วิศวะคอม วิศวกรรมซอฟแวร์ วิทยาการคอม ต่างกันอย่างไร?

คือสงสัยค่ะว่า3คณะนี้การเรียนการสอนต่างกันแค่ไหน
จบออกมาแล้วสายอาชีพการทำงานเหมือนกันไหม?
แล้วเงินเดือนเริ่มต้นต่างกันแค่ไหนค่ะ?
วิศวะคอมกับวิทยาการคอมนี่พอจะรู้ความต่างอยู่บ้าง
แต่ว่าวิศวกรรมซอฟแวร์เนี้ยต่างจากวิทยาการคอมแค่ไหน?
แล้วทำไมวิศวกรรมซอฟแวร์บางที่ถึงได้วุฒิเป็นวท.บ.บ้าง เป็นวศ.บ.บ้าง
เลยงงๆว่าตกลงแล้วมันต่างกันแค่ไหนยังไง?
แล้วถ้าจะเข้าที่ทำงานเกี่ยวกับด้านการเขียนโปรแกรมเนี้ยควรเข้าคณะไหนดีค่ะ?

ปล.ขออภัยค่ะเราไม่รู้ว่าควรแทกเข้าห้องไหนดีเลยแทกคอมมือใหม่ไปด้วย
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เรียงให้แล้วกัน

ความยาก+หรู+ที่ยอมรับ จากมากไปน้อย

1.วิศวคอม เพราะ เรียนหนักมาก สอบเข้ายาก แถมตอนจบยังต้องสอบผ่านวิศวกรรมสถานด้วย(ไม่งั้นจบไม่ได้) ฉะนั้นตัวนี้วุฒิจบออกมาดีที่สุดในบรรดาสายคอมพิวเตอร์ และทำงานได้เงินดีและมักได้ตำแหน่งดี  ข้อเสียหางานสู้ข้อ2ไม่ได้เพราะเขาเกรงใจฝีมือท่าน จึงไม่ค่อยจะประกาศรับกัน ฉะนั้นแอบเนียนไปแย่งงานวิทย์คอมก็ได้ ไม่มีใครว่า(ยกเว้นพวกวิทย์คอม) ถ้าไปเปิดกิจการเองก็ทำได้ดีที่สุดแล้ว
2.วิทย์คอม(ที่ไม่ใช่ราชภัฏ) เรียนเหมือนวิศวะคอมทุกอย่างยกเว้นคณิตที่เบาลงนิสนุง(จนไม่รู้สึกถึงความต่าง) แต่เนื้อหาเบากว่า ครึ่งหนึ่ง และจบง่ายกว่า แต่หางานง่ายกว่าวิศวะคอมแต่เงินเดือนน้อยกว่า(แปลกแต่จริง)  ถ้าไปเปิดกิจการเองก็ทำได้แต่อาจไม่ฝีมือเท่าวิศวะ
3.วิศวซอฟ วุฒิห่วยสุด ทำงานก็ต้องมาเป็นลูกน้องก่อนเสมอด้วยการเป็น Programmer แล้วค่อยๆไต่เต้า ลูบๆคลำไปเป็น Senior และ Analyst ไม่สามารถข้ามขั้นได้ (ต่อให้เทพก็ยังยาก) แต่เรียนจบง่ายมากกกกกกกกก (ผมมองว่าเหมือนกรรมกรก่อสร้างโปรแกรมยังไงก็ไม่รุ้) ถ้าไปเปิดกิจการเองก็ทำได้แต่มีอุปสรรค์นิสนุง...

อันนี้ผมเจอเองนะเพราะตอนนี้เรียนวิศวะคอม1ปีแล้วพักเรียนมาเรียนวิทย์คอมดูเอามันส์แล้วค่อยไปต่อวิศวะเนื่องจากเวลาผมมีเยอะยัง20อยู่เลยไม่รีบ ก็คิดอยู่ว่าจบภายใน3.5ปีได้แน่(เพราะเกรดปี1สวยม๊วกกกแต่คงไปตายตอนปี3= =") ถึงจะเรียนหนักไปหน่อยก็เหอะ แต่วิศวคอมนี้จบใน4ปีก็เทพแล้วจ้า...


