จขกท. ขอแนะนำกระทู้นี้ให้กับชาวกาญจนบุรี รวมทั้งผู้ที่สนใจทั่วไปก็แล้วกันครับ
สำหรับหนังสิบหก (หมายถึงฟิล์ม 16 ม.ม.) เรื่องนี้เป็นหนังไทยแบบดำเนินเรื่องราว อาจจะแฝงโฆษณาเพื่อเชิญชวนท่องเที่ยวก็เป็นไปได้เหมือนกัน
น่าเสียดายที่ไม่มีรายละเอียดใดๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเรื่อง นักแสดง ฯลฯ นอกจากที่ตัวม้วนหนังจะเขียนด้วยปากกาเคมีว่า “เมืองกาญจน์ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์” (จขกท. รู้แต่เพียงคร่าวๆ ว่า เขาเป็นพระเอกหนังไทย ยุคก่อน พ.ศ. 2500 และหนังไทยเรื่องหนึ่งที่นึกออกแบบไม่ต้องลังเลก็คือ “แม่นาคพระโขนง” ที่แสดงคู่กับ “ปรียา รุ่งเรือง” เจ้าของฉายา “หน้าอกเขาพระวิหาร”)
ขณะเทเลซีนหนังเรื่องนี้ ในรูปแบบความคมชัดสูง HD 1080 มีอยู่คนหนึ่งซึ่งบ้านอยู่จังหวัดกาญจนบุรีมาดูการเทเลซีนด้วยความสนใจ
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ เพราะระหว่างการเทเลซีน ได้เห็นสภาพของเมืองกาญจน์ (ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะถ่ายทำ และออกฉายก่อนปี พ.ศ. 2500) อยู่หลายช็อต จนคนเมืองกาญจน์ที่ยืนดูการเทเลซีนนั้นก็อดตื่นเต้นไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น
* อาคารโรงงานกระดาษ
* สถานีรถไฟกาญจนบุรี (เคยมีกองถ่ายหนังไทยเคยมาถ่ายทำอยู่หลายเรื่อง)
* สุสานทหารสัมพันธมิตร
* สะพานข้ามแม่น้ำแคว
แล้วก็ช็อตอื่นๆ ตามร้านตลาด ซึ่งภาพที่เห็นในหนังเรื่องนี้ สภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก
จขกท. เองก็เคยไปเมืองกาญจน์อยู่หลายครา สถานที่หลายแห่งก็เคยไปมาแล้วทั้งสิ้น พอมาเห็นในรูปแบบหนัง 16 สี ก็ยิ่งได้เห็นสภาพบ้านเมืองในเวลานั้นแบบสวยสด ต่างจากที่เห็นจากภาพถ่ายที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นขาวดำ
โดยรวมของหนังไทยเรื่องนี้ จากการพรีวิวอย่างคร่าวๆ ลักษณะไม่ค่อยปะติดปะต่อ พอนั่งดูไปได้สักระยะ ก็มีฉากอื่นเข้ามาแทรกและซีนที่ต่อเนื่องก็จะไปอยู่อีกช่วงหนึ่ง และบางช่วงก็มี “หลุด” ของนักแสดงให้ได้เห็น บางซีนก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง เหมือนกับเอา Home Movie มาคั่นใส่รวมกับตัวหนังเรื่อง (ตอนฉายจริงก็เป็นเทคนิคเฉพาะส่วนตัวของนักพากย์) แต่ถึงอย่างไร สิ่งที่ได้เห็นกลับเป็นโลเกชั่นที่เหมือนเป็นบันทึกหลักฐานของคนในพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน
เริ่มกันที่สถานีรถไฟกาญจนบุรี ด้านทิศเหนือของสถานี
ด้านทิศใต้ของสถา่นี
บริเวณอาคารสถานี
อาคารหลังหนึ่ง ระยะ Long Shot เลยมองไม่ถนัดว่าเป็นที่ทำการใดในเมืองกาญจนบุรี
