ประเด็นของข่าวคือ
-นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
-แต่งตั้งบุตรของตนเป็นเลขานุการ
-นายบุญส่ง กุลบุปผา ได้อนุญาตให้บุตรชาย ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาโททางกฎหมาย
-ไม่ได้มาปฏิบัติงานประจำที่ศาลรัฐธรรมนูญ
-แต่ยังคงได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนตามปกติรวมระยะเวลาประมาณ 1 ปี 6 เดือน
-โดยในระหว่างนี้ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ยังคงเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนรายเดือน จำนวน 42,200 บาท และเงินประจำตำแหน่ง จำนวน 4,900 บาท ให้แก่บุตรชายของนายบุญส่ง กุลบุปผา เป็นประจำทุกเดือนตามปกติ
ในเรื่องนี้ นายบุญส่ง กุลบุปผา ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 หมวด 4 วัน เวลาทำงาน และการลาหยุดราชการ ข้อ 16 กำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตสำหรับการลาของลูกจ้างตามสัญญาจ้างซึ่งประจำ ตำแหน่งผู้นั้น ดังนั้น เมื่อบุตรชายของตนขอลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตนจึงเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา
ส่วนประเด็นว่า ในระหว่างลาจะได้รับค่าตอบแทนทุกเดือน หรือไม่ นายบุญส่ง กุลบุปผา ชี้แจงว่า ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 ข้อ 24 กำหนดว่า ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่ต้องสั่งให้ลูกจ้างประจำไปศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับหน้าที่ราชการที่ลูกจ้างประจำผู้นั้น ปฏิบัติอยู่ โดยให้ได้รับค่าจ้างอัตราปกติตลอดระยะเวลาที่ไป ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้ากระทรวงที่ผู้นั้นสังกัด อยู่จะพิจารณาอนุญาต ดังนั้น เมื่อนำมาเทียบเคียงกับเลขานุการประจำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งขึ้นตามระเบียบของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ ก็ย่อมมีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วย การแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นระเบียบ ที่นำมาใช้ในการแต่งตั้งบุตรชายนายบุญส่ง กุลบุปผา ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นี้
-ปรากฏว่ามิได้มีบัญญัติไว้ในข้อใดให้สิทธิเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะขออนุญาตลาไปศึกษาในต่างประเทศได้ และก็มิได้มีบัญญัติไว้ในข้อใด ให้อำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะอนุญาตให้เลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาไปศึกษาในต่างประเทศได้เช่นเดียวกัน
-ส่วนที่นายบุญส่ง กุลบุปผา อ้างว่า มีอำนาจอนุญาตการลาของลูกจ้างตามสัญญาจ้างประจำตำแหน่งของตน ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 หมวด 4 ข้อ 16 นั้น ก็ปรากฏว่า ลูกจ้างตามสัญญาจ้างตามระเบียบฯ ดังกล่าว หมายถึง บุคลากรประเภทที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานขับรถยนต์ประจำตำแหน่ง เท่านั้น มิได้หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย แต่อย่างใด
-และที่อ้างว่า ในระหว่างลาไปศึกษาในต่างประเทศ เลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน โดยอาศัยระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 มาเทียบเคียง ก็ปรากฏว่า ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 ข้อ 24 ดังกล่าว เป็นเรื่องการอนุญาตให้ลูกจ้างประจำของส่วนราชการไปศึกษาในต่างประเทศ แต่เลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ จึงไม่สามารถนำระเบียบนี้มาเทียบเคียงใช้บังคับได้ คำชี้แจงแก้ ข้อกล่าวหาของนายบุญส่ง กุลบุปผา ทั้งหมด จึงฟังไม่ขึ้น
-ดังนั้น การที่บุตรชายของนายบุญส่ง กุลบุปผา ขออนุญาตลาไปศึกษาในต่างประเทศ โดยไม่มีระเบียบกำหนดให้สิทธิในการลา และการที่นายบุญส่ง กุลบุปผา ได้อนุญาตให้บุตรชายไปศึกษาในต่างประเทศ โดยไม่มีระเบียบกำหนดให้มีอำนาจอนุญาตได้ จึงเป็นการกระทำโดยพลการ โดยปราศจากอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีผลให้การกระทำของนายบุญส่ง กุลบุปผา มิใช่การกระทำในฐานะเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการก็ตาม แต่พฤติการณ์ของนายบุญส่ง กุลบุปผา ที่อนุญาตให้บุตรชายลาไปศึกษาในต่างประเทศโดยพลการ โดยมิได้รายงานให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญทราบ หรือแจ้งให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบ เป็นเหตุให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยังคงเบิกค่าตอบแทนรายเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ตามปกติ
จึงเป็นเรื่องความรับผิดในทางแพ่งที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกให้นายบุญส่งกุลบุปผา ชดใช้เงินคืนต่อไป
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหานายบุญส่ง กุลบุปผา ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป แต่ให้แจ้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องความรับผิดในทางแพ่ง ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบ และพิจารณา ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
อยากถามว่ากรณีนี้ ผิดทางแพ่ง โดยไม่ผิดป.อาญามาตรา 157 จริงหรือ ปรับเงินคืนเงินแล้วก็จบเลยหรือครับ
ปล. เห็นข้าราชการโดยทั่วไปเบิกเงินโดยไม่มีสิทธิโดนจับยัดมาตรา 157 ก่อนเลยครับ !!!!!!
Ref:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2/item/23330-son.html#.UrHCAn_PEoo.facebook
ศาล รธน.ให้ลูกลาเรียนเมืองนอก เซ็นคำสั่งอนุมัติเงินเดือนให้ลูกขณะไปเรียนเมืองนอก กว่า 50,000 ต่อเดือน โดยไม่ผิดกม.
-นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
-แต่งตั้งบุตรของตนเป็นเลขานุการ
-นายบุญส่ง กุลบุปผา ได้อนุญาตให้บุตรชาย ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาโททางกฎหมาย
-ไม่ได้มาปฏิบัติงานประจำที่ศาลรัฐธรรมนูญ
-แต่ยังคงได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนตามปกติรวมระยะเวลาประมาณ 1 ปี 6 เดือน
-โดยในระหว่างนี้ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ยังคงเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนรายเดือน จำนวน 42,200 บาท และเงินประจำตำแหน่ง จำนวน 4,900 บาท ให้แก่บุตรชายของนายบุญส่ง กุลบุปผา เป็นประจำทุกเดือนตามปกติ
ในเรื่องนี้ นายบุญส่ง กุลบุปผา ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 หมวด 4 วัน เวลาทำงาน และการลาหยุดราชการ ข้อ 16 กำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตสำหรับการลาของลูกจ้างตามสัญญาจ้างซึ่งประจำ ตำแหน่งผู้นั้น ดังนั้น เมื่อบุตรชายของตนขอลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตนจึงเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา
ส่วนประเด็นว่า ในระหว่างลาจะได้รับค่าตอบแทนทุกเดือน หรือไม่ นายบุญส่ง กุลบุปผา ชี้แจงว่า ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 ข้อ 24 กำหนดว่า ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่ต้องสั่งให้ลูกจ้างประจำไปศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับหน้าที่ราชการที่ลูกจ้างประจำผู้นั้น ปฏิบัติอยู่ โดยให้ได้รับค่าจ้างอัตราปกติตลอดระยะเวลาที่ไป ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้ากระทรวงที่ผู้นั้นสังกัด อยู่จะพิจารณาอนุญาต ดังนั้น เมื่อนำมาเทียบเคียงกับเลขานุการประจำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งขึ้นตามระเบียบของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ ก็ย่อมมีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วย การแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นระเบียบ ที่นำมาใช้ในการแต่งตั้งบุตรชายนายบุญส่ง กุลบุปผา ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นี้
-ปรากฏว่ามิได้มีบัญญัติไว้ในข้อใดให้สิทธิเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะขออนุญาตลาไปศึกษาในต่างประเทศได้ และก็มิได้มีบัญญัติไว้ในข้อใด ให้อำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะอนุญาตให้เลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลาไปศึกษาในต่างประเทศได้เช่นเดียวกัน
-ส่วนที่นายบุญส่ง กุลบุปผา อ้างว่า มีอำนาจอนุญาตการลาของลูกจ้างตามสัญญาจ้างประจำตำแหน่งของตน ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 หมวด 4 ข้อ 16 นั้น ก็ปรากฏว่า ลูกจ้างตามสัญญาจ้างตามระเบียบฯ ดังกล่าว หมายถึง บุคลากรประเภทที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานขับรถยนต์ประจำตำแหน่ง เท่านั้น มิได้หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย แต่อย่างใด
-และที่อ้างว่า ในระหว่างลาไปศึกษาในต่างประเทศ เลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน โดยอาศัยระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 มาเทียบเคียง ก็ปรากฏว่า ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 ข้อ 24 ดังกล่าว เป็นเรื่องการอนุญาตให้ลูกจ้างประจำของส่วนราชการไปศึกษาในต่างประเทศ แต่เลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ จึงไม่สามารถนำระเบียบนี้มาเทียบเคียงใช้บังคับได้ คำชี้แจงแก้ ข้อกล่าวหาของนายบุญส่ง กุลบุปผา ทั้งหมด จึงฟังไม่ขึ้น
-ดังนั้น การที่บุตรชายของนายบุญส่ง กุลบุปผา ขออนุญาตลาไปศึกษาในต่างประเทศ โดยไม่มีระเบียบกำหนดให้สิทธิในการลา และการที่นายบุญส่ง กุลบุปผา ได้อนุญาตให้บุตรชายไปศึกษาในต่างประเทศ โดยไม่มีระเบียบกำหนดให้มีอำนาจอนุญาตได้ จึงเป็นการกระทำโดยพลการ โดยปราศจากอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีผลให้การกระทำของนายบุญส่ง กุลบุปผา มิใช่การกระทำในฐานะเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการก็ตาม แต่พฤติการณ์ของนายบุญส่ง กุลบุปผา ที่อนุญาตให้บุตรชายลาไปศึกษาในต่างประเทศโดยพลการ โดยมิได้รายงานให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญทราบ หรือแจ้งให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบ เป็นเหตุให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยังคงเบิกค่าตอบแทนรายเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ตามปกติ
จึงเป็นเรื่องความรับผิดในทางแพ่งที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกให้นายบุญส่งกุลบุปผา ชดใช้เงินคืนต่อไป
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติว่า ข้อกล่าวหานายบุญส่ง กุลบุปผา ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป แต่ให้แจ้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องความรับผิดในทางแพ่ง ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบ และพิจารณา ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
อยากถามว่ากรณีนี้ ผิดทางแพ่ง โดยไม่ผิดป.อาญามาตรา 157 จริงหรือ ปรับเงินคืนเงินแล้วก็จบเลยหรือครับ
ปล. เห็นข้าราชการโดยทั่วไปเบิกเงินโดยไม่มีสิทธิโดนจับยัดมาตรา 157 ก่อนเลยครับ !!!!!!
Ref:[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้