หนี้ IMF ตกลงใครเป็นคนปลดหรือคะ

อยากทราบว่าหนี้IMF แท้จริงแล้วรัฐบาลชุดไหนเป็นคนปลด
ทราบข้อมูลมาหลายด้านเกิน จนไม่ทราบว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540
ทำให้ไทยต้องกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
พร้อมกับยอมรับเงื่อนไขที่เข้มงวด
ซึ่งเป็นบทเรียนที่เจ็บปวดและไม่อยากกลับไปอยู่ในสภาพนั้นอีก
ปัจจุบันเศรษฐกิจดีขึ้นโดยลำดับ
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม
รัฐบาลนี้ได้ประกาศชำระหนี้ก้อนสุดท้ายกว่า 6 หมื่นล้านบาท
ทำให้ไทยพ้นจากพันธกรณีกับไอเอ็มเอฟ
สามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็นของตนเอง

หมายเหตุ - เมื่อเวลา 20.30 น. วันที่ 31 กรกฎาคม
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ได้ชี้แจงทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ สถานะการเงิน-การคลังของประเทศไทย
รวมทั้งการชำระหนี้งวดสุดท้ายให้กับ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
ซึ่งสามารถชำระก่อนครบกำหนด 2 ปี มีรายละเอียดดังนี้

วันนี้เป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ชำระหนี้ก้อนสุดท้าย
เมื่อเย็นวันนี้ ได้ชำระก้อนสุดท้ายคืนไอเอ็มเอฟจำนวน 6 หมื่นกว่าล้านบาท
ซึ่งได้กู้ยืมมาในช่วงเกิดวิกฤตเมื่อปี 2540
โดยไอเอ็มเอฟอนุมัติวงเงินให้ไทย 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่เบิกมาใช้จริงเพียง 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ
หรือประมาณ 5.1 แสนล้านบาท
โดยรัฐบาลชุดที่แล้ว(รัฐบาลนายชวน หลีกภัย)
ได้ชำระไป 1 หมื่นล้านบาท
แต่รัฐบาลนี้ได้ชำระครบทั้ง 5 แสนล้านบาท
ทำให้ไทยพ้นจากพันธกรณีกับไอเอ็มเอฟ
ประเทศไทยเคยเข้าโปรแกรมของไอเอ็มเอฟมาแล้วหลายครั้ง
คือ เมื่อปี 2524, 2525, 2528 ทั้ง 3 สัญญาเป็นเงิน 982 ล้านเหรียญสหรัฐ
ใช้หมดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 แต่หลังจากนั้น 7 ปี
เกิดวิกฤตอีกครั้ง เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง

ถ้าวิเคราะห์แล้ว
วิกฤตที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลใดหรือคนใดคนหนึ่ง
แต่เป็นการสะสม ที่เราไม่ได้ติดตามสถานการณ์
ไม่ได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลก
ไม่ได้ใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด
ไม่ได้รับรู้ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดอีก
ครั้งนี้ขอให้เป็นครั้งสุดท้าย
ที่ต้องเข้าโปรแกรมของไอเอ็มเอฟ
รัฐบาลนี้พยายามแก้ไขปัญหาหลายๆ อย่าง
เพื่อให้เกิดความมั่นคง ดูทิศทางทุกอย่างไม่ให้เกิดปัญหาอีก
เชื่อว่า ในปี 2540 จนถึงวันนี้
ยังมีหลายคนยังไม่หายเจ็บปวด บาดเจ็บอยู่
เป็นบทเรียนของหลายคนในประเทศ ต้องร่วมคิดร่วมกันแก้ปัญหา
ประเทศต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างใกล้ชิด
ไม่ให้เป็นเหยื่อของการแข่งขันทุนนิยมที่เราไม่รู้เท่านั้น
รัฐบาลจะทำอย่างเต็มที่
เพื่อวางกติกา วางระบบ และพัฒนาทุกๆ อย่าง
เพื่อให้เรารู้เท่าทันได้อย่างทันท่วงที
วันนี้ ทำไมเรากล้าใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ
ก่อนครบกำหนดเวลาล่วงหน้าถึง 2 ปี
ก็เพราะเราสามารถปรับพลิกสถานการณ์ได้แล้ว
และมีเงินทุนเพียงพอ ไม่ต้องเก็บหนี้ไว้
การใช้หนี้ครั้งนี้ทำให้ประหยัดดอกเบี้ยถึง 5 พันล้านบาท
และยังสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยมากขึ้น

ตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามา มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลายสาขา
ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรจากพืชผลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อปลายรัฐบาลที่แล้ว รายได้ติดลบ 3.4%
ปี 2544 เพิ่มขึ้น 8.1%
ปี 2545 เพิ่ม 11.7%
ในปี 2546 เพิ่มขึ้น 25%
ในภาคอุตสาหกรรม ปี 2544 ติดลบ
ในปี 2545 เพิ่มขึ้นมา 59.5%
ครึ่งปีแรกของปี 2546 เพิ่มขึ้นถึง 66.6%
ตัวเลขมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนที่อัตราการว่างงานปี 2546 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการส่งออกดีขึ้นมาก ปี 2544 ติดลบ 1.7%
เพราะเหตุการณ์ 11 กันยายน ในสหรัฐอเมริกา
ส่วนปี 2545 สามารถเติบโตได้ 5.7%
ปีนี้เพียงครึ่งปีแรก โตได้ถึง 19%
ส่วนกำไรสุทธิของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
ปี 2543 มีกำไร 4.15 หมื่นล้านบาท
ปี 2544 มีกำไร 1.12 แสนล้านบาท
ปี 2545 มีกำไร 1.7 แสนล้าน
และปี 2546 ไม่น่าจะน้อยกว่า 2 แสนล้านบาท

ส่วนรายได้ภาครัฐบาล รายได้รวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รายได้รวมเพียง 9 เดือนแรกของปี 2546 มีถึง 9 แสนกว่าล้าน
พอๆ กับปี 2543 ทั้งปี
ส่วนดุลงบประมาณ การขาดดุลกำลังจะสิ้นสุดลง
ในปี 2543 ประเทศไทยขาดดุล 1.2 แสนล้าน
ปี 2544 ขาดดุล 1.1 แสนล้าน
ปี 2545 ขาดดุล 1.26 แสนล้าน
แต่ในปี 2546 เพียงแค่ 9 เดือนแรก
ก็เกินดุลแล้ว 1.46 หมื่นล้าน
สถานการณ์ด้านงบประมาณดีขึ้นมาก

ส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ
ปี 2543 มี 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปี 2544 เพิ่มเป็น 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปี 2545 เพิ่มเป็น 38,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปี 2546 เมื่อชำระหนี้ไอเอ็มเอฟหมดแล้ว
จะมีทุนสำรอง 38,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ถือว่าไทยมีสถานะการเงินแข็งแกร่งมาก

รัฐบาลขอยืนยันอีกครั้งว่า ประเทศไทยวันนี้
ผมอยากจะบอกให้พี่น้องประชาชนให้มีความมั่นใจ
และภูมิใจในความเป็นคนไทย
ว่าวันนี้เราไม่มีพันธะใดๆ
สิ่งที่จะทำต่อไปก็คือว่า
จะต้องทำประเทศให้เข้มแข็ง

ปี 2545 ผมตั้งเป้าเศรษฐกิจ 5 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่มีใครเชื่อ
ตอนนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขาตั้งว่าจะโตแค่ 2 เปอร์เซ็นต์
ต่างกันถึง 150 เปอร์เซ็นต์
แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ทำได้คือโต 5.2 เปอร์เซ็นต์
และในปี 2546 ผมตั้งเป้า 6 เปอร์เซ็นต์
แม้จะประสบปัญหาโรคซาร์ส แต่มั่นใจว่าไม่เกินความสามารถ
เชื่อว่าจะทำได้ใกล้เคียงคือเกิน 5.5 เปอร์เซ็นต์แน่นอน
เพราะข้าราชการและเอกชน ประชาชนมีกำลังใจ
และไม่ใช่วิสัยของรัฐบาลนี้ที่จะงอมืองอเท้า
เราต้องกำหนดชีวิตเราเอง
ตั้งใจว่าปีหน้าจะทำให้ดีกว่านี้อีก
คนไทยต้องมีงานทำ ต้องกระจายความเจริญไปสู่รากหญ้า
ให้ความเจริญกระจายไปอย่างทั่วถึง
ต้องปรับเศรษฐกิจให้ได้
ความคิดเห็นที่ 6



