โดย : ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เล็กพริกขี้หนู'ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์'ซีอีโอบมจ.ซัสโก้บริษัทคนไทยไซส์กลางรวบปั๊มแดนเสือเหลือง'ปิโตรนาส'96แห่งในไทยใต้อาณาจักรบนแผนรบกระสุนทุนใหม
มีโอกาสได้สัมภาษณ์ "เสี่ยหมง" ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่นที่ 2 เจ้าของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันมาตรา 6 หลานชายของ "มงคล สิมะโรจน์" ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทซัสโก้ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารปั๊มน้ำมันซัสโก้ (susco) ถึงแผนการใหญ่ในการซื้อกิจการปั๊มน้ำมัน 96 แห่งแบรนด์ปิโตรนาส บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย ที่รุกเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยเมื่อปี 2540 ด้วยการเข้าซื้อกิจการปั๊มน้ำมัน "คิวเอท" ต่อจากบริษัท คูเวต ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด
อะไรทำให้ซัสโก้ตัดสินใจเข้าซื้อกิจการปิโตรนาส ด้วยเงิน 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,800 ล้านบาท) ดีลจบลงในปลายปี 2555
ก่อนจะเฉลยคำตอบ ชัยฤทธิ์ ย้อนให้ฟังถึงวันที่นั่งดูเอกสารจากปิโตรนาส 7,000 กว่าหน้าในคอมพิวเตอร์ ก่อนจะตัดสินใจโดดเข้าประมูลว่า "ผมเห็นแล้วตกใจตัวเลขหนี้ที่ปิโตรนาสมีอยู่" เลยต้องถกกันในหมู่ผู้บริหารของทั้งซัสโก้และปิโตรนาสเป็นการด่วน
โดยได้รับการยืนยันจากปิโตรนาสว่า "ไม่มีปัญหา"
“ตอนแรก หนี้เยอะแบบนั้น เราบอกตรงๆว่า ซื้อมาก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร" เขาหลุดปาก
ก่อนจะเล่าต่อว่า ปิโตรนาสไทย เป็นหนี้บริษัทแม่ที่มาเลเซียมาใช้ ไม่ได้กู้เงินแบงก์ไทย บริษัทต่างชาติจะใช้วิธีนี้ ถ้ามีกำไรก็ค่อยคืนบริษัทแม่ ก็คุยกันว่าแล้วเราจะเคลียร์หนี้กันอย่างไร จะเอาเงินจากที่ไหนมา ทางปิโตรนาสบอกไม่ยากหรอกถึงวันจะโอนเงินเข้าไป ใส่เงินเพิ่มทุนมาปุ๊บหนี้ก็จะเป็นศูนย์ หนี้ฟรี แคชฟรี เราซื้อแต่ทรัพย์สินมา "เสี่ยหมง" ย้อนเล่า
เขายังบอกด้วยว่า ใจจริงปิโตรนาสตั้งใจจะไม่อยู่ตั้งแต่ปี 2554 แล้วพอเกิดน้ำท่วมใหญ่ในไทย เขาก็เลยเบรก ซึ่งในตอนนั้นบอกตามตรงว่าซัสโก้อาจจะไม่พร้อม เพราะเพิ่งซื้อปั๊มเอ็นจีวีไป 400-500 ล้านบาท จนปี 2555 พอมีจังหวะดี จึงตัดสินใจซื้อ
"ผมว่าการเทคโอเวอร์เป็นเรื่องของจังหวะ ถ้าจังหวะไม่ได้เราก็ไม่ทำ"
ก่อนจะขยายความว่า ปั๊มน้ำมัน 90 กว่าแห่งของปิโตรนาส ถ้าสร้างเอง 4-5 ปีคงสร้างไม่เสร็จแน่นอน การเข้าไปเทคโอเวอร์จะช่วยต่อยอดธุรกิจอื่นๆ เพราะก่อนหน้านั้นซัสโก้ไม่เคยทำธุรกิจอื่นๆ เลยนอกจากการขายน้ำมันสำเร็จรูป แต่พอซื้อกิจการปิโตรนาสในไทย เราก็ได้รุกเข้าสู่ธุรกิจการขาย "น้ำมันเจ็ท" (น้ำมันเครื่องบิน) เพราะปิโตรนาสถือหุ้นใน บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บาฟส์ กับบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด หรือ FPT ซึ่งเดิมซัสโก้ไม่มีสิทธิ์ที่จะทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว เพราะเราไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้น
นี่คือคำเฉลยคำตอบของการซื้อกิจการปิโตรนาส !!!
