ทำไมนักเรียน ถึงต้องทำเวรครับ

ถามเอามันส์นะครับ อย่าได้ถือเป็นสาระอะไรมากมาย แต่จะสาระมาก็ดีครับ บางอย่างที่ผมไม่ทราบจะได้ทราบ หรือที่เข้าใจผิดไป จะได้เข้าใจใหม่ เกิด paradigm shift ขึ้นได้อีก

เคยสงสัยกันมั๊ยครับทำไมนักเรียนต้องทำเวร ทั้งๆ ที่โรงเรียนก็มีภารโรงที่ดูแลรักษาความสะอาด

ถ้ามองในแง่ดี ก็คงคิดว่าเป็นการฝึกการเสียสละให้กับส่วนรวม รู้จักดูแลรักษาของที่เป็นสมบัติส่วนรวม แต่อันนี้เป็นการสันนิษฐานส่วนตัวล้วนๆ เพราะตอนเรียนอยู่ ก็ไม่มีใครมาแจกแจงว่าทำไมต้องทำเวร ทำเวรแล้วได้อะไร มีแต่คุณครูมาบ่น บางคนก็ด่า บวกทำโทษ ที่ไม่ทำเวร แต่ไม่เคยมีการอธิบายอะไร

ถึงแม้จะเข้าใจอย่างนั้นก็ตาม ก็ยังมีข้อสังเกตอยู่ดีว่า
1. การศึกษา ถือเป็นการให้บริการชนิดหนึ่งหรือไม่ ถ้าใช่ ผมก็ลองเปรียบเทียบดูว่า เวลาเราไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร ก็เป็นการเข้ารับบริการอย่างหนึ่งเหมือนกัน เวลาจ่ายเงินค่าอาหาร และทิป ก็จะได้รับคำขอบคุณจากทางร้าน และพนักงานของร้าน ไม่เห็นเราต้องมาทำความสะอาดร้าน ยกโต๊ะเก็บของเลย ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองเราจ่ายเงินให้กับโรงเรียน เพื่อให้เราได้รับการศึกษา แต่กลับต้องมาทำความสะอาดห้อง ทำความสะอาดโรงเรียน นอกเหนือจากหลักสูตรการเรียน ไม่เคยได้รับคำขอบคุณของคนที่ได้รับเงินไป หรือพนักงานของโรงเรียนนั้น ทั้งที่เราเป็นผู้อุปการะคุณกิจการโรงเรียนแท้ๆ แถมเราต้องทำความเคารพด้วยอีกต่างหาก
2. ต่างประเทศ ก็ไม่เคยต้องให้นักเรียนมาทำความสะอาดโรงเรียนเลยนะครับ แล้วโรงเรียนในประเทศไทยไปรับวัฒนธรรมนี้มาจากดาวไหนกัน หรือเราเป็นผู้นำเทรนนี้มาหลายทศวรรต (แต่ก็ไม่เห็นมีใครตามนะ)
3. ภารโรงมีไว้ทำอะไรครับ จ้างมาเพื่อ? ทั้งที่ใช้แรงงานนักเรียนกันอยู่แล้วนี่
4. เคยจะมีการบอกวัตถุประสงค์ ข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด ของการทำเวรบ้างไหมครับ
5. ถ้าการทำเวร คือการฝึกการเสียสละเพื่อส่วนรวมแบบที่กล่าวไว้ตอนต้น แล้ว มันไม่มี option อื่น campaign อื่น นอกจากการทำเวร เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กนักเรียนแล้วเหรอครับ
6. คิดว่า ได้ผลมั๊ยครับ

เจ้าคิกคักเจ้าคิกคักเจ้าคิกคักเจ้าคิกคักเจ้าคิกคัก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่