จริงๆ สัปดาห์นี้ผมว่าจะหนีๆ จากเรื่องวงการไอดอลญี่ปุ่นซะบ้างครับ หลังจากที่ผมเอาแต่พูดเกี่ยวกับตระกูล 48 มาโดยตลอด
แต่หลังจากที่มีโอกาสได้คุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นซึ่งทำงานอยู่ในธุรกิจดนตรีและการจัดคอนเสิร์ตต่างๆ (เคยทำงานหลักๆ ในพื้นที่แถวๆ ฟูกุโอกะ) ก็ทำให้ผมได้มุมมองใหม่ๆ ซึ่งคิดว่ามันน่าสนใจและควรจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ชาว marumura ฟังครับ (อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นำมาเขียนในบทความนี้ เป็นความคิดส่วนตัวของคนที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่มุมมองอย่างเป็นทางการจากทาง48กรุ๊ปแต่อย่างใด)
ประเด็นที่เราพูดคุยกันก็คือมุมมองของตระกูล 48 ต่อวงการดนตรีในเมืองไทย และ ทำไมจนถึงตอนนี้ ตลาดของไอดอลญี่ปุ่นจึงแคบมากๆ หากเทียบกับไอดอลเกาหลี ที่ไม่ว่าจะเป็นวงใหม่ขนาดไหน ก็ได้รับเสียงตอบรับดีๆ จากชาวไทยแทบจะ 100% โดยในจุดนี้ เขามองว่าส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเรื่องของการตลาดซึ่งเกาหลีได้เข้ามาวางรากฐานในไทยไว้แข็งแรงมาก และมันก็อันตรายต่อทาง AKB48 เองมากๆ หากพวกเธอจะเลือกแข่งขันโดยไม่ได้วางแผนเฉพาะทางสำหรับประเทศไทย เพราะตลาดเพลงประเทศไทยเต็มไปด้วยปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ และที่สำคัญคือเราจะมองแต่ในแง่ผู้บริโภคไม่ได้ การถูกละเมิดลิขสิทธิ์คือเรื่องสำคัญ ซึ่งหากเราหวังจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในต่างประเทศ ก็ต้องรับมืออย่างถูกวิธี ไม่ใช่แค่ขายลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายไปโดยไม่มีแผนอะไรรองรับเลย
ผมถามต่อว่าเรื่องคอนเสิร์ตล่ะ? จะเป็นไปได้ไหมในอนาคตอันใกล้นี้ ? เขาบอกผมว่าตามความรู้สึกคิดว่าโอกาสน้อยมาก เพราะ AKB48 คือวงที่มีสเกลใหญ่มาก ทั้งด้วยจำนวนสมาชิกและโปรดักชั่นทุกอย่าง ที่สำคัญที่สุด เขาคิดว่าฐานแฟนคลับของคนไทยยังน้อย และมันจะไม่ดีแน่ๆ หากเราเอาวงไอดอลอันดับ 1 ของญี่ปุ่นมาเล่นในฮอลล์เล็กๆ ในขณะที่วงระดับกลางของประเทศอื่น ได้แสดงในฮอลล์ที่ใหญ่ระดับประเทศ ดังนั้นแนวทางที่น่าจะเกิดขึ้นได้มากที่สุดก็คืองานมิวสิค เฟสติวัล ที่ศิลปินทุกคนอยู่ในสเกลเดียวกัน และอาจกำหนดให้มีเพียงสมาชิกเซ็นบัตสึขึ้นแสดง
อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าตระกูล 48 เกรงกลัวต่อการแข่งขัน แต่เขามองว่า AKB48 ยังไม่ได้ให้เวลามากพอกับตลาดในเมืองไทย ดังนั้นการเร่งทำอะไรสักอย่างโดยที่ฐานไม่มั่นคง คือความน่ากลัวอย่างใหญ่หลวง ต่างกับทางฝั่งเกาหลีที่มีรากฐานแข็งแกร่งมากในไทย จึงทำให้คนสามารถเปิดใจรับได้ทุกๆ วง
