ทีแรกตอนเห็นคะแนนใน IMDB ของหนังเรื่องนี้ พุ่งไปตั้ง 8.4 ก็แอบคิดในใจว่า
"แฟนผีมาช่วยกันกดแหง"
เพราะ หนังเกี่ยวกับทีมฟุตบอลจากเมืองแมนเชสเตอร์ทีมนี้เรื่องก่อนหน้าอย่าง UNITED ที่จัดทำโดยทีมงาน BBC ก็มีปรากฏการณ์ที่คล้ายๆกัน เนื่องจากแฟนบอล/แฟนหนังบางส่วนชอบมาก แต่ไม่ถูกใจนักวิจารณ์นัก นอกจากนั้นหนังยังมีดราม่าเรื่องบิดเบือนจากความเป็นจริง และทำหนังแบบไม่ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องอีกต่างหาก
Class Of 92 เป็นคำเรียกขานชื่อกลุ่มนักฟุตบอลในยุคหนึ่งของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งนักฟุตบอลกลุ่มนี้ได้สร้างปรากฏการณ์ที่สำคัญยิ่งต่อทีมฟุตบอลยักษ์ใหญ่แห่งอังกฤษ ด้วยการคว้าโทรฟี่ระดับประเทศ 26 ถ้วย รวมทั้งติดทีมชาติรวมกัน 468 เกม และ ลงเล่นในแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 3,268 เกม
สิ่งสำคัญที่
The Class Of 92 มีมากกว่าการขายแค่ "ชีวิตนักเตะคนดังแห่งยุค" อย่าง แกรี่ เนวิลล์, ไรอัน กิ๊กซ์, ฟิล เนวิลล์, เดวิด เบคแฮม, พอล สโคลล์ และ นิคกี้ บัตต์ คือ นี่หนังหนังสารคดีเกี่ยวกับยุคสมัยสำคัญของอังกฤษ อย่างช่วงทศวรรษ 90's ที่ดีเยี่ยมเรื่องนึง
พูดถึงอังกฤษ คุณนึกถึงอะไร?
แน่นอนว่าเราไม่ได้หมายถึง หอนาฬิกาบิ๊กเบน หรือ ลอนดอนอายส์ แต่เรากำลังหมายถึง ประเทศอังกฤษมีอิทธิพลอะไรบ้างกับชีวิตคุณ
สิ่งนี้ถูกตีโจทย์ไปแล้วครั้งหนึ่งในการแสดงพิธีเปิดใน โอลิมปิคปี 2012 ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน โดยในคราวนั้น แดนนี่ บอล์ย ผู้กำกับชื่อดังรับหน้าที่ควบคุมการแสดงและกำกับการแสดง
ในตอนนั้นหลายคนก็ปรามาสว่า "แดนนี่ บอล์ย จะสร้างพิธีเปิดและปิดได้อลังการกว่า ที่จางอี้โหมวทำที่ปักกิ่งได้ยังไง?" แน่นอนว่า โอลิมปิคปี 2008 ที่ปักกิ่ง จางอี้โหมว*ได้สร้างผลงานที่ยากลืมเลือน
ซึ่งคำปรามาสนี้ก็เป็นเหมือนการประกาศการต่อสู้ของ 2 ผู้กำกับชื่อดังที่มีเลือดรักชาติเข้มข้นนั่นแหละ
(*ทีแรกเขียนวาอังลี ซึ่งอิฉันจำผิดเอง มีคนมาท้วงแก้ด้านล่าง แล้วขอบพระคุณมากค่ะ T_T)
แม้ผลงานของ แดนนี่ บอล์ยจะเข้าถึงยากกว่า (ทั้งงานหนังและการแสดงในพิธีเปิด/ปิด) แต่ต้องยอมรับว่า แดนนี่ บอล์ยเป็นนักเล่าเรื่องที่เก่งมากๆคนนึง และ สิ่งที่เขาตีโจทย์ออกมาในความเป็นอังกฤษคือ
ชนชั้นกรรมาชีพ, ฟุตบอล, ดนตรี
หรือ A Symphony of British Music
นั่นคืออังกฤษ