สุสานทหารสัมพันธมิตร
อาคารโรงงานกระดาษ
มุมหนึ่ง (สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสุสานวัดถาวรวราราม)
บริเวณนี้ เดายากครับ อาจเป็นแถวท่าน้ำในตัวเมือง หรือบริเวณตลาดชุกโดน (อ่านว่า "ชุก - กะ - โดน")
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ถ่ายตอนปรับปรุงหลังสงคราม)
ภาพนี้ถ่ายจากด้านทิศตะวันตก (ทางที่จะไปป้ายหยุดรถไฟ "เขาปูน")
อีกมุมหนึ่ง (มองไปทางป้ายหยุดรถไฟ "สะพานแควใหญ่" ณ ตอนนั้นยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ)
นางเอก และเพื่อนนางเอก
นักเลงในเรื่อง
มุมด้านทิศตะวันออกของตัวสะพาน (ที่ตอนนี้เป็นแพ และร้านอาหาร)
ปะทะคารมกับนักเลง
ปะทะคารมกับนักเลง อีกมุมหนึ่ง ซึ่งเห็นอนุสาวรีย์ไทยานุสรณ์
ฉะกันแล้ว
มุมจากด้านล่าง
หลังซัดกับนักเลงจนตกจากสะพาน ก็รีบพาออกไป
ส่วนนักเลงก็ว่ายมาพบหัวหน้า (มุมนี้จะเห็นสะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่เป็นสะพานไำม้ และรื้อถอนออกในภายหลัง)
แพซุง (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นท่าน้ำ หรือแถวชุกโดน)
วัดถ้ำมังกรทอง
ข้ามไปฉากจบของเรื่อง (หนังเรื่องนี้มีความยาว 4 ม้วนครับ)
บริเวณนี้ เดายากครับ อาจเป็นแถวท่าน้ำในตัวเมือง หรือบริเวณตลาดชุกโดน
ก็ขอให้ชมภาพกันอย่างมีความสุขครับ
SPR : มองเมืองกาญจน์ ผ่านหนังไทย ฟิล์มสิบหก นิรนาม
สำหรับหนังสิบหก (หมายถึงฟิล์ม 16 ม.ม.) เรื่องนี้เป็นหนังไทยแบบดำเนินเรื่องราว อาจจะแฝงโฆษณาเพื่อเชิญชวนท่องเที่ยวก็เป็นไปได้เหมือนกัน
น่าเสียดายที่ไม่มีรายละเอียดใดๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเรื่อง นักแสดง ฯลฯ นอกจากที่ตัวม้วนหนังจะเขียนด้วยปากกาเคมีว่า “เมืองกาญจน์ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์” (จขกท. รู้แต่เพียงคร่าวๆ ว่า เขาเป็นพระเอกหนังไทย ยุคก่อน พ.ศ. 2500 และหนังไทยเรื่องหนึ่งที่นึกออกแบบไม่ต้องลังเลก็คือ “แม่นาคพระโขนง” ที่แสดงคู่กับ “ปรียา รุ่งเรือง” เจ้าของฉายา “หน้าอกเขาพระวิหาร”)
ขณะเทเลซีนหนังเรื่องนี้ ในรูปแบบความคมชัดสูง HD 1080 มีอยู่คนหนึ่งซึ่งบ้านอยู่จังหวัดกาญจนบุรีมาดูการเทเลซีนด้วยความสนใจ
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ เพราะระหว่างการเทเลซีน ได้เห็นสภาพของเมืองกาญจน์ (ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะถ่ายทำ และออกฉายก่อนปี พ.ศ. 2500) อยู่หลายช็อต จนคนเมืองกาญจน์ที่ยืนดูการเทเลซีนนั้นก็อดตื่นเต้นไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น
* อาคารโรงงานกระดาษ
