวนนี้มีผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยจำนวน 4 คน คือนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง นายจรัล ดิษฐาอภิชัย พล.ต.อ.วิรุฬ ฟื้นแสน และนายถาวร ตรีรัตณรงค์ พรรคภูมิใจไทย 7 คน เช่น นายศุภชัย ใจสมุทร พรรคชาติพัฒนา 2 คน พรรคชาติไทยพัฒนาจำนวน 4 คน
โดย กกต.แนะนำให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั้งหมดใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาของ ส.ว.ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งให้ตรวจสอบและวินิจฉัยภายใน 7 วัน ส่วนการดำเนินคดีกับผู้สมัครและผู้เกี่ยวข้องจะมีการพิจารณาในข้อกฎหมาย และฐานความผิดหลังมีข้อยุติในชั้นการพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว
ทั้งนี้ เลขาธิการ กกต. กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมตรี มีมติกู้เงินเพื่อดำเนินโครงการจำนำข้าวเพิ่มเติมว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 181 ระบุชัดให้ ครม.ต้องแจ้งต่อ กกต.เพื่อพิจารณา เพราะเข้าข่ายโครงการ ที่มีผลผูกพันกับรัฐบาลชุดต่อไป และต้องขอความเห็นชอบจาก กกต.ก่อน แต่ขณะนี้ ยังไม่มีการทำเรื่องแจ้งมายัง กกต. นอกจากนี้ หากมีการใช้งบกลางในการดำเนินการใดๆ ก็ต้องขอความเห็นชอบจาก กกต.เช่นกัน
ส่วนกรณีที่ กปปส.ประกาศตั้งเวทีการชุมนุม ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ห้ามข้าราชการในศูนย์ราชการทำงานนั้น ทาง กกต.ได้เตรียมแผนและสถานที่ทำงานรองรับแล้ว โดยจะเปิดเผย ข้อมูลวันศุกร์ที่จะถึงนี้ โดยยืนยันว่า กกต.มีความพร้อมในการทำหน้าที่ และมั่นใจว่า การเลือกตั้งในไทยจะไม่เหมือนบังกลาเทศ
ซึ่ง กกต. มีมติให้ใช้รูปแบบการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ภายใต้สโลแกน รู้หน้าที่ รักษาสิทธิ โดยสุจริตและเที่ยงธรรม เน้นการสื่อสารทางการเมือง 4 ด้าน คือ ความเป็นกลาง ความเป็นมืออาชีพ ยึดกฎหมายในการปฏิบัติงานและไร้ความรุนแรง พร้อมขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐปลดป้าย งดสื่อโฆษณาทุกรูปแบบซึ่งปรากฏรูปภาพนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ออกทั้งหมด ป้องกันการร้องเรียนเรื่องทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
http://www.thairath.co.th/content/pol/394373
มีแต่เรื่องวุ่นไม่รู้จบ ไม่รู้ว่ากว่าจะถึงวันที่ 2 กุมภา 57 จะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับดินแดนสารขัณฑ์แห่งนี้อีกนะ