กลับมากับกระทู้ทีวีดิจิตอลกันอีกแล้วครับ คราวนี้มาถึงตอนที่2 ของหัวข้อ "สิ่งที่ทีวีดิจิตอลทำได้แต่ คุณอาจไม่รู้....." ในวันนี้ควบ2เรื่อง คือ "วิทยุในระบบทีวีดิจิตอล" และ "นาฬิกา" ครับ
ตอนที่1 "เสียง5.1CHในช่องความละเอียดธรรมดา(SD)" >>>
http://ppantip.com/topic/31402809
*** ที่ต้องแบ่งตอนเพราะ (เผื่อคนถามครับ จะได้ไม่ต้องบอกกันบ่อยๆ)
1.ผมนึกเรื่องและข้อมูลไม่ทัน
2.อยากให้ทุกคนได้อ่านแบบเรื่อยๆและผมจะใส่ลิ้งค์กระทู้ตอนก่อนๆเอาไว้ด้วย เพราะกระทู้ดันขึ้นไม่ได้ เลยต้องซอย แต่ผมจะไม่ซอยมากนะครับ ถ้าใครมีข้อเสนอแนะเรื่องซอยตอนก็บอกมาได้ครับ จะเอาไปแก้ไข
***
*** ระบบทีวีดาวเทียมทำได้เหมือนกับทีวีดิจิตอล แต่บางอย่างอาจจะมีวิธีการต่างกันนิดเดียว ***
*** มีการแทรกข้อมูลในเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย อ่านเพิ่มประดับความรู้ครับ ***
ระบบทีวีดิจิตอลก็มีวิทยุมาให้ด้วยได้
ตามปกติแล้วการออกอากาศโทรทัศน์นั้น ได้มีการซอยสัญญาณมาเป็นแพ็คๆเรียกว่า ช่องสัญญาณ หรือ 1 Channel โดยจะแบ่งคลื่นมา 6-8 MHz ต่อ 1ช่องสัญญาณแล้วแต่ๆละประเทศจะตั้งมาตรฐาน (ทั่วโลกส่วนมากจะเป็น 8MHz) ซึ่งการซอยช่องสัญญาณแบบนี้มีมาตั้งแต่ยุคทีวีอนาล๊อกแล้วครับ
เนื่องจากทีวีอนาล๊อกนั้น การออกอากาศใช้คลื่นเดียวไม่พอแน่ ต้องมีทั้งคลื่นเสียงและภาพซึ่งค่อนข้างกินคลื่นพอสมควร โดย1ช่องทีวีรวมภาพและเสียงจะกินที่ 6-8 MHz อยู่แล้ว นับเป็น 1ช่องทีวี โดยหลายๆประเทศเรียกชื่อช่องจากการเรียงช่องในระบบอนาล๊อกนี่แหละครับ ทีวีอนาล๊อกใส่ชื่อไว้ในช่องไม่ได้และตั้ง Virtual ID (เลขช่องเสมือน) ก็ไม่ได้ เช่น ที่เรียกช่อง 5 เพราะมาจากอยู่คลื่น VHF ช่องสัญญาณ ที่5
พอมาเป็นระบบดิจิตอล การส่งสัญญาณก็เปลี่ยนไปเป็นข้อมูลแบบดิจิตอลที่มีความเสถียรและมีระบบจัดการที่ดี ทำให้1ช่องสัญญาณนั้นใส่ทีวีได้หลายช่อง โดยทีวีดิจิตอลแต่ละระบบจะนับความจุต่อ 1 ช่องสัญญาณด้วย"บิตเรต" เช่น ISDB-T ได้ 23Mbps โดยรายละเอียดความชัดของภาพและเสียงขึ้นอยู่ที่ Bitrate (นึกถึงพื้นที่ในฮาร์ดดิกส์ ไฟล์ยิ่งใหญ่ภาพยิ่งชัด) ด้วยความที่มีคลื่นให้ใช้เยอะมาก เพราแต่ละประเทศกำหนดขอบเขตคลื่นที่แบ่งให้ทีวีดิจิตอลส่วนใหญ่ประมาณ 280-300 MHz เช่น ไทย ก็จะซอยได้ถึง 280/8 = 35ช่องสัญญาณ
