สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 18
สีสุภาพ คือ สีที่ขึ้นอยู่กับกาลเทศะ คือการใช้สีนั้น ๆ ให้เข้ากับรู้แบบงาน และสถานที่ที่เราจะไปค่ะ
ยกตัวอย่างสี ที่จัดว่าสุภาพ และใส่ได้แทบทุกงาน ครีม น้ำตาล เทา กรม
แต่ทั้งนี้แม้ว่าจะเป็นสีที่สุภาพแล้ว การออกแบบของรูปแบบชุดนั้น ต้องออกแบบให้เข้ากับงานด้วย เช่น
การสมัครงาน อาจใส่ชุดนศ. หรือสูท เพราะสีสุภาพอยู่แล้ว แต่บางคนอาจใส่เสื้อสีอื่น แต่ต้องเป็นสีโทนอ่อนสบายตา ไม่ควรเป็นสีที่แรงและเข้มจนเกินไปเนื่องจากมีผลต่อจิตวิทยาในการรับเข้าทำงาน (ทั้งนี้อยู่กับบุคลิกและการพูดด้วย) ไม่ควรใส่กระโปรงเลยเข่ามากนักเพราะมีผลต่อการวิเคราะห์และผู้ใหญ่อาจไม่ชอบได้ค่ะ
การเข้าเฝ้าเชื้อพระวงศ์ งานสำคัญทางราชการอื่น ๆ หญิงต้องใส่กระโปรงเท่านั้น และควรเป็นทรงตรงหรือสอบ ความยาวเลยลงมาคลุมเข่า ใส่แขนยาว(บางคนใส่ชุดนศ.แขนสั้นแต่ไม่ควรระดับแค่สั้นเลยแขนมานิดเดียว) บางคนใส่ชุดไทยในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมให้เป็นชุดไทย อาทิเช่น ชุดไทยเรือนต้น, ชุดไทยจิตรลดา, ชุดไทยอมรินทร์, ชุดไทยบรมพิมาน และรองเท้าหนังต้องหุ้มส้นค่ะ ไม่ใช้ผ้าใบ(ส่วนตัวเคยรับเสด็จในชุดนศ. ใส่สูททับ กระโปรงคลุมเข่า รองเท้าส้นสูงหัวมนหุ้มส้นสีดำค่ะ)
ชุดไปงานแต่งงานถ้าใช้สีเทา ควรใส่คู่กับชมพู หรือสีอื่น ๆ ที่ไม่หลอกกันกิน แต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้ฉูดฉาดเกินไป ถ้าสีน้ำตาลเองก็มีระดับโทนสีให้เลือกใช้เหมือนกัน
งานแต่งงานห้ามใส่ขาว ครีม ออฟไวท์ ม่วง และ ดำ ทั้งนี้ต้องดูภาพรวมด้วยว่าเจ้าสาวใส่สีอะไร ถ้าเจ้าสาวใส่ชุดแต่งงานสีครีม ก็ต้องหลีกสีนี้ซะเพื่อให้เกียรติ (ห้ามใส่สีตรงกับเจ้าสาว) แต่มีข้อยกเว้นถ้าเจ้าสาวใช้ชมพูอ่อน เราสามารถใช้ชมพูเข้มหรือสีครีมได้ ส่วนสีม่วงไม่ว่ากรณีใดในงานนี้หลีกเลี่ยงซะเพราะ ผู้ใหญ่ในงานจะถือว่าเราใส่เพื่อมาแช่งเจ้าสาวให้เป็นหม้าย (พอ ๆกับสีดำ ซึ่งสังคมไทยไม่ยอมรับในสีนี้ค่ะ)
งานศพใช้ สีดำ สีกรมท่า สีกากี(เป็นสีเครื่องแบบเลยอนุโลม) สีเทา สีครีม ออฟไวท์ และสีขาว อีกทั้งต้องงดใส่เครื่องประดับเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตายที่ไม่มีสมบัติ ติดตัวไป การออกแบบชุดที่ใส่สามารถใส่กระโปรงเหนือเข่าได้นิดหน่อย ใส่กางเกงได้ ไม่จำกัดทรงกระโปรง ใส่ชุดแซคได้ แต่ไม่ควรเน้นทรวดทรงมาก เช่นการโชว์เน้นหน้าอกหรือใส่แขนกุดเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยสมควรเพราะอยู่ในเขตวัด บางคนนิยมใส่สูทในงานแบบนี้(เราก็มักใส่สูทไปงานนี้) หรือชุดไทยแบบเข้าเฝ้า เพราะเป็นชุดที่สุภาพมากค่ะ
