สาเหตุของการเกิดศาสนานั้น มีหลายอย่างหลายประการตามความเชื่อของประชาชน แต่ละกลุ่มและสภาพสิ่งแวดล้อม
ที่โน้มน้าวให้เกิดความเชื่อเช่นนั้น ซึ่งพอจะรวมกล่าวได้ ๖ ประการคือ ๒
๑. เกิดจากความไม่รู้ (อวิชชา)
๒. เกิดจากความกลัว
๓. เกิดจากความจงรักภักดี
๔. เกิดจากความอยากรู้เหตุผล (ปัญญา)
๕. เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ
๖. เกิดจากลัทธิการเมือง
๑. เกิดจากความไม่รู้
ความไม่รู้เหตุผลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปรากฏการณ์ธรรมชาติก็คิดว่าเป็นอำนาจของเทพเจ้า
บันดาลให้เป็นไป ซึ่งความไม่รู้ในเหตุผลทั้งหลายเหล่านั้น พอจะสรุปกล่าวโดยย่อ ๆ ได้ดังนี้
ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ : คนในประเทศอินเดียไม่เคยปีนไปบนยอดเขาหิมาลัยอันปกคลุมด้วยหิมะอย่างหนาทึบ
ในฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนหิมะละลาย น้ำไหลลงมาเป็นแม่น้ำคงคา ชาวอินเดียไม่รู้ว่าต้นน้ำของแม่น้ำคงคาเกิดจากเหตุนี้
เข้าใจว่าเป็นน้ำที่ไหลมาจากสวรรค์ผ่านเศียรพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์ และเข้าใจว่าแม่น้ำคงคา
นั้นศักดิ์สิทธิ์สามารถล้างบาปได้ คนจึงนิยมไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคาเพื่อล้างบาป ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
ความไม่รู้เหตุผลทางดาราศาสตร์ : เมื่อเกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคาขึ้นเพราะการโคจร ของโลกรอบดวงอาทิตย์ ประชาชน
ที่ไม่รู้เหตุผลก็เรียกว่าเกิดราหูอมจันทร์ จึงยิงปืนบ้าง จุดประทัดบ้าง หรือตีเกราะเคาะไม้ เพื่อให้ราหูตกใจแล้วจะได้หนีไป เป็นต้น
ความไม่รู้เหตุผลทางชีววิทยา : คนบางคนเดินผ่านต้นไม้ใหญ่ เขาจะยกมือไหว้โดยเชื่อว่า ต้นไม้นั้นเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า
ผู้ที่เดินทางผ่านภูเขาใหญ่ หรือภูเขาที่ประกอบด้วยหน้าผารูปแปลกๆ ชาวบ้านให้ชื่อภูเขานั้นตามที่ตนนึกว่าเหมือนอะไร
แล้วก็แสดงความเคารพภูเขานั้น โดยถือว่ามีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่
ความไม่รู้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ : เมื่อเห็นรุ้งกินน้ำ ก็เข้าใจว่าเกิดจากอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้เกิดขึ้น จึงทำนายไปตาม
ความเข้าใจของตนว่า รุ้งกินน้ำทางทิศนี้ฝนจะตกชุก รุ้งกินน้ำ ทางทิศนั้นฝนจะแล้ง เป็นต้น
จากความไม่รู้เหตุผลดังกล่าวมาแล้ว ทำให้คนยึดถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดศาสนาประเภทเทวนิยมขึ้น
๒. เกิดจากความกลัว
เนื่องจากความไม่รู้เหตุผล เมื่อบุคคลได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ลมพายุ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว มีดาวหางปรากฏขึ้น
ก็เกิดความกลัวจึงขวนขวายหาที่พึ่งโดยคิดว่าปรากฏ การณ์เหล่านั้น มีเทพเจ้าบันดาลให้เกิดขึ้นจึงได้อ้อนวอนบนบานศาลกล่าว
ขอให้เทพเจ้าเหล่านั้น โปรดระงับสิ่งเหล่านั้นเสีย
๓. เกิดจากความจงรักภักดี
ความภักดี คือความเชื่อในสิ่งนั้นว่ามีอำนาจเหนือคน หรือเชื่อในบุคคลว่ามีความดีที่เชื่อถือได้ เกิดความเลื่อมใสในสิ่งนั้นหรือบุคคล
