สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ขอแก้ตารางเมื่อวันศุกร์หน่อย
เมื่อวันศุกร์ไม่มีเวลาทำตัวเลข set วันหยุดเลยไปทำตัวเลขมาใหม่
มาดูเหตุการณ์ที่กระทบต่อตลาดหุ้น ผมแบ่งเป็นสองกรณี แล้วลองมาไล่เรียงเหตุการณ์ไปเรื่อยๆ
1.เหตุการณ์ที่เกิดกับสถาบันการเงิน และเกิดในประเทศไทย จะยืดเยื้อและรุนแรง
2.เหตุการณ์ที่เกิดจากความรุนแรง หรือเกิดที่ต่างประเทศ อันนี้ไม่นานจะตกแค่ปีเดียวแล้วกลับมา +ได้
วิกฤติแบบที่ 1
-ปี 2522-2538 (imf ครั้งที่ 1) เกิดจากวิกฤติราชาเงินทุน ทำให้หุ้นตกไป -42.03% และตกต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี
ต่อจากนั้น รัฐบาล พยายามจะฟื้นฟูเศรษฐกิจจนกลับมา +ติดต่อกัน 3 ปี และในที่สุดจนมาลดค่าเงินบาทในเดือน พ.ย.2527
ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นตกลงอีกครั้งหนึ่งในปี 2528 -5.16% วิกฤติรอบบนี้กินระยะเวลา 7 ปี
-ปี 2537-2541 ปัญหาหนี้เสียจากสถาบันการเงิน หรือที่เราเรียกว่าต้มยำกุ้ง (imf ครั้งที่ 2) เริ่มก่อตัว
ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง -19.18% และมาแตกตอนปี 2540 ทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ -55.18%
วิกฤติรอบนี้กินระยะเวลา 5 ปี
วิกฤติแบบที่ 2
-ปี 2530 เกิดเหตุกาณ์ black monday อิรักบุกยึดคูเวต แต่ set ขึ้น 37.52%
-ปี 2533 เกิดวิกฤติสงครามอ่าวเปอร์เซีย ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง -30.29% และกลับมาได้ในปีถัดมา +16.07%
-ปี 2535 เกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ตลาดหุ้นขึ้น 25.59%
-ปี 2543 การพังทลายของฟองสบู่ ตลาดหุ้นแนส- (หุ้นเทคโนโลยี ซึ่ง บัฟเฟตไม่ซื้อเลย ขณะที่คนอื่นซื้อและเป็นเศรษฐีในพริบตา)
น่าจะเป็นปีที่ ความคิดในแนว vi ได้รับการยมอรับ ตลาดหุ้น -44.14%
-ปี 2544 เกิดเหตุการณ์ 9/11 ตลาดหุ้นไทย +12.88%
-ปี 2547 ไข้หวัดนก +สึนามิ ปลายปี หุ้นไทย -13.48%
-ปี 2549 เกิดปัญหาชายแดนใต้+ปฏวัติ -4.75%
-ปี 2551 เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ -47.56%
-ปี 2553 เกิดเหตุการณ์เผากรุงเทพ +26.22%
-ปี 2554 เกิดน้องน้ำบุกกรุงเทพ -0.72%
-ปี 2556 ลด qe -6.70%
สรุป
วิกฤติแบบที่ 1 จะเกิดจากสถาบันการเงินในประเทศโดยตรง imf เข้ามาทั้งสองครั้ง
และมีการลดค่าเงินทั้งสองครั้ง วิกฤติแบบนี้ เรียกว่าเผาจริง เพราะกินเวลาหลายปี
วิกฤติแบบที่ 2 ชิวๆ ครับ ถ้าตกก็ปีเดียวแล้วกลับขึ้นมาใหม่ หรือบางปี +สวนทาง ซะงั้น
เหตุการณ์ตอนนี้ไม่ได้เกิดจากสถาบันการเงิน และไม่ได้รุนแรงขนาดที่ imf ต้องเข้ามาครับ