พวกเขามีท่าเรือ มีกิจการโรงถ่านหินอันยิ่งใหญ่ มีคนงานชั้นกรรมาชีพมากมายในประเทศ นั่นคือวิธีที่อังกฤษสร้างประเทศขึ้นมา
นอกจากนั้นสิ่งที่พวกเขามีคือ ฟุตบอล ทีมฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรได้รับความนิยมไปทั่วโลก ฟุตบอลที่สร้างแรงงบรรดาลใจในชีวิต
แต่วัฒนธรรมที่ครองใจและยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษไม่ได้มีแค่ฟุตบอล แต่อุตสาหกรรมดนตรี ได้เปลี่ยนแปลงโลกมาแล้ว ดนตรีของที่นี้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ที่ใดในโลก เป็นต้นกำเนิดแฟชั่น วัฒนธรรม ประเพณี การถือกำเนิดของยุคพังก์ที่เริ่มต้นในการหยุดประท้วงของพนักงานโรงงาน
แดนนี่ บอล์ย พูดถึงอังกฤษไว้เช่นนั้น และได้ถ่ายทอดลงในงานแสดงพิธีปิดของ โอลิมปิคที่ลอนดอนเมื่อปี 2012 ซึ่งความอลังการและตราตรึงใจ ไม่ได้น้อยไปกว่า ผลงานที่อังลี่ทำที่ปักกิ่งเลย (ขณะที่คอนเซปต์ของงานพิธีเปิด คือ คอนเซปต์ดินแดนแ่ห่งตวามพิศวง Isles of Wonder)
ทีนี้ เนื้อหาจริงๆของ The Class Of 92 มันก็เล่าเรื่องทำนองนั้น
ชนชั้นแรงงาน, ฟุตบอล, ดนตรี
นั่นคือ เนื้อหาจริงๆที่เกิดขึ้นใน The Class Of 92
The Class Of '92
(ในภาพคือ Eric Harrison โค้ชทีมเยาวชนกับเด็กๆชุด Class of 92)
ก่อนอื่น นี่เป็นหนังสารคดีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในหมู่แฟนบอล โดยเฉพาะแฟนแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เพราะ Class Of 92 อาจเป็นที่สุดแห่งยุคแล้วจริงๆในยุคหลังๆ พวกเขาได้สร้างผลงานที่ยากลืมเลือนมากมายแก่ สโมสรและแฟนบอล
หนังเล่าเรื่องผ่านบทสัมภาษณ์ของ 6 นักเตะคนดัง เรียงจาก แกรี่ เนวิลล์, ไรอัน กิ๊กซ์, ฟิล เนวิลล์, เดวิด เบคแฮม, พอล สโคลล์ และ นิคกี้ บัตต์ ซึ่งช่วงชีวิตนักเตะอันรุ่งโรจน์ของพวกเขา ที่ไม่ได้มีแค่ฟุตบอล แต่อังกฤษในเวลานั้นยังมีทั้งปัญหาการเมือง ความโด่งดังถึงขีดสุดของดนตรี การถือกำเนิดวง Brit Rock มากมาย การประท้วงรัฐบาลของประชาชน และสิ่งต่างๆเหล่านี้มันก็ส่งผลกระทบกับชีวิตพวกเขาโดยตรง
(Oasis วงดนตรีจากเมืองแมนเชสเตอร์ที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุค 90's แต่ขอโทษ วงนี้เป็นแฟนบอลซิตี้)
รวมทั้ง ฟุตบอลโลก คือ 1 ในเหตุการณ์ระดับชาติของอังกฤษ ซึ่งมันผูกติดกับชีวิตพวกเขาแบบที่ว่า ตัดสินพวกเขาไปทั้งชีวิตเลยทีเดียว
