ทศกัณฐ์กรำศึก คือฉายาที่ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ตั้งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ปี 2553 พร้อมกับอธิบายว่า เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในทุกเรื่อง เปรียบเหมือนทศกัณฑ์ที่มีหลายหน้า
อาทิ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง,เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ,ผู้จัดการรัฐบาล,บิดานายแทน เทือกสุบรรณ ที่ตกเป็นผู้ต้องหาการครอบครองที่ดินเขาแพง เกาะสมุย จ. สุราษฎร์ธานีผิดกฎหมาย ทำให้ต้องเผชิญศึกหนักจากรอบด้าน ทั้งศึกที่จบไปแล้ว และศึกที่ยังดำรงอยู่ แต่ด้วยประสบการณ์การเมืองสูง รอบจัด จึงเอาตัวรอดจากศึกรอบด้านมาได้ ขนาดหลุดจากเก้าอี้ส.ส. เพราะถือหุ้นต้องห้าม ตามด้วยการไขต้องลาออกจากรองนายกฯ แล้วลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม สุดท้ายก็ฟื้นชีพการเมืองครบทุกตำแหน่ง เปรียบเสมือนทศกัณฑ์ที่ถอดกล่องดวงใจได้ ไม่มีวันสิ้นชีพ
คำอธิบายนี้ ยังสะท้อนตัวตนนายสุเทพ ในฐานะแกนนำผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเริ่มจากการต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และยกระดับเป็นต่อต้านรัฐบาล ด้วยวิธีการกดดันทุกรูปแบบ และอ้างการชุมนุมสันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธ โดยประกาศว่าหากล้มรัฐบาลไม่ได้ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน จะผูกคอตาย
แม้จะมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ เพื่อกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ปีหน้า แต่นายสุเทพ ยังเคลื่อนไหวด้วยการนำมวลชนเข้าปิดล้อมและบุกรุกสถานที่ราชการ หลายแห่ง เพื่อกดดันให้รัฐบาลรักษาการลาออก โดยมีการอ้างต่อสู้ครั้งสุดท้ายในหลายครั้ง แม้กระทั่งการปราศรัยคุกคามบุตรชายวัย 10 ขวบของนายกรัฐมนตรี
ลักษณะการเคลื่อนไหวของนายสุเทพ คือการเดินเข้าสู่สูญญากาศทางการเมือง เพื่อทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน และจัดตั้งสภาประชาชน โดยมีเขาเป็นผู้นำจัดตั้ง แม้หลายฝ่ายจะออกมาทักท้วงเพราะไม่เป็นหลักการประชาธิปไตยและ ขาดหลักนิติธรรม แต่นายสุเทพยัง อ้างเหตุผลการปฏิรูปประเทศ และมีความพยายามขัดขวางการเลือกตั้ง
ท้วงทำนองการปราศรัยของนายสุเทพ ตลอด 2 เดือนของการชุมนุม ล้วนเป็นการปลุกระดมมวลมหาประชาชนให้ต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะตำรวจทุกรูปแบบ และล่าสุดประกาศปิดกรุงเทพมหานครในช่วงต้นปี 2557 และไล่คนที่เห็นต่างออกจากกรุงเทพ
ผิดกับการท่าทีสมัยที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ช่วงการชุมนุมขับไล่รัฐบาล ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ของกลุ่ม นปช. ปี 2553 ซึ่งเขาได้สั่งหน่วยงานบังคับการใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้ชุมนุมทุกรูปแบบ แม้กระทั่งการใช้กำลังทหารและกระสุนจริงเข้าสลายการชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิต 99 ราย และบาดเจ็บนับ พันราย
วันนี้ นายสุเทพ ในฐานะ แกนนำกปปส.ตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ในข้อหากบฎ ที่ปฏิเสธเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ และนายสุเทพ ในฐานะอดีตผู้อำนวยการ ศอฉ.เมื่อปี 2553 คือผู้ต้องหาในความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่า ที่เลื่อนนัดการส่งฟ้องคดีต่อศาลเช่นกัน
แม้นายสุเทพ จะเปรียบเป็นทศกัณฑ์ ที่มีถึง 10 หน้า แต่ยังไม่ได้ใช้หน้าที่ต้องเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมใน 2 ข้อหาที่มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต
ที่มา :
http://shows.voicetv.co.th/voice-news/92683.html
30 ธันวาคม 2556
