9 เดือนไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์สร้างกำไร 2,037 ล้านบาท วาย ยัท ปาโก้ ลี ตัวแทนธีรพงศ์ จันศิริงัดจุดเด่นเรื่องครบวงจร
ปีกว่าแล้วที่แทบไม่เห็น “ธีรพงศ์ จันศิริ” ประธานกรรมการบริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ 23 เปอร์เซ็นต์ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ TUF ไล่ซื้อหุ้นตัวเองถี่ๆเหมือนในปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทมีกำไรสุทธิ “สูงสุด” 5,074 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 5.30 บาท
ในครานั้น “ทายาทรุ่น 2” บุตรชายคนโตของ “ไกรสร จันศิริ” ผู้ก่อตั้งบริษัทปฏิบัติการณ์เก็บหุ้น TUF มากถึง 13 รายการ “ราคาต่ำสุด” 38.90 บาท จำนวน 500,000 หุ้น ณ วันที่ 20 มี.ค.2554 “ราคาสูงสุด” 60 บาท จำนวน 18 ล้านหุ้น ณ วันที่ 19 เม.ย.2555 มูลค่าลงทุนเฉลี่ยกว่า 1,250 ล้านบาท
แต่ช่วงปี 2555-2556 เขากลับโยกเงินส่วนตัวไปซื้อลงทุนหุ้น IPO แทน หลังเห็นว่า ความสามารถในการทำกำไรของ TUF ส่อแว่วปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อาทิเช่น หุ้น อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ หรือ ANAN เขาจองซื้อหุ้นไอพีโอจำนวน 1.40 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.11 เปอร์เซ็นต์ มูลค่า 5.88 ล้านบาท
หุ้น ANAN เปิดซื้อขายวันแรก ณ วันที่ 7 ธ.ค.255 ระดับ 4.14 บาท ปรับตัวลดลง 0.06 บาท หรือ 1.42 เปอร์เซ็นต์ จากราคาจองหุ้นละ 4.20 บาท ปัจจุบันซื้อขายเฉลี่ย 2.02 บาท
นอกจากนั้นยังซื้อ หุ้น เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป หรือ M จำนวน 940,000 หุ้น คิดเป็น 0.51 เปอร์เซ็นต์ มูลค่า 46.06 ล้านบาท โดยหุ้น M เปิดซื้อขายวันแรกในวันที่ 15 ส.ค.2556 ระดับ 55 บาท เพิ่มขึ้น 6 บาท หรือ12.24 เปอร์เซ็นต์ จากราคาจองหุ้นละ 49 บาท ปัจจุบันซื้อขายเฉลี่ย 47.50 บาท
“จุดต่ำสุดกำลังจะผ่านไป”
นักวิเคราะห์จากหลายสำนัก มีความเชื่อเช่นนั้นต่อ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ TUF หลังบริษัทประกาศ “กำไรสุทธิ” ไตรมาส 3 ปี 2556 จำนวน 1,004 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.87 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2556 ที่มี “กำไรสุทธิ” 674.42 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.59 บาท และไตรมาส 2 ปี 2556 ที่มี “กำไรสุทธิ” เพียง 358.98 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.31 บาทต่อหุ้น
แม้ “กำไรสุทธิ” ในช่วง 9 เดือนของปี 2556 จะมีเพียงระดับ 2,037.55 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ที่มีกำไรสุทธิมากถึง 4,081.36 ล้านบาท แต่เหล่ากูรูพร้อมใจกันออกมาปรับ “ราคาเป้าหมาย” โดยราคาสูงสุด คือ “75 บาทต่อหุ้น” ส่วนใหญ่เชื่อว่า ในปี 2557 แนวโน้มอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวจากปี 2556
ย้อนกลับไปดูสาเหตุที่ทำให้ “กำไรสุทธิ” ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 ลดลงเหลือ 1,033 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,468 ล้านบาท เกิดจากความผันผวนของราคาปลาทูน่า ส่งผลให้ธุรกิจรับจ้างผลิตและส่งออกปลาทูน่าได้รับผลกระทบ
ราคาที่ผันผวนทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจจึงเกิดการชะลอคำสั่งซื้อ หลังไม่สามารถยอมรับราคาที่สูงขึ้นได้ ขณะที่ราคาวัตถุดิบกุ้งมีราคาสูงขึ้นเป็น “ประวัติการณ์” ในรอบหลายปี เนื่องจากเกิดโรคระบาด EMS (Early Mortality Syndrome) ส่งผลต่อธุรกิจการแปรรูปกุ้งเพื่อการส่งออก