สารคดีนี้ ได้มีแขกรับเชิญพิเศษคนอื่นๆด้วย อย่าง Eric Harrison, Sir Alex Ferguson, Sir Bobby Charlton, Zinedine Zidane, Eric Cantona, Danny Boyle, Tony Blair, Mani ซึ่งแต่ละคนก็มีประสบการณ์ในช่วงยุค 90's แตกต่างกันไป ฟุตบอลถูกผูกไว้กับทุกอย่าง
หนังได้เลือกซีซั่นที่สำคัญยิ่งของ Class Of 92 รวมทั้งของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมา นั่นคือ ฤดูกาล 1998-99 ปีที่พวกเขาคว้าถ้วยบิ๊กเอียร์ เป็นเจ้าฟุตบอลยุโรป ด้วยเกมการแข่งขันที่มีคนถึงขั้นสาบานว่า
"จะไม่มีวันลืมตลอดชีวิต"
หนังมีภาพเกมการแข่งขันในยุคต่างๆแทรกมาเป็นระยะ แต่แมตสำคัญที่หนังเลือกมาได้แก่
- FA CUP รอบ 4 ทีม Manchester United vs Liverpool
- FA CUP รองรองชนะเลิศ Manchester United vs Arsenal
- PREMIERE LEAGUE เกมสุดท้ายในปี 1999 Manchester United vs Tottenham Hotspurs
- FA CUP รอบชิงชนะเลิศ Manchester United vs Newcastle United
- UEFA CHAMPION LEAGUE รอบชิงชนะเลิศ Manchester United vs Bayern Munich
บทสัมภาษณ์ของนักเตะ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ความเป็นมา ว่าพวกเขาเข้ามาอยู่กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้อย่างไร เหตุการณ์สำคัญอะไรที่พวกเขาจะไม่มีวันลืม ซึ่งในช่วงสัมภาษณ์นักเตะแต่ละคนนั้น จะประกอบด้วย คอมเมนท์จากเพื่อนอีก 5 คนด้วย
สิ่งที่นักเตะทุกคนล้วนพูดเหมือนกันว่า พวกเขาต่างเป็น "ครอบครัว" ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญมาก เกิดในช่วงการสัมภาษณ์ของเดวิด เบคแฮม คือ ตอนที่เบคแฮม ได้รับใบแดงในฟุตบอลโลกตอนปี 1998 ซึ่งเหตุการณ์นี้ ส่งส่งผลกระทบมากทั้งในระดับนักเตะ ระดับสโมสร รวมถึงระดับชาติ
เดวิด เบคแฮมถูกโจมตีจากสื่อในอังกฤษอย่างรุนแรง ซึ่งพาดหัวของ Mirror แทบลอยด์เล่มดังดูจะเป็นพาดหัวที่โด่งดังที่สุด
"10 Heroic Lions, One Stupid Boy"
เบคแฮมเล่าว่า "มันเลวร้าย" จริงๆสถานการณ์ในตอนนั้น ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเขาถูกโจมตี ทั้งเพื่อน และครอบครัว ที่เบคแฮมรู้สึกแย่คือ ครอบครัวเขาถูกผู้คนโจมตีเรื่องนี้ตลอดเวลาในตอนนั้น ซึ่งมันทำให้เขารู้สึกแย่จริงๆ
"เมื่อผมกลับมาที่โอลด์ แทรฟอร์ด ที่นั่นมันเหมือนถูกครอบไว้ ไม่มีใครเข้าไปได้ และไม่มีใครออกมาได้ เรื่องเลวร้ายไม่ได้ถูกพูดถึงที่นั่น บอสบอกผมว่า ให้ผมไม่ต้องคิดมาก ไปพักผ่อนซะ เมื่อนายกลับมาทุกคนจะอยู่เคียงข้างนายแบบเดิม และสิ่งที่ผมประทับใจมาก คือ เขาปกป้องผมเสมอ"