นั้นว่ามีศักดิ์ศรีหรือมีจริยาวัตรที่ควรแก่การยกย่อง เมื่อเกิดความเชื่อความเลื่อมใสแล้ว ความเคารพ ความรักและความนับถือจะเกิด
ขึ้นตามมา กิจกรรมประกอบในสิ่ง ที่ตนมีความเชื่อความเลื่อมใสนั้น ได้แก่ การแสดงความเคารพทางกายมีการกราบไหว้บูชา เคารพ
ทางวาจาได้แก่ การกล่าวคำสรรเสริญ ยกย่อง เคารพทางใจได้แก่ การเลียนแบบจริยาวัตร หรือปฏิบัติตาม คำสอนของผู้นั้น ซึ่งก็เป็น
จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดศาสนาขึ้น
๔. เกิดจากความอยากรู้เหตุผล
ความอยากรู้เหตุผลนั้น เป็นความรู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งจะต้องคิดค้นถึงเหตุผลที่แท้จริงว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นมาจากสิ่งอะไร เช่น
เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ทรงพยายามที่จะแก้ทุกข์ทั้ง ๓ อย่าง โดยทรงดำริว่าในโลกมี
สิ่งที่เป็นคู่ ๆ ตรงกันเสมอ เช่น มีมืดแล้วก็มีสว่าง มีร้อนแล้วก็มีเย็น ฉะนั้น เมื่อมีแก่ก็ต้องมีไม่แก่ได้ มีเจ็บก็ต้องมีไม่เจ็บได้ มีตาย
ก็ต้องมี ไม่ตายได้ ความอยากรู้เหตุผลเป็นเหตุให้เกิดศาสนาที่เป็นอเทวนิยม
๕. เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ
การเคารพต่อวิญญาณของบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่ได้กระทำกันมาช้านาน ถ้าบุคคลนั้นเป็นที่สำคัญต่อชุมชน ก็สามารถเป็นจุดศูนย์
รวมน้ำใจของคนส่วนมากไว้ได้อีกประการหนึ่ง การเคารพบุคคลสำคัญทางวรรณคดี เช่น พระรามและพระกฤษณะในเรื่องมหาภารตะ
ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย พราหมณ์ต้องการให้พระรามและพระกฤษณะเข้ามาเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เพื่อต้องการให้
ประชาชนนับถือศาสนาฮินดูมากยิ่งขึ้น จึงได้ประกาศแก่ประชาชนว่า พระรามและพระกฤษณะก็ไม่ใช่ใครที่ไหนคือพระวิษณุได้อวตาร
ลงมานั่นเอง ประชาชนได้ทราบเช่นนั้นก็ไม่ว่าอะไร เพราะเขานับถือของเขาอยู่แล้วก็ยิ่งเป็นความดียิ่ง ๆ ขึ้น การเคารพนับถือวิญญาณ
ของบุคคลสำคัญก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เกิดศาสนาขึ้น
๖. เกิดจากลัทธิทางการเมือง
ความเชื่อถือทางลัทธิการเมือง ทำให้คนมีจิตใจเบี่ยงเบนออกไปจากศาสนาประจำชาติของ ตนได้ เช่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้กล่าว
ประณามศาสนาเป็นยาเสพติด เอาเปรียบสังคม เป็นกาฝากสังคม สูบเลือดเอาประโยชน์จากสังคม ผู้ที่เชื่อถือศาสนาเป็นพวกงมงาย
ทำให้ประเทศชาติเจริญช้า ลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้คนเสมอกัน คนมีฐานะเสมอเหมือนกันหมด ประเทศที่เริ่มต้นเผยแพร่ลัทธิ นี้คือ
ประเทศรัสเซีย และจีนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นประเทศที่ถือลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นศาสนาประจำชาติ
-------------------------------
๑ พลตรีหลวงวิจิตร วาทการ, ศาสนาสากล เล่ม ๑, พ.ศ. ๒๕๒๓, น. ๑
๒ ศจ. เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ
http://www.history.mbu.ac.th/buddhism/buddhism.html
หมายเหตุ เพื่อการเรียนรู้
สาเหตุของการเกิดศาสนา
ที่โน้มน้าวให้เกิดความเชื่อเช่นนั้น ซึ่งพอจะรวมกล่าวได้ ๖ ประการคือ ๒
๑. เกิดจากความไม่รู้ (อวิชชา)
๒. เกิดจากความกลัว
๓. เกิดจากความจงรักภักดี
๔. เกิดจากความอยากรู้เหตุผล (ปัญญา)
๕. เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ
๖. เกิดจากลัทธิการเมือง
๑. เกิดจากความไม่รู้
ความไม่รู้เหตุผลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปรากฏการณ์ธรรมชาติก็คิดว่าเป็นอำนาจของเทพเจ้า
บันดาลให้เป็นไป ซึ่งความไม่รู้ในเหตุผลทั้งหลายเหล่านั้น พอจะสรุปกล่าวโดยย่อ ๆ ได้ดังนี้
ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ : คนในประเทศอินเดียไม่เคยปีนไปบนยอดเขาหิมาลัยอันปกคลุมด้วยหิมะอย่างหนาทึบ
ในฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนหิมะละลาย น้ำไหลลงมาเป็นแม่น้ำคงคา ชาวอินเดียไม่รู้ว่าต้นน้ำของแม่น้ำคงคาเกิดจากเหตุนี้
เข้าใจว่าเป็นน้ำที่ไหลมาจากสวรรค์ผ่านเศียรพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์ และเข้าใจว่าแม่น้ำคงคา
นั้นศักดิ์สิทธิ์สามารถล้างบาปได้ คนจึงนิยมไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคาเพื่อล้างบาป ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
ความไม่รู้เหตุผลทางดาราศาสตร์ : เมื่อเกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคาขึ้นเพราะการโคจร ของโลกรอบดวงอาทิตย์ ประชาชน
ที่ไม่รู้เหตุผลก็เรียกว่าเกิดราหูอมจันทร์ จึงยิงปืนบ้าง จุดประทัดบ้าง หรือตีเกราะเคาะไม้ เพื่อให้ราหูตกใจแล้วจะได้หนีไป เป็นต้น
ความไม่รู้เหตุผลทางชีววิทยา : คนบางคนเดินผ่านต้นไม้ใหญ่ เขาจะยกมือไหว้โดยเชื่อว่า ต้นไม้นั้นเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า
ผู้ที่เดินทางผ่านภูเขาใหญ่ หรือภูเขาที่ประกอบด้วยหน้าผารูปแปลกๆ ชาวบ้านให้ชื่อภูเขานั้นตามที่ตนนึกว่าเหมือนอะไร
แล้วก็แสดงความเคารพภูเขานั้น โดยถือว่ามีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่
ความไม่รู้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ : เมื่อเห็นรุ้งกินน้ำ ก็เข้าใจว่าเกิดจากอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้เกิดขึ้น จึงทำนายไปตาม
ความเข้าใจของตนว่า รุ้งกินน้ำทางทิศนี้ฝนจะตกชุก รุ้งกินน้ำ ทางทิศนั้นฝนจะแล้ง เป็นต้น
จากความไม่รู้เหตุผลดังกล่าวมาแล้ว ทำให้คนยึดถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดศาสนาประเภทเทวนิยมขึ้น
๒. เกิดจากความกลัว
เนื่องจากความไม่รู้เหตุผล เมื่อบุคคลได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ลมพายุ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว มีดาวหางปรากฏขึ้น
ก็เกิดความกลัวจึงขวนขวายหาที่พึ่งโดยคิดว่าปรากฏ การณ์เหล่านั้น มีเทพเจ้าบันดาลให้เกิดขึ้นจึงได้อ้อนวอนบนบานศาลกล่าว
ขอให้เทพเจ้าเหล่านั้น โปรดระงับสิ่งเหล่านั้นเสีย
๓. เกิดจากความจงรักภักดี
ความภักดี คือความเชื่อในสิ่งนั้นว่ามีอำนาจเหนือคน หรือเชื่อในบุคคลว่ามีความดีที่เชื่อถือได้ เกิดความเลื่อมใสในสิ่งนั้นหรือบุคคล