เมื่อเกิดการเหลือของบิตเรตต่อช่องสัญญาณ นอกจากการออกอากาศโทรทัศน์ ก็มีการออกอากาศวิทยุในทีวีดิจิตอล โดยการกดปุ่ม TV/Radio บนรีโมททีวีหรือกล่องรับสัญญาณเพื่อฟังวิทยุที่มากับการออกอากาศทีวีดิจิตอล
วิทยุที่ออกอากาศนั้นใช้มาตรฐานตามระบบทีวี โดยจะส่งมาเป็นเสียงอย่างเดียว อาจมาเป็นเสียงแบบ Dolby Digital หรือ AAC ก็ได้แล้วแต่ ความชัดของเสียงขึ้นอยู่กับบิตเรตที่ให้มา โดยสัญญาณเสียงจะอยู่ในช่องสัญญาณทีวีบีบอัดมาแบบดิจิตอลส่งมาจากช่องทีวีหรือMux ไม่ใช่สัญญาณสถานี AM/ FM ที่เราฟังกันซึ่งเป็นอนาล๊อก (จูนด้วยวิทยุธรรมดาไม่ติด)
หลักการของระบบวิทยุผ่านทีวีดิจิตอลจะคล้ายๆกับระบบ DAB ซึ่ง DAB จะเป็นเหมือนวิทยุ FM คือส่งมาผ่านคลื่นของวิทยุเลยแต่มาเป็นสัญญาณดิจิตอล ไม่ต้องใส่มาพร้อมทีวีดิจิตอล ซึ่งวิทยุที่จะรับ DAB ได้ก็ต้องมีจูนเนอร์ DAB เช่นกัน และก็คล้ายๆวิทยุดิจิตอลในระบบ DMB มาพร้อมทีวีดิจิตอลมือถือซึ่งก็ต้องมีจูนเนอร์รับเหมือนกัน (DMB = มือถือ, อุปกรณ์พกพา / DAB = เครื่องรับวิทยุ) ข้อดีคือมีบอกชื่อเพลง ชื่อรายการ เวลา ณ ขณะนั้น เสียงชัดไม่ซ่า
(วิทยุที่รองรับ DAB ซึ่งนิยมมากในแถบยุโรป)
(ทีวีพกพาของเกาหลี ในรูป เครื่องนี้รองรับทั้งทีวีดิจิตอลมือถือและวิทยุระบบ DMB และวิทยุระบบ DAB)
ข้อดีของวิทยุดิจิตอลที่เห็นได้ชัดคือ...
1.เสียงชัด ไม่ซ่า ไม่โดยรบกวน
2.บอกชื่อสถานีเป็นตัวอักษรเป็นคำยาวๆได้ บอกชื่อเพลงที่กำลังเล่นได้ (วิทยุ FM ก็สามารถบอกชื่อสถานีได้ แต่มีแค่บางสถานีที่ใช้กัน ในไทยก็มีใช้)
3.มีผังรายการเป็นสัดส่วนบอกเวลาชัดเจน
4.สามารถตั้งเตือนรายการหรือตั้งอัดได้เหมือนกับทีวี
5.1ช่องทีวีหรือ1ช่องสัญญาณ จะส่งวิทยุดิจิตอลผ่านระบบทีวีดิจิตอลมากี่ช่องก็ได้จนกว่าจะเต็มช่องสัญญาณที่กำหนดไว้หรือที่มีอยู่
6.การแยกช่องนั้น แยกเป็นตัวเลข ไม่ได้แยกเป็นคลื่นๆที่ต้องมากด 101.25...101.50 แต่จะเป็นกดช่อง 1, 2, 3 แบบนี้แทน ไม่ต้องรอหาคลื่น พูดๆง่ายคือเปลี่ยนช่องวิทยุเหมือนเปลี่ยนช่องทีวี
ข้อเสียก็มีคือ... (ข้อใหญ่ด้วย)
1.เข้าถึงผู้คนได้ไม่เท่า AM/ FM เพราะต้องมีสัญญาณทีวีดิจิตอลไปถึงและมีทีวีดิจิตอลด้วย ที่ไหนไม่มีก็หมดสิทธิ์ฟัง (ถ้าสถานีนั้นไม่ออกอากาศผ่าน AM/ FM ด้วยอะนะ) AM/ FM เป็นสัญญาณอนาล๊อก หาวิทยุได้ง่ายมาก ไม่ต้องพกอุปกรณ์ที่ใหญ่มากมาย แถมสัญญาณแผ่ได้ไกล ส่งสัญญาณก็ง่าย
2.ต้องจูนช่องก่อนฟัง ซึ่ง AM/ FM ถ้ารู้คลื่นสามารถกดคลื่นไปได้เลย แล้วค่อยก็บันทึกช่องไว้ก็ได้