ปีหน้าผมเลยค่อนข้างมั่นใจว่า หุ้นไทยจะกลับมา + มากน้อยไม่ทราบนะ เป็นเหตุผลข้อแรก
เหตุลข้อที่สอง ค่าเงินบาทอ่อน ฝรั่งกลับมาซื้อ เพราะอย่าลืมว่า น้ำหนักของประเทศไทย
ใน msci Emerging Market มีแค่ 2.46% ราคาที่ปรับตัวลงมา พร้อมค่าเงินบาทที่อ่อน
ถ้าผมเป็น ผจก.กองทุนต่างประเทศ ผมซื้อครับ เพราะกำไรสองเด้ง ถ้าผิดทาง ก็แค่ 2.46%
และถ้า ฝรั่ง ซื้อไปเรื่อยๆ ทั้งกอง รายย่อย ซื้อตามแน่นอนครับ
ตอนนั้นคนจะบอกว่า เพราะเศรษฐกิจฟื้น ไทยเลยฟื้นไปด้วย
เหตุผลข้อที่ 3 อาทิตย์นี้มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ของ สหรัฐ ยุโรป และจีน ทั้งอาทิตย์
ถ้าตัวเลขออกมาดี ก็จะเป็นผลกดดันค่าเงินต่อเนื่อง
สิ้นเดือนนี้ 28-29 จะมีการประชุม fomc อีก คาดว่าอาจจะมีการลด qe อีกรอบ
ไม่ว่าจะลดจริง หรือไม่จริง แต่ปัจจัยนี้จะกดค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ ให้อ่อนค่าต่อไป
ตอนนี้ใครถือตราสารหนี้ เฝ้าระวังครับ เพราะ ผลตอบแทนลดลง ทั้ง 1-5-10 ปี
เพราะตอนที่มี qe เงินวิ่งเข้าตลาดตราสารหนี้มากกว่าตลาดหุ้น 4-5 เท่า (ถ้าจำไม่ผิด)
ตอนนี้จะเป็น ตราสารหนี้ บ้างที่จะโดนดึงเงินกลับ เพราะขั้นตอนที่ 3 คือ ขึ้นดอกเบี้ย
ดังนั้น ผจก.กองทุนจึงต้องรีบทยอยขายตราสารหนี้ออกไปก่อน
แต่ที่ผมแนะนำว่าควรมีกองต่างประเทศ ในพอร์ตด้วย เพราะมันเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสครับ
(แต่ก็ต้องมี กองไทยด้วยนะ อย่างน้อยต้องกำหนดขั้นต่ำไว้ 20-25%)
ลองมานึกภาพดู จากเหตุผลข้างต้น ถ้า ผจก.กองทุนต่างประเทศ คิดว่าปีหน้าตลาดไทยจะฟื้น
แต่ทำไม fundflow ทำไมไม่วิ่งเข้าไทยเต็มที่ เพราะมันมีต้นทุนค่าเสียโอกาสครับ
เหมือนเรามีเงินอยู่จำกัด 100 บาท ตอนนี้ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป กำลังวิ่ง ขณะที่ไทยที่ลงทุนแล้วต้องรอ
เราควรจะเลือกลงที่ไหนมากกว่ากัน
สุดท้ายลองฟังความเห็นของคุณพิชัย จาวลา เจ้าของ ทฤษฎีผลประโยชน์ ครับ
เมื่อวันศุกร์ไม่มีเวลาทำตัวเลข set วันหยุดเลยไปทำตัวเลขมาใหม่
มาดูเหตุการณ์ที่กระทบต่อตลาดหุ้น ผมแบ่งเป็นสองกรณี แล้วลองมาไล่เรียงเหตุการณ์ไปเรื่อยๆ
1.เหตุการณ์ที่เกิดกับสถาบันการเงิน และเกิดในประเทศไทย จะยืดเยื้อและรุนแรง
2.เหตุการณ์ที่เกิดจากความรุนแรง หรือเกิดที่ต่างประเทศ อันนี้ไม่นานจะตกแค่ปีเดียวแล้วกลับมา +ได้
วิกฤติแบบที่ 1
-ปี 2522-2538 (imf ครั้งที่ 1) เกิดจากวิกฤติราชาเงินทุน ทำให้หุ้นตกไป -42.03% และตกต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี
ต่อจากนั้น รัฐบาล พยายามจะฟื้นฟูเศรษฐกิจจนกลับมา +ติดต่อกัน 3 ปี และในที่สุดจนมาลดค่าเงินบาทในเดือน พ.ย.2527
ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นตกลงอีกครั้งหนึ่งในปี 2528 -5.16% วิกฤติรอบบนี้กินระยะเวลา 7 ปี
-ปี 2537-2541 ปัญหาหนี้เสียจากสถาบันการเงิน หรือที่เราเรียกว่าต้มยำกุ้ง (imf ครั้งที่ 2) เริ่มก่อตัว
ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง -19.18% และมาแตกตอนปี 2540 ทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ -55.18%
วิกฤติรอบนี้กินระยะเวลา 5 ปี
วิกฤติแบบที่ 2
-ปี 2530 เกิดเหตุกาณ์ black monday อิรักบุกยึดคูเวต แต่ set ขึ้น 37.52%
-ปี 2533 เกิดวิกฤติสงครามอ่าวเปอร์เซีย ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง -30.29% และกลับมาได้ในปีถัดมา +16.07%
-ปี 2535 เกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ตลาดหุ้นขึ้น 25.59%
-ปี 2543 การพังทลายของฟองสบู่ ตลาดหุ้นแนส- (หุ้นเทคโนโลยี ซึ่ง บัฟเฟตไม่ซื้อเลย ขณะที่คนอื่นซื้อและเป็นเศรษฐีในพริบตา)
น่าจะเป็นปีที่ ความคิดในแนว vi ได้รับการยมอรับ ตลาดหุ้น -44.14%
-ปี 2544 เกิดเหตุการณ์ 9/11 ตลาดหุ้นไทย +12.88%
-ปี 2547 ไข้หวัดนก +สึนามิ ปลายปี หุ้นไทย -13.48%
-ปี 2549 เกิดปัญหาชายแดนใต้+ปฏวัติ -4.75%
-ปี 2551 เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ -47.56%
-ปี 2553 เกิดเหตุการณ์เผากรุงเทพ +26.22%
-ปี 2554 เกิดน้องน้ำบุกกรุงเทพ -0.72%
-ปี 2556 ลด qe -6.70%
สรุป
วิกฤติแบบที่ 1 จะเกิดจากสถาบันการเงินในประเทศโดยตรง imf เข้ามาทั้งสองครั้ง
และมีการลดค่าเงินทั้งสองครั้ง วิกฤติแบบนี้ เรียกว่าเผาจริง เพราะกินเวลาหลายปี
วิกฤติแบบที่ 2 ชิวๆ ครับ ถ้าตกก็ปีเดียวแล้วกลับขึ้นมาใหม่ หรือบางปี +สวนทาง ซะงั้น
เหตุการณ์ตอนนี้ไม่ได้เกิดจากสถาบันการเงิน และไม่ได้รุนแรงขนาดที่ imf ต้องเข้ามาครับ
ปีหน้าผมเลยค่อนข้างมั่นใจว่า หุ้นไทยจะกลับมา + มากน้อยไม่ทราบนะ เป็นเหตุผลข้อแรก
เหตุลข้อที่สอง ค่าเงินบาทอ่อน ฝรั่งกลับมาซื้อ เพราะอย่าลืมว่า น้ำหนักของประเทศไทย
ใน msci Emerging Market มีแค่ 2.46% ราคาที่ปรับตัวลงมา พร้อมค่าเงินบาทที่อ่อน
ถ้าผมเป็น ผจก.กองทุนต่างประเทศ ผมซื้อครับ เพราะกำไรสองเด้ง ถ้าผิดทาง ก็แค่ 2.46%
และถ้า ฝรั่ง ซื้อไปเรื่อยๆ ทั้งกอง รายย่อย ซื้อตามแน่นอนครับ
ตอนนั้นคนจะบอกว่า เพราะเศรษฐกิจฟื้น ไทยเลยฟื้นไปด้วย
เหตุผลข้อที่ 3 อาทิตย์นี้มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ของ สหรัฐ ยุโรป และจีน ทั้งอาทิตย์
ถ้าตัวเลขออกมาดี ก็จะเป็นผลกดดันค่าเงินต่อเนื่อง
สิ้นเดือนนี้ 28-29 จะมีการประชุม fomc อีก คาดว่าอาจจะมีการลด qe อีกรอบ
ไม่ว่าจะลดจริง หรือไม่จริง แต่ปัจจัยนี้จะกดค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ ให้อ่อนค่าต่อไป
