พุทธศาสนาในรัสเซีย

“Buddhism in Russia”
โดย อิกอร์ ทรอยานอฟสกี (Igor Troyanovsky)



มีคนนับถือพระพุทธศาสนาราว 300,000 คน มีประชาคมชาวพุทธ 432 ประชาคม  มีวัด (datsan) 16  วัด  และมีพระลามะ 70 รูป ทั่วทุกสาธารณรัฐโซเวียต (ก่อนปี ค.ศ. 1991)   ชาวพุทธส่วนใหญ่อยู่กันที่สาธารณรัฐบุรยัต (Buryat Republic) สาธารณรัฐคาลมีเกีย (Kalmykia Republic) และสาธารณรัฐตุวา (Tuva Republic) กับในเขตการปกครองชีตา (Chita Region) ของสหพันธรัฐรัสเซีย และในเมืองเลนินกราดและเมืองอื่นๆ

องค์การที่มีอำนาจสูงสุดของชาวพุทธโซเวียต (ก่อนปี ค.ศ. 1991)  ได้แก่ คณะกรรมการกลางชาวพุทธ (Central Buddhist Board) ตั้งอยู่ที่วัดอีวอลคินสกี ดัตสัน ในสาธารณรัฐบุรยัต (Buryat Republic) ( สำนักงานถาวรในกรุงมอสโกมีหน้าที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับต่างประเทศ) สมาพันธ์สงฆ์และคฤหัสถ์จะประชุมกัน 4 ปื ต่อ 1 ครั้ง เพื่อเลือกสมาชิกของคณะกรรมการฯ ประธานของคณะกรรมการกลางพุทธ คือ บัณฑิโต คัมโบ –ลามะ มุนโก ทซีบานอฟ วัย 82 ปี

ลามะมองโกเลียและทิเบตได้เข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทะเลสาบไบกาล(Lake Baikal)ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 และได้ทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาในศตวรรษเดียวกันนั้นพระพุทธศาสนาก็ได้กลายเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากในสาธารณรัฐตุลา(Tuva Republic) ชาวคามีเกีย(Kalmyks) ซึ่งเป็นพวกที่อพยพจากจีนเข้าไปยังที่ราบลุ่มของแม่น้ำโวลกาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาด้วย

ปัณฑิโต ฮัมโบ ลามะ แห่งวัดอิวอลคินสกีดัตสันองค์ที่ 12



ในปี ค.ศ. 1927 บัณฑิโต ฮัมโบ ลามะ แห่งวัดอิวอลคินสกีดัตสัน (Pandito Hambo Lama of the Ivolginsky Datsan) นามว่า กาชี ดอร์โซ อิติเคลอฟ (Dashi-Dorzho Itigelov) ได้บอกกับศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่าขอให้ฝังศพของท่านหลังจากที่ท่านละสังขารแล้วและให้ขุดขึ้นมาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปอีก 30 ปี จากนั้นท่านอิเคนอฟก็นั่งขัดสมาธิ เริ่มสาธยายมรณสติกถา และละสังขารไปในขณะนั่งทำสมาธิอยู่นั่นเอง พวกพระก็ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านอิติคินอฟคือนำศพของท่านไปฝัง และในอีก 30 ปีต่อมาก็ได้ขุดศพของท่านมาตรวจสอบ ก็ได้พบว่าศพของท่านไม่เน่าเปื่อย ตรงกันข้ามศพของท่านอิติเคลอฟมีลักษณะเหมือนคนเพิ่งตายเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง ทั้งที่กาลเวลาผ่านไปนานถึง 30 ปีแล้ว พวกพระกลัวว่าเรื่องมหัศจรรย์นี้จะไปเข้าหูรู้ถึงเจ้าหน้าที่ทางการของโซเวียต ก็จึงได้นำศพของท่านอิติเคลอฟไปฝังไว้ยังที่หลุมศพที่ปกปิดเป็นความลับแห่งหนึ่ง เรื่องราวของท่านอิติเคลอฟก็โด่งดังขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นวันที่มีการขุดศพของท่านขึ้นมาไว้ที่วัดอิวอลคินสกีดัตสัน (Ivolginsky Datsan) และได้มีการตรวจสอบศพของท่านอย่างละเอียดโดยพระกับทั้งโดยนักวิทยาศาสตร์และนักพยาธิวิทยา และได้มีการออกแถลงการณ์เป็นทางการบอกว่า ศพของท่านยังมีสภาพดีทุกอย่าง ไม่ปรากฏร่องรอยของการเน่าเปื่อย กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อภายใน ข้อต่อ และผิวหนังยังดีและมีความอ่อนนุ่มอยู่ เรื่องที่น่าอัศจรรย์ก็ตรงที่ศพของท่านไม่ได้ผ่านการดองหรือการทำมัมมีแต่อย่างใด