แต่ถ้าดูโดยรวม การออกอากาศวิทยุผ่านระบบทีวีดิจิตอลไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะข้อเสียตามข้อเสียที่1เลยที่ได้เขียนไว้ ช่องที่ออกอากาศก็เป็นช่องทีวีซึ่งก็จะเน้นการออกอากาศทีวีมากกว่า เพราะมีทั้งภาพและเสียง เห็นเป็นรูปธรรม ได้อารมณ์กว่า ค่าโฆษณาก็สูงกว่าตั้งเยอะ ระบบ DAB/ DMB และวิทยุผ่านทางดาวเทียมยังเป็นที่นิยมมากกว่า แต่ก็ไม่ได้นิยมมากจนไปสู้ AM/ FM ได้ ขนาดที่ประเทศญี่ปุ่นเคยออกอากาศวิทยุผ่านระบบทีวีดิจิตอล 3ช่อง โดยเริ่มพร้อมการออกอากาศทีวีดิจิตอลในปี 2003 (ช่องวิทยุ3ช่องนี้มีออกอากาศทาง AM/ FM อยู่แล้ว) แต่ไม่ได้รับความนิยมเลยยกเลิกไปในปี 2011
(Sirius XM เป็นบริการวิทยุผ่านดาวเทียมในอเมริกาที่นิยมกันมาก โดยต้องสมัครเสียค่าสมาชิกเป็นรายเดือน ข้อดีคือครอบคลุมพื้นที่นับล้านตารางกิโลเมตร และเสียงชัดเพราะเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งระบบนี้ใส่มาให้เลยในรถยนต์ที่ขายในอเมริกาครับ)
ส่วนประเทศไทยนั้น ทาง กสทช.เริ่มที่จะดำเนินการศึกษาระบบวิทยุดิจิตอลและเริ่มกระบวนการต่างๆในปีหน้าครับ (ยังไม่ได้เลือกว่าจะใช้ระบบอะไร)
(อย่าเพิ่งงงอ้าปากค้าง เหลืออีกเรื่องนึง)
นาฬิกาทีวี ไม่ต้องตั้งเอง เดี๋ยวระบบดิจิตอลตั้งให้
สำหรับทีวีระบบดิจิตอลนั้น สามารถใส่อะไรได้ตั้งมากมายที่นอกเหนือจากช่องทีวีและวิทยุ ทั้งผังรายการอิเล็กทรอนิกส์ (EPG), Interactive ที่สามารถดูรายละเอียดรายการหรือเล่นเกมส์ตอบคำถามพร้อมๆในรายการได้ (ถ้าเป็นการส่งข้อมูลไป เช่น โหวตศิลปินต้องต่ออินเตอร์เน็ตด้วย), การแยกหมวดของรายการ เพื่อการหารายการหรือแยกประเภทรายการได้ง่ายขึ้น เช่น แยกหมวดการ์ตูน, ละคร, รายการเพลง, กีฬา และระบบเล็กๆน้อยๆอย่าง "เวลาและวันที่"
ตามปกติทีวีที่เราใช้กันอยู่ที่บ้านหลายๆรุ่นตั้งแต่เก่าจออ้วนยัน LED TV, Plasma รุ่นใหม่ๆ ต่างก็มีการตั้งเวลาให้กับทีวี ประโยชน์คือเรากดดูเวลาได้ จะได้ไม่ลืมเวลา, ตั้งเปิดทีวีได้ ช่วยปลุกให้ตื่นตอนเช้าโดยเปิดข่าวสรยุทธ์ตั้งเสียงดังๆ(ผมใช้ทุกวัน อิอิ) แต่ที่ใช้กันอยู่เป็นการตั้งวันเวลาด้วยตัวเอง ถ้าถอดปลั๊กแล้วเสียบใหม่เวลาจะหายไป ต้องตั้งกันใหม่ แต่ในทีวีดิจิตอล ทางMuxจะส่งเวลาและวันที่มาเสิร์ฟให้ทีวีและกล่องรับสัญญาณที่บ้านท่านเองครับ