ถ้าในงานนั้นไม่ใช้งานศพแบบทางการ และไม่ต้องใส่เสื้อแขนยาวหรือสามส่วน แต่ก็ไม่ควรใช้แขนกุด อนุญาตให้ใส่กางเกงยีนส์ขายาวและเสื้อยืดได้ แต่ทั้งนี้ต้องดูด้วยเพราะบางคนอาจมีเสื้อสีสำหรับงานนี้แค่ตัวเดียว แค่เขามาก็ดีแล้ว ส่วนใหญ่วันเผาจะใส่สีดำทุกคน
โดยรวมแล้วการจำกัดสีสุภาพจริง ๆมีอยู่แค่นี้ ที่เหลือคือการไล่ระดับเฉดสีให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการออกแบบเสื้อผ้า ให้เข้ากับตัวผูสวมใส่เอง ซึ่งบางครั้งแต่ละงานการออกแบบที่นำสมัยเกินไป อาจทำให้สีที่มีความสุภาพไม่สุภาพได้ค่ะ
สำหรับที่ถามว่าเงิน 500 แพงไหม บางคนว่าถูกบางคนว่าแพง มันต้องดูตามความเหมาะสมค่ะ คนเราใช้จ่ายในความจำเป็นต่างกันฉะนั้นมูลค่าถึงต่างกันค่ะ
เราพูดในฐานะที่บ้านทำงานด้านนี้นะคะ ถ้าคุณจ้างเค้าตัด 500 ถือว่าถูกมากค่ะ (เป็นเราไม่รับงานค่ะไม่คุ้มแรง)สำหรับเราถ้าเป็นแซคยิ่งถูก ที่บอกว่าถูกนั้นเพราะคุณกำหนดรูปแบบได้ การเย็บในที่ต่าง ๆ ส่วนถ้าเค้ารวมค่าผ้าให้คุณแล้ว แสดงว่ามหาถูกเลยค่ะ
แต่!!!! ของถูกแล้วดีไม่มีนะคะ แสดงว่าผ้าที่เขาหามาตัดให้คุณคุณภาพนั้นต่ำค่ะ (ราคาผ้ามาตรฐานอยู่ที่ 160-250 ต่อเมตร) แต่ถ้าคุณเอาผ้าไปให้เขาตัดอย่างเดียวมันก็ถูกอยู่ดีน่ะแหละค่ะยังไงก็ถูก
การจ้างตัดเสียอย่างเดียวต้องรอคิวค่ะ ชุดนึงเค้าตัดให้คุณช้าสุดไม่เกิน 2-3 วันหรอกค่ะ แต่ถ้ามีคิวก็รอนานค่ะ พอเสร็จแล้วต้องมาลองใส่เช็คชุดว่าเข้ากับรูปร่างไหม ถ้าคุณเผลออ้วนระหว่างนั้น ซวยค่ะ!!! แก้เข้าง่ายแก้ออกยากหน่อยเพราะผ้าอาจเสียได้ (ผ้าบางชนิดเลาะไม่ได้ค่ะ)
แล้วถ้าคุณซื้อเขาละ โอ้ย!!! ยิ่งถูกเลยค่ะ เพราะ 500 บางครั้งราคาต้นทุนผ้าแพง ๆจะถูกลงเนื่องจากกลไกการผลิต(เหมือนการจัดซื้อวัตถุดิบราคาส่ง) แต่อาจไม่ดีเท่าไหร่นัก เพราะผ้าอาจไม่ใช่ สีไม่โดน ออกแบบเองไม่ได้ แถมอาจบาง หรือสั้นเกินไป แก้ไขลำบาก อาจต้องเสียเงินค่าแก้เพิ่ม และอาจแก้ได้ไม่ดี แต่มันก็ดีอีกข้อคือ มีเงินปุ๊บได้ปั๊บค่ะ หนำซ้ำราคาอาจถูกกว่านี้อีก
เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับชีวิตของคุณนะคะ
ปล.แก้ไขคำผิดค่ะ
ยกตัวอย่างสี ที่จัดว่าสุภาพ และใส่ได้แทบทุกงาน ครีม น้ำตาล เทา กรม