เสี่ยหมง ยังบอกด้วยว่า แผนธุรกิจหลังจากนี้ ปิโตรนาส มีแผนจะรีแบรนด์ปิโตรนาส โดยทยอยเปลี่ยนชื่อ "ปิโตรนาส" มาเป็น "ซัสโก้" ให้ครบทุกปั๊ม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 โดยในปีนี้ตั้งงบรีแบรนด์ไว้ที่ 200-300 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปั๊มละ 2-3 ล้านบาท
กับเป้าหมาย "ความท้าทายใหม่" อยากเห็นยอดขายซัสโก้เพิ่มขึ้นถึง 30,000 ล้านบาท ในอีก 2-3 ปีจากนี้ จากปีนี้ที่คาดว่ายอดขายจะไม่เป็นไปตามเป้าที่ 28,000 ล้านบาท จากเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัว ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 ซัสโก้ มีรายได้ 17,973.92 ล้านบาท
แอบกระเซ้าถาม "เสี่ยหมง" ว่า งานนี้บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย อย่างปิโตรนาส ได้ไปเอ่ยปากชวนบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทย อย่างปตท. มาซื้อกิจการก่อนจะชวนซัสโก้ หรือไม่ "ชัยฤทธิ์" ได้แต่นั่งอมยิ้ม ไม่ยอมบอกอะไรไปมากกว่านี้ ก่อนรุกถามต่อถึงความเนื้อหอมของซัสโก้ ว่าทำท่าไหน กึ้ง- เฉลิมชัย มหากิจศิริ จึงกลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับต้นๆในซัสโก้ สัดส่วน 12.21% ไปซะได้
คนทั่วไปมองว่า "ปั๊มน้ำมัน" กับ "ธุรกิจกาแฟ" (โรงงานผลิตกาแฟสำเร็จรูป เนสกาแฟ) ไม่น่าจะไปกันได้
เสี่ยหมง เล่าให้ฟังว่า “ประยุทธ มหากิจศิริ” พ่อของกึ้ง-เฉลิมชัย ติดต่อผ่านมาทาง "มงคล สิมะโรจน์" ว่าอยากร่วมทำธุรกิจด้วย เลยขออนุญาตเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ เผื่อในอนาคตจะมีโอกาสได้ทำธุรกิจร่วมกันเพราะ "กลุ่มมหากิจสิริ" เองก็มีธุรกิจค้าปลีกในธุรกิจกาแฟ
ไล่เลียงความน่าจะเป็น .. กลุ่มมหากิจศิริ ต้องการต่อยอดธุรกิจค้าปลีก ในรูปแบบร้านสะดวกซื้อที่ยังไม่มีเป็นของตัวเอง ขณะที่กลุ่มสิมะโรจน์ มีร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน จึงมีแผนที่จะรีแบรนด์ร้านสะดวกซื้อเดิมเป็นของปิโตรนาสมีอยู่ในชื่อ “ซูเรีย” เป็นแบรนด์ซัสโก้ ทันทีที่หมดสัญญาในอีก 1 ปีข้างหน้า แต่เนื่องจากตามสัญญาต้องคงชื่อ "ซูเรีย" และ “ปิโตรนาส” ไว้ 2 ปี จากนั้นจึงทยอยเปลี่ยน ไปจนครบทั้ง 96 แห่ง และเมื่อรวมกับจำนวนปั๊มน้ำมันเดิมที่มีอยู่
ส่งผลให้ซัสโก้จะมีปั๊มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อทันทีกว่า 250 แห่ง
หรือมองข้ามช็อตอีกสเต็ป กลุ่มมหากิจสิริกำลังสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจน้ำมันในอนาคต ทว่าเรื่องนี้ "ชัยฤทธิ์” ไม่กล้ายืนยัน แต่บอกว่า "เอาไว้ถามคุณอา (มงคล สิมะโรจน์) จะดีกว่า เพราะเขาติดต่อผ่านทางนั้นมาโดยตรง”
---------------------------------------
(ล้อมกรอบ) ไม่ใช่แค่ ปิโตรนาส เคยซื้อปั๊ม "ทีพีไอ"
