สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
คุณ "คนกาฬสินธุ์" เข้าใจผิดชนิดตรงกันข้ามเลยครับ นั่นคือ ทองคำรูปพรรณในไทยนั้นมีความบริสุทธิ์สูงกว่าทองคำในตลาดยุโรปและอเมริกา ฉะนั้นเมื่อเอาทองคำรูปพรรณที่ซื้อจากยุโรปหรืออเมริกาที่เรียกกันว่าทอง K ไปขายให้กับร้านทองในเมืองไทย เขาจะปฏิเสธโดยไม่ยอมรับซื้อเอาเลย
ทองคำเมืองไทยค่อนข้างที่จะมีเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นและแตกต่างจากประเทศอื่นๆ กล่าวคือ ตลาดในประเทศจะนิยมเครื่องประดับทองคำที่มีลักษณะเป็นทองคำล้วนหรือทองรูปพรรณความบริสุทธิ์ 96.5% หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ทองตู้แดง" (ตั้งชื่อตามสีของตู้โชว์ในร้านจำหน่ายทอง) หรือ "ทองเยาวราช" (ตั้งชื่อตามย่านเยาวราชที่เป็นแหล่งจำหน่ายทองรูปพรรณ 96.5% ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด) ทองชนิดนี้มีวิวัฒนาการมาจากช่างทองชาวจีนบนพื้นฐานของค่านิยมทองคำที่มีความบริสุทธิ์สูงและมีสีเหลืองสุกสว่างสวยงาม คงทนแข็งแรงพอสมควร จึงมาลงตัวที่ 96.5% ซึ่งเป็นระบบที่แตกต่างไปจากมาตรฐานสากลที่เป็นระบบกะรัตหรือ K (เช่น 18 K = ทอง 75%)
ถึงแม้ทองรูปพรรณ 96.5% นี้จะมีความโดดเด่นที่เป็นข้อดีอยู่ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญบางประการซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมให้เป็นที่แพร่หลายและยอมรับกันในวงกว้าง โดยเฉพาะในระดับนานาชาติ ประการแรกคือเรื่องของระดับความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5% ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกซึ่งเป็นระบบ K (96.5% เทียบเท่ากับ 23.16 K)
ประการต่อมาคือการที่ทองรูปพรรณชนิดนี้ใช้ฝีมือคนทำเป็นหลักในการสร้างสรรค์ลวดลายและรูปแบบให้สวยงาม มีชิ้นส่วนปลีกย่อยและรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงทำให้ต้องมีการใช้น้ำประสานทอง (solder) ที่มีความบริสุทธิ์ของทองคำต่ำกว่าเกณฑ์ในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันค่อนข้างมาก ทำให้เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะพบว่าค่าความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ทั้งชิ้นไม่ได้เป็นไปตามค่า 96.5% ตามที่ระบุไว้ที่สินค้า ซึ่งในประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของทองต่ำกว่ามาตรฐานมากในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายการสลักเครื่องหมายรับประกันค่าความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า (hallmarking) หรือกฏหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับทองคำโดยตรงเหมือนในประเทศอื่นๆ
ตัวอย่างรูปเครื่องประดับทองคำในยุโรปที่ปั๊มค่าของทองคำบนเครื่องทองไว้ทุกชิ้นตามที่กฏหมายกำหนด
ความนิยมชมชอบความบริสุทธิ์ของทองคำสำหรับผู้ซื้อทองคำรูปพรรณในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป อย่างเช่น จีนนิยมทองคำบริสุทธ์ 99% ขึ้นไปหรือเท่ากับ 24 K อาหรับนิยมทองคำ 87.5% = 21 K อินเดีย 91.6% = 22 K เป็นต้น
สำหรับประเทศในยุโรปเองก็ยังนิยมแตกต่างกันไป ตามตารางที่ให้ไว้จะเห็นว่า เยอรมนีนั้นอนุญาตให้ใช้คำว่า "ทองคำ" สำหรับเครื่องประดับที่มีทองคำผสมตั้งแต่ 33.3% = 8 K ขึ้นไป เรียกได้ว่ายอมรับในอัตราที่ต่ำที่สุดขึ้นไปเลย
ในขณะที่ประเทศอื่นๆ นั้น จะใช้คำว่า "ทองคำ" ได้ต้องมีทองคำตั้งแต่ 75% = 18 K ขึ้นไป อย่างเช่น สวิตเซอร์แลนด์นั้นต้องมี 18 K ขึ้นไปนะครับไม่ใช่ต่ำกว่านี้ตามที่คุณ Willkommen เข้าใจ เช่นเดียวกับ อิตาลี และ ฝรั่งเศส เป็นต้น
ตลาดขายทองคำในยุโรปจะแตกต่างจากไทยที่มีร้านขายเครื่องประดับทองคำโดยเฉพาะ แต่ในยุโรปทองคำรูปพรรณจะเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับมีค่า จึงมีธุรกิจร้านค้าขายเครื่องประดับราคาแพงโดยเฉพาะ ซึ่งร้านเหล่านี้จะขายสินค้าคู่กันระหว่างเครื่องประดับและนาฬิกาตามรูปตัวอย่างที่คุณ Wilkommen โพสต์ไว้ให้ดู หรือแม้แต่จะแยกขายกันไปต่างหากเลยก็ได้ ซึ่งจะมีอยู่ทั่วไปในใจกลางเมืองเล็กเมืองใหญ่
