กุศลจิตกับวัตถุทางธรรม ของบรรพบุรุษไทยในอดีต

วัตถุประสงค์ในการตั้งกระทู้  :

1. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนรุ่นใหม่ได้ทราบถึงเจตนาอันเป็นกุศลจิต  ในการจัดสร้างพระพุทธรูปและพระเครื่องของบรรพบุรุษไทยในอดีต.

2. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนรุ่นใหม่ได้เกิดความตระหนัก  และคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดทางด้านจิตใจของผู้อื่นประกอบด้วย  มิใช่จะยึดถือตามตัวอักษรจากในตำราแค่เพียงอย่างเดียว.


............................................................................................................................................................


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค


ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน คือ กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีล
มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีลมีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๑๘ - ๑๐๘๗.  หน้าที่  ๔๒ - ๔๕


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=1018&w=%A1%D8%C8%C5%A8%D4%B5







พระองค์หมายเลข 1


ทิศทางเจตนา + วัตถุประสงค์ของผู้สร้าง  =  สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยอาศัยวัตถุหรืออุทเทสิกเจดีย์ที่สร้างขึ้น  เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันทางประวัติศาสตร์ว่า ดินแดนแห่งนี้ เคยเป็นถิ่นที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาแล้ว และมีผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาซึ่งมีศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงได้สร้างวัตถุเหล่านี้ไว้


http://www.watbm.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5


คำอธิบายเพิ่มเติม  :  จากรูปภาพ เป็นพระเครื่องที่สร้างจากดินเผา  ประวัติความเป็นมามีอยู่ 2 กระแส  กระแสแรกเชื่อว่า  พระบูชาและพระเครื่องทั้งหมด ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆกับการสร้างวัดในตอนแรก แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง  ส่วนอีกกระแสหนึ่งเชื่อว่า พระสุเมธาจารย์ (ศรี) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระครูราชปริศ" ได้มารักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนพระรามัญมุนี (ยิ้ม) เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล รูปที่ ๓ ซึ่ง ได้มรณภาพลง  เป็นผู้สร้างพระเจดีย์แล้วนำพระบูชาและพระเครื่อง  รวมทั้งสิ่งของทั้งหมดไปบรรจุลงไว้ในพระเจดีย์เมื่อปี พ.ศ.2410


...........................................................................................................................................................


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


พลี ทางพราหมณ์ คือ บวงสรวง, ทางพุทธ คือสละเพื่อช่วยหรือบูชา มี ๕ คือ
       ๑. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
       ๒. อติถิพลี สงเคราะห์แขก
       ๓. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
       ๔. ราชพลี ถวายเป็นหลวง เช่น เสียภาษีอากร
       ๕. เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา


http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BE%C5%D5_%F5



พระองค์หมายเลข 2


ทิศทางเจตนา + วัตถุประสงค์ของผู้สร้าง  =  เพื่อเป็นทักษิณานุประทาน คือ สร้างเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย


คำอธิบายเพิ่มเติม  :  เป็นพระบูชาขนาดเล็ก ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2325 เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย จำนวน 4 คน ได้แก่ นายอิน นางจัน นายมั่น นายคง...โดยมีการเขียนชื่อของผู้ตายเอาไว้ที่หน้าฐานพระทุกองค์ องค์ละหนึ่งชื่อ (จากรูปภาพ :  พระองค์นี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับนายอิน)  เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงได้นำพระทั้งหมดไปบรรจุรวมไว้ในพระเจดีย์ภายในวัด  ต่อมาอีกสองร้อยปีให้หลัง พระเจดีย์ได้ชำรุดทรุดโทรม  ทางวัดจึงทำการบูรณะซ่อมแซม  และได้นำพระบางส่วนออกมาแจกให้กับญาติโยมในงานบุญต่างๆ เช่น งานทอดกฐิน , งานทอดผ้าป่า ฯลฯ


............................................................................................................................................................



มีคำถามอยู่  2 คำถามครับ ตามนี้  :


1.  การที่พระสงฆ์บางรูปหรือฆราวาสบางคน  มองข้าม - มองไม่เห็น ถึงเจตนาอันเป็นกุศลจิตของผู้สร้างวัตถุธรรม....ถือเป็นการขาดความรู้ความเข้าใจในผู้อื่น - ถือเป็นความหยาบในด้านการพิจารณาใช่หรือไม่?

2.  การย่ำยีวัตถุธรรมที่ผู้อื่นได้สร้างขึ้นจากเจตนาอันบริสุทธิ์ - จากเจตนาอันเป็นกุศลจิต...ถามว่า "ผู้ย่ำยี" ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม หรือ ปฏิบัติอธรรม?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่