อดีตนักแบตมินตันหญิงคนแรกที่มีผลงานคว้ารางวัลหอเกียรติคนกีฬา รางวัล '' Hall of Fame ''
คนแรกของการประกาศรางวัลสยามกีฬา อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 เมื่อ 6 มีนาคม 2554
รางวัลเกียรติยศ ฮอลล์ ออฟ เฟม (Hall Of Fame) ดังกล่าว เป็นรางวัลสำหรับคนกีฬาที่มีผลงานโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ และวงการกีฬาเป็นระยะเวลายาวนานจนเป็นที่ยอมรับ
สำหรับ นางทองคำ กิ่งมณี หรือที่วงการขนไก่ไทยเรียกกันติดปากว่า "ป้าทองคำ" วัย 73 ปี จากสมุทรสงคราม เป็นนักแบดมินตันสาวไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในรอบ 40 กว่าปีที่ผ่านมา ที่ประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ ทำให้คนในวงการขนไก่ไทยยกย่องว่าเธอคือสุดยอดนักตบหญิงเดี่ยวของเมืองไทยในยุคนั้น ยิ่งเมื่อเอาผลงานที่สะสมมาตลอดการเป็นนักกีฬา "ทองคำ กิ่งมณี " คือนักแบดมินตันหญิงกระบี่มือหนึ่งของไทยอย่างแท้จริง
กับผลงานที่คว้าแชมป์หญิงเดี่ยวมาได้ยาวนานถึง 10 สมัย รวมถึงมีผลงานในประเภทหญิงคู่ ที่ครองแชมป์มาได้ถึง 11 สมัย บวกกับคว้าเหรียญเงินหญิงเดี่ยวเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 และ 6 ในปี 2509 และ 2513 คงเป็นเครื่องการันตีในความเก่งกาจและยอดเยี่ยมได้ไม่น้อย
ทองคำ กิ่งมณี เข้าสู่วงการลูกขนไก่ในปี 2507 โดยมี ท่านขุน นิกร ดารารัตน์ (ผวจ.สมุทรสาคร ในปัจจุบัน) และกลุ่มเพื่อน ได้ชักชวนให้มาร่วมเล่นแบดมินตัน จากนั้นในปี 2508 แข่งขันชิงแชมป์ของสโมสรแบดมินตันสมบุญดี
จากนั้นทำผลงานโดดเด่น ชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ประเภทหญิงคู่ และ หญิงเดี่ยว (ปี 2509,2510,2511,2512,2513,2514,2516,2517,2518,2519,2521) รองชนะเลิศ (ปี 2520,2522)และเป็นแชมป์ในการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยฯ คู่ผสม ในปี 2514,2516,2518,2521
ในระดับเอเชียได้เป็นตัวแทนทีมชาติลงแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ มาอย่างโชกโชน ถึง 5 สมัย และสามารถคว้าเหรียญรางวัลมาครองได้ทุกครั้ง
โดยได้ 3 เหรียญเงิน เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ปี 2509 ที่กรุงเทพฯ (หญิงเดี่ยว,หญิงคู่ ทีมหญิง)
2 เหรียญเงิน (หญิงเดี่ยว,ทีมหญิง) 1 ทองแดง(หญิงคู่) เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6 ปี 2513 ที่กรุงเทพฯ
2 เหรียญทองแดง เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 7 ปี 2517 ที่ อิหร่าน (หญิงคู่,ทีมหญิง)
3 เหรียญทองแดง เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 ปี 2521 ที่กรุงเทพฯ (หญิงเดี่ยว,หญิงคู่ ,ทีมหญิง)
3 เหรียญทองแดง เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 9 ปี 2525 ที่อินเดีย (หญิงเดี่ยว ,หญิงคู่ ,ทีมหญิง)
ในระดับอาเซียน เป็นตัวแทนทีมชาติไทยแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ซีเกมส์) ถึง 7 สมัย
ด้วยการคว้า 1 เหรียญทองหญิงเดี่ยว กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ปี 2510 ที่กรุงเทพฯ
1 ทองแดงทีมหญิงและหญิงคู่ กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 5 ปี 2512 ที่พม่า