ก่อนที่ซัสโก้ จะซื้อกิจการปั๊มน้ำมันปิโตนาส ย้อนกลับไปซัสโก้ยังเคยซื้อปั๊มน้ำมันทีพีไอของเสี่ย "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" มาแล้ว
ชัยฤทธิ์ สรุปให้ฟังว่า ในยุคนั้นซัสโก้เริ่มมีกำลังเงินพอที่จะเข้าไปซื้อกิจการอื่นๆ ต่อยอดให้กับธุรกิจของครอบครัว หลังจากที่ประสบภาวะเหมือนคนที่กำลังจะ "สิ้นใจ" ตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง
เรียกว่า "ไม่มีแม้กระทั่งเงินที่จะซื้อน้ำมันมาขาย"
“ตอนแรกซัสโก้เราเข้าเทคโอเวอร์ปั๊มทีพีไอ มา 24 ปั๊ม ตัวปั๊มทีพีไอเราทั้งซื้อ ทั้งเช่า ก่อนจะมาซื้อปั๊มปิโตรนาส ทำให้จำนวนปั๊มน้ำมันเพิ่มมาเป็น 235 แห่ง เราก็วางแผนไว้ว่าอยากจะได้สัก 250 แห่ง ถึงจะมีขนาดที่เหมาะสม ไม่ได้คิดว่าจะเอา 700-800 แห่ง เราเอา 250 แห่งพอเพราะระดับนี้เป็นตัวทำกำไรที่เหมาะสม”
เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ซัสโก้ ยังถูกบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลกอย่าง "คาลเท็กซ์" ส่งเทียบเชิญให้เข้ามาร่วมประมูลซื้อกิจการใน สปป.ลาว เพราะคาลเท็กซ์ ทว่าซัสโก้ ยังมีสายป่านไม่มากพอจึงต้องบอกปัดไป "ชัยฤทธิ์" บอกว่า ตอนนั้นฝรั่งขายทิ้งถูกมาก
ยังเสียดายไม่หาย !!!
'ซัสโก้'ต่อยอด'มหากิจศิริ'รุกปั๊ม-ร้านค้าปลีก-เจ็ทออยล์
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เล็กพริกขี้หนู'ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์'ซีอีโอบมจ.ซัสโก้บริษัทคนไทยไซส์กลางรวบปั๊มแดนเสือเหลือง'ปิโตรนาส'96แห่งในไทยใต้อาณาจักรบนแผนรบกระสุนทุนใหม
มีโอกาสได้สัมภาษณ์ "เสี่ยหมง" ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่นที่ 2 เจ้าของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันมาตรา 6 หลานชายของ "มงคล สิมะโรจน์" ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทซัสโก้ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารปั๊มน้ำมันซัสโก้ (susco) ถึงแผนการใหญ่ในการซื้อกิจการปั๊มน้ำมัน 96 แห่งแบรนด์ปิโตรนาส บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย ที่รุกเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยเมื่อปี 2540 ด้วยการเข้าซื้อกิจการปั๊มน้ำมัน "คิวเอท" ต่อจากบริษัท คูเวต ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด
อะไรทำให้ซัสโก้ตัดสินใจเข้าซื้อกิจการปิโตรนาส ด้วยเงิน 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,800 ล้านบาท) ดีลจบลงในปลายปี 2555
ก่อนจะเฉลยคำตอบ ชัยฤทธิ์ ย้อนให้ฟังถึงวันที่นั่งดูเอกสารจากปิโตรนาส 7,000 กว่าหน้าในคอมพิวเตอร์ ก่อนจะตัดสินใจโดดเข้าประมูลว่า "ผมเห็นแล้วตกใจตัวเลขหนี้ที่ปิโตรนาสมีอยู่" เลยต้องถกกันในหมู่ผู้บริหารของทั้งซัสโก้และปิโตรนาสเป็นการด่วน
โดยได้รับการยืนยันจากปิโตรนาสว่า "ไม่มีปัญหา"
