เตือนภัย ผู้รับเหมาทิ้งงาน (ขั้นตอนการไกล่เกลี่ย)

จากกระทู้ http://ppantip.com/topic/31394003

หลายคนคงอยากรู้ว่าถ้าหากเราเป็นผู้เสียหายเนื่องจากผู้รับเหมาทิ้งงาน เราควรดำเนินการอย่างไรบ้าง
จากกรณีของผมที่ นางชนิดาภา แสนจอม ได้ทิ้งงานและก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นมูลค่ามากกว่า 2 แสนบาทนั้น

ผมดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน

2. รวบรวมเอกสารต่างๆ อาทิ สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองบริษัท (ถ้ามี) สัญญาจ้าง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเตรียมปรึกษาทนายความฟ้องคดีแพ่ง

3. ขอคำปรึกษาทนาย (ผมเข้าใจว่าในเขตกรุงเทพ ทุกศาลน่าจะมี "ทนายอาสา" ให้คำปรึกษาฟรีอยู่ แนะนำให้ปรึกษามากกว่า 2 คนขึ้นไป เพื่อนำเปรียบเทียบคำแนะนำที่ทนายอาสาให้เราว่าควรดำเนินการอย่างไร) สำหรับในเขตต่างจังหวัด น่าจะไปขอคำปรึกษาได้ที่ศาลประจำจังหวัดนั้นๆ # ทนายอาสาให้คำปรึกษาฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย (บางคนให้คำปรึกษาดี บางคนให้คำปรึกษาแบบซ่อนเงื่อนนิดๆ (ทนายก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ถ้าเราใช้บริการเขา โดยว่าจ้างเขาดำเนินคดีกับผู้รับเหมา เขาก็มีรายได้) ก็ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอีกครั้งว่าควรใช้บริการทนายคนใดดี)

4. ขอคำปรึกษาทนายตามสำนักทนายความ # ปกติ สำนักทนายความแต่ละแห่งจะให้คำปรึกษาฟรี (ประมาณ 10-20 นาที) หลังจากนั้นค่อยพิจารณาว่า จะใช้บริการสำนักทนายความแห่งไหนก็ค่อยว่ากัน

ตอนนี้ ใจจริงผมยังไม่อยากฟ้องคดีแพ่ง เนื่องจากค่าทนายที่เรียกมาในวงเงินความเสียหายประมาณ 3-4 แสนบาทนั้น ทนายเรียกค่าบริการอยู่ที่  3-5 หมื่นบาท (แต่ละแห่งอาจไม่เท่ากัน)  ผมเลยได้ความรู้ใหม่มาว่า เราสามารถใช้บริการ "งานไกล่เกลี่ย" ก่อนการฟ้องร้องบังคับคดีได้ เพราะใจจริงแล้ว ผมไม่อยากเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับค่าทนายและค่าคดีความอื่นๆ อันทำให้ศาลมีงานเยอะขึ้นแต่อย่างใด แต่อยากหาคนกลางมาช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยเสียก่อน (ซึ่งถ้าหากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จก็ค่อยฟ้องร้องกันอีกที)

กรณีผมนั้น เขตอำนาจศาลอยู่ ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ดังนั้นผมจะไปติดต่อให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ในกรณีของผมเสียก่อน  ส่วนผลจะเป็นอย่างไรก็ว่ากันไปตามกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่