_______________________________________________________________________________________________________

จริงๆผมซิ่วแบบนี้นะ  กสพท. ตอนอายุ17ติดแต่ไม่เอา รอ1ปี สิ้วติดและเรียนวิศวคอมคอม18แล้วพักเรียนมาสิ้วเรียนวิทย์คอมตอน19 สรุปคงจบในอายุ24-25ปี ส่วนเรื่องเงินผมไม่ห่วงเท่าไหร่เพราะมีกิจการที่ต้องมารับช่วงอยู่ ซึ่งีเวลาจนถึงอายุ30ด้วยซ้ำ แต่ยังไงซะทำงานเองดีกว่าไปนั่งเรียนครับ ผมแค่แพ็คไปให้แน่นก็พอ ดีไม่ดีอาจกลับไปเรียนหมอตามความฝันก็ได้  คุณจะวางแผนการเรียนยังไงก็แล้วแต่คุณนะครับ (เค้าจ่าอาวแบบนี้อาาา) เพราะผมจบมาเพื่อไปรับช่วงดูแลกิจการต่อ  แต่คุณจะจบเพื่อไปประกอบกิจการเอง หรือจะไปเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทก็แล้วแต่ความสะดวกนะครับ  

แต่ถ้าผมเป็นเจ้าของกิจการมาหาลูกน้อง ซึ่งกิจการผมเน้นพวก Network config and Setup Server and Computer ผมจะรับเฉพาะพวก ปวช. ปวส. เกี่ยวกับคอมโดยตรงหรือจบ2วุฒินี้แล้วมาต่อป.ตรีสายNetworkอีก ผมจะรับพวกนี้ก่อนเลยบรรจุเข้าทำงานรับเงินเดือนทันที ส่วนพวก ม.6มาจบป.ตรี ผมจะให้ทดลองงานก่อนเพราะ จากประสบการณ์พบว่าพวกนี้50ไม่ได้เรื่องอีก30ฝึกให้นิดๆหน่อยเป็นงานอีก20เทพโครตตรงใจเฮีย(ซึ่งนานๆทีจะเจอ)


เสริมให้ วิทย์/วิศวะ แบ่งเป็น 4 สายหลักๆคือ Programming Computing Robot(A.I.) Network โดยเฉพาะ
สายที่มีคนรับมากที่สุดคือ Programming และ A.I. ส่วนสายที่จบไปแล้วเก่งที่สุด(ในมุมมองผม)คือ  A.I. พวกนี้เก่งกว่า Programmer หลายเท่า และมีความรู้เรื่อง Computer และ Network พอสมจะน่ากลัวมาก คือเหมือนสร้างGoogle Facebook อะไรทำนองนี้แต่เราทำคนเดียวก็ยังไงได้ แค่สั่งให้คอมทำงานตามที่เราออกแบบ (ถ้าไม่ติดที่ กรูเขียนหมดนั้นคนเดียวตายแน่...) ดูอย่าง Intragram ก็ได้ มีพนักงานไม่ถึง30คนเลยด้วยซ้ำ...
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
วิศวะคอม วิศวกรรมซอฟแวร์ วิทยาการคอม >> จบสายไหนมา ก็เขียนโปรแกรมได้หมดแหละครับ

แต่วิชาเรียนจะแตกต่างกันแน่นอน
ผมตอบสั้น ๆ ง่ายๆ

1) วิทยาการคอม หรือวิทย์คอม
>>เรียนเกี่ยวกับ ซอฟแวร์ล้วน ๆ
(อย่าคิดว่าเขาสอนแต่การเขียนโปรแกรมอย่างเดียว เพราะชื่อหลักสูตรเป็นวิทยาศาสตร์ จึงหนีไม่พ้นต้องเรียนคณิตศาสตร์ทางคอม)

2) วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นลูกครึ่งครับ
>> ครึ่งหนึ่ง เรียนเนื้อหาทาง ซอฟแวร์ จากวิทย์คอม
>> อีกครึ่งหนึ่ง เรียนเนื้อหาทาง ฮาร์ดแวร์ จากวิศวกรรมไฟฟ้า (ตัววิชาเรียน อาทิเช่น วิศวอิเล็กทรอนิกส์  วิศวสื่อสาร เป็นต้น)

จำสั้น ๆ เลย ...
วิทยาศาสตร์คอม เรียนซอฟแวร์ล้วน ๆ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนทั้งซอฟแวร์ + ฮาร์ดแวร์