* สถานีรถไฟกาญจนบุรี (เคยมีกองถ่ายหนังไทยเคยมาถ่ายทำอยู่หลายเรื่อง)
* สุสานทหารสัมพันธมิตร
* สะพานข้ามแม่น้ำแคว
แล้วก็ช็อตอื่นๆ ตามร้านตลาด ซึ่งภาพที่เห็นในหนังเรื่องนี้ สภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก
จขกท. เองก็เคยไปเมืองกาญจน์อยู่หลายครา สถานที่หลายแห่งก็เคยไปมาแล้วทั้งสิ้น พอมาเห็นในรูปแบบหนัง 16 สี ก็ยิ่งได้เห็นสภาพบ้านเมืองในเวลานั้นแบบสวยสด ต่างจากที่เห็นจากภาพถ่ายที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นขาวดำ
โดยรวมของหนังไทยเรื่องนี้ จากการพรีวิวอย่างคร่าวๆ ลักษณะไม่ค่อยปะติดปะต่อ พอนั่งดูไปได้สักระยะ ก็มีฉากอื่นเข้ามาแทรกและซีนที่ต่อเนื่องก็จะไปอยู่อีกช่วงหนึ่ง และบางช่วงก็มี “หลุด” ของนักแสดงให้ได้เห็น บางซีนก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง เหมือนกับเอา Home Movie มาคั่นใส่รวมกับตัวหนังเรื่อง (ตอนฉายจริงก็เป็นเทคนิคเฉพาะส่วนตัวของนักพากย์) แต่ถึงอย่างไร สิ่งที่ได้เห็นกลับเป็นโลเกชั่นที่เหมือนเป็นบันทึกหลักฐานของคนในพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน
เริ่มกันที่สถานีรถไฟกาญจนบุรี ด้านทิศเหนือของสถานี
ด้านทิศใต้ของสถา่นี
บริเวณอาคารสถานี
อาคารหลังหนึ่ง ระยะ Long Shot เลยมองไม่ถนัดว่าเป็นที่ทำการใดในเมืองกาญจนบุรี
สุสานทหารสัมพันธมิตร
อาคารโรงงานกระดาษ
มุมหนึ่ง (สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสุสานวัดถาวรวราราม)
บริเวณนี้ เดายากครับ อาจเป็นแถวท่าน้ำในตัวเมือง หรือบริเวณตลาดชุกโดน (อ่านว่า "ชุก - กะ - โดน")
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ถ่ายตอนปรับปรุงหลังสงคราม)
ภาพนี้ถ่ายจากด้านทิศตะวันตก (ทางที่จะไปป้ายหยุดรถไฟ "เขาปูน")
อีกมุมหนึ่ง (มองไปทางป้ายหยุดรถไฟ "สะพานแควใหญ่" ณ ตอนนั้นยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ)
นางเอก และเพื่อนนางเอก
นักเลงในเรื่อง
มุมด้านทิศตะวันออกของตัวสะพาน (ที่ตอนนี้เป็นแพ และร้านอาหาร)
ปะทะคารมกับนักเลง
ปะทะคารมกับนักเลง อีกมุมหนึ่ง ซึ่งเห็นอนุสาวรีย์ไทยานุสรณ์
ฉะกันแล้ว
มุมจากด้านล่าง
หลังซัดกับนักเลงจนตกจากสะพาน ก็รีบพาออกไป
ส่วนนักเลงก็ว่ายมาพบหัวหน้า (มุมนี้จะเห็นสะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่เป็นสะพานไำม้ และรื้อถอนออกในภายหลัง)
แพซุง (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นท่าน้ำ หรือแถวชุกโดน)
วัดถ้ำมังกรทอง
ข้ามไปฉากจบของเรื่อง (หนังเรื่องนี้มีความยาว 4 ม้วนครับ)
บริเวณนี้ เดายากครับ อาจเป็นแถวท่าน้ำในตัวเมือง หรือบริเวณตลาดชุกโดน
ก็ขอให้ชมภาพกันอย่างมีความสุขครับ