คำทำนายของนักวิเคราะห์ ดูจะสอดคล้องกับความเชื่อของ “วาย ยัท ปาโก้ ลี” รองผู้จัดการทั่วไปนักลงทุนสัมพันธ์ “ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์” มือขวา “ธีรพงศ์ จันศิริ” แม้เขาจะไม่ใช่ผู้บริหารระดับสูง แต่ได้รับการบอกเล่าแผนธุรกิจละเอียดยิบจากคณะกรรมการ
“วาย ยัท ปาโก้ ลี” ในฐานะเจ้าของรางวัล SAA A wards for Listed Companies 2011 ตำแหน่ง Chief Financial Officer ซึ่งมอบโดยสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ถ่ายทอดถึง “ความไม่ธรรมดา” ของ “ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์” ว่า แม้เราจะโดนปัญหารุมเร้า แต่การที่บริษัทเป็น“ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์อาหารทะเลระดับโลก” ที่มี "ความครบวงจร” ถือเป็น “จุดเด่น” ที่หาใครเทียบยาก
อธิบายง่ายๆ “ธุรกิจปลาทู” คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 49 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มธุรกิจทั้งหมดในปี 2555 เราทำตั้งแต่กระบวนการลงมือจับปลาเอง และยังทำบรรจุภัณฑ์ ผลิตกระป๋อง พิมพ์ฉลากติดกระป๋องเองทั้งหมด แถมยังมีโรงงานแปรรูปปลาทูน่าเป็นของตัวเองด้วย ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานทูน่าทั้งหมด 8 แห่ง ใน 7 ประเทศทั่วโลก ส่วนในแง่ของการตลาดเรายังเป็นเจ้าของ 8 แบรนด์สินค้า ใน 5 ทวีป “ธรรมดาที่ไหน”
ส่วน “ธุรกิจกุ้งและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกุ้ง” คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 23 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มธุรกิจทั้งหมด บริษัททำตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารกุ้ง ,พัฒนาสายพันธุ์กุ้ง และจำหน่ายลูกกุ้ง ส่วนในแง่ของฟาร์ม เราเริ่มทำตั้งแต่ฟาร์มกุ้งขนาดเล็กๆ ด้วยการร่วมลงทุนกับ “บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด” ประเทศญี่ปุ่น ในการจัดตั้ง “บริษัท ทีเอ็มเอซี จำกัด” สัดส่วนลงทุน 51:49 เปอร์เซ็นต์ กำลังการผลิตประมาณ 10,000 ตันต่อปี
แม้จะเป็นตัวเลขการผลิตที่ไม่มาก เมื่อเทียบกับการผลิตของบริษัทประมาณ 100,000 ตันต่อปี แต่เราเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องศึกษาการทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ทุกวันนี้ผู้ซื้อให้ความสำคัญในเรื่องการเพาะเลี้ยงอย่างมาก และต้องการซื้อกับผู้ผลิตที่ให้ความมั่นใจได้ทั้งกระบวนการผลิต กลยุทธ์เหล่านี้ถือเป็น “จุดแข็ง” ในการทำตลาดของเรา
“ในภาวะที่เมืองไทยไม่มีเรื่องโรคระบาด EMS บ้านเราจะมีผลผลิตกุ้งประมาณ 500,000-600,000 ตันต่อปี โดยกลุ่มเราจะส่งกุ้งขายประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของตลาดรวม”
เขา เล่าต่อว่า ผู้บริหารระดับสูง วางแผน “เติบโต” ตลอดเวลา เราพยายามดักความเสี่ยงทุกทาง โดยเฉพาะการเข้าซื้อกิจการต่างๆ เช่น การเข้าไปลงทุนใน “ไทร-ยูเนี่ยน ซีฟูดส์” ผู้ผลิตและจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องและอาหารทะเลอื่นๆ เจ้าของแบรนด์เนม "Chicken of the Sea" ประเทศสหรัฐอเมริกา
รวมถึงการเทคโอเวอร์ บมจ.แพ็คฟู้ด (PPC) ผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปและส่งออกอาหารทะเลและอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กุ้ง ซึ่งการซื้อกิจการหลากหลายแห่ง ถือเป็นการขยายฐานการผลิตออกไปทั่วโลก เพื่อไม่ให้กระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองไทยเพียงอย่างเดียว