ในปัจจุบันร่างของท่านถูกนำไปบรรจุลงในโลงแก้ว ในท่านั่งขัดสมาธิเหมือนเดิม ห่มจีวรเหลือง ร่างโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย มีจมูกและตายุบลง ตั้งไว้ที่ขั้นบนของอาคาร จะเปิดให้ผู้แสวงบุญเข้าไปชมปีละ 7 วัน และจะเปิดเฉพาะวันหยุดของชาวพุทธเท่านั้น ในแต่ละปีเมื่อถึงวันที่เปิดให้เข้าชมร่างของท่านก็จะมีนักแสวงบุญจำนวนมากมายหลั่งไหลไปที่วัด ชาวพื้นเมืองมีความเชื่อว่าร่างกายของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์และมีอานุภาพในการรักษาโรคได้ จึงมีคนเป็นจำนวนไม่น้อยเมื่อไปนมัสการร่างของท่านแล้วก็จะใช้หน้าผากก้มลงไปสัมผัสกับผ้าพันคอของท่านที่เขาคลี่ออกมาจากต้านใต้ของโลงแก้ว แล้วอธิษฐานจิตขอให้หายจากโรคต่างๆที่ตนเป็นอยู่

วัดคุนเซชอยนี ดัตสัน(Gunzechoyney datsan)ที่ เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก



สำหรับวัดพระพุทธศาสนาที่เมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก  มีชื่อว่า  คุนเซชอยนี ดัตสัน(Gunzechoyney datsan) เริ่มก่อสร้างระหว่าง ค.ศ. 1909-1915 แต่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ได้บีบบังคับให้ต้องปิดตัวเอง ในช่วงปีแรกๆของการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตนั้น มีหน่วยทหารเข้าไปตั้งอยู่ในสนามของวัด ข้างในวัดได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก พระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถูกทำลายและพวกทหารก็ได้ใช้กระดาษคัมภีร์ของทิเบตมวนสูบยา ต่อเมื่อนายแพทย์ทิเบตชื่ออัควาน ดอร์เซียฟ ทำการประท้วงอย่างแข็งขัน เขาจึงคืนวัดนี้ให้แก่ประชาคมชาวพุทธ ในระหว่างปี ค.ศ. 1923-1924 ข้างในวัดได้รับการบูรณะเป็นบางส่วน พระพุทธรูปขนาดความสูง 4.5 เมตร ที่มีดวงเนตรทำด้วยดินเผาหลากสีได้ถูกนำมาจากประเทศโปแลนด์มาสถิตไว้ที่วัดแห่งนี้

ในปี ค.ศ. 1938 วัดคุนเซชอยนี ดัตสันได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นศูนย์กีฬา และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการใช้ชั้นใต้ดินของอาคารเป็นที่ผลิตลูกระเบิดมือ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการนำไปใช้เป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุ และในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 สถาบันวิทยาศาสตร์สังคมนิยมโซเวียตได้มาใช้อาคารเป็นที่ทดลองทางสัตววิทยา จากเหตุทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าว ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปลักษณ์ภายนอกของอาคาร อุปกรณ์บางส่วนของอาคารสูญหายไป ยกตัวอย่างเช่น แผ่นทองแดงที่ติดประดับอยู่ที่ประตูสามชุดถูกแกะออกไป ส่วนห่วงประตูที่ทำด้วยทองแดงก็ใช้วัสดุอื่นในสมัยนั้นมาใส่ไว้แทน

ทุกวันนี้มีลามะจากสาธารณรัฐบุรยัตได้แวะเวียนเข้าไปที่วัดคุนเซชอยนี ดัตสัน อยู่อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับที่สาธารณรัฐคาลมีเกีย โดยจะมาคอยช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับมามีชิวิตชีวาดังเดิม  ในปัจจุบันมีลามะจำนวนไม่น้อยได้สึกหาลาเพศออกจากลามะไปมีครอบครัว และลามะเหล่านี้ก็ได้มาช่วยกันฟื้นฟูพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน มีชาวมอสโกหลายร้อยคนมาลงทะเบียนเพื่อเปิดห้องสวดมนต์ในวัดคุนเซชอยนี ดัตสัน เพื่อใช้สวดมนต์

ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทย ในคราวเปิดวัดอย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ. 1914 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  ก็ทรงส่งพระพุทธรูปร่วมแสดงความยินดีด้วย  เป็น พระปางนั่งสมาธิ และปางอุ้มบาตร และปัจจุบัน พระ ดร.รศ. ชาตรี เหมพนฺโธ แห่งวัด  อภิธรรมพุทธวิหาร เซนต์-ปิเตอร์เบอร์ก ได้มาเป็นวิทยากรผู้บรรยายพระพุทธศาสนา ณ วัดแห่งนี้ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