หลักการก็ง่ายๆครับ ทางMuxส่งมาเป็นข้อมูลเสริม ตั้งค่าข้อมูลว่าเป็นนาฬิกาเวลาและวันที่ แล้วทีวีก็รับค่ามาปรับให้เอง ซึ่งนาฬิกาพวกนี้จะตั้งให้เอง แค่เปิดทีวีขึ้นมา เวลาก็จะถูกตั้งไว้ให้เองเลย ถอดปลั๊กไปเป็นเดือนพอเปิดทีวีมา เวลาก็จะตรงตามเวลา ณ นั้นให้เอง (ต้องปรับให้นาฬิกาของทีวีเป็นแบบอัตโนมัติหรือ Automatic นะครับ) ซึ่งนาฬิกาเนี่ยมันต้องใช่คู่กับการอัดรายการตามผัง EPG หรือการดูตารางผัง EPG ด้วย ส่วนเวลาจะตรงตามเวลาหลักของโลกไหม ก็อยู่ที่Muxเป็นคนตั้งครับ
(EPG ก็ต้องใช้เวลาและวันที่เป็นตัวร่วมด้วย ซึ่งMuxจะส่งเวลามาให้โดยอัตโนมัติ)
ส่วนจะแสดงผลตรงไหนของจอก็แล้วแต่ยี่ห้อจะตั้งมา แต่ที่ญี่ปุ่น ทีวีทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เวลาจะแสดงผลเป็นตัวอักษรสีขาวที่มุมขวาล่างของจอ
(ทีวีของที่ญี่ปุ่น ทุกรุ่นทุกยี่ห้อจะตั้งไว้ถ้าแสดงนาฬิกาให้แสดงเป็นตัวหนังสือสีขาวที่มุมขวาล่าง โดยตั้งให้แสดงตลอดเวลาก็ได้)
กระทู้ก็ถึงช่วงจบแล้ว ได้รับความรู้กันเยอะเลยนะครับ ทีวีดิจิตอลก็ใกล้ขึ้นมาทุกที อยากดูเร็วๆจัง ก็ขอจบกระทู้เพียงแค่นี้ ขอบคุณที่เข้ามาชม สวีสดีครับ.....
(ทีวีดิจิตอลช่างลึกล้ำอะไรเช่นนี้..)
[ทีวีดิจิตอลไทย] สิ่งที่ทีวีดิจิตอลทำได้แต่ คุณอาจไม่รู้..... (ตอนที่2 = วิทยุผ่านระบบทีวีดิจิตอล, เวลาไม่ต้องตั้งเอง)
ตอนที่1 "เสียง5.1CHในช่องความละเอียดธรรมดา(SD)" >>> http://ppantip.com/topic/31402809
*** ที่ต้องแบ่งตอนเพราะ (เผื่อคนถามครับ จะได้ไม่ต้องบอกกันบ่อยๆ)
1.ผมนึกเรื่องและข้อมูลไม่ทัน
2.อยากให้ทุกคนได้อ่านแบบเรื่อยๆและผมจะใส่ลิ้งค์กระทู้ตอนก่อนๆเอาไว้ด้วย เพราะกระทู้ดันขึ้นไม่ได้ เลยต้องซอย แต่ผมจะไม่ซอยมากนะครับ ถ้าใครมีข้อเสนอแนะเรื่องซอยตอนก็บอกมาได้ครับ จะเอาไปแก้ไข
***
*** ระบบทีวีดาวเทียมทำได้เหมือนกับทีวีดิจิตอล แต่บางอย่างอาจจะมีวิธีการต่างกันนิดเดียว ***
*** มีการแทรกข้อมูลในเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย อ่านเพิ่มประดับความรู้ครับ ***
ระบบทีวีดิจิตอลก็มีวิทยุมาให้ด้วยได้
ตามปกติแล้วการออกอากาศโทรทัศน์นั้น ได้มีการซอยสัญญาณมาเป็นแพ็คๆเรียกว่า ช่องสัญญาณ หรือ 1 Channel โดยจะแบ่งคลื่นมา 6-8 MHz ต่อ 1ช่องสัญญาณแล้วแต่ๆละประเทศจะตั้งมาตรฐาน (ทั่วโลกส่วนมากจะเป็น 8MHz) ซึ่งการซอยช่องสัญญาณแบบนี้มีมาตั้งแต่ยุคทีวีอนาล๊อกแล้วครับ