แต่ทั้งนี้แม้ว่าจะเป็นสีที่สุภาพแล้ว การออกแบบของรูปแบบชุดนั้น ต้องออกแบบให้เข้ากับงานด้วย เช่น
การสมัครงาน อาจใส่ชุดนศ. หรือสูท เพราะสีสุภาพอยู่แล้ว แต่บางคนอาจใส่เสื้อสีอื่น แต่ต้องเป็นสีโทนอ่อนสบายตา ไม่ควรเป็นสีที่แรงและเข้มจนเกินไปเนื่องจากมีผลต่อจิตวิทยาในการรับเข้าทำงาน (ทั้งนี้อยู่กับบุคลิกและการพูดด้วย) ไม่ควรใส่กระโปรงเลยเข่ามากนักเพราะมีผลต่อการวิเคราะห์และผู้ใหญ่อาจไม่ชอบได้ค่ะ
การเข้าเฝ้าเชื้อพระวงศ์ งานสำคัญทางราชการอื่น ๆ หญิงต้องใส่กระโปรงเท่านั้น และควรเป็นทรงตรงหรือสอบ ความยาวเลยลงมาคลุมเข่า ใส่แขนยาว(บางคนใส่ชุดนศ.แขนสั้นแต่ไม่ควรระดับแค่สั้นเลยแขนมานิดเดียว) บางคนใส่ชุดไทยในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมให้เป็นชุดไทย อาทิเช่น ชุดไทยเรือนต้น, ชุดไทยจิตรลดา, ชุดไทยอมรินทร์, ชุดไทยบรมพิมาน และรองเท้าหนังต้องหุ้มส้นค่ะ ไม่ใช้ผ้าใบ(ส่วนตัวเคยรับเสด็จในชุดนศ. ใส่สูททับ กระโปรงคลุมเข่า รองเท้าส้นสูงหัวมนหุ้มส้นสีดำค่ะ)
ชุดไปงานแต่งงานถ้าใช้สีเทา ควรใส่คู่กับชมพู หรือสีอื่น ๆ ที่ไม่หลอกกันกิน แต่ทั้งนี้ไม่ควรใช้ฉูดฉาดเกินไป ถ้าสีน้ำตาลเองก็มีระดับโทนสีให้เลือกใช้เหมือนกัน
งานแต่งงานห้ามใส่ขาว ครีม ออฟไวท์ ม่วง และ ดำ ทั้งนี้ต้องดูภาพรวมด้วยว่าเจ้าสาวใส่สีอะไร ถ้าเจ้าสาวใส่ชุดแต่งงานสีครีม ก็ต้องหลีกสีนี้ซะเพื่อให้เกียรติ (ห้ามใส่สีตรงกับเจ้าสาว) แต่มีข้อยกเว้นถ้าเจ้าสาวใช้ชมพูอ่อน เราสามารถใช้ชมพูเข้มหรือสีครีมได้ ส่วนสีม่วงไม่ว่ากรณีใดในงานนี้หลีกเลี่ยงซะเพราะ ผู้ใหญ่ในงานจะถือว่าเราใส่เพื่อมาแช่งเจ้าสาวให้เป็นหม้าย (พอ ๆกับสีดำ ซึ่งสังคมไทยไม่ยอมรับในสีนี้ค่ะ)
งานศพใช้ สีดำ สีกรมท่า สีกากี(เป็นสีเครื่องแบบเลยอนุโลม) สีเทา สีครีม ออฟไวท์ และสีขาว อีกทั้งต้องงดใส่เครื่องประดับเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตายที่ไม่มีสมบัติ ติดตัวไป การออกแบบชุดที่ใส่สามารถใส่กระโปรงเหนือเข่าได้นิดหน่อย ใส่กางเกงได้ ไม่จำกัดทรงกระโปรง ใส่ชุดแซคได้ แต่ไม่ควรเน้นทรวดทรงมาก เช่นการโชว์เน้นหน้าอกหรือใส่แขนกุดเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยสมควรเพราะอยู่ในเขตวัด บางคนนิยมใส่สูทในงานแบบนี้(เราก็มักใส่สูทไปงานนี้) หรือชุดไทยแบบเข้าเฝ้า เพราะเป็นชุดที่สุภาพมากค่ะ