“การมี “แพ็คฟู้ด” ทำให้เราต้องเลื่อนการก่อสร้างโรงงานแปรรูปกุ้งใหม่ออกไปก่อน เพราะเราจะหันไปใช้กำลังการผลิตของบริษัทแห่งนี้แทน ทำให้ตอนนี้มีกำลังการผลิตเพียงพอต่อความต้องการ”
การขยายการลงทุนทางอ้อมจะทำให้บริษัทมี Supply Chain ที่แข็งแกร่งมากขึ้น และยังส่งผลให้ธุรกิจมีความครบวงจรมากขึ้น กลยุทธ์แบบนี้จะทำให้บริษัทสามารถแข่งขันในธุรกิจอาหารได้ง่ายมากขึ้น เมื่อเราครบวงจรจะสามารถตอบโจทย์ได้ในหลายๆข้อ โดยเฉพาะการมี “ธุรกิจยั่งยืน”
“วาย ยัท ปาโก้ ลี” บอกว่า แม้ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เราจะเจอปัญหามากมายคอยกดดันผลประกอบการ จนทำให้สิ้นปี 2556 อาจทำรายได้ได้เพียง 3,600-3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าเป้าหมายแรกที่วางไว้ระดับ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่ทางทีมงานเชื่อเหลือเกินว่า ในปี 2557 ทุกอย่างจะเริ่มดีขึ้น โดยรายได้อาจเพิ่มขึ้นประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ พุ่งมาแตะระดับ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังการผลิตกุ้งในเมืองไทยจะขยายตัวขึ้นเป็น 300,000 ตัน จาก 250,000 ตัน ในปี 2556
จากนั้นในปี 2558 อาจมีรายได้ระดับ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 150,000 ล้านบาท ถามว่า มีโอกาสที่กำลังการผลิตกุ้งจะกลับมาระดับ 500,000-600,000 ตันต่อปีหรือไม่ ทุกอย่างต้องใช้เวลา แต่เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ก่อนหน้านี้ “ธีรพงศ์ จันศิริ” เคยบอกว่า เรากำลังจะผ่าน “จุดต่ำสุด” แม้ปีหน้ายังต้องเผชิญกับโรคระบาด EMS แต่จะมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังผู้เลี้ยงกุ้งเริ่มปรับตัวได้แล้วขณะที่อัตราการรอดของลูกกุ้งมีมากขึ้น ส่งผลให้ผู้เลี้ยงมีความมั่นใจที่จะลงกุ้งมากขึ้น แต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
“เราจะดูแลธุรกิจในทุกส่วนให้มีความรัดกุมมากขึ้น โดยจะดูเรื่องความสามารถในการทำกำไรอย่างใกล้ชิด”
เขาไม่ลืมที่จะเล่าถึง “เรื่องท้าทาย” ที่เกิดขึ้นในปี 2556 ว่า ข้อแรก ราคาวัตถุดิบปลาทูน่าผันผวน ส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อของธุรกิจรับจ้างผลิต ข้อสอง การขาดแคลนวัตถุดิบกุ้ง หลังเกิดโรคระบาด EMS ที่เริ่มระบาดในเมืองไทยตั้งแต่ปลายปี 2555 ทำให้ราคาวัตถุดิบกุ้งในประเทศเพิ่มขึ้นมาก
ส่งผลกระทบต่อยอดขายและอัตราการทำกำไรของบริษัท ถ้าจำกันได้ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา ธุรกิจกุ้งแปรรูปในประเทศไทยเพื่อการส่งออกของบริษัทประสบปัญหา “ขาดทุน” ข้อสุดท้าย เราได้รับผลกระทบจากการ “ขาดทุน” ของธุรกิจผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของบริษัท
ตัวแทน “ธีรพงศ์ จันศิริ” ตบท้ายด้วยการพูดถึงเรื่องแผนการใช้เงินในปี 2557 ว่า เราจะใช้เงินในการปรับปรุงเครื่องจักรประมาณ 3,500 ล้านบาท ถือเป็นตัวเลขที่ลดลงจากปี 2556 ที่ใช้เงินมากถึง 4,000 ล้านบาท แต่ก็เป็นการลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ต้องการจะใช้เงินลงทุนในปีนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท
“เราคงยังไม่มีแผนควบรวมหรือซื้อกิจการ (M&A) จนกว่าภาพรวมของตลาดจะดีขึ้น”
สำหรับภาวะเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปในปี 2557 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นอาจส่งผลต่อตลาดหุ้นโดยรวม แต่ในแง่ของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคคงต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี จึงจะค่อยๆดีขึ้น พฤติกรรมคงจะเหมือนในช่วงที่เมืองไทยเกิด “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 กว่าจะเรียกความเชื่อมั่นคืนได้ต้องใช้เวลานานมาก