เปรียบ 'สุเทพ เทือกสุบรรณ'เป็น ทศกัณฐ์
ทศกัณฐ์กรำศึก คือฉายาที่ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ตั้งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ปี 2553 พร้อมกับอธิบายว่า เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในทุกเรื่อง เปรียบเหมือนทศกัณฑ์ที่มีหลายหน้า
อาทิ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง,เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ,ผู้จัดการรัฐบาล,บิดานายแทน เทือกสุบรรณ ที่ตกเป็นผู้ต้องหาการครอบครองที่ดินเขาแพง เกาะสมุย จ. สุราษฎร์ธานีผิดกฎหมาย ทำให้ต้องเผชิญศึกหนักจากรอบด้าน ทั้งศึกที่จบไปแล้ว และศึกที่ยังดำรงอยู่ แต่ด้วยประสบการณ์การเมืองสูง รอบจัด จึงเอาตัวรอดจากศึกรอบด้านมาได้ ขนาดหลุดจากเก้าอี้ส.ส. เพราะถือหุ้นต้องห้าม ตามด้วยการไขต้องลาออกจากรองนายกฯ แล้วลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม สุดท้ายก็ฟื้นชีพการเมืองครบทุกตำแหน่ง เปรียบเสมือนทศกัณฑ์ที่ถอดกล่องดวงใจได้ ไม่มีวันสิ้นชีพ
คำอธิบายนี้ ยังสะท้อนตัวตนนายสุเทพ ในฐานะแกนนำผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเริ่มจากการต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และยกระดับเป็นต่อต้านรัฐบาล ด้วยวิธีการกดดันทุกรูปแบบ และอ้างการชุมนุมสันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธ โดยประกาศว่าหากล้มรัฐบาลไม่ได้ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน จะผูกคอตาย
แม้จะมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ เพื่อกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ปีหน้า แต่นายสุเทพ ยังเคลื่อนไหวด้วยการนำมวลชนเข้าปิดล้อมและบุกรุกสถานที่ราชการ หลายแห่ง เพื่อกดดันให้รัฐบาลรักษาการลาออก โดยมีการอ้างต่อสู้ครั้งสุดท้ายในหลายครั้ง แม้กระทั่งการปราศรัยคุกคามบุตรชายวัย 10 ขวบของนายกรัฐมนตรี
ลักษณะการเคลื่อนไหวของนายสุเทพ คือการเดินเข้าสู่สูญญากาศทางการเมือง เพื่อทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน และจัดตั้งสภาประชาชน โดยมีเขาเป็นผู้นำจัดตั้ง แม้หลายฝ่ายจะออกมาทักท้วงเพราะไม่เป็นหลักการประชาธิปไตยและ ขาดหลักนิติธรรม แต่นายสุเทพยัง อ้างเหตุผลการปฏิรูปประเทศ และมีความพยายามขัดขวางการเลือกตั้ง
ท้วงทำนองการปราศรัยของนายสุเทพ ตลอด 2 เดือนของการชุมนุม ล้วนเป็นการปลุกระดมมวลมหาประชาชนให้ต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะตำรวจทุกรูปแบบ และล่าสุดประกาศปิดกรุงเทพมหานครในช่วงต้นปี 2557 และไล่คนที่เห็นต่างออกจากกรุงเทพ
ผิดกับการท่าทีสมัยที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ช่วงการชุมนุมขับไล่รัฐบาล ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ของกลุ่ม นปช. ปี 2553 ซึ่งเขาได้สั่งหน่วยงานบังคับการใช้กฎหมายดำเนินการกับผู้ชุมนุมทุกรูปแบบ แม้กระทั่งการใช้กำลังทหารและกระสุนจริงเข้าสลายการชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิต 99 ราย และบาดเจ็บนับ พันราย
วันนี้ นายสุเทพ ในฐานะ แกนนำกปปส.ตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ในข้อหากบฎ ที่ปฏิเสธเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ และนายสุเทพ ในฐานะอดีตผู้อำนวยการ ศอฉ.เมื่อปี 2553 คือผู้ต้องหาในความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่า ที่เลื่อนนัดการส่งฟ้องคดีต่อศาลเช่นกัน
แม้นายสุเทพ จะเปรียบเป็นทศกัณฑ์ ที่มีถึง 10 หน้า แต่ยังไม่ได้ใช้หน้าที่ต้องเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมใน 2 ข้อหาที่มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต
ที่มา : http://shows.voicetv.co.th/voice-news/92683.html
30 ธันวาคม 2556