ถ้าในงานนั้นไม่ใช้งานศพแบบทางการ และไม่ต้องใส่เสื้อแขนยาวหรือสามส่วน แต่ก็ไม่ควรใช้แขนกุด อนุญาตให้ใส่กางเกงยีนส์ขายาวและเสื้อยืดได้ แต่ทั้งนี้ต้องดูด้วยเพราะบางคนอาจมีเสื้อสีสำหรับงานนี้แค่ตัวเดียว แค่เขามาก็ดีแล้ว ส่วนใหญ่วันเผาจะใส่สีดำทุกคน
โดยรวมแล้วการจำกัดสีสุภาพจริง ๆมีอยู่แค่นี้ ที่เหลือคือการไล่ระดับเฉดสีให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการออกแบบเสื้อผ้า ให้เข้ากับตัวผูสวมใส่เอง ซึ่งบางครั้งแต่ละงานการออกแบบที่นำสมัยเกินไป อาจทำให้สีที่มีความสุภาพไม่สุภาพได้ค่ะ
สำหรับที่ถามว่าเงิน 500 แพงไหม บางคนว่าถูกบางคนว่าแพง มันต้องดูตามความเหมาะสมค่ะ คนเราใช้จ่ายในความจำเป็นต่างกันฉะนั้นมูลค่าถึงต่างกันค่ะ
เราพูดในฐานะที่บ้านทำงานด้านนี้นะคะ ถ้าคุณจ้างเค้าตัด 500 ถือว่าถูกมากค่ะ (เป็นเราไม่รับงานค่ะไม่คุ้มแรง)สำหรับเราถ้าเป็นแซคยิ่งถูก ที่บอกว่าถูกนั้นเพราะคุณกำหนดรูปแบบได้ การเย็บในที่ต่าง ๆ ส่วนถ้าเค้ารวมค่าผ้าให้คุณแล้ว แสดงว่ามหาถูกเลยค่ะ
แต่!!!! ของถูกแล้วดีไม่มีนะคะ แสดงว่าผ้าที่เขาหามาตัดให้คุณคุณภาพนั้นต่ำค่ะ (ราคาผ้ามาตรฐานอยู่ที่ 160-250 ต่อเมตร) แต่ถ้าคุณเอาผ้าไปให้เขาตัดอย่างเดียวมันก็ถูกอยู่ดีน่ะแหละค่ะยังไงก็ถูก
การจ้างตัดเสียอย่างเดียวต้องรอคิวค่ะ ชุดนึงเค้าตัดให้คุณช้าสุดไม่เกิน 2-3 วันหรอกค่ะ แต่ถ้ามีคิวก็รอนานค่ะ พอเสร็จแล้วต้องมาลองใส่เช็คชุดว่าเข้ากับรูปร่างไหม ถ้าคุณเผลออ้วนระหว่างนั้น ซวยค่ะ!!! แก้เข้าง่ายแก้ออกยากหน่อยเพราะผ้าอาจเสียได้ (ผ้าบางชนิดเลาะไม่ได้ค่ะ)
แล้วถ้าคุณซื้อเขาละ โอ้ย!!! ยิ่งถูกเลยค่ะ เพราะ 500 บางครั้งราคาต้นทุนผ้าแพง ๆจะถูกลงเนื่องจากกลไกการผลิต(เหมือนการจัดซื้อวัตถุดิบราคาส่ง) แต่อาจไม่ดีเท่าไหร่นัก เพราะผ้าอาจไม่ใช่ สีไม่โดน ออกแบบเองไม่ได้ แถมอาจบาง หรือสั้นเกินไป แก้ไขลำบาก อาจต้องเสียเงินค่าแก้เพิ่ม และอาจแก้ได้ไม่ดี แต่มันก็ดีอีกข้อคือ มีเงินปุ๊บได้ปั๊บค่ะ หนำซ้ำราคาอาจถูกกว่านี้อีก
เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับชีวิตของคุณนะคะ
ปล.แก้ไขคำผิดค่ะ
ความคิดเห็นที่ 14
แสดงความคิดเห็น
สีสุภาพ คือสีอะไร ??
เอาตามจริตแต่ละคนงั้นเหรอ ?
เงิน 500 บาท คนนึงบอกมาก คนนึงบอกน้อย
กระโปรงสั้นกว่าเข่า 1 เซ็น บางคนบอกสุภาพ บางคนว่าไม่
กรุณาแต่งกายสีสุภาพ
กรุณาใช้สีสุภาพแปะ
ใช้สีส้มไม่ได้อีก ใส่ไปแต่งงานยังไม่เห็นมีใครว่า
ไปงานแต่งใส่ดำ ก็โดนด่าแน่