รีบ “ช้อน” ธุรกิจส่อแวว “ฟื้น”
บล.คันทรี่ กรุ๊ป แนะนำ “ซื้อ” ลงทุนหุ้น TUF ประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2557 ระดับ 70 บาท นักวิเคราะห์มองว่า บริษัทได้ผ่านพ้น “จุดต่ำสุดไปแล้ว” หลังไตรมาส 3 ปี 2556 บริษัทมีกำไรแตะระดับ 1,000 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จุดต่ำสุดผ่านมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2556
ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2556 ทางผู้บริหารมองว่า ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจปลาทูน่ามีโอกาสที่ลูกค้าที่ชะลอคำสั่งซื้อไปในช่วงไตรมาส 3 จะกลับเข้ามา หลังราคาปลาทูน่ามีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับธุรกิจกุ้งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศเริ่มมีความเชื่อมั่นกลับมาเลี้ยงอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้การขายอาหารกุ้งปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ฉะนั้นในปี 2557 คาดว่า “ทุกธุรกิจจะฟื้นตัว” โดยเฉพาะธุรกิจกุ้ง ทางผู้บริหารตั้งเป้าหมายรายได้ในปีหน้าว่า อาจเติบโตประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าธุรกิจปลาแซลม่อน ปลาหมึก รวมถึงธุรกิจอาหารกุ้งในประเทศจะมีการเติบโตที่มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ หลังจากมีการขยายตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับธุรกิจปลาทูน่าที่จะมีการขยายตลาดเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ฟาก “บล.ทรีนีตี้” แนะนำ “ซื้อ” หุ้น TUF เช่นกัน โดยให้ราคาเป้าหมายปี 2557 ระดับ 75 บาท บทวิเคราะห์ระบุว่า ผู้บริหารได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีความสะอาดมากขึ้น อาทิ การเตรียมบ่อเลี้ยง ,การบำบัดน้ำจากทะเลก่อนมาใช้เลี้ยง และการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ (EM) เพื่อเข้ากำจัดของเสียในบ่อ ทำให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค EMS ไม่สามารถเติบโตได้ ส่งผลให้อัตรารอดของกุ้งล่าสุดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20131216/549502/TUF-กลบ-จุดด้อยด้วยกลยุทธ์-ครบวงจร.html
TUF กลบจุดด้อยด้วยกลยุทธ์ครบวงจร
ปีกว่าแล้วที่แทบไม่เห็น “ธีรพงศ์ จันศิริ” ประธานกรรมการบริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ 23 เปอร์เซ็นต์ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ TUF ไล่ซื้อหุ้นตัวเองถี่ๆเหมือนในปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทมีกำไรสุทธิ “สูงสุด” 5,074 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 5.30 บาท
ในครานั้น “ทายาทรุ่น 2” บุตรชายคนโตของ “ไกรสร จันศิริ” ผู้ก่อตั้งบริษัทปฏิบัติการณ์เก็บหุ้น TUF มากถึง 13 รายการ “ราคาต่ำสุด” 38.90 บาท จำนวน 500,000 หุ้น ณ วันที่ 20 มี.ค.2554 “ราคาสูงสุด” 60 บาท จำนวน 18 ล้านหุ้น ณ วันที่ 19 เม.ย.2555 มูลค่าลงทุนเฉลี่ยกว่า 1,250 ล้านบาท
แต่ช่วงปี 2555-2556 เขากลับโยกเงินส่วนตัวไปซื้อลงทุนหุ้น IPO แทน หลังเห็นว่า ความสามารถในการทำกำไรของ TUF ส่อแว่วปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อาทิเช่น หุ้น อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ หรือ ANAN เขาจองซื้อหุ้นไอพีโอจำนวน 1.40 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.11 เปอร์เซ็นต์ มูลค่า 5.88 ล้านบาท