ความคิดเห็นที่ 19
ความจริง เรื่อง IMF การที่ ทักษิณ ชินวัตร ตัดสินใจใช้หนี้ก่อนถึงกำหนด 2 ปี มีผลดี หรือ ผลเสีย กันแน่ถ้าใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์

ในปี 2546 ดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 8% ในขณะที่IMF คิดดอกเบี้ยจากเราแค่ 0.25% และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ถ้าจ่ายหนี้ก่อนกำหนด ต้องเสียค่าปรับอีก 2%

ถ้าตอนนั้น เรามีเงิน 4800 ล้านเหรียญ แปลงเป็นเงินไทย อัตราแลกเปลี่ยนตอนนั้น 41 บาทต่อดอลล่าร์ คิดเป็นเงินไทย 196,800 ล้านบาท เอาฝากธนาคารไว้ 2ปี หักภาษีแล้วจะได้ ดอกเบี้ย ประมาณ 28000 ล้านบาท และ เสียดอกเบี้ยให้ IMF 2ปี จำนวน 984 ล้านบาท คงเหลือกำไร กว่า 27000 ล้านบาท

แต่ ทักษิณ เลือกที่จะใช้หนี้ก่อน ผลคือ เราเสียค่าปรับ 2% จำนวน 3936 ล้านบาท ลดดอกเบี้ย 2ปีลงได้ 984 ล้านบาท ถ้าเอาค่าปรับที่เสีย ลบด้วยดอกเบี้ยที่ไม่ต้องจ่าย จะเหลือ ค่าปรับ 2952ล้านบาท

คำถามก็คือ ถ้า ณ.วันนั้น ประเทศเรามีเงินสด 4800 ล้านเหรียญ หรือ 196,800 ล้านบาท เรายังไม่ชำระหนี้ แต่ฝากในธนาคารไว้เราจะได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นฟรีๆประมาณ27000 ล้านบาท แต่ถ้าเราชำระหนี้ก่อนกำหนด เราต้องเสียเงินเพิ่มอีก 2952 ล้านบาท

คำถามก็คือ ประเทศได้อะไร จากการตัดสินใจครั้งนี้ จะว่า เพราะทำให้ประเทศพ้นจากหนี้สิน แต่เมื่อไปดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย กลับปรากฏว่า เงินจำนวน4800ล้านเหรียญ ที่ ทักษิณ ชำระหนี้นั้น ส่วนหนึ่ง กลับเป็นเงินกู้จาก เอ ดี บี และเมื่อดูหนี้ สาธารณะของประเทศ ณ.ปี 2546 หลังจากจ่ายเงินคืน IMF หมดแล้ว กลับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหนี้สาธารณะช่วงปลายรัฐบาล ชวน2 ส่งไม้ให้กับ รัฐบาล ทักษิณ1 ถึงกว่า4000ล้าน

คำถามที่คาใจจริงๆคือ หนี้สินของประเทศก็ไม่ได้ลดลงจากการใช้หนี้IMF แล้ว ทักษิณ ไปกู้ เอดีบี มาเพื่อใช้หนี้ IMF ทำไม

