เนื่องจากหนังใหม่ของโนแลน Interstellar มารู้จักกับการเดินทางข้ามกาลเวลา(Time Travel)และรูหนอน(Wormhole)กันดีกว่า


โปสเตอร์หนังจากแฟนหนัง





ดีใจมากๆที่โนแลนจะมากำกับหนังเรื่องใหม่เสียที หลังจาก TDKR ที่เป็นหนังดีติดอันดับในใจของผมแห่งปี 2012 เลย
ผลงานช่วงหลังๆของโนแลนนั้นโดดเด่นและถูกจับตามองอย่างมาก แต่ผมกลับชอบงานเก่าๆของเขามากกว่า เช่น Memento และ
Insomnia พลอตเรื่องที่แปลกๆ จินตนาการสูงๆของโนแลนเป็นเอกลักษณ์สังเกตได้ชัด และถูกใจใครหลายคน




Christopher Nolan

หนังเรื่องใหม่ของโนแลนนั้นชื่อเรื่องว่า Interstellar จะออกฉายปี 2014  มีทีเซอร์ออกมาให้ชมกันแล้ว

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
บทหนังยังไม่แน่ชัดว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การเดินทางข้ามกาลเวลา(Time Travel)และรูหนอน(Wormhole)
ซึ่งอาจจะดูเป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์แต่จริงๆแล้วถือเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่เรื่องแต่งใดๆทั้งสิ้น
มีนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาและวิจัยกับเรื่องราวเหล่านี้ จริงๆ

ว้าวเห็นไหมครับว่ามันน่าสนใจมากๆเลย  แม้อีกเป็นปีกว่าหนังจะมาฉายจริง แต่กระนั้นเพื่อให้คุณสามารถดูหนังได้อย่างเข้าใจยิ่งขึ้นเรามารู้จักกับเรื่องราวเหล่านี้กันดีกว่าครับ


ก่อนอื่น อาจจะต้องปูพื้นพูดถึงเรื่องหลุมดำก่อน

แต่ผมเคยตั้งกระทู้ไว้แล้ว ตามไปอ่านกันได้ที่นี่ครับ

=หลุมดำ(black hole)คืออะไร ดำด้านหรือดำเงา มารู้จักหลุมดำกันดีกว่า=
http://ppantip.com/topic/31355017




=================================
เพื่ออรรถรสในการอ่านกระทู้ สามารถเปิดเพลงฟังได้ ขอแนะนำเพลง Explorers ของ Muse
ได้ฟิลแนวสำรวจความลึกลับดำมืดของธรรมชาติดีครับ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ต่อ มาเริ่มกันเลยครับ


หลังจากพอเข้าใจเรื่องพื้นฐานของหลุมดำ ต่อมาที่ต้องพูดถึงก็คือ


สะพานไอน์สไตน์ โรเซน


Einstein Rosen Bridge

แม้ไอนสไตน์จะคิดว่าเรื่องของหลุมดำมันแปลกประหลาดมาก แต่เขาก็แสดงต่อไปว่ามันแปลกประหลาดกว่านั้นอีก คือในใจกลางหลุมดำมีรูหนอน ซึ่งนักคณิตศาสตร์เรียกว่า อวกาศที่เชื่อมต่อกันแบบพหุ นักฟิสิกส์เรียกว่ารูหนอน เนื่องจากมันก่อให้เกิดทางเชื่อมลัดระหว่างจุดสองจุด คล้ายรูที่หนอนขุดในดิน หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าทางผ่านเชื่อมมิติ แต่ไม่ว่าจะเรียกอะไร อนาคตมันอาจเป็นหนทางสำหรับการเดินทางข้ามมิติ