(ปี 2512 ที่นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า สมัยนั้นมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันเพียง 6 ประเทศเท่านั้น ใน 15 ชนิดกีฬา โดยคุณป้าทองคำ กิ่งมณี ได้รับเหรียญทองแดงจากการแข่งขัน ประเภททีมหญิงและหญิงคู่ ณ สนามกีฬาแห่งชาติอองซาน ในยุคที่ประธานาธิบดีเนวินเป็นผู้นำประเทศ โดยจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม 2512)
1 ทอง 2 เงิน กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 6 ปี 2514 ที่มาเลเซีย
2 ทอง 1 เงิน กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 7 ปี 2516 ที่สิงค์โปร์
3 เงิน 1 ทองแดง กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 8 ปี 2518 ที่กรุงเทพฯ
1 เงิน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 9 ปี 2520 ที่มาเลเซีย
1 เงิน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10 ปี 2522 ที่อินโดนีเซีย
นอกจากนี้ยังร่วมทีมลงแข่งขัน อูเบอร์คัพ ถึง 3 ครั้งปี 2509 ที่อินเดีย, ปี 2511 ที่ญี่ปุ่น, ปี 2512 ที่ไทย ส่วนในปี 2514 แข่งขันชิงแชมป์ออลอิงแลนด์ ที่เดนมาร์ก-อังกฤษ และ รายการระดับโลกอีกมากมาย
ในเวลานั้น ได้รับการยกย่องและเข้ารับรางวัลมากมาย อาทิ
รางวัลกีฬายอดเยี่ยม ซึ่งจัดโดยสโมสรแบดมินตันสมบุญดี ปี 2512
รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดโดย สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปี 2515
รางวัลกีฬายอดเยี่ยม ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ปี 2517
รางวัลกีฬายอดเยี่ยม จัดโดยหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
และ ปี 2522 ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญทองมงกุฎไทย
ทุกรางวัลที่ได้รับคือความภาคภูมิใจของ " ทองคำ กิ่งมณี " สุดยอดนักแบดมินตันตลอดกาลของคนไทย
" ทองคำ กิ่งมณี " ย้อนรอยซีเกมส์ที่เมียนมาร์เมื่อ 44 ปีก่อน
จากป้าทองคำ ถึง หลานเมย์ รัชนก
ทองคำ กิ่งมณี อดีตนักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย ดีกรีแชมป์หญิงเดี่ยวประเทศไทย 10 สมัย และหญิงคู่ประเทศไทย 11 สมัย รวมถึงเจ้าของเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์หลายสมัย และเคยก้าวขึ้นมาเหรียญเงินในกีฬาเอเชียนเกมส์ มาแล้ว วัย 73 ปี
ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงลีลาการตีของ “น้องเมย์”รัชนก อินทนนท์ นักตบลูกขนไก่รุ่นหลานวัย 18 ปี ที่มีดีกรีเป็นถึงแชมป์โลก
ประเภทหญิงเดี่ยวคนล่าสุด และอยู่อันดับ 3 ของโลกว่า เป็นคนที่มีลีลาการเล่นที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะลูกตบโอเวอร์เฮด ซึ่งมีผู้หญิง
น้อยคนจะทำได้ ที่สำคัญคือมีจิตใจเป็นนักสู้ เพราะตั้งใจ และพยายามฝึกซ้อมจนประสบความสำเร็จได้
ป้าทองคำ ยังกล่าวอีกว่า จากการที่พูดคุยกับเพื่อน ๆ และดูน้องเมย์ตีหลาย ๆ ครั้ง ก็อยากให้น้องเมย์อย่าผ่อนในช่วงเกมสาม
เพราะที่ผ่านหลายคนลงความเห็นว่า สภาพร่างกายของแชมป์โลกคนล่าสุด ยังต้องเพิ่มความทนทานมากกว่านี้
และต้องเข้าและออกลูกให้รวดเร็ว เทียบเท่ากับนักตบรุ่นพี่ อย่างสุจิตรา เอกมงคลไพศาล
ก็มีโอกาสคว้าเหรียญในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ได้แน่นอน
