รมว.คมนาคม โพสต์ข้อความป้ายบอกทางไทยทำสับสนไม่เป็นสากล เหตุสถานที่เดียวกันแต่คนละชื่อ ทำนักท่องเที่ยวอึ้ง จี้แก้ไขปรับเปลี่ยน
วานนี้ (16 ธ.ค.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว @ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงป้ายบอกทางในเมืองไทยไม่เป็นสากล และสร้างความสับสนให้กับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสถานที่เดียวกันแต่กลับเป็นคนละชื่อ โดยระบุว่า
“เมื่อเช้า ผมนั่ง BTS ไปทำงาน และแวะตรวจ แอร์พอร์ตลิงค์ที่สถานีพญาไท ซึ่งได้มีการติดตั้งระบบบันไดเลื่อนเพิ่มเติมเสร็จแล้ว ปัญหาที่ยังต้องแก้ไขของสถานีพญาไท คือ บริเวณชานชาลาการระบายอากาศไม่ดี และ ร้อนมาก ต้องเจาะช่องระบายอากาศ และติดตั้งพัดลมเพิ่ม
ระหว่างที่ผมนั่งคุยกับพนักงานขายตั๋ว มีฝรั่งชาวอังกฤษสองคน จะซื้อตั๋วไปสนามบินดอนเมือง โดยเข้าใจว่าไปโดยแอร์พอร์ตลิงค์ได้ เลยต้องอธิบายว่าต้องนั่ง BTS ไปลงหมอชิต และต่อรถเมล์สาย A1 ไปลงที่ดอนเมือง พอดีผมจะไปแถวนั้นอยู่แล้ว เลยนั่งรถ BTS มาส่งที่หมอชิต และพาไปป้ายรถเมล์ ระหว่างทาง ผมก็ลองสมมติตัวเองว่าถ้าเป็นฝรั่ง จะไปถูกไหม ปรากฎว่ายากครับ ระบบป้ายของเรายังไม่เป็นสากล ต้องปรับปรุง (ฝรั่งงง)
ส่งฝรั่งเสร็จ ผมเดินมาดูป้ายรถเมล์จตุจักร เจอคนสิงคโปร์สองคนกำลังหารถตู้ไปพัทยา เขาบอกว่าหนังสือบอกว่า ให้มาขึ้นที่หมอชิต เขาเลยขึ้น BTS มาลงสถานีหมอชิต แต่หารถไปพัทยาไม่เจอ ซึ่งจริงๆแล้ว เขาต้องไปสถานีขนส่งหมอชิต 2 ที่อยู่ห่างออกไป เลยส่งขึ้นรถเมล์สาย 77 ไปหมอชิต 2 (สิงคโปร์งง)
ตัวอย่างง่ายๆ นี้แสดงให้เห็นถึงปัญหาของความไม่เป็นสากลของระบบป้าย การบอกทางแบบไทยๆ ของเรา ต้องเร่งพัฒนาให้เป็นสากลโดยด่วน การตั้งชื่อเองก็สับสนครับ สถานีจุดเดียวกันแต่คนละชื่อ เช่น
รถใต้ดิน vs BTS
สวนจตุจักร หมอชิต
สุขุมวิท อโศก
สีลม ศาลาแดง
เวลานัดกันถ้ามาคนละสายอาจไม่เจอกัน (ไทยงง)”
MThai News
ชัชชาติ งงเลย ป้ายบอกทางไทยยังสับสน-ไม่เป็นสากล
วานนี้ (16 ธ.ค.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว @ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงป้ายบอกทางในเมืองไทยไม่เป็นสากล และสร้างความสับสนให้กับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสถานที่เดียวกันแต่กลับเป็นคนละชื่อ โดยระบุว่า
“เมื่อเช้า ผมนั่ง BTS ไปทำงาน และแวะตรวจ แอร์พอร์ตลิงค์ที่สถานีพญาไท ซึ่งได้มีการติดตั้งระบบบันไดเลื่อนเพิ่มเติมเสร็จแล้ว ปัญหาที่ยังต้องแก้ไขของสถานีพญาไท คือ บริเวณชานชาลาการระบายอากาศไม่ดี และ ร้อนมาก ต้องเจาะช่องระบายอากาศ และติดตั้งพัดลมเพิ่ม
ระหว่างที่ผมนั่งคุยกับพนักงานขายตั๋ว มีฝรั่งชาวอังกฤษสองคน จะซื้อตั๋วไปสนามบินดอนเมือง โดยเข้าใจว่าไปโดยแอร์พอร์ตลิงค์ได้ เลยต้องอธิบายว่าต้องนั่ง BTS ไปลงหมอชิต และต่อรถเมล์สาย A1 ไปลงที่ดอนเมือง พอดีผมจะไปแถวนั้นอยู่แล้ว เลยนั่งรถ BTS มาส่งที่หมอชิต และพาไปป้ายรถเมล์ ระหว่างทาง ผมก็ลองสมมติตัวเองว่าถ้าเป็นฝรั่ง จะไปถูกไหม ปรากฎว่ายากครับ ระบบป้ายของเรายังไม่เป็นสากล ต้องปรับปรุง (ฝรั่งงง)
ส่งฝรั่งเสร็จ ผมเดินมาดูป้ายรถเมล์จตุจักร เจอคนสิงคโปร์สองคนกำลังหารถตู้ไปพัทยา เขาบอกว่าหนังสือบอกว่า ให้มาขึ้นที่หมอชิต เขาเลยขึ้น BTS มาลงสถานีหมอชิต แต่หารถไปพัทยาไม่เจอ ซึ่งจริงๆแล้ว เขาต้องไปสถานีขนส่งหมอชิต 2 ที่อยู่ห่างออกไป เลยส่งขึ้นรถเมล์สาย 77 ไปหมอชิต 2 (สิงคโปร์งง)
ตัวอย่างง่ายๆ นี้แสดงให้เห็นถึงปัญหาของความไม่เป็นสากลของระบบป้าย การบอกทางแบบไทยๆ ของเรา ต้องเร่งพัฒนาให้เป็นสากลโดยด่วน การตั้งชื่อเองก็สับสนครับ สถานีจุดเดียวกันแต่คนละชื่อ เช่น
รถใต้ดิน vs BTS
สวนจตุจักร หมอชิต
สุขุมวิท อโศก
สีลม ศาลาแดง
เวลานัดกันถ้ามาคนละสายอาจไม่เจอกัน (ไทยงง)”
MThai News