เนื่องจากทีวีอนาล๊อกนั้น การออกอากาศใช้คลื่นเดียวไม่พอแน่ ต้องมีทั้งคลื่นเสียงและภาพซึ่งค่อนข้างกินคลื่นพอสมควร โดย1ช่องทีวีรวมภาพและเสียงจะกินที่ 6-8 MHz อยู่แล้ว นับเป็น 1ช่องทีวี โดยหลายๆประเทศเรียกชื่อช่องจากการเรียงช่องในระบบอนาล๊อกนี่แหละครับ ทีวีอนาล๊อกใส่ชื่อไว้ในช่องไม่ได้และตั้ง Virtual ID (เลขช่องเสมือน) ก็ไม่ได้ เช่น ที่เรียกช่อง 5 เพราะมาจากอยู่คลื่น VHF ช่องสัญญาณ ที่5
พอมาเป็นระบบดิจิตอล การส่งสัญญาณก็เปลี่ยนไปเป็นข้อมูลแบบดิจิตอลที่มีความเสถียรและมีระบบจัดการที่ดี ทำให้1ช่องสัญญาณนั้นใส่ทีวีได้หลายช่อง โดยทีวีดิจิตอลแต่ละระบบจะนับความจุต่อ 1 ช่องสัญญาณด้วย"บิตเรต" เช่น ISDB-T ได้ 23Mbps โดยรายละเอียดความชัดของภาพและเสียงขึ้นอยู่ที่ Bitrate (นึกถึงพื้นที่ในฮาร์ดดิกส์ ไฟล์ยิ่งใหญ่ภาพยิ่งชัด) ด้วยความที่มีคลื่นให้ใช้เยอะมาก เพราแต่ละประเทศกำหนดขอบเขตคลื่นที่แบ่งให้ทีวีดิจิตอลส่วนใหญ่ประมาณ 280-300 MHz เช่น ไทย ก็จะซอยได้ถึง 280/8 = 35ช่องสัญญาณ
เมื่อเกิดการเหลือของบิตเรตต่อช่องสัญญาณ นอกจากการออกอากาศโทรทัศน์ ก็มีการออกอากาศวิทยุในทีวีดิจิตอล โดยการกดปุ่ม TV/Radio บนรีโมททีวีหรือกล่องรับสัญญาณเพื่อฟังวิทยุที่มากับการออกอากาศทีวีดิจิตอล
วิทยุที่ออกอากาศนั้นใช้มาตรฐานตามระบบทีวี โดยจะส่งมาเป็นเสียงอย่างเดียว อาจมาเป็นเสียงแบบ Dolby Digital หรือ AAC ก็ได้แล้วแต่ ความชัดของเสียงขึ้นอยู่กับบิตเรตที่ให้มา โดยสัญญาณเสียงจะอยู่ในช่องสัญญาณทีวีบีบอัดมาแบบดิจิตอลส่งมาจากช่องทีวีหรือMux ไม่ใช่สัญญาณสถานี AM/ FM ที่เราฟังกันซึ่งเป็นอนาล๊อก (จูนด้วยวิทยุธรรมดาไม่ติด)
หลักการของระบบวิทยุผ่านทีวีดิจิตอลจะคล้ายๆกับระบบ DAB ซึ่ง DAB จะเป็นเหมือนวิทยุ FM คือส่งมาผ่านคลื่นของวิทยุเลยแต่มาเป็นสัญญาณดิจิตอล ไม่ต้องใส่มาพร้อมทีวีดิจิตอล ซึ่งวิทยุที่จะรับ DAB ได้ก็ต้องมีจูนเนอร์ DAB เช่นกัน และก็คล้ายๆวิทยุดิจิตอลในระบบ DMB มาพร้อมทีวีดิจิตอลมือถือซึ่งก็ต้องมีจูนเนอร์รับเหมือนกัน (DMB = มือถือ, อุปกรณ์พกพา / DAB = เครื่องรับวิทยุ) ข้อดีคือมีบอกชื่อเพลง ชื่อรายการ เวลา ณ ขณะนั้น เสียงชัดไม่ซ่า
(วิทยุที่รองรับ DAB ซึ่งนิยมมากในแถบยุโรป)
(ทีวีพกพาของเกาหลี ในรูป เครื่องนี้รองรับทั้งทีวีดิจิตอลมือถือและวิทยุระบบ DMB และวิทยุระบบ DAB)
ข้อดีของวิทยุดิจิตอลที่เห็นได้ชัดคือ...