แบตมินตันหญิงคนแรก คว้ารางวัลหอเกียรติคนกีฬา '' Hall of Fame “
อดีตนักแบตมินตันหญิงคนแรกที่มีผลงานคว้ารางวัลหอเกียรติคนกีฬา รางวัล '' Hall of Fame ''
คนแรกของการประกาศรางวัลสยามกีฬา อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 เมื่อ 6 มีนาคม 2554
รางวัลเกียรติยศ ฮอลล์ ออฟ เฟม (Hall Of Fame) ดังกล่าว เป็นรางวัลสำหรับคนกีฬาที่มีผลงานโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ และวงการกีฬาเป็นระยะเวลายาวนานจนเป็นที่ยอมรับ
สำหรับ นางทองคำ กิ่งมณี หรือที่วงการขนไก่ไทยเรียกกันติดปากว่า "ป้าทองคำ" วัย 73 ปี จากสมุทรสงคราม เป็นนักแบดมินตันสาวไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในรอบ 40 กว่าปีที่ผ่านมา ที่ประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ ทำให้คนในวงการขนไก่ไทยยกย่องว่าเธอคือสุดยอดนักตบหญิงเดี่ยวของเมืองไทยในยุคนั้น ยิ่งเมื่อเอาผลงานที่สะสมมาตลอดการเป็นนักกีฬา "ทองคำ กิ่งมณี " คือนักแบดมินตันหญิงกระบี่มือหนึ่งของไทยอย่างแท้จริง
กับผลงานที่คว้าแชมป์หญิงเดี่ยวมาได้ยาวนานถึง 10 สมัย รวมถึงมีผลงานในประเภทหญิงคู่ ที่ครองแชมป์มาได้ถึง 11 สมัย บวกกับคว้าเหรียญเงินหญิงเดี่ยวเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 และ 6 ในปี 2509 และ 2513 คงเป็นเครื่องการันตีในความเก่งกาจและยอดเยี่ยมได้ไม่น้อย
ทองคำ กิ่งมณี เข้าสู่วงการลูกขนไก่ในปี 2507 โดยมี ท่านขุน นิกร ดารารัตน์ (ผวจ.สมุทรสาคร ในปัจจุบัน) และกลุ่มเพื่อน ได้ชักชวนให้มาร่วมเล่นแบดมินตัน จากนั้นในปี 2508 แข่งขันชิงแชมป์ของสโมสรแบดมินตันสมบุญดี
จากนั้นทำผลงานโดดเด่น ชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ประเภทหญิงคู่ และ หญิงเดี่ยว (ปี 2509,2510,2511,2512,2513,2514,2516,2517,2518,2519,2521) รองชนะเลิศ (ปี 2520,2522)และเป็นแชมป์ในการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยฯ คู่ผสม ในปี 2514,2516,2518,2521
ในระดับเอเชียได้เป็นตัวแทนทีมชาติลงแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ มาอย่างโชกโชน ถึง 5 สมัย และสามารถคว้าเหรียญรางวัลมาครองได้ทุกครั้ง
โดยได้ 3 เหรียญเงิน เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ปี 2509 ที่กรุงเทพฯ (หญิงเดี่ยว,หญิงคู่ ทีมหญิง)
2 เหรียญเงิน (หญิงเดี่ยว,ทีมหญิง) 1 ทองแดง(หญิงคู่) เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6 ปี 2513 ที่กรุงเทพฯ
2 เหรียญทองแดง เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 7 ปี 2517 ที่ อิหร่าน (หญิงคู่,ทีมหญิง)
3 เหรียญทองแดง เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 ปี 2521 ที่กรุงเทพฯ (หญิงเดี่ยว,หญิงคู่ ,ทีมหญิง)
3 เหรียญทองแดง เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 9 ปี 2525 ที่อินเดีย (หญิงเดี่ยว ,หญิงคู่ ,ทีมหญิง)
ในระดับอาเซียน เป็นตัวแทนทีมชาติไทยแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ซีเกมส์) ถึง 7 สมัย
ด้วยการคว้า 1 เหรียญทองหญิงเดี่ยว กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ปี 2510 ที่กรุงเทพฯ
1 ทองแดงทีมหญิงและหญิงคู่ กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 5 ปี 2512 ที่พม่า