เซอร์ อเล็ก เฟอร์กูสัน ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเดวิด เบคแฮมที่เป็นประเด็นร้อนแรงในขณะนั้น โดยบอกกับนักข่าวในห้องแถลงข่าวว่า "เราจะพูดกันแค่เรื่องของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด"
(ลูกยิงประตูครึ่งสนาม เป็นลูกแจ้งเกิดของเดวิด เบคแฮมที่ผู้คนยังจดจำมาจนทุกวันนี้)
สารคดีเริ่มด้วยภาพฟุตเทจของนัดชิง ยูฟ่าแชมเปียนลีกส์ปี 1999 ตอนจบสารคดีเลยจบด้วยผลการแข่งขัน เราต่างรู้ดีว่า ผลสกอร์ในวันนั้นเป็นเช่นไร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด โกงความตาย เอาชนะ บาร์เยิร์น มิวนิคได้ที่สกอร์ 2-1 โดย 2 ลูกนั้นมาจากช่วงทดเวลา 3 นาที
ปีนั้น Class Of 92 อยู่ในชุดที่พาทัมคว้า 3 แชมป์ให้แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด FA CUP,PREMIERE LEAGUE และ UEFA CHAMPION LEAGUE เป็น 3 แชมป์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ยูไนเต็ดมีในรอบหลาย 10 ปี
(ประตูที่ 2 จาก โอเล กุนนาร์ โซลชาร์ ที่ถูกเปลี่ยนตัวลงมาตอนท้ายเกม ทำให้ยูไนเต็ด คว้าถ้วยบิ๊กเอียร์ในที่สุด)
สิ่งที่พาเราไปถึงจุดพีคจริงๆ ที่หนังอุตสาห์เลือกมาใส่ได้อย่างถูกเวลา คือ เสียงคอมเมนเตเตอร์ในเกมการแข่งขันนั้น
ภาพฉายไปที่นักเตะยูไนเต็ด ล้อมวงเข้ามารอถ่ายรูปกับถ้วยแชมป์
"แกรี่ เนวิลล์ 24 ปี,ฟิลล์ เนวิลล์ 22 ปี, เดวิด เบคแฮม 24 ปี, นิกกี้ บัตต์ 24 ปี, กิ๊กส์ 25 ปี ...ไม่ว่าพวกเขาจะได้รับความสำเร็จอะไรก็ตามในอนาคต ผมสงสัยจริง ๆ ว่ามันจะเทียบเท่าครั้งนี้ได้หรือ" ** (ประโยคนี้ไดคำแปลใหม่ที่ได้จากคุณ gibt ในคห.ที่ 25มาช่วยแก้ให้ใหม่ค่ะ ขอบพระคุณมากๆ)
ฤดูกาลนั้นจบลงด้วยถ้วยแชมป์ จาก นักเตะชุดที่เด็กที่สุด ที่เซอร์ อเล็ก เฟอร์กูสันได้โมเดลการทำทีมชุดเยาวชนจาก เซอร์ แมต บัสบี้ ในชุด "บัสบี้เบบส์" บัสบี้เบบส์ เคยเป็นความยิ่งใหญ่ของสโมสรด้วยการถล่มทีมมากมายในลีกส์ ด้วยนักเตะอายุน้อย แต่หลังจากโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ในมิวนิค ทำให้พวกเขาต้องจากไปตลอดกาล นักเตะในยุคนั้น เหลือเพียง เซอร์ บ็อบบี้ ชาร์ฺลตัน เท่านั้น แม้พวกเขาจะไม่ได้ประสบความสำเร็จถึงขีดสุด แต่ก็ถูกจดจำในฐานะ นักเตะชุดที่ยอดเยี่ยมชุดหนึ่งในประวัติศาสตร์ทีม
และวันนี้บรรดานักเตะชุดใหม่ ก็ได้รับเกียรตินั้นเช่นเดียวกัน
นี่คือนักเตะจากทีมเยาวชน ชุดที่ดีที่สุดจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด..