1.เสียงชัด ไม่ซ่า ไม่โดยรบกวน
2.บอกชื่อสถานีเป็นตัวอักษรเป็นคำยาวๆได้ บอกชื่อเพลงที่กำลังเล่นได้ (วิทยุ FM ก็สามารถบอกชื่อสถานีได้ แต่มีแค่บางสถานีที่ใช้กัน ในไทยก็มีใช้)
3.มีผังรายการเป็นสัดส่วนบอกเวลาชัดเจน
4.สามารถตั้งเตือนรายการหรือตั้งอัดได้เหมือนกับทีวี
5.1ช่องทีวีหรือ1ช่องสัญญาณ จะส่งวิทยุดิจิตอลผ่านระบบทีวีดิจิตอลมากี่ช่องก็ได้จนกว่าจะเต็มช่องสัญญาณที่กำหนดไว้หรือที่มีอยู่
6.การแยกช่องนั้น แยกเป็นตัวเลข ไม่ได้แยกเป็นคลื่นๆที่ต้องมากด 101.25...101.50 แต่จะเป็นกดช่อง 1, 2, 3 แบบนี้แทน ไม่ต้องรอหาคลื่น พูดๆง่ายคือเปลี่ยนช่องวิทยุเหมือนเปลี่ยนช่องทีวี
ข้อเสียก็มีคือ... (ข้อใหญ่ด้วย)
1.เข้าถึงผู้คนได้ไม่เท่า AM/ FM เพราะต้องมีสัญญาณทีวีดิจิตอลไปถึงและมีทีวีดิจิตอลด้วย ที่ไหนไม่มีก็หมดสิทธิ์ฟัง (ถ้าสถานีนั้นไม่ออกอากาศผ่าน AM/ FM ด้วยอะนะ) AM/ FM เป็นสัญญาณอนาล๊อก หาวิทยุได้ง่ายมาก ไม่ต้องพกอุปกรณ์ที่ใหญ่มากมาย แถมสัญญาณแผ่ได้ไกล ส่งสัญญาณก็ง่าย
2.ต้องจูนช่องก่อนฟัง ซึ่ง AM/ FM ถ้ารู้คลื่นสามารถกดคลื่นไปได้เลย แล้วค่อยก็บันทึกช่องไว้ก็ได้
แต่ถ้าดูโดยรวม การออกอากาศวิทยุผ่านระบบทีวีดิจิตอลไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะข้อเสียตามข้อเสียที่1เลยที่ได้เขียนไว้ ช่องที่ออกอากาศก็เป็นช่องทีวีซึ่งก็จะเน้นการออกอากาศทีวีมากกว่า เพราะมีทั้งภาพและเสียง เห็นเป็นรูปธรรม ได้อารมณ์กว่า ค่าโฆษณาก็สูงกว่าตั้งเยอะ ระบบ DAB/ DMB และวิทยุผ่านทางดาวเทียมยังเป็นที่นิยมมากกว่า แต่ก็ไม่ได้นิยมมากจนไปสู้ AM/ FM ได้ ขนาดที่ประเทศญี่ปุ่นเคยออกอากาศวิทยุผ่านระบบทีวีดิจิตอล 3ช่อง โดยเริ่มพร้อมการออกอากาศทีวีดิจิตอลในปี 2003 (ช่องวิทยุ3ช่องนี้มีออกอากาศทาง AM/ FM อยู่แล้ว) แต่ไม่ได้รับความนิยมเลยยกเลิกไปในปี 2011
(Sirius XM เป็นบริการวิทยุผ่านดาวเทียมในอเมริกาที่นิยมกันมาก โดยต้องสมัครเสียค่าสมาชิกเป็นรายเดือน ข้อดีคือครอบคลุมพื้นที่นับล้านตารางกิโลเมตร และเสียงชัดเพราะเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งระบบนี้ใส่มาให้เลยในรถยนต์ที่ขายในอเมริกาครับ)
ส่วนประเทศไทยนั้น ทาง กสทช.เริ่มที่จะดำเนินการศึกษาระบบวิทยุดิจิตอลและเริ่มกระบวนการต่างๆในปีหน้าครับ (ยังไม่ได้เลือกว่าจะใช้ระบบอะไร)