ตอนนี้ใครถือตราสารหนี้ เฝ้าระวังครับ เพราะ ผลตอบแทนลดลง ทั้ง 1-5-10 ปี
เพราะตอนที่มี qe เงินวิ่งเข้าตลาดตราสารหนี้มากกว่าตลาดหุ้น 4-5 เท่า (ถ้าจำไม่ผิด)
ตอนนี้จะเป็น ตราสารหนี้ บ้างที่จะโดนดึงเงินกลับ เพราะขั้นตอนที่ 3 คือ ขึ้นดอกเบี้ย
ดังนั้น ผจก.กองทุนจึงต้องรีบทยอยขายตราสารหนี้ออกไปก่อน
แต่ที่ผมแนะนำว่าควรมีกองต่างประเทศ ในพอร์ตด้วย เพราะมันเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสครับ
(แต่ก็ต้องมี กองไทยด้วยนะ อย่างน้อยต้องกำหนดขั้นต่ำไว้ 20-25%)
ลองมานึกภาพดู จากเหตุผลข้างต้น ถ้า ผจก.กองทุนต่างประเทศ คิดว่าปีหน้าตลาดไทยจะฟื้น
แต่ทำไม fundflow ทำไมไม่วิ่งเข้าไทยเต็มที่ เพราะมันมีต้นทุนค่าเสียโอกาสครับ
เหมือนเรามีเงินอยู่จำกัด 100 บาท ตอนนี้ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป กำลังวิ่ง ขณะที่ไทยที่ลงทุนแล้วต้องรอ
เราควรจะเลือกลงที่ไหนมากกว่ากัน
สุดท้ายลองฟังความเห็นของคุณพิชัย จาวลา เจ้าของ ทฤษฎีผลประโยชน์ ครับ
ความคิดเห็นที่ 32
วันนี้นั่งทำข้อมูลมาฝากครับ.... เื่ืรื่องกองทุนต่างประเทศ กระทู้มุงคราวก่อนมั้ง มีพูดถึงกองทุนต่างประเทศว่าลงทุนในบริษัทอะไรบ้าง
ผมเริ่มจากกอง BCARE ยอดฮิตในกลุ่มกองทุนครับ มาดูกันว่า กอง BCARE มีอะไรในพอร์ตบ้าง....
กองทุนที่ BCARE ไปลงทุนเป็นกองเดียวคือ Wellington Management Portfolios Dublin PLC - Global Health Care Equity ตัวย่อ WGHCEPA (ไม่ได้ลง 100% แต่มีไปลงในตราสารหนี้อะไรพวกนั้นด้วย)
WGHCEPA ลงทุนใน Biopharma Mid & Small Cap (หรือบริษัทยาไบโอเทคขนาดเล็กและกลาง) เพราะมองว่า กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ น่าจะได้ผลตอบแทนไม่สูงในระยะใกล้ เนื่องจากโตเยอะแล้ว แต่บริษัทขนาดกลางและเล็ก ยังโตได้อีก
โดยลงทุนในสี่ด้านคือ
1. เภสัชกรรมทั่วไป (Major Pharmaceuticals)
2. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และเภสัชกรรมเฉพาะทาง (Specialty Pharmaceuticals)
3. ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (Medical Products)
4. บริการทางด้านสุขภาพ (Health Services)
การกระจายการลงทุนเป็นแบบนี้ครับ
ส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกา (ยูโรกับญี่ปุ่นพอ ๆ กัน) เป็น non UK stock เยอะสุด และผลิตภัณฑ์ healthcare เป็นหลัก
สำหรับ holding 10 อันดับแรกก็เป็นตามนี้ครับ
แล้ว Top 10 แต่ละเจ้า ทำมาหากินอะไร... ก็ตามนี้เลยครับ ผมเอามาแบบคร่าว ๆ นะครับ ดูจาก wiki บ้าง จากเว็บบริษัทบ้าง ในส่วน about us เรียงจากอันดับหนึ่งลงไปถึงสิบครับ