(ปี 2512 ที่นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า สมัยนั้นมีประเทศเข้าร่วมแข่งขันเพียง 6 ประเทศเท่านั้น ใน 15 ชนิดกีฬา โดยคุณป้าทองคำ กิ่งมณี ได้รับเหรียญทองแดงจากการแข่งขัน ประเภททีมหญิงและหญิงคู่ ณ สนามกีฬาแห่งชาติอองซาน ในยุคที่ประธานาธิบดีเนวินเป็นผู้นำประเทศ โดยจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 9-16 ธันวาคม 2512)
1 ทอง 2 เงิน กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 6 ปี 2514 ที่มาเลเซีย
2 ทอง 1 เงิน กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 7 ปี 2516 ที่สิงค์โปร์
3 เงิน 1 ทองแดง กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 8 ปี 2518 ที่กรุงเทพฯ
1 เงิน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 9 ปี 2520 ที่มาเลเซีย
1 เงิน กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10 ปี 2522 ที่อินโดนีเซีย
นอกจากนี้ยังร่วมทีมลงแข่งขัน อูเบอร์คัพ ถึง 3 ครั้งปี 2509 ที่อินเดีย, ปี 2511 ที่ญี่ปุ่น, ปี 2512 ที่ไทย ส่วนในปี 2514 แข่งขันชิงแชมป์ออลอิงแลนด์ ที่เดนมาร์ก-อังกฤษ และ รายการระดับโลกอีกมากมาย
ในเวลานั้น ได้รับการยกย่องและเข้ารับรางวัลมากมาย อาทิ
รางวัลกีฬายอดเยี่ยม ซึ่งจัดโดยสโมสรแบดมินตันสมบุญดี ปี 2512
รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดโดย สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปี 2515
รางวัลกีฬายอดเยี่ยม ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ปี 2517
รางวัลกีฬายอดเยี่ยม จัดโดยหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
และ ปี 2522 ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญทองมงกุฎไทย
ทุกรางวัลที่ได้รับคือความภาคภูมิใจของ " ทองคำ กิ่งมณี " สุดยอดนักแบดมินตันตลอดกาลของคนไทย
" ทองคำ กิ่งมณี " ย้อนรอยซีเกมส์ที่เมียนมาร์เมื่อ 44 ปีก่อน
จากป้าทองคำ ถึง หลานเมย์ รัชนก
ทองคำ กิ่งมณี อดีตนักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย ดีกรีแชมป์หญิงเดี่ยวประเทศไทย 10 สมัย และหญิงคู่ประเทศไทย 11 สมัย รวมถึงเจ้าของเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์หลายสมัย และเคยก้าวขึ้นมาเหรียญเงินในกีฬาเอเชียนเกมส์ มาแล้ว วัย 73 ปี
ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงลีลาการตีของ “น้องเมย์”รัชนก อินทนนท์ นักตบลูกขนไก่รุ่นหลานวัย 18 ปี ที่มีดีกรีเป็นถึงแชมป์โลก
ประเภทหญิงเดี่ยวคนล่าสุด และอยู่อันดับ 3 ของโลกว่า เป็นคนที่มีลีลาการเล่นที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะลูกตบโอเวอร์เฮด ซึ่งมีผู้หญิง
น้อยคนจะทำได้ ที่สำคัญคือมีจิตใจเป็นนักสู้ เพราะตั้งใจ และพยายามฝึกซ้อมจนประสบความสำเร็จได้
ป้าทองคำ ยังกล่าวอีกว่า จากการที่พูดคุยกับเพื่อน ๆ และดูน้องเมย์ตีหลาย ๆ ครั้ง ก็อยากให้น้องเมย์อย่าผ่อนในช่วงเกมสาม
เพราะที่ผ่านหลายคนลงความเห็นว่า สภาพร่างกายของแชมป์โลกคนล่าสุด ยังต้องเพิ่มความทนทานมากกว่านี้
และต้องเข้าและออกลูกให้รวดเร็ว เทียบเท่ากับนักตบรุ่นพี่ อย่างสุจิตรา เอกมงคลไพศาล
ก็มีโอกาสคว้าเหรียญในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ได้แน่นอน