วัดพระพุทธศาสนา “อิวอลคินสกีดัตสัน” ในสาธารณรัฐบูรยาเทีย ประเทศรัสเซีย



คำว่า ดัตสัน (Datsan) เป็นคำที่ใช้ สำหรับมหาวิทยาลัยวัดของพุทธศาสนา (Buddhist university monasteries) ตามรูปแบบของเครุกปา(Gelukpa) ของทิเบต ซึ่งมีอยู่ทั่วในประเทศมองโกเลีย ประเทศทิเบต และในไซบีเรียของรัสเซีย กล่าวโดยทั่วไป ในดัตสันจะมี 2 คณะ คือ คณะปรัชญา และคณะแพทยศาสตร์ ในบางครั้งก็จะมีคณะเพิ่มเข้ามาอีกคณะหนึ่ง คือ คณะปฏิบัติตันตระ ซึ่งพระสงฆ์จะใช้ศึกษาเล่าเรียนหลังจากที่ได้สำเร็จการศึกษาจากคณะปรัชญาแล้ว

สำหรับวัดอิวอลคินสกีดัตสัน(Ivolginsky Datsan) ที่ปรากฏในภาพ เป็นวัดพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐบูรยาเทีย (Buryatia) อยู่ห่างจากเมืองอูลันอูเด(Ulan-Ude) 23 กิโลเมตร ใกล้กับหมู่บ้านเวอร์คินยายาไอโวลกา (Verkhnnyaya Ivolga)

อิวอลคินสกีดัตสัน ทำการเปิดในปี ค.ศ. 1945 เป็นศูนย์ศาสนาของชาวพุทธแห่งเดียวของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต(USSR) เป็นสถานที่พำนักของท่านปัณฑิโต คัมโบ ลามะ ผู้เป็นประมุขของพระลามะของรัสเซีย ต่อมาเป็นที่พำนักของคณะกรรมการพุทธศาสนากลางของสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพุทธสังฆะของรัสเซีย ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นที่พำนักของท่าน บัณฑิโต คัมโบ ลามะ ผู้เป็นประมุขของพระลามะของรัสเซีย พิธีกรรมที่จัดขึ้นในวัดนี้มีทั้งพิธีกรรมทางศาสนา การรักษาโรค ตลอดจนเป็นที่จัดการศึกษาพุทธศาสนาแบบโบราณ และมีมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาอยู่ในสังกัดชื่อ มหาวิยาลัย ดาชิ โชอินโขร์ลิง (Dashi Choinkhorling) ซึ่งเปิดเมื่อปี ค.ศ. 1991

ในตำนานของวัดเล่าว่า ในปี ค.ศ. 1927 บัณฑิโต หัมโบ ลามะ องค์ที่ 12 ของวัดไอโวลกินสกีดัตสัน นามว่า ธาชิ-ดอร์โซ อิติเกลอฟ (Dhashi-Dorzho Itigelov) ได้บอกกับศิษยาศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า เวลาท่านตายขอให้ฝังศพของท่านไว้และให้ตรวจสอบอีกทีเมื่อครบ 30 ปี ว่าศพจะเป็นอย่างไร เมื่อสั่งเสียเป็นที่เรียบร้อยแล้วท่านก็นั่งขัดสมาธิสาธยายมนต์เกี่ยวกับความตาย (เจริญมรณสติ) แล้วก็มรณภาพในท่านั่งขัดสมาธินั่นเอง บรรดาพระและพุทธศาสนิกชนก็ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน คือนำศพไปฝัง ต่อจากนั้นมาอีก 30 ปี ก็ได้ไปขุดศพของท่านออกมาดู ก็ได้พบว่าศพของท่านยังไม่เน่าเปื่อย แต่ตรงกันข้ามกลับเหมือนกับศพของคนที่ตายใหม่ๆเมื่อไม่กี่ชั่วโมง ทั้งๆที่กาลเวลาได้ผ่านไปแล้วนานถึง 30 ปี พวกพระภิกษุสงฆ์กลัวว่าทางรัฐบาลคอมมิวนิสต์โซเวียตจะมีปฏิกิริยาในทางไม่ดีกับอิทธิปาฏิหาริย์ในครั้งนี้ ก็จึงย้ายศพของท่านไปฝังยังที่ปกปิดแห่งหนึ่ง และเรื่องราวความมหัศจรรย์ของท่านก็มาโด่งดังอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 เมื่อได้มีการขุดศพของท่านขึ้นมาและนำมาฝังไว้ที่วัดอิวอลคินสกีดัตสัน ซึ่งคราวนี้ก็ได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งโดยนักวิทยาศาสตร์และนักพยาธิวิทยา แล้วได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการบอกว่า ศพของท่านยังดีอยู่ ไม่มีร่องรอยของการเน่าเปื่อย ทั้งส่วนของกล้ามเนื้อ  เนื้อเยื่อภายในร่างกาย  ข้อต่อต่างๆ ผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย ล้วนแต่ยังคงความเป็นปกติไม่มีส่วนใดๆเน่าเปื่อยแม้แต่น้อย ทั้งๆที่เป็นศพที่ไม่ได้ผ่านการดองหรือทำมัมมีแต่อย่างใด

ที่มา : https://sites.google.com/site/buddhisminrussia/home

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แนะนําเรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ เยี่ยม พุทธในเอสโตเนีย
http://ppantip.com/topic/31035695

พุทธในโลกตะวันตก
http://ppantip.com/topic/31039803
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่