1. Forest Laboratories บริษัทยาใน New York City, US
2. UnitedHealth Group UnitedHealth Group Inc. บริษัทจัดการ health care สำนักงานใหญ่อยู่ที่ Minnetonka, Minnesota, U.S.
3. Merck & Co Inc บริษัทยา
4. Alkermes plc บริษัทยาที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เน้นยาทางด้านระบบประสาทส่วนกลาง
5. Shionogi & Co Ltd บริษัทยาในญี่ปุ่น
6. McKesson Corporation บริษัทของอเมริกา ทำธุรกิจกระจายผลิตภัณฑ์ยาในระดับค้าปลีก และมีระบบสารสนเทศทางด้านสุขภาพ, คลังยา, เครื่องมือจัดการด้านสุขภาพ มีทำระบบบาร์โค้ดและ RFID ติดผลิตภัณฑ์ยาด้วย
7. UCB (ชื่อเต็มคือ Union chimique belge) เป็นบริษัทผลิตยาจากเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็น multinational (สงสัยจะร่วมทุนหลายชาติ) แต่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่บรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ทุกสามปี บริษัทนี้มีการมอบรางวัลจากมูลนิธิการแพทย์ พระราชินีเอลิซาเบท โดยเป็นการเชิดชูงานวิจัยด้านประสาทวิทยา (มีคณะกรรมการกลางมาตัดสิน)
8. NPS Pharmaceuticals, Inc. เป็นบริษัทยาจากเทคโนโลยีชีวิภาพที่บุกเบิกการบำบัดผู้ป่วยโรคหายากทั่วโลก เป็นบริษัทระดับ global company
9. Bristol-Myers Squibb เป็น global BioPharma ที่เน้นการค้นคว้า พัฒนา จำหน่ายนวัตกรรมทางยาที่ช่วยผู้ป่วยโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, เบาหวาน, ตับอักเสบ
10. Roche Holding AG บริษัทนี้เป็นของสวิส มีธุรกิจค้นคว้า พัฒนาและผลิตภัณฑ์ตรวจวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะแรก รวมทั้งเฝ้าติดตามการรักษา บริษัทนี้ก็มีเครือข่ายไปทั่วโลกเหมือนกัน
วันนี้หา BCARE มาให้ดูก่อนครับ เดี๋ยวจะไปดูตัวอื่นมาเพิ่มอีก (เอาตัว GW ของ UOB ก่อน) ผมจะเลือกเฉพาะตัวที่ผมตามนะครับ เพราะตอนผมเล็งซื้อ ผมก็ไล่ไปจน top 10 top 5 holding นี่แหละ คือผมอยากรู้เองว่า ตัวกองหลักเขาไปถือหุ้นตัวไหนบ้าง...(ทำให้ผมตัดสินใจไม่ซื้อกองหนึ่งเหมือนกัน แม้ผลงานจะดี)
ผมเริ่มจากกอง BCARE ยอดฮิตในกลุ่มกองทุนครับ มาดูกันว่า กอง BCARE มีอะไรในพอร์ตบ้าง....