(อย่าเพิ่งงงอ้าปากค้าง เหลืออีกเรื่องนึง)
นาฬิกาทีวี ไม่ต้องตั้งเอง เดี๋ยวระบบดิจิตอลตั้งให้
สำหรับทีวีระบบดิจิตอลนั้น สามารถใส่อะไรได้ตั้งมากมายที่นอกเหนือจากช่องทีวีและวิทยุ ทั้งผังรายการอิเล็กทรอนิกส์ (EPG), Interactive ที่สามารถดูรายละเอียดรายการหรือเล่นเกมส์ตอบคำถามพร้อมๆในรายการได้ (ถ้าเป็นการส่งข้อมูลไป เช่น โหวตศิลปินต้องต่ออินเตอร์เน็ตด้วย), การแยกหมวดของรายการ เพื่อการหารายการหรือแยกประเภทรายการได้ง่ายขึ้น เช่น แยกหมวดการ์ตูน, ละคร, รายการเพลง, กีฬา และระบบเล็กๆน้อยๆอย่าง "เวลาและวันที่"
ตามปกติทีวีที่เราใช้กันอยู่ที่บ้านหลายๆรุ่นตั้งแต่เก่าจออ้วนยัน LED TV, Plasma รุ่นใหม่ๆ ต่างก็มีการตั้งเวลาให้กับทีวี ประโยชน์คือเรากดดูเวลาได้ จะได้ไม่ลืมเวลา, ตั้งเปิดทีวีได้ ช่วยปลุกให้ตื่นตอนเช้าโดยเปิดข่าวสรยุทธ์ตั้งเสียงดังๆ(ผมใช้ทุกวัน อิอิ) แต่ที่ใช้กันอยู่เป็นการตั้งวันเวลาด้วยตัวเอง ถ้าถอดปลั๊กแล้วเสียบใหม่เวลาจะหายไป ต้องตั้งกันใหม่ แต่ในทีวีดิจิตอล ทางMuxจะส่งเวลาและวันที่มาเสิร์ฟให้ทีวีและกล่องรับสัญญาณที่บ้านท่านเองครับ
หลักการก็ง่ายๆครับ ทางMuxส่งมาเป็นข้อมูลเสริม ตั้งค่าข้อมูลว่าเป็นนาฬิกาเวลาและวันที่ แล้วทีวีก็รับค่ามาปรับให้เอง ซึ่งนาฬิกาพวกนี้จะตั้งให้เอง แค่เปิดทีวีขึ้นมา เวลาก็จะถูกตั้งไว้ให้เองเลย ถอดปลั๊กไปเป็นเดือนพอเปิดทีวีมา เวลาก็จะตรงตามเวลา ณ นั้นให้เอง (ต้องปรับให้นาฬิกาของทีวีเป็นแบบอัตโนมัติหรือ Automatic นะครับ) ซึ่งนาฬิกาเนี่ยมันต้องใช่คู่กับการอัดรายการตามผัง EPG หรือการดูตารางผัง EPG ด้วย ส่วนเวลาจะตรงตามเวลาหลักของโลกไหม ก็อยู่ที่Muxเป็นคนตั้งครับ
(EPG ก็ต้องใช้เวลาและวันที่เป็นตัวร่วมด้วย ซึ่งMuxจะส่งเวลามาให้โดยอัตโนมัติ)
ส่วนจะแสดงผลตรงไหนของจอก็แล้วแต่ยี่ห้อจะตั้งมา แต่ที่ญี่ปุ่น ทีวีทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เวลาจะแสดงผลเป็นตัวอักษรสีขาวที่มุมขวาล่างของจอ
(ทีวีของที่ญี่ปุ่น ทุกรุ่นทุกยี่ห้อจะตั้งไว้ถ้าแสดงนาฬิกาให้แสดงเป็นตัวหนังสือสีขาวที่มุมขวาล่าง โดยตั้งให้แสดงตลอดเวลาก็ได้)
กระทู้ก็ถึงช่วงจบแล้ว ได้รับความรู้กันเยอะเลยนะครับ ทีวีดิจิตอลก็ใกล้ขึ้นมาทุกที อยากดูเร็วๆจัง ก็ขอจบกระทู้เพียงแค่นี้ ขอบคุณที่เข้ามาชม สวีสดีครับ.....
(ทีวีดิจิตอลช่างลึกล้ำอะไรเช่นนี้..)