“ตอนแรก หนี้เยอะแบบนั้น เราบอกตรงๆว่า ซื้อมาก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร" เขาหลุดปาก
ก่อนจะเล่าต่อว่า ปิโตรนาสไทย เป็นหนี้บริษัทแม่ที่มาเลเซียมาใช้ ไม่ได้กู้เงินแบงก์ไทย บริษัทต่างชาติจะใช้วิธีนี้ ถ้ามีกำไรก็ค่อยคืนบริษัทแม่ ก็คุยกันว่าแล้วเราจะเคลียร์หนี้กันอย่างไร จะเอาเงินจากที่ไหนมา ทางปิโตรนาสบอกไม่ยากหรอกถึงวันจะโอนเงินเข้าไป ใส่เงินเพิ่มทุนมาปุ๊บหนี้ก็จะเป็นศูนย์ หนี้ฟรี แคชฟรี เราซื้อแต่ทรัพย์สินมา "เสี่ยหมง" ย้อนเล่า
เขายังบอกด้วยว่า ใจจริงปิโตรนาสตั้งใจจะไม่อยู่ตั้งแต่ปี 2554 แล้วพอเกิดน้ำท่วมใหญ่ในไทย เขาก็เลยเบรก ซึ่งในตอนนั้นบอกตามตรงว่าซัสโก้อาจจะไม่พร้อม เพราะเพิ่งซื้อปั๊มเอ็นจีวีไป 400-500 ล้านบาท จนปี 2555 พอมีจังหวะดี จึงตัดสินใจซื้อ
"ผมว่าการเทคโอเวอร์เป็นเรื่องของจังหวะ ถ้าจังหวะไม่ได้เราก็ไม่ทำ"
ก่อนจะขยายความว่า ปั๊มน้ำมัน 90 กว่าแห่งของปิโตรนาส ถ้าสร้างเอง 4-5 ปีคงสร้างไม่เสร็จแน่นอน การเข้าไปเทคโอเวอร์จะช่วยต่อยอดธุรกิจอื่นๆ เพราะก่อนหน้านั้นซัสโก้ไม่เคยทำธุรกิจอื่นๆ เลยนอกจากการขายน้ำมันสำเร็จรูป แต่พอซื้อกิจการปิโตรนาสในไทย เราก็ได้รุกเข้าสู่ธุรกิจการขาย "น้ำมันเจ็ท" (น้ำมันเครื่องบิน) เพราะปิโตรนาสถือหุ้นใน บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บาฟส์ กับบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด หรือ FPT ซึ่งเดิมซัสโก้ไม่มีสิทธิ์ที่จะทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว เพราะเราไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้น
นี่คือคำเฉลยคำตอบของการซื้อกิจการปิโตรนาส !!!
เสี่ยหมง ยังบอกด้วยว่า แผนธุรกิจหลังจากนี้ ปิโตรนาส มีแผนจะรีแบรนด์ปิโตรนาส โดยทยอยเปลี่ยนชื่อ "ปิโตรนาส" มาเป็น "ซัสโก้" ให้ครบทุกปั๊ม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558 โดยในปีนี้ตั้งงบรีแบรนด์ไว้ที่ 200-300 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปั๊มละ 2-3 ล้านบาท
กับเป้าหมาย "ความท้าทายใหม่" อยากเห็นยอดขายซัสโก้เพิ่มขึ้นถึง 30,000 ล้านบาท ในอีก 2-3 ปีจากนี้ จากปีนี้ที่คาดว่ายอดขายจะไม่เป็นไปตามเป้าที่ 28,000 ล้านบาท จากเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัว ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 ซัสโก้ มีรายได้ 17,973.92 ล้านบาท
แอบกระเซ้าถาม "เสี่ยหมง" ว่า งานนี้บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย อย่างปิโตรนาส ได้ไปเอ่ยปากชวนบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทย อย่างปตท. มาซื้อกิจการก่อนจะชวนซัสโก้ หรือไม่ "ชัยฤทธิ์" ได้แต่นั่งอมยิ้ม ไม่ยอมบอกอะไรไปมากกว่านี้ ก่อนรุกถามต่อถึงความเนื้อหอมของซัสโก้ ว่าทำท่าไหน กึ้ง- เฉลิมชัย มหากิจศิริ จึงกลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับต้นๆในซัสโก้ สัดส่วน 12.21% ไปซะได้