ชาล ดอดสันหรือลิวอิส แครอลเป็นบุคคลแรกๆที่ขียนเรื่องนี้ให้คนทั่วๆไปได้อ่านกัน ในหนังสือเรื่อง อลิซ ท่องแดนกระจกเงา ดอดสันนั้นเป็นนักคณิตศาสตร์โดยอาชีพ เขาคุ้นเคยกับเรื่อง อวกาศที่เชื่อมต่อกันแบบพหุ เป็นอย่างดี มันคือ อวกาศซึ่งวงบ่วงที่อยู่ในอวกาศนั้นไม่สามารถหดเล็กลงจนกระทั่งกลายเป็นจุดเพียงจุดเดียวได้ โดยปกติแล้ว วงห่วงใดๆก็ตามสามารถที่จะหดเล็กลงเป็นจุดๆเดียวได้โดยไม่ยากอะไร แต่ถ้าทำการวิเคราะห์รูปทรงโดนัท เราสามารถวาง วงห่วงลงบนพื้นผิวของโดนัทนั้นโดยที่วงห่วงนั้นล้อมรอบรูของโดนัทได้ เมื่อเราค่อยๆย่อวงห่วงโดนัทนั้นให้เล็กลง เราจะพบว่ามันไม่สามารถย่อหดจนกระทั่งเป็นจุดได้ อย่างดีที่สุดคือย่อให้ล้อมรอบรูโดนัทเท่านั้น

นักคณิตศาสตร์รู้สึกยินดีกับความจริงที่ค้นพบว่าเขาสามารถค้นพบวัตถุไร้ประโยชน์ในการบรรยายอวกาศ ในปี 1935 ไอนสไตน์และศิษย์ นาธาน โรเซน ได้เสนอเรื่องรูหนอน พวกเขาพยายามใช้คำตอบเรื่องหลุมดำเป็นแบบจำลองสำหรับอนุภาคพื้นฐาน ไอนสไตน์ไม่ชอบแนวคิดที่ว่า แรงโน้มถ่วงของอนุภาคจะมีค่าเป็นอนันต์เมื่อเคลื่อนเข้าไปติดกับอนุภาคนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดตั้งแต่สมัยนิวตัน ไอนสไตน์คิดว่า ภาวะเอกฐาน นี้ควรจะถูกกำจัดออกไป เนื่องจากความไม่สมเหตุสมผล


Nathan Rosen ไม่ใช่ นาธานโอมาน

ไอนสไตน์และโรเซนมีแนวคิดใหม่ขึ้นมาว่าน่าจะมองอนุภาคอิเล็กตรอนให้เหมือนหลุมดำด้วยวิธีนี้ เราสามารถนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปมาอธิบายความลึกลับของโลกควอนตัมในทฤษฎีสนามรวมได้ เขาได้เริ่มต้นจากคำตอบของสมการที่มีหลุมดำแบบมาตรฐาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายแจกันขนาดใหญ่ ที่มีคอของแจกันยาวลึก จากนั้นตัดคอแจกันและเชื่อมมันเข้ากับคำตอบของหลุมดำอีกอันที่ถูกพลิกกลับหัว สำหรับไอนสไตน์แล้ว โครงสร้างที่แปลกประหลาดนี้ปราศจากภาวะเอกฐาน ณ จุดกำเนิดของหลุมดำ และอาจมีพฤติกรรมคล้ายๆอิเล็กตรอน

แนวคิดที่จะใช้หลุมดำมาเป็นตัวแทนของอิเล็กตรอนไม่ประสพความสำเร็จ ทว่าทุกวันนี้นักจักรวาลวิทยาคาดการณ์ว่า สะพานไอนสไตน์ โรเซนจะสามารถเป็นประตูเชื่อมระหว่างสองจักรวาลได้ เราสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในจักรวาลหนึ่ง จนกระทั่งหล่นเข้าไปในหลุมดำ ซึ่งเราอาจถูกดูดทันทีผ่านรูหนอนไปโผล่ทะลุอีกด้านหนึ่งผ่านหลุมขาว



หลุมขาวหรือ white hole ตามจินตนาการของศิลปิน

ทัศนคติของไอนสไตน์ต่อเรื่องนี้คือ แม้ว่า รูหนอนอาจมีอยู่จริง แต่สิ่งมีชีวิตคงไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านมันและรอดไปบอกเรื่องราวให้ใครฟังได้


กำลังสนุก ตัดเข้าโฆษณาก่อนเดี๋ยวมาต่อครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่