The Class Of 92
The Class Of 92 : มากกว่าแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ..
"แฟนผีมาช่วยกันกดแหง"
เพราะ หนังเกี่ยวกับทีมฟุตบอลจากเมืองแมนเชสเตอร์ทีมนี้เรื่องก่อนหน้าอย่าง UNITED ที่จัดทำโดยทีมงาน BBC ก็มีปรากฏการณ์ที่คล้ายๆกัน เนื่องจากแฟนบอล/แฟนหนังบางส่วนชอบมาก แต่ไม่ถูกใจนักวิจารณ์นัก นอกจากนั้นหนังยังมีดราม่าเรื่องบิดเบือนจากความเป็นจริง และทำหนังแบบไม่ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องอีกต่างหาก
Class Of 92 เป็นคำเรียกขานชื่อกลุ่มนักฟุตบอลในยุคหนึ่งของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งนักฟุตบอลกลุ่มนี้ได้สร้างปรากฏการณ์ที่สำคัญยิ่งต่อทีมฟุตบอลยักษ์ใหญ่แห่งอังกฤษ ด้วยการคว้าโทรฟี่ระดับประเทศ 26 ถ้วย รวมทั้งติดทีมชาติรวมกัน 468 เกม และ ลงเล่นในแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 3,268 เกม
สิ่งสำคัญที่ The Class Of 92 มีมากกว่าการขายแค่ "ชีวิตนักเตะคนดังแห่งยุค" อย่าง แกรี่ เนวิลล์, ไรอัน กิ๊กซ์, ฟิล เนวิลล์, เดวิด เบคแฮม, พอล สโคลล์ และ นิคกี้ บัตต์ คือ นี่หนังหนังสารคดีเกี่ยวกับยุคสมัยสำคัญของอังกฤษ อย่างช่วงทศวรรษ 90's ที่ดีเยี่ยมเรื่องนึง
แน่นอนว่าเราไม่ได้หมายถึง หอนาฬิกาบิ๊กเบน หรือ ลอนดอนอายส์ แต่เรากำลังหมายถึง ประเทศอังกฤษมีอิทธิพลอะไรบ้างกับชีวิตคุณ
สิ่งนี้ถูกตีโจทย์ไปแล้วครั้งหนึ่งในการแสดงพิธีเปิดใน โอลิมปิคปี 2012 ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน โดยในคราวนั้น แดนนี่ บอล์ย ผู้กำกับชื่อดังรับหน้าที่ควบคุมการแสดงและกำกับการแสดง
ในตอนนั้นหลายคนก็ปรามาสว่า "แดนนี่ บอล์ย จะสร้างพิธีเปิดและปิดได้อลังการกว่า ที่จางอี้โหมวทำที่ปักกิ่งได้ยังไง?" แน่นอนว่า โอลิมปิคปี 2008 ที่ปักกิ่ง จางอี้โหมว*ได้สร้างผลงานที่ยากลืมเลือน
ซึ่งคำปรามาสนี้ก็เป็นเหมือนการประกาศการต่อสู้ของ 2 ผู้กำกับชื่อดังที่มีเลือดรักชาติเข้มข้นนั่นแหละ
(*ทีแรกเขียนวาอังลี ซึ่งอิฉันจำผิดเอง มีคนมาท้วงแก้ด้านล่าง แล้วขอบพระคุณมากค่ะ T_T)
แม้ผลงานของ แดนนี่ บอล์ยจะเข้าถึงยากกว่า (ทั้งงานหนังและการแสดงในพิธีเปิด/ปิด) แต่ต้องยอมรับว่า แดนนี่ บอล์ยเป็นนักเล่าเรื่องที่เก่งมากๆคนนึง และ สิ่งที่เขาตีโจทย์ออกมาในความเป็นอังกฤษคือ
ชนชั้นกรรมาชีพ, ฟุตบอล, ดนตรี
หรือ A Symphony of British Music
นั่นคืออังกฤษ