นั่นคือมุมมองหนึ่งที่ผมได้รับมาครับ จากนั้นผมก็นำประเด็นคล้ายๆ กันนี้ไปคุยกับทางแอดมินของเพจ akb48thailandfanclub ซึ่งแอดมินก็ได้สรุปมุมมองเกี่ยวกับตระกูล48และตลาดเมืองไทยไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ครับ
“ถ้าให้พูดถึงการก้าวขึ้นมาหรือฐานะของ AKB ในตอนนี้ ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ความตั้งใจแรกของอะกิโมะโตะ ยาซูชิ ที่ต้องการจะทำให้นักร้องของตัวเองเป็นไอดอลในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยปกติเมื่อเรานึกถึงดาราหรือนักร้อง ก็จะเห็นภาพของอะไรที่จับต้องไม่ได้ เข้าถึงได้ยาก ดังนั้นยาซูชิจึงสร้าง AKB ขึ้นมาให้เป็นไอดอลที่แตกต่างออกไปจากเดิม หรือที่เรียกกันว่า "ไอดอลของประชาชน" กล่าวคือ แฟนๆ สามารถเข้าถึงสาวๆ ได้ จึงเกิด Theater ที่อะกิฮะบะระขึ้นมา ไว้สำหรับให้สาวๆ ทำการแสดงและแฟนๆ ก็สามารถเข้าชมและได้ใกล้ชิดกับสาวๆ ได้ทุกวัน รวมถึงมีการจัดอีเว้นท์สำหรับถ่ายรูปหรือจับมือกับสาวๆ ในบางโอกาส ทำให้ AKB เป็นไอดอลที่แฟนๆ หลงรักได้ไม่ยาก ส่วนในเรื่องของการสนับสนุนจากภาครัฐน่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าภาครัฐเริ่มหันมาสนใจสาวๆในช่วงที่มีชื่อเสียงมากๆ (น่าจะ2-3ปีให้หลังมานี้) โดยการให้เป็นพรีเซนเตอร์หรือร่วมโปรโมทโครงการต่างๆ
ส่วนการที่แฟนๆ ได้ให้ความสนใจ หรือหลงรัก AKB นั้น ก็น่าจะมาจากที่ได้พูดไปแล้วคือ AKB เป็นไอดอลที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องมองผ่านภาพถ่ายอย่างเดียว รวมถึงหน้าตาของสมาชิกที่น่ารักน่าเอ็นดู (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของไอดอลอยู่แล้ว จึงคิดว่าจุดนี้ไม่น่าจะมีอิทธิพลมากถึงขนาดที่ทำให้แฟนๆทุ่มเทความรักความ สนใจให้มากมายขนาดนั้น) และการที่สมาชิกของวงเยอะนั้น ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับการชื่นชอบของแฟนๆ เพราะจะได้ทำให้แฟนๆ ได้เห็นอะไรใหม่ๆ ของ AKB (รวมถึงทุกวงใน 48 Group) อยู่ตลอดเวลา
ถ้าให้เทียบ AKB กับนักร้องเกาหลีที่เข้ามาในบ้านเรา ขอพูดถึงที่เป็นเกิร์ลกรุ๊ปละกันนะคะ เอาจริงๆ ก็พูดยากนะ เพราะว่ามันคนละแนวกันเลย ทางฝั่งเกาหลีจะเน้นแบบ เต้นกระจุย หัวหลุด เซ็กซี่ และเนื้อหาของเพลงก็จะใกล้เคียงกับไทย คือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาว ในขณะที่ AKB จะเกี่ยวกับเรื่องเพื่อน เรื่องการจากลา ซึ่งไม่ค่อยจะมาทางรักๆ ใคร่ๆ แบบหนุ่มสาวมากนัก คนไทยเลยไม่อิน (จริงๆต้องว่ากันตั้งแต่เรื่องพื้นฐานเพลงของญี่ปุ่น โดยส่วนตัวเข้าใจว่าเป็นเพลงที่เนื้อร้องแอ็บสแตร็กอยู่แล้ว พูดง่ายๆ คือ บางท่อนจะพูดทำไม ไม่เห็นเกี่ยวกับเพลงหรือชื่อเพลงเลย)