อีกคำถามหนึ่งคือ ทักษิณ ประกาศให้ชาวบ้านรู้กันทั่วว่า เขาเป็นคนใช้หนี้IMF ทั้งๆ ตอนไปเบิกเงินกู้ก้อนที่1 และก้อนที่2 เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชวลิต และการที่ใช้หนี้ก่อนกำหนด ประเทศต้องเสียค่าปรับตั้ง2%ซึ่งเป็นเงินถึง 3636 ล้านบาท
ความคิดเห็นที่ 8
รัฐบาลนี้ทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
คือใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบ 2 แนวทาง
คืออาศัยทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศและการส่งออก
จากเดิมที่เราพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
รัฐบาลนี้ได้กระจายเศรษฐกิจไปยังรากหญ้า
สิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่มีกำลังใจ ไม่สู้
แต่รัฐบาลมีทิศทางที่จะทำให้ท่านสู้
และสิ่งนี้จะเกิดไม่ได้
ถ้าราชการไม่ทุ่มเท 2 ปีครึ่งของรัฐบาลชุดนี้
ข้าราชการเหนื่อยกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมา
ทุกคนทุ่มเท และทำให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

การใช้หนี้วันนี้ทำให้ประเทศหมดพันธกรณีหลายๆ อย่าง
เราไม่ต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องทำตามคำสั่งของไอเอ็มเอฟ
เราสามารถที่จะเลือกยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเอง
ยืนยันว่ารัฐบาลนี้จะดำรงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7 เปอร์เซ็นต์
ไม่ขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์อย่างเด็ดขาด

นอกจากนี้ การพ้นจากไอเอ็มเอฟ
ทำให้รัฐบาลสามารถจะแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ
(ซึ่งออกในสมัยนายชวน หลีกภัย) ที่หลายฝ่ายห่วงใยกัน
อยากให้มีการแก้ไข ซึ่งรัฐบาลได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุย
และสรุปว่าจะแก้ไขกฎหมายบางฉบับ คือ
1.กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งตามข้อกำหนดของไอเอ็มเอฟต้องขายมาใช้หนี้
แต่เราจะกระจายหุ้นในตลาด เพื่อขยายตลาดอย่างมืออาชีพ
และตรวจสอบด้วยระบบจะเข้มแข็ง
ทำให้รายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ขายมาใช้หนี้
เพราะไม่จำเป็น จึงจะมีการออก กม.ปรับปรุงพัฒนารัฐวิสาหกิจ
เพื่อปรับปรุงองค์กร
2.กฎหมายล้มละลาย
ให้มีความเป็นธรรมลูกหนี้และเจ้าหนี้
3.กฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าว
รักษาผลประโยชน์ประชาชน พันธสัญญาต่างตอบแทน
4.กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
5.กฎหมายอาคารชุด
6.กฎหมายประกันสังคม
ซึ่งจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น

ต่อไปนี้รัฐบาลมีภารกิจทำต่อ
เพื่อให้ตัวเลขเศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ต่อไป
ที่ผ่านมาขาดดุลและหนี้มาก
แต่ปัจจุบันหนี้ลดลงและปรับเป็นบวก
เพราะส่งเสริมเศรษฐกิจรากหญ้า
ไม่ส่งเสริมการนำเข้า เพื่อมาแทรกแซงการส่งออก
รัฐบาลท่องคาถา "ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส"

เราจะเดินหน้าต่อไปในเรื่องการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน
เพื่อให้ดินที่รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นทุนได้
เพื่อนำมาต่อยอดให้กองทุนหมู่บ้านที่ดี
กลายเป็นธนาคารประจำหมู่บ้าน
ใช้ระบบเทคโนโลยีมาบริหารจัดการ
ใช้ผู้ว่าฯซีอีโอมาพัฒนาประเทศ
เร่งปฏิรูปการศึกษาในทุกๆ ด้าน
พร้อมเร่งปราบปรามยาเสพติด
ใช้ความเด็ดขาดอย่างต่อเนื่อง
โดยขอให้ผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย
หยุดการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ให้ธุรกิจใต้ดินถูกจัดการเสียภาษีให้อย่างถูกต้อง
ไม่มีระบบมาเฟีย