พวกเขามีท่าเรือ มีกิจการโรงถ่านหินอันยิ่งใหญ่ มีคนงานชั้นกรรมาชีพมากมายในประเทศ นั่นคือวิธีที่อังกฤษสร้างประเทศขึ้นมา
นอกจากนั้นสิ่งที่พวกเขามีคือ ฟุตบอล ทีมฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรได้รับความนิยมไปทั่วโลก ฟุตบอลที่สร้างแรงงบรรดาลใจในชีวิต
แต่วัฒนธรรมที่ครองใจและยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษไม่ได้มีแค่ฟุตบอล แต่อุตสาหกรรมดนตรี ได้เปลี่ยนแปลงโลกมาแล้ว ดนตรีของที่นี้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ที่ใดในโลก เป็นต้นกำเนิดแฟชั่น วัฒนธรรม ประเพณี การถือกำเนิดของยุคพังก์ที่เริ่มต้นในการหยุดประท้วงของพนักงานโรงงาน
แดนนี่ บอล์ย พูดถึงอังกฤษไว้เช่นนั้น และได้ถ่ายทอดลงในงานแสดงพิธีปิดของ โอลิมปิคที่ลอนดอนเมื่อปี 2012 ซึ่งความอลังการและตราตรึงใจ ไม่ได้น้อยไปกว่า ผลงานที่อังลี่ทำที่ปักกิ่งเลย (ขณะที่คอนเซปต์ของงานพิธีเปิด คือ คอนเซปต์ดินแดนแ่ห่งตวามพิศวง Isles of Wonder)
ทีนี้ เนื้อหาจริงๆของ The Class Of 92 มันก็เล่าเรื่องทำนองนั้น
ชนชั้นแรงงาน, ฟุตบอล, ดนตรี
นั่นคือ เนื้อหาจริงๆที่เกิดขึ้นใน The Class Of 92
(ในภาพคือ Eric Harrison โค้ชทีมเยาวชนกับเด็กๆชุด Class of 92)
ก่อนอื่น นี่เป็นหนังสารคดีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในหมู่แฟนบอล โดยเฉพาะแฟนแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เพราะ Class Of 92 อาจเป็นที่สุดแห่งยุคแล้วจริงๆในยุคหลังๆ พวกเขาได้สร้างผลงานที่ยากลืมเลือนมากมายแก่ สโมสรและแฟนบอล
หนังเล่าเรื่องผ่านบทสัมภาษณ์ของ 6 นักเตะคนดัง เรียงจาก แกรี่ เนวิลล์, ไรอัน กิ๊กซ์, ฟิล เนวิลล์, เดวิด เบคแฮม, พอล สโคลล์ และ นิคกี้ บัตต์ ซึ่งช่วงชีวิตนักเตะอันรุ่งโรจน์ของพวกเขา ที่ไม่ได้มีแค่ฟุตบอล แต่อังกฤษในเวลานั้นยังมีทั้งปัญหาการเมือง ความโด่งดังถึงขีดสุดของดนตรี การถือกำเนิดวง Brit Rock มากมาย การประท้วงรัฐบาลของประชาชน และสิ่งต่างๆเหล่านี้มันก็ส่งผลกระทบกับชีวิตพวกเขาโดยตรง
(Oasis วงดนตรีจากเมืองแมนเชสเตอร์ที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุค 90's แต่ขอโทษ วงนี้เป็นแฟนบอลซิตี้)
รวมทั้ง ฟุตบอลโลก คือ 1 ในเหตุการณ์ระดับชาติของอังกฤษ ซึ่งมันผูกติดกับชีวิตพวกเขาแบบที่ว่า ตัดสินพวกเขาไปทั้งชีวิตเลยทีเดียว