และอีกอย่างหนึ่งคือ คนไทยมีอิมเมจลบกับการที่ดารานักร้องอายุน้อยๆ ต้องใส่บิกินี หรือนุ่งน้อยห่มน้อยออกสื่อ และ AKB ก็เป็นไอดอลวงหนึ่งที่ถ่ายชุดว่ายน้ำบ่อยมาก (เสียงสูง) จึงคิดว่าจุดนี้น่าจะเป็นเหตุผลหลักเลยที่แม้แต่ค่ายเพลงรวมถึงภาครัฐและเอกชนไม่ให้การสนับสนุนตรงนี้
ดังนั้นสิ่งที่ AKB ขาดสำหรับการตีตลาดเพลงไทย น่าจะเป็นเนื้อหาเพลง หรือสไตล์การร้องมากกว่า คือเปลี่ยนจากร้องพร้อมๆ กันคีย์เดียวกัน เป็นคนละคีย์ ให้คล้ายๆ สไตล์อะแคปเปลา ส่วนเรื่องคอสตูมจะให้ไปปรับ คงจะไม่ได้ มันก็จะไม่เหมาะ โดยส่วนตัวคิดว่าแบบนี้แหละคือ AKB คือการใส่ชุดนักเรียนญี่ปุ่น หรือชุดที่เป็นกระโปรงสั้นๆ มาทำการแสดง (จริงๆ แล้วข้างในไม่ใช่กางเกงซับในแบบแนบเนื้อนะ เป็นกางเกงขาสั้นเลย แต่ตรงชายจะเป็นลูกไม้ ทำให้กระโปรงดูบานๆ) ถ้าเปลี่ยนไปเป็นแบบเกาหลี จะทำให้ตัวตนของ AKB หายไป และก็จะกลายเป็นว่าวงนี้แต่งตัวตามวงเกาหลีวงนั้นวงนี้อีก ก็จะทำให้ตีตลาดไทยไม่ได้ซักที คนไทยยิ่งชอบดราม่าชอบอคติอะไรกันในเรื่องแบบนี้อยู่
ส่วนเรื่องการทำคอนเสิร์ต น่าจะไม่ใช่เร็วๆ นี้ เพราะต้นสังกัดน่าจะต้องคำนึงถึงหลายอย่างของประเทศที่จะไปเปิดทำการแสดง และเนื่องจากจำนวนสมาชิกที่มาก ก็ต้องมีการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนามากขึ้นไปอีก ซึ่งข่าวหรือปัญหาของแฟนคลับที่ไปรับดารานักร้องเกาหลีญี่ปุ่นก็มีให้เห็น อยู่บางส่วนที่ทำตัวเรียบร้อยก็มี แต่ที่สื่อนำเสนอไปนั้นเป็นข่าวไม่ดี และยิ่งปัญหาการเมืองบ้านเรายังไม่สงบ ทั้งหมดก็จะทำให้การตัดสินใจของต้นสังกัดที่จะมาประเทศเราน่าจะเป็นไปได้ยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี คงต้องติดตามกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร
ทั้งนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว และขอบอกก่อนว่าไม่ได้ชอบ AKB มาตั้งแต่เริ่มเดบิวต์ จึงอาจจะมีบางความเห็นที่อาจผิดพลาดหรือไม่ตรงกับผู้อ่านท่านใด ต้องขออภัยด้วยนะคะ”
สำหรับผู้อ่านท่านไหนที่เป็นแฟนของสาวๆ ไอดอลญี่ปุ่น และอยากแลกเปลี่ยนมุมมอง ก็คอมเมนต์พูดคุยกันได้เลยนะครับ ติดตามข้อมูลข่าวสารของตระกูล48ได้ทาง facebook.com/akb48thailandfanclub และติดต่อผู้เขียนโดยตรงได้ทางทวิตเตอร์ @pumiiiiiiiiii ครับ !