3) วิศวกรรมซอฟแวร์
จะเป็นการเรียนเกียวกับ กระบวนการพัฒนาซอฟแวร์ล้วน ๆ

ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ

1) ถ้าจะไปสร้าง OS อย่าง Window หรือ Linux หรือคิดค้นภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใหม่ขึ้นมา เป็นต้น
ต้องเรียนวิทย์คอมครับ ... ขืนไปเรียน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พื้นฐานคอมพิวเตอร์แท้ ๆ จะสู้คนเรียนวิทย์คอมโดยตรงไม่ได้

2) ถ้าจะเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมเครื่อง Printer หรือเขียนโปรแกรมควบคุมระบบ Network อินเตอร์เนต หรือ ระบบรถยนต์ อะไรพวกนี้เป็นต้น
ต้องเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ... ขืนไปเรียนวิทย์คอมจะทำไม่ได้ เพราะไม่มีความรู้ อิเล็คทรอนิกส์ หรือความรู้ด้านฮาร์ดแวร์ครับ

3) วิศวกรรมซอฟแวร์ ขอยกตัวอย่างแบบนี้แล้วกัน
>> ลองให้นึกถึงกระบวนการสร้างตึกใหญ่ ๆ จะต้องมีกระบวนไล่ตั้งแต่ รับคำสั่งจากลูกค้า แล้วมาทำการออกแบบ ทำการก่อสร้าง รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพอาคาร เป็นต้น ใช่มัยละ
>> คราวนี้มาลองนึกถึงกระบวนการผลิตซอฟแวร์ขนาดใหญ่ ๆ  ทั้งหลาย ก็ไม่ต่างกัน
ต้องมีกระบวนการผลิตซอฟแวร์ ... ไล่ตั้งแต่รับคำสั่งสร้างโปรแกรมจากลูกค้า ออกแบบซอฟแวร์ ทำการผลิต รวมทั้งควบคุมคุณภาพ จนกระทั้งส่งมอบตัวงาน ... โดยทุกกระบวนการผลิตก็จะต้องทำตาม แผนงาน ตามงบประมาณ ตามเวลาที่มีจำกัด และให้ตรงจุดประสงค์ลูกค้า
.....งานของวิศวซอฟแวร์ก็จะประมาณนี้นะครับ

มาพูดถึงเรื่องรายได้
>>ถ้าทำงานเมืองไทย จบอะไรมาก็เขียนโปรแกรมได้เหมือนกันหมด
>>เงินเดือนเริ่มต้นก็เหมือนกันแหละ ถ้าเป็นโปรแกรมเมอร์
>>ส่วนรายได้สายอาชีพนี้ก็สูงนะครับ ระดับแตะหลักแสนเป็นไปได้ครับ

ถ้าผมตอบไม่เคลียร์ มีข้อสงสัย ถามหลังไมค์ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 14
ถึงคุณ pon456123

แหม คอมเม้นคุณเอาซะเราสะอึกเลย SEมันวุฒิเห่ยขนาดนั้นเลยหรอ? หึหึ
เราจบ SEมาค่ะ แต่ก็ยอมรับว่าได้วุฒิ วท.บ  เราเรียนหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ
หลักสูตรที่เรียน จะเน้นไปในเรื่องของmanage and control project อารมณ์ประมาณว่าเรียนเป็น project managerนั่นเอง
ถึงแม้จะใช้หลักสูตรเมืองนอกในการเรียน แต่การยอมรับในการทำงานย่อมไม่เหมือนเมืองนอกอย่างเค้าแน่นอน(อันนี้ยอมรับ)
เพราะบ.เมืองไทย ไม่มีบ.ไหนเค้าเชื่อใจหรือยอมรับเด็กที่เพิ่งจบให้มาทำPMหรอกค่ะ มันต้องไต่เต้า

ถูกค่ะ เหมือนที่คุณ pon456123  บอกว่าต้องไต่เต้าขึ้นไปเรื่อยๆ แต่คุณคิดหรอว่าสายอาชีพคุณจะไม่ได้ไต่เต้า? มันทุกสายอาชีพสาขาอาชีพแหล่ะค่ะว่าต้องอาศัยประสบการณ์ในการไต่เต้า

อีก2สาขา ถึงจะรู้จัก แต่ก็ไม่ขอออกความคิดเห็นละกัน เพราะไม่ได้เรียน2สาขานี้ เรียนแต่SEอย่างเดียว
ปล. รู้สึกว่าของมช. SEจะได้วุฒิเป็น วศ.บ มั้งคะ อันนี้ไม่แน่ใจ
ความคิดเห็นที่ 8
ขอก๊อปมาจากกระทู้เก่ามาละกันเรื่องวิศวคอมพิวเตอร์ vs วิทยาการคอมพิวเตอร์