นั้นว่ามีศักดิ์ศรีหรือมีจริยาวัตรที่ควรแก่การยกย่อง เมื่อเกิดความเชื่อความเลื่อมใสแล้ว ความเคารพ ความรักและความนับถือจะเกิด
ขึ้นตามมา กิจกรรมประกอบในสิ่ง ที่ตนมีความเชื่อความเลื่อมใสนั้น ได้แก่ การแสดงความเคารพทางกายมีการกราบไหว้บูชา เคารพ
ทางวาจาได้แก่ การกล่าวคำสรรเสริญ ยกย่อง เคารพทางใจได้แก่ การเลียนแบบจริยาวัตร หรือปฏิบัติตาม คำสอนของผู้นั้น ซึ่งก็เป็น
จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดศาสนาขึ้น
๔. เกิดจากความอยากรู้เหตุผล
ความอยากรู้เหตุผลนั้น เป็นความรู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งจะต้องคิดค้นถึงเหตุผลที่แท้จริงว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นมาจากสิ่งอะไร เช่น
เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ทรงพยายามที่จะแก้ทุกข์ทั้ง ๓ อย่าง โดยทรงดำริว่าในโลกมี
สิ่งที่เป็นคู่ ๆ ตรงกันเสมอ เช่น มีมืดแล้วก็มีสว่าง มีร้อนแล้วก็มีเย็น ฉะนั้น เมื่อมีแก่ก็ต้องมีไม่แก่ได้ มีเจ็บก็ต้องมีไม่เจ็บได้ มีตาย
ก็ต้องมี ไม่ตายได้ ความอยากรู้เหตุผลเป็นเหตุให้เกิดศาสนาที่เป็นอเทวนิยม
๕. เกิดจากอิทธิพลของคนสำคัญ
การเคารพต่อวิญญาณของบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่ได้กระทำกันมาช้านาน ถ้าบุคคลนั้นเป็นที่สำคัญต่อชุมชน ก็สามารถเป็นจุดศูนย์
รวมน้ำใจของคนส่วนมากไว้ได้อีกประการหนึ่ง การเคารพบุคคลสำคัญทางวรรณคดี เช่น พระรามและพระกฤษณะในเรื่องมหาภารตะ
ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย พราหมณ์ต้องการให้พระรามและพระกฤษณะเข้ามาเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เพื่อต้องการให้
ประชาชนนับถือศาสนาฮินดูมากยิ่งขึ้น จึงได้ประกาศแก่ประชาชนว่า พระรามและพระกฤษณะก็ไม่ใช่ใครที่ไหนคือพระวิษณุได้อวตาร
ลงมานั่นเอง ประชาชนได้ทราบเช่นนั้นก็ไม่ว่าอะไร เพราะเขานับถือของเขาอยู่แล้วก็ยิ่งเป็นความดียิ่ง ๆ ขึ้น การเคารพนับถือวิญญาณ
ของบุคคลสำคัญก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เกิดศาสนาขึ้น
๖. เกิดจากลัทธิทางการเมือง
ความเชื่อถือทางลัทธิการเมือง ทำให้คนมีจิตใจเบี่ยงเบนออกไปจากศาสนาประจำชาติของ ตนได้ เช่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้กล่าว
ประณามศาสนาเป็นยาเสพติด เอาเปรียบสังคม เป็นกาฝากสังคม สูบเลือดเอาประโยชน์จากสังคม ผู้ที่เชื่อถือศาสนาเป็นพวกงมงาย
ทำให้ประเทศชาติเจริญช้า ลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้คนเสมอกัน คนมีฐานะเสมอเหมือนกันหมด ประเทศที่เริ่มต้นเผยแพร่ลัทธิ นี้คือ
ประเทศรัสเซีย และจีนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นประเทศที่ถือลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นศาสนาประจำชาติ
-------------------------------
๑ พลตรีหลวงวิจิตร วาทการ, ศาสนาสากล เล่ม ๑, พ.ศ. ๒๕๒๓, น. ๑
๒ ศจ. เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ
http://www.history.mbu.ac.th/buddhism/buddhism.html
หมายเหตุ เพื่อการเรียนรู้