ที่มา
http://www.marumura.com/talkative/?id=4460
AKB48 กับประเทศไทย
แต่หลังจากที่มีโอกาสได้คุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นซึ่งทำงานอยู่ในธุรกิจดนตรีและการจัดคอนเสิร์ตต่างๆ (เคยทำงานหลักๆ ในพื้นที่แถวๆ ฟูกุโอกะ) ก็ทำให้ผมได้มุมมองใหม่ๆ ซึ่งคิดว่ามันน่าสนใจและควรจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ชาว marumura ฟังครับ (อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นำมาเขียนในบทความนี้ เป็นความคิดส่วนตัวของคนที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่มุมมองอย่างเป็นทางการจากทาง48กรุ๊ปแต่อย่างใด)
ประเด็นที่เราพูดคุยกันก็คือมุมมองของตระกูล 48 ต่อวงการดนตรีในเมืองไทย และ ทำไมจนถึงตอนนี้ ตลาดของไอดอลญี่ปุ่นจึงแคบมากๆ หากเทียบกับไอดอลเกาหลี ที่ไม่ว่าจะเป็นวงใหม่ขนาดไหน ก็ได้รับเสียงตอบรับดีๆ จากชาวไทยแทบจะ 100% โดยในจุดนี้ เขามองว่าส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะเรื่องของการตลาดซึ่งเกาหลีได้เข้ามาวางรากฐานในไทยไว้แข็งแรงมาก และมันก็อันตรายต่อทาง AKB48 เองมากๆ หากพวกเธอจะเลือกแข่งขันโดยไม่ได้วางแผนเฉพาะทางสำหรับประเทศไทย เพราะตลาดเพลงประเทศไทยเต็มไปด้วยปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ และที่สำคัญคือเราจะมองแต่ในแง่ผู้บริโภคไม่ได้ การถูกละเมิดลิขสิทธิ์คือเรื่องสำคัญ ซึ่งหากเราหวังจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในต่างประเทศ ก็ต้องรับมืออย่างถูกวิธี ไม่ใช่แค่ขายลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายไปโดยไม่มีแผนอะไรรองรับเลย
ผมถามต่อว่าเรื่องคอนเสิร์ตล่ะ? จะเป็นไปได้ไหมในอนาคตอันใกล้นี้ ? เขาบอกผมว่าตามความรู้สึกคิดว่าโอกาสน้อยมาก เพราะ AKB48 คือวงที่มีสเกลใหญ่มาก ทั้งด้วยจำนวนสมาชิกและโปรดักชั่นทุกอย่าง ที่สำคัญที่สุด เขาคิดว่าฐานแฟนคลับของคนไทยยังน้อย และมันจะไม่ดีแน่ๆ หากเราเอาวงไอดอลอันดับ 1 ของญี่ปุ่นมาเล่นในฮอลล์เล็กๆ ในขณะที่วงระดับกลางของประเทศอื่น ได้แสดงในฮอลล์ที่ใหญ่ระดับประเทศ ดังนั้นแนวทางที่น่าจะเกิดขึ้นได้มากที่สุดก็คืองานมิวสิค เฟสติวัล ที่ศิลปินทุกคนอยู่ในสเกลเดียวกัน และอาจกำหนดให้มีเพียงสมาชิกเซ็นบัตสึขึ้นแสดง
อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าตระกูล 48 เกรงกลัวต่อการแข่งขัน แต่เขามองว่า AKB48 ยังไม่ได้ให้เวลามากพอกับตลาดในเมืองไทย ดังนั้นการเร่งทำอะไรสักอย่างโดยที่ฐานไม่มั่นคง คือความน่ากลัวอย่างใหญ่หลวง ต่างกับทางฝั่งเกาหลีที่มีรากฐานแข็งแกร่งมากในไทย จึงทำให้คนสามารถเปิดใจรับได้ทุกๆ วง