คนทั่วไปมองว่า "ปั๊มน้ำมัน" กับ "ธุรกิจกาแฟ" (โรงงานผลิตกาแฟสำเร็จรูป เนสกาแฟ) ไม่น่าจะไปกันได้
เสี่ยหมง เล่าให้ฟังว่า “ประยุทธ มหากิจศิริ” พ่อของกึ้ง-เฉลิมชัย ติดต่อผ่านมาทาง "มงคล สิมะโรจน์" ว่าอยากร่วมทำธุรกิจด้วย เลยขออนุญาตเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ เผื่อในอนาคตจะมีโอกาสได้ทำธุรกิจร่วมกันเพราะ "กลุ่มมหากิจสิริ" เองก็มีธุรกิจค้าปลีกในธุรกิจกาแฟ
ไล่เลียงความน่าจะเป็น .. กลุ่มมหากิจศิริ ต้องการต่อยอดธุรกิจค้าปลีก ในรูปแบบร้านสะดวกซื้อที่ยังไม่มีเป็นของตัวเอง ขณะที่กลุ่มสิมะโรจน์ มีร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน จึงมีแผนที่จะรีแบรนด์ร้านสะดวกซื้อเดิมเป็นของปิโตรนาสมีอยู่ในชื่อ “ซูเรีย” เป็นแบรนด์ซัสโก้ ทันทีที่หมดสัญญาในอีก 1 ปีข้างหน้า แต่เนื่องจากตามสัญญาต้องคงชื่อ "ซูเรีย" และ “ปิโตรนาส” ไว้ 2 ปี จากนั้นจึงทยอยเปลี่ยน ไปจนครบทั้ง 96 แห่ง และเมื่อรวมกับจำนวนปั๊มน้ำมันเดิมที่มีอยู่
ส่งผลให้ซัสโก้จะมีปั๊มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อทันทีกว่า 250 แห่ง
หรือมองข้ามช็อตอีกสเต็ป กลุ่มมหากิจสิริกำลังสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจน้ำมันในอนาคต ทว่าเรื่องนี้ "ชัยฤทธิ์” ไม่กล้ายืนยัน แต่บอกว่า "เอาไว้ถามคุณอา (มงคล สิมะโรจน์) จะดีกว่า เพราะเขาติดต่อผ่านทางนั้นมาโดยตรง”
---------------------------------------
(ล้อมกรอบ) ไม่ใช่แค่ ปิโตรนาส เคยซื้อปั๊ม "ทีพีไอ"
ก่อนที่ซัสโก้ จะซื้อกิจการปั๊มน้ำมันปิโตนาส ย้อนกลับไปซัสโก้ยังเคยซื้อปั๊มน้ำมันทีพีไอของเสี่ย "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" มาแล้ว
ชัยฤทธิ์ สรุปให้ฟังว่า ในยุคนั้นซัสโก้เริ่มมีกำลังเงินพอที่จะเข้าไปซื้อกิจการอื่นๆ ต่อยอดให้กับธุรกิจของครอบครัว หลังจากที่ประสบภาวะเหมือนคนที่กำลังจะ "สิ้นใจ" ตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง
เรียกว่า "ไม่มีแม้กระทั่งเงินที่จะซื้อน้ำมันมาขาย"
“ตอนแรกซัสโก้เราเข้าเทคโอเวอร์ปั๊มทีพีไอ มา 24 ปั๊ม ตัวปั๊มทีพีไอเราทั้งซื้อ ทั้งเช่า ก่อนจะมาซื้อปั๊มปิโตรนาส ทำให้จำนวนปั๊มน้ำมันเพิ่มมาเป็น 235 แห่ง เราก็วางแผนไว้ว่าอยากจะได้สัก 250 แห่ง ถึงจะมีขนาดที่เหมาะสม ไม่ได้คิดว่าจะเอา 700-800 แห่ง เราเอา 250 แห่งพอเพราะระดับนี้เป็นตัวทำกำไรที่เหมาะสม”
เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ซัสโก้ ยังถูกบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลกอย่าง "คาลเท็กซ์" ส่งเทียบเชิญให้เข้ามาร่วมประมูลซื้อกิจการใน สปป.ลาว เพราะคาลเท็กซ์ ทว่าซัสโก้ ยังมีสายป่านไม่มากพอจึงต้องบอกปัดไป "ชัยฤทธิ์" บอกว่า ตอนนั้นฝรั่งขายทิ้งถูกมาก
ยังเสียดายไม่หาย !!!