วันนี้ เป็นอีกวาระหนึ่ง
ซึ่งผมเพิ่งลงนามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่องการใช้ การชัก ธงชาติ
เพื่อให้ประเทศไทย
สามารถที่จะชูธงชาติได้สะดวกขึ้น
ไม่มีข้อกฎหมายอะไรห้ามไว้
ผมเห็นนานาประเทศใช้ธงชาติอย่างชัดเจน
ผมขอถือโอกาสนี้
ใช้พันธกรณีที่ปลดหนี้จากไอเอ็มเอฟได้
ให้ช่วยกันชักธงชาติให้เป็นหนึ่ง
เหมือนประเทศทุนนิยมที่ประสบผลสำเร็จ
ที่จะมีเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ
ยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
โดยใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของผลประโยชน์แห่งชาติ
จึงอยากให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศชักธงชาติ
เพื่อแสดงให้เห็นว่า เราได้หมดหนี้จากไอเอ็มเอฟแล้ว
โดยทุกส่วนราชการได้สั่งให้ปักธงไว้แล้ว
ส่วนสินค้าที่เหมาะสม ก็สามารถใช้ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ได้
ขอให้ชูธงเพื่อชูชาติ
วันนี้ อยากจะบอกว่า
รัฐบาลได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ
และเพิ่มบทบาทในระดับนานาชาติ เพื่อให้คนไทยมีงานทำ
และในสิ้นปีนี้ เราจะมีทุนสำรองที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
วันนี้ถือโอกาสขอบคุณมิตรประเทศ
ที่ให้ไทยได้กู้ยืมเงินในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
หรือที่เรียกว่า เพื่อนยามยาก
โดยญี่ปุ่นให้เรากู้เท่ากับไอเอ็มเอฟ
ธนาคารกลางของจีน ฮ่องกง เกาหลีใต้
มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ออสเตรเลีย และแคนาดา
รวมถึงอินโดนีเซียที่เอ่ยปาก
ให้ไทยกู้เงินจำนวน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทุกวันนี้ ไอเอ็มเอฟไม่ได้ผิดอะไรกับเรา
การให้ยารักษาเราในช่วงปี 2524-2525
เป็นการให้ยาที่ถูกต้องถูกสมัย
เพราะช่วงนั้น เรามีคนไทยไปร่วมทำงานกับไอเอ็มเอฟด้วย
เขายินดีรับฟังคนของเรา แต่งวดนี้
ยาของไอเอ็มเอฟผิด
ทำให้เราต้องเสียหายมากกว่าที่ควรจะเป็น
แต่ขณะนี้
ความเสียหายในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
เป็นวงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท
เป็นหนี้ที่ได้ตกลงกันแล้วว่า
จะจัดการหนี้เหล่านี้ให้เรียบร้อย
โดยจะไม่มีผลกระทบต่องบประมาณของประเทศไทย
ทีแรกธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงเจตจำนง
จะนำรายได้ของธนาคารแห่งประเทศไทยไปใช้หนี้
โดยกำหนดว่าจะใช้เวลาประมาณ 29 ปี
แต่วันนี้แนวโน้มเหล่านี้
หนี้ที่เกิดจากการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
คาดว่าจะสามารถชำระหนี้คืนได้หมด
โดยเร็ว เพราะหนี้เหล่านี้เป็นหนี้เงินบาท
ไม่มีปัญหา เหมือนเงินสกุลต่างประเทศ
แต่วันนี้หนี้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ
เราใช้หนี้หมดแล้ว

วันนี้เราต้องมีกำลังใจ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
ทำธุรกิจ ครอบครัว และกิจวัตรอย่างดีที่สุด
ด้วยความทุ่มเท และประเทศไทยเราจะเข้มแข็ง
ไม่มีวันที่จะกลับไปสู่ไอเอ็มเอฟอีก
หากผมยังอยู่
ผมจะวางระบบและจะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง
เพื่อให้คนที่มารับงานต่อจากผม มาทำงานอย่างเป็นระบบ
โดยจะได้ไม่ต้องพาคนไทยเข้าไอเอ็มเอฟอีก
ขอแสดงความยินดีและดีใจกับประชาชนคนไทย
สำหรับชัยชนะที่เราได้ร่วมกันพิชิตในวันนี้  

(หน้า 2 มติชน ฉบับวันที่ 1 ส.ค. 2546)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่