นั่นคือมุมมองหนึ่งที่ผมได้รับมาครับ จากนั้นผมก็นำประเด็นคล้ายๆ กันนี้ไปคุยกับทางแอดมินของเพจ akb48thailandfanclub ซึ่งแอดมินก็ได้สรุปมุมมองเกี่ยวกับตระกูล48และตลาดเมืองไทยไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ครับ
“ถ้าให้พูดถึงการก้าวขึ้นมาหรือฐานะของ AKB ในตอนนี้ ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ความตั้งใจแรกของอะกิโมะโตะ ยาซูชิ ที่ต้องการจะทำให้นักร้องของตัวเองเป็นไอดอลในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยปกติเมื่อเรานึกถึงดาราหรือนักร้อง ก็จะเห็นภาพของอะไรที่จับต้องไม่ได้ เข้าถึงได้ยาก ดังนั้นยาซูชิจึงสร้าง AKB ขึ้นมาให้เป็นไอดอลที่แตกต่างออกไปจากเดิม หรือที่เรียกกันว่า "ไอดอลของประชาชน" กล่าวคือ แฟนๆ สามารถเข้าถึงสาวๆ ได้ จึงเกิด Theater ที่อะกิฮะบะระขึ้นมา ไว้สำหรับให้สาวๆ ทำการแสดงและแฟนๆ ก็สามารถเข้าชมและได้ใกล้ชิดกับสาวๆ ได้ทุกวัน รวมถึงมีการจัดอีเว้นท์สำหรับถ่ายรูปหรือจับมือกับสาวๆ ในบางโอกาส ทำให้ AKB เป็นไอดอลที่แฟนๆ หลงรักได้ไม่ยาก ส่วนในเรื่องของการสนับสนุนจากภาครัฐน่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าภาครัฐเริ่มหันมาสนใจสาวๆในช่วงที่มีชื่อเสียงมากๆ (น่าจะ2-3ปีให้หลังมานี้) โดยการให้เป็นพรีเซนเตอร์หรือร่วมโปรโมทโครงการต่างๆ
ส่วนการที่แฟนๆ ได้ให้ความสนใจ หรือหลงรัก AKB นั้น ก็น่าจะมาจากที่ได้พูดไปแล้วคือ AKB เป็นไอดอลที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องมองผ่านภาพถ่ายอย่างเดียว รวมถึงหน้าตาของสมาชิกที่น่ารักน่าเอ็นดู (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของไอดอลอยู่แล้ว จึงคิดว่าจุดนี้ไม่น่าจะมีอิทธิพลมากถึงขนาดที่ทำให้แฟนๆทุ่มเทความรักความ สนใจให้มากมายขนาดนั้น) และการที่สมาชิกของวงเยอะนั้น ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับการชื่นชอบของแฟนๆ เพราะจะได้ทำให้แฟนๆ ได้เห็นอะไรใหม่ๆ ของ AKB (รวมถึงทุกวงใน 48 Group) อยู่ตลอดเวลา
ถ้าให้เทียบ AKB กับนักร้องเกาหลีที่เข้ามาในบ้านเรา ขอพูดถึงที่เป็นเกิร์ลกรุ๊ปละกันนะคะ เอาจริงๆ ก็พูดยากนะ เพราะว่ามันคนละแนวกันเลย ทางฝั่งเกาหลีจะเน้นแบบ เต้นกระจุย หัวหลุด เซ็กซี่ และเนื้อหาของเพลงก็จะใกล้เคียงกับไทย คือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาว ในขณะที่ AKB จะเกี่ยวกับเรื่องเพื่อน เรื่องการจากลา ซึ่งไม่ค่อยจะมาทางรักๆ ใคร่ๆ แบบหนุ่มสาวมากนัก คนไทยเลยไม่อิน (จริงๆต้องว่ากันตั้งแต่เรื่องพื้นฐานเพลงของญี่ปุ่น โดยส่วนตัวเข้าใจว่าเป็นเพลงที่เนื้อร้องแอ็บสแตร็กอยู่แล้ว พูดง่ายๆ คือ บางท่อนจะพูดทำไม ไม่เห็นเกี่ยวกับเพลงหรือชื่อเพลงเลย)