สารคดีนี้ ได้มีแขกรับเชิญพิเศษคนอื่นๆด้วย อย่าง Eric Harrison, Sir Alex Ferguson, Sir Bobby Charlton, Zinedine Zidane, Eric Cantona, Danny Boyle, Tony Blair, Mani ซึ่งแต่ละคนก็มีประสบการณ์ในช่วงยุค 90's แตกต่างกันไป ฟุตบอลถูกผูกไว้กับทุกอย่าง
หนังได้เลือกซีซั่นที่สำคัญยิ่งของ Class Of 92 รวมทั้งของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมา นั่นคือ ฤดูกาล 1998-99 ปีที่พวกเขาคว้าถ้วยบิ๊กเอียร์ เป็นเจ้าฟุตบอลยุโรป ด้วยเกมการแข่งขันที่มีคนถึงขั้นสาบานว่า
หนังมีภาพเกมการแข่งขันในยุคต่างๆแทรกมาเป็นระยะ แต่แมตสำคัญที่หนังเลือกมาได้แก่
- FA CUP รอบ 4 ทีม Manchester United vs Liverpool
- FA CUP รองรองชนะเลิศ Manchester United vs Arsenal
- PREMIERE LEAGUE เกมสุดท้ายในปี 1999 Manchester United vs Tottenham Hotspurs
- FA CUP รอบชิงชนะเลิศ Manchester United vs Newcastle United
- UEFA CHAMPION LEAGUE รอบชิงชนะเลิศ Manchester United vs Bayern Munich
บทสัมภาษณ์ของนักเตะ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ความเป็นมา ว่าพวกเขาเข้ามาอยู่กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้อย่างไร เหตุการณ์สำคัญอะไรที่พวกเขาจะไม่มีวันลืม ซึ่งในช่วงสัมภาษณ์นักเตะแต่ละคนนั้น จะประกอบด้วย คอมเมนท์จากเพื่อนอีก 5 คนด้วย
สิ่งที่นักเตะทุกคนล้วนพูดเหมือนกันว่า พวกเขาต่างเป็น "ครอบครัว" ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญมาก เกิดในช่วงการสัมภาษณ์ของเดวิด เบคแฮม คือ ตอนที่เบคแฮม ได้รับใบแดงในฟุตบอลโลกตอนปี 1998 ซึ่งเหตุการณ์นี้ ส่งส่งผลกระทบมากทั้งในระดับนักเตะ ระดับสโมสร รวมถึงระดับชาติ
เดวิด เบคแฮมถูกโจมตีจากสื่อในอังกฤษอย่างรุนแรง ซึ่งพาดหัวของ Mirror แทบลอยด์เล่มดังดูจะเป็นพาดหัวที่โด่งดังที่สุด
"10 Heroic Lions, One Stupid Boy"
เบคแฮมเล่าว่า "มันเลวร้าย" จริงๆสถานการณ์ในตอนนั้น ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเขาถูกโจมตี ทั้งเพื่อน และครอบครัว ที่เบคแฮมรู้สึกแย่คือ ครอบครัวเขาถูกผู้คนโจมตีเรื่องนี้ตลอดเวลาในตอนนั้น ซึ่งมันทำให้เขารู้สึกแย่จริงๆ
"เมื่อผมกลับมาที่โอลด์ แทรฟอร์ด ที่นั่นมันเหมือนถูกครอบไว้ ไม่มีใครเข้าไปได้ และไม่มีใครออกมาได้ เรื่องเลวร้ายไม่ได้ถูกพูดถึงที่นั่น บอสบอกผมว่า ให้ผมไม่ต้องคิดมาก ไปพักผ่อนซะ เมื่อนายกลับมาทุกคนจะอยู่เคียงข้างนายแบบเดิม และสิ่งที่ผมประทับใจมาก คือ เขาปกป้องผมเสมอ"