ทองคำเมืองไทยค่อนข้างที่จะมีเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นและแตกต่างจากประเทศอื่นๆ กล่าวคือ ตลาดในประเทศจะนิยมเครื่องประดับทองคำที่มีลักษณะเป็นทองคำล้วนหรือทองรูปพรรณความบริสุทธิ์ 96.5% หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ทองตู้แดง" (ตั้งชื่อตามสีของตู้โชว์ในร้านจำหน่ายทอง) หรือ "ทองเยาวราช" (ตั้งชื่อตามย่านเยาวราชที่เป็นแหล่งจำหน่ายทองรูปพรรณ 96.5% ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด) ทองชนิดนี้มีวิวัฒนาการมาจากช่างทองชาวจีนบนพื้นฐานของค่านิยมทองคำที่มีความบริสุทธิ์สูงและมีสีเหลืองสุกสว่างสวยงาม คงทนแข็งแรงพอสมควร จึงมาลงตัวที่ 96.5% ซึ่งเป็นระบบที่แตกต่างไปจากมาตรฐานสากลที่เป็นระบบกะรัตหรือ K (เช่น 18 K = ทอง 75%)
ถึงแม้ทองรูปพรรณ 96.5% นี้จะมีความโดดเด่นที่เป็นข้อดีอยู่ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญบางประการซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมให้เป็นที่แพร่หลายและยอมรับกันในวงกว้าง โดยเฉพาะในระดับนานาชาติ ประการแรกคือเรื่องของระดับความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5% ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกซึ่งเป็นระบบ K (96.5% เทียบเท่ากับ 23.16 K)
ประการต่อมาคือการที่ทองรูปพรรณชนิดนี้ใช้ฝีมือคนทำเป็นหลักในการสร้างสรรค์ลวดลายและรูปแบบให้สวยงาม มีชิ้นส่วนปลีกย่อยและรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงทำให้ต้องมีการใช้น้ำประสานทอง (solder) ที่มีความบริสุทธิ์ของทองคำต่ำกว่าเกณฑ์ในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันค่อนข้างมาก ทำให้เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะพบว่าค่าความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ทั้งชิ้นไม่ได้เป็นไปตามค่า 96.5% ตามที่ระบุไว้ที่สินค้า ซึ่งในประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของทองต่ำกว่ามาตรฐานมากในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายการสลักเครื่องหมายรับประกันค่าความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า (hallmarking) หรือกฏหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับทองคำโดยตรงเหมือนในประเทศอื่นๆ
ตัวอย่างรูปเครื่องประดับทองคำในยุโรปที่ปั๊มค่าของทองคำบนเครื่องทองไว้ทุกชิ้นตามที่กฏหมายกำหนด
ความนิยมชมชอบความบริสุทธิ์ของทองคำสำหรับผู้ซื้อทองคำรูปพรรณในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป อย่างเช่น จีนนิยมทองคำบริสุทธ์ 99% ขึ้นไปหรือเท่ากับ 24 K อาหรับนิยมทองคำ 87.5% = 21 K อินเดีย 91.6% = 22 K เป็นต้น
สำหรับประเทศในยุโรปเองก็ยังนิยมแตกต่างกันไป ตามตารางที่ให้ไว้จะเห็นว่า เยอรมนีนั้นอนุญาตให้ใช้คำว่า "ทองคำ" สำหรับเครื่องประดับที่มีทองคำผสมตั้งแต่ 33.3% = 8 K ขึ้นไป เรียกได้ว่ายอมรับในอัตราที่ต่ำที่สุดขึ้นไปเลย
ในขณะที่ประเทศอื่นๆ นั้น จะใช้คำว่า "ทองคำ" ได้ต้องมีทองคำตั้งแต่ 75% = 18 K ขึ้นไป อย่างเช่น สวิตเซอร์แลนด์นั้นต้องมี 18 K ขึ้นไปนะครับไม่ใช่ต่ำกว่านี้ตามที่คุณ Willkommen เข้าใจ เช่นเดียวกับ อิตาลี และ ฝรั่งเศส เป็นต้น
ตลาดขายทองคำในยุโรปจะแตกต่างจากไทยที่มีร้านขายเครื่องประดับทองคำโดยเฉพาะ แต่ในยุโรปทองคำรูปพรรณจะเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับมีค่า จึงมีธุรกิจร้านค้าขายเครื่องประดับราคาแพงโดยเฉพาะ ซึ่งร้านเหล่านี้จะขายสินค้าคู่กันระหว่างเครื่องประดับและนาฬิกาตามรูปตัวอย่างที่คุณ Wilkommen โพสต์ไว้ให้ดู หรือแม้แต่จะแยกขายกันไปต่างหากเลยก็ได้ ซึ่งจะมีอยู่ทั่วไปในใจกลางเมืองเล็กเมืองใหญ่
แสดงความคิดเห็น
ร้านทองแถวยุโรปเป็นยังไงหรอคับ