กองทุนที่ BCARE ไปลงทุนเป็นกองเดียวคือ Wellington Management Portfolios Dublin PLC - Global Health Care Equity ตัวย่อ WGHCEPA (ไม่ได้ลง 100% แต่มีไปลงในตราสารหนี้อะไรพวกนั้นด้วย)
WGHCEPA ลงทุนใน Biopharma Mid & Small Cap (หรือบริษัทยาไบโอเทคขนาดเล็กและกลาง) เพราะมองว่า กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ น่าจะได้ผลตอบแทนไม่สูงในระยะใกล้ เนื่องจากโตเยอะแล้ว แต่บริษัทขนาดกลางและเล็ก ยังโตได้อีก
โดยลงทุนในสี่ด้านคือ
1. เภสัชกรรมทั่วไป (Major Pharmaceuticals)
2. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และเภสัชกรรมเฉพาะทาง (Specialty Pharmaceuticals)
3. ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (Medical Products)
4. บริการทางด้านสุขภาพ (Health Services)
การกระจายการลงทุนเป็นแบบนี้ครับ
ส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกา (ยูโรกับญี่ปุ่นพอ ๆ กัน) เป็น non UK stock เยอะสุด และผลิตภัณฑ์ healthcare เป็นหลัก
สำหรับ holding 10 อันดับแรกก็เป็นตามนี้ครับ
แล้ว Top 10 แต่ละเจ้า ทำมาหากินอะไร... ก็ตามนี้เลยครับ ผมเอามาแบบคร่าว ๆ นะครับ ดูจาก wiki บ้าง จากเว็บบริษัทบ้าง ในส่วน about us เรียงจากอันดับหนึ่งลงไปถึงสิบครับ
1. Forest Laboratories บริษัทยาใน New York City, US
2. UnitedHealth Group UnitedHealth Group Inc. บริษัทจัดการ health care สำนักงานใหญ่อยู่ที่ Minnetonka, Minnesota, U.S.
3. Merck & Co Inc บริษัทยา
4. Alkermes plc บริษัทยาที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เน้นยาทางด้านระบบประสาทส่วนกลาง
5. Shionogi & Co Ltd บริษัทยาในญี่ปุ่น
6. McKesson Corporation บริษัทของอเมริกา ทำธุรกิจกระจายผลิตภัณฑ์ยาในระดับค้าปลีก และมีระบบสารสนเทศทางด้านสุขภาพ, คลังยา, เครื่องมือจัดการด้านสุขภาพ มีทำระบบบาร์โค้ดและ RFID ติดผลิตภัณฑ์ยาด้วย
7. UCB (ชื่อเต็มคือ Union chimique belge) เป็นบริษัทผลิตยาจากเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็น multinational (สงสัยจะร่วมทุนหลายชาติ) แต่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่บรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ทุกสามปี บริษัทนี้มีการมอบรางวัลจากมูลนิธิการแพทย์ พระราชินีเอลิซาเบท โดยเป็นการเชิดชูงานวิจัยด้านประสาทวิทยา (มีคณะกรรมการกลางมาตัดสิน)
8. NPS Pharmaceuticals, Inc. เป็นบริษัทยาจากเทคโนโลยีชีวิภาพที่บุกเบิกการบำบัดผู้ป่วยโรคหายากทั่วโลก เป็นบริษัทระดับ global company
9. Bristol-Myers Squibb เป็น global BioPharma ที่เน้นการค้นคว้า พัฒนา จำหน่ายนวัตกรรมทางยาที่ช่วยผู้ป่วยโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, เบาหวาน, ตับอักเสบ
10. Roche Holding AG บริษัทนี้เป็นของสวิส มีธุรกิจค้นคว้า พัฒนาและผลิตภัณฑ์ตรวจวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะแรก รวมทั้งเฝ้าติดตามการรักษา บริษัทนี้ก็มีเครือข่ายไปทั่วโลกเหมือนกัน
วันนี้หา BCARE มาให้ดูก่อนครับ เดี๋ยวจะไปดูตัวอื่นมาเพิ่มอีก (เอาตัว GW ของ UOB ก่อน) ผมจะเลือกเฉพาะตัวที่ผมตามนะครับ เพราะตอนผมเล็งซื้อ ผมก็ไล่ไปจน top 10 top 5 holding นี่แหละ คือผมอยากรู้เองว่า ตัวกองหลักเขาไปถือหุ้นตัวไหนบ้าง...(ทำให้ผมตัดสินใจไม่ซื้อกองหนึ่งเหมือนกัน แม้ผลงานจะดี)
แสดงความคิดเห็น
[กระทู้มุงกองทุน] รายงาน NAV ประจำวันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2557
กลัวปลามารายงานตัว พร้อมรายงาน NAV แล้วค่ะ
ปู่เขียวนิดหน่อยให้พอใจชื้นนะคะ แต่กลัวปลาไม่มีกองไทยให้ใจชื้นแล้ว
พิกัดเดิมของเมื่อวันศุกร์ที่แล้วนะคะ
http://ppantip.com/topic/31466361