เซอร์ อเล็ก เฟอร์กูสัน ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเดวิด เบคแฮมที่เป็นประเด็นร้อนแรงในขณะนั้น โดยบอกกับนักข่าวในห้องแถลงข่าวว่า "เราจะพูดกันแค่เรื่องของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด"
(ลูกยิงประตูครึ่งสนาม เป็นลูกแจ้งเกิดของเดวิด เบคแฮมที่ผู้คนยังจดจำมาจนทุกวันนี้)
สารคดีเริ่มด้วยภาพฟุตเทจของนัดชิง ยูฟ่าแชมเปียนลีกส์ปี 1999 ตอนจบสารคดีเลยจบด้วยผลการแข่งขัน เราต่างรู้ดีว่า ผลสกอร์ในวันนั้นเป็นเช่นไร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด โกงความตาย เอาชนะ บาร์เยิร์น มิวนิคได้ที่สกอร์ 2-1 โดย 2 ลูกนั้นมาจากช่วงทดเวลา 3 นาที
ปีนั้น Class Of 92 อยู่ในชุดที่พาทัมคว้า 3 แชมป์ให้แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด FA CUP,PREMIERE LEAGUE และ UEFA CHAMPION LEAGUE เป็น 3 แชมป์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ยูไนเต็ดมีในรอบหลาย 10 ปี
(ประตูที่ 2 จาก โอเล กุนนาร์ โซลชาร์ ที่ถูกเปลี่ยนตัวลงมาตอนท้ายเกม ทำให้ยูไนเต็ด คว้าถ้วยบิ๊กเอียร์ในที่สุด)
สิ่งที่พาเราไปถึงจุดพีคจริงๆ ที่หนังอุตสาห์เลือกมาใส่ได้อย่างถูกเวลา คือ เสียงคอมเมนเตเตอร์ในเกมการแข่งขันนั้น
ภาพฉายไปที่นักเตะยูไนเต็ด ล้อมวงเข้ามารอถ่ายรูปกับถ้วยแชมป์
"แกรี่ เนวิลล์ 24 ปี,ฟิลล์ เนวิลล์ 22 ปี, เดวิด เบคแฮม 24 ปี, นิกกี้ บัตต์ 24 ปี, กิ๊กส์ 25 ปี ...ไม่ว่าพวกเขาจะได้รับความสำเร็จอะไรก็ตามในอนาคต ผมสงสัยจริง ๆ ว่ามันจะเทียบเท่าครั้งนี้ได้หรือ" ** (ประโยคนี้ไดคำแปลใหม่ที่ได้จากคุณ gibt ในคห.ที่ 25มาช่วยแก้ให้ใหม่ค่ะ ขอบพระคุณมากๆ)
ฤดูกาลนั้นจบลงด้วยถ้วยแชมป์ จาก นักเตะชุดที่เด็กที่สุด ที่เซอร์ อเล็ก เฟอร์กูสันได้โมเดลการทำทีมชุดเยาวชนจาก เซอร์ แมต บัสบี้ ในชุด "บัสบี้เบบส์" บัสบี้เบบส์ เคยเป็นความยิ่งใหญ่ของสโมสรด้วยการถล่มทีมมากมายในลีกส์ ด้วยนักเตะอายุน้อย แต่หลังจากโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ในมิวนิค ทำให้พวกเขาต้องจากไปตลอดกาล นักเตะในยุคนั้น เหลือเพียง เซอร์ บ็อบบี้ ชาร์ฺลตัน เท่านั้น แม้พวกเขาจะไม่ได้ประสบความสำเร็จถึงขีดสุด แต่ก็ถูกจดจำในฐานะ นักเตะชุดที่ยอดเยี่ยมชุดหนึ่งในประวัติศาสตร์ทีม
นี่คือนักเตะจากทีมเยาวชน ชุดที่ดีที่สุดจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด..
The Class Of 92