และอีกอย่างหนึ่งคือ คนไทยมีอิมเมจลบกับการที่ดารานักร้องอายุน้อยๆ ต้องใส่บิกินี หรือนุ่งน้อยห่มน้อยออกสื่อ และ AKB ก็เป็นไอดอลวงหนึ่งที่ถ่ายชุดว่ายน้ำบ่อยมาก (เสียงสูง) จึงคิดว่าจุดนี้น่าจะเป็นเหตุผลหลักเลยที่แม้แต่ค่ายเพลงรวมถึงภาครัฐและเอกชนไม่ให้การสนับสนุนตรงนี้
ดังนั้นสิ่งที่ AKB ขาดสำหรับการตีตลาดเพลงไทย น่าจะเป็นเนื้อหาเพลง หรือสไตล์การร้องมากกว่า คือเปลี่ยนจากร้องพร้อมๆ กันคีย์เดียวกัน เป็นคนละคีย์ ให้คล้ายๆ สไตล์อะแคปเปลา ส่วนเรื่องคอสตูมจะให้ไปปรับ คงจะไม่ได้ มันก็จะไม่เหมาะ โดยส่วนตัวคิดว่าแบบนี้แหละคือ AKB คือการใส่ชุดนักเรียนญี่ปุ่น หรือชุดที่เป็นกระโปรงสั้นๆ มาทำการแสดง (จริงๆ แล้วข้างในไม่ใช่กางเกงซับในแบบแนบเนื้อนะ เป็นกางเกงขาสั้นเลย แต่ตรงชายจะเป็นลูกไม้ ทำให้กระโปรงดูบานๆ) ถ้าเปลี่ยนไปเป็นแบบเกาหลี จะทำให้ตัวตนของ AKB หายไป และก็จะกลายเป็นว่าวงนี้แต่งตัวตามวงเกาหลีวงนั้นวงนี้อีก ก็จะทำให้ตีตลาดไทยไม่ได้ซักที คนไทยยิ่งชอบดราม่าชอบอคติอะไรกันในเรื่องแบบนี้อยู่
ส่วนเรื่องการทำคอนเสิร์ต น่าจะไม่ใช่เร็วๆ นี้ เพราะต้นสังกัดน่าจะต้องคำนึงถึงหลายอย่างของประเทศที่จะไปเปิดทำการแสดง และเนื่องจากจำนวนสมาชิกที่มาก ก็ต้องมีการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนามากขึ้นไปอีก ซึ่งข่าวหรือปัญหาของแฟนคลับที่ไปรับดารานักร้องเกาหลีญี่ปุ่นก็มีให้เห็น อยู่บางส่วนที่ทำตัวเรียบร้อยก็มี แต่ที่สื่อนำเสนอไปนั้นเป็นข่าวไม่ดี และยิ่งปัญหาการเมืองบ้านเรายังไม่สงบ ทั้งหมดก็จะทำให้การตัดสินใจของต้นสังกัดที่จะมาประเทศเราน่าจะเป็นไปได้ยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี คงต้องติดตามกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร
ทั้งนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว และขอบอกก่อนว่าไม่ได้ชอบ AKB มาตั้งแต่เริ่มเดบิวต์ จึงอาจจะมีบางความเห็นที่อาจผิดพลาดหรือไม่ตรงกับผู้อ่านท่านใด ต้องขออภัยด้วยนะคะ”
สำหรับผู้อ่านท่านไหนที่เป็นแฟนของสาวๆ ไอดอลญี่ปุ่น และอยากแลกเปลี่ยนมุมมอง ก็คอมเมนต์พูดคุยกันได้เลยนะครับ ติดตามข้อมูลข่าวสารของตระกูล48ได้ทาง facebook.com/akb48thailandfanclub และติดต่อผู้เขียนโดยตรงได้ทางทวิตเตอร์ @pumiiiiiiiiii ครับ !
ที่มา http://www.marumura.com/talkative/?id=4460