ในเมืองไทย 2 สาขานี้แทบไม่ต่างครับ แทบจะต่างกันแค่วิชาบังคับของคณะ (วิศวะเน้นฟิสิกส์ วิทย์เน้นคณิตศาสตร์)
แล้วจะว่าไป สาขา IT ก็ไม่ต่างกันกับสองสาขานี้ครับ
ปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ในไทย เรียนแทบจะเหมือนกันหมด ชื่อสาขาเปลี่ยนไปตามคณะที่สังกัด
ถ้าอยากเห็นความแตกต่างคงต้องต่อตรีที่เมืองนอก ในไทยก็คงต้องเป็นพวกปริญญาโทขึ้นไปครับ

ในเรื่องของปรัชญาของแต่ละหลักสูตร ที่ต่างประเทศเคยมีการทำมาตรฐานไว้ว่าแต่ละหลักสูตร เรียนอะไร ลงลึกแค่ไหน เน้นด้านอะไร  เป็นความร่วมมือของ IEEE-CS, ACM, AIS (ไม่ใช่ค่ายมือถือนะครับ) ซึ่งจะน่าจะเป็นตัวที่บอกได้ชัดเจนที่สุดว่า Computer Engineering กับ Computer Science เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร





Credit : http://www.computer.org/portal/c/document_library/get_file?p_l_id=2814020&folderId=3111026&name=DLFE-57601.pdf (หน้าที่ 17)

แต่มหาลัยในไทยส่วนมากไม่ได้ทำตามนี้ แต่ใช้วิธีกำหนดวิชาในหลักสูตรขึ้นเองตามความต้องการของสังคมในยุคนั้นๆ เพื่อให้นักศึกษาจบไปทำงานได้ตรงตามความต้องการของตลาด (เช่นหากสมัยนี้เรื่อง network กำลังฮิต ก็เปิดสอน network ซะ)
หลักสูตรวิศวคอมของ 2 มหาลัย อาจจะเน้นไปคนละทางเลยก็ได้   หรือ หลักสูตรวิศวะคอมของบางมหาลัยอาจจะไปเหมือนกับหลักสูตรวิทยาการคอมของอีกมหาลัยก็ได้เหมือนกัน
แต่ถ้าที่ไหนมีการปรับปรุงหลักสูตรบ่อยๆจะเห็นว่าเรียนคล้ายกันหมด ไม่เกี่ยวกับว่าจะเป็นวิศวคอมหรือวิทย์คอม  มันไม่มีหรอกครับ หัวข้อไหนกำลังบูมแล้วเขาไม่อยากเอาขึ้นมาสอน (ดูอย่าง AI เป็นต้น)
การจะบอกได้คือมันต้องดูถึงขั้นว่าหลักสูตรนั้นในมหาลัยสอนวิชาอะไรบ้าง ถึงบอกได้ว่าเน้นอะไรครับ  อาจต้องรวมไปถึงค่าเทอมเท่าไร อาจารย์เป็นยังไง หลักสูตรอินเตอร์มั้ย ด้วย

ที่ว่าวิศวคอมเน้นฮาร์ดแวร์ วิทย์คอมเน้นซอฟต์แวร์
นั่นเเป็นเรื่องที่เล่าๆกันมาตั้งแต่เมื่อก่อนครับ
วิศวคอม ไม่ได้มีเรียนฮาร์ดแวร์เยอะถึงขั้นเรียกว่า เน้นฮาร์ดแวร์
คืออาจจะมีปฏิบัติด้านฮาร์ดแวร์บ้าง แต่หลักๆก็เน้นไปที่ทฤษฎี
ในขณะที่วิทย์คอมเองก็มีเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เหมือนกัน ไม่ใช่ไม่ได้เรียนเลย
ผมว่าต้องเป็น วิศวเครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็ก อะไรพวกนี้ ถึงจะจัดว่าเน้นฮาร์ดแวร์ได้นะ เพราะเค้าลงลึกมาก
เมื่อเทียบกันแล้ววิศวคอมไม่ได้ลงลึกด้านฮาร์ดแวร์เลย (แต่กลับกันก็ไม่ได้อ่อนด๋อยเรื่องโปรแกรมมิ่งอย่างที่คิดๆกัน)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่