หุ้น ANAN เปิดซื้อขายวันแรก ณ วันที่ 7 ธ.ค.255 ระดับ 4.14 บาท ปรับตัวลดลง 0.06 บาท หรือ 1.42 เปอร์เซ็นต์ จากราคาจองหุ้นละ 4.20 บาท ปัจจุบันซื้อขายเฉลี่ย 2.02 บาท
นอกจากนั้นยังซื้อ หุ้น เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป หรือ M จำนวน 940,000 หุ้น คิดเป็น 0.51 เปอร์เซ็นต์ มูลค่า 46.06 ล้านบาท โดยหุ้น M เปิดซื้อขายวันแรกในวันที่ 15 ส.ค.2556 ระดับ 55 บาท เพิ่มขึ้น 6 บาท หรือ12.24 เปอร์เซ็นต์ จากราคาจองหุ้นละ 49 บาท ปัจจุบันซื้อขายเฉลี่ย 47.50 บาท
“จุดต่ำสุดกำลังจะผ่านไป”
นักวิเคราะห์จากหลายสำนัก มีความเชื่อเช่นนั้นต่อ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ TUF หลังบริษัทประกาศ “กำไรสุทธิ” ไตรมาส 3 ปี 2556 จำนวน 1,004 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.87 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2556 ที่มี “กำไรสุทธิ” 674.42 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.59 บาท และไตรมาส 2 ปี 2556 ที่มี “กำไรสุทธิ” เพียง 358.98 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.31 บาทต่อหุ้น
แม้ “กำไรสุทธิ” ในช่วง 9 เดือนของปี 2556 จะมีเพียงระดับ 2,037.55 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ที่มีกำไรสุทธิมากถึง 4,081.36 ล้านบาท แต่เหล่ากูรูพร้อมใจกันออกมาปรับ “ราคาเป้าหมาย” โดยราคาสูงสุด คือ “75 บาทต่อหุ้น” ส่วนใหญ่เชื่อว่า ในปี 2557 แนวโน้มอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวจากปี 2556
ย้อนกลับไปดูสาเหตุที่ทำให้ “กำไรสุทธิ” ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 ลดลงเหลือ 1,033 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,468 ล้านบาท เกิดจากความผันผวนของราคาปลาทูน่า ส่งผลให้ธุรกิจรับจ้างผลิตและส่งออกปลาทูน่าได้รับผลกระทบ
ราคาที่ผันผวนทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจจึงเกิดการชะลอคำสั่งซื้อ หลังไม่สามารถยอมรับราคาที่สูงขึ้นได้ ขณะที่ราคาวัตถุดิบกุ้งมีราคาสูงขึ้นเป็น “ประวัติการณ์” ในรอบหลายปี เนื่องจากเกิดโรคระบาด EMS (Early Mortality Syndrome) ส่งผลต่อธุรกิจการแปรรูปกุ้งเพื่อการส่งออก
คำทำนายของนักวิเคราะห์ ดูจะสอดคล้องกับความเชื่อของ “วาย ยัท ปาโก้ ลี” รองผู้จัดการทั่วไปนักลงทุนสัมพันธ์ “ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์” มือขวา “ธีรพงศ์ จันศิริ” แม้เขาจะไม่ใช่ผู้บริหารระดับสูง แต่ได้รับการบอกเล่าแผนธุรกิจละเอียดยิบจากคณะกรรมการ
“วาย ยัท ปาโก้ ลี” ในฐานะเจ้าของรางวัล SAA A wards for Listed Companies 2011 ตำแหน่ง Chief Financial Officer ซึ่งมอบโดยสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ถ่ายทอดถึง “ความไม่ธรรมดา” ของ “ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์” ว่า แม้เราจะโดนปัญหารุมเร้า แต่การที่บริษัทเป็น“ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์อาหารทะเลระดับโลก” ที่มี "ความครบวงจร” ถือเป็น “จุดเด่น” ที่หาใครเทียบยาก
อธิบายง่ายๆ “ธุรกิจปลาทู” คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 49 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มธุรกิจทั้งหมดในปี 2555 เราทำตั้งแต่กระบวนการลงมือจับปลาเอง และยังทำบรรจุภัณฑ์ ผลิตกระป๋อง พิมพ์ฉลากติดกระป๋องเองทั้งหมด แถมยังมีโรงงานแปรรูปปลาทูน่าเป็นของตัวเองด้วย ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานทูน่าทั้งหมด 8 แห่ง ใน 7 ประเทศทั่วโลก ส่วนในแง่ของการตลาดเรายังเป็นเจ้าของ 8 แบรนด์สินค้า ใน 5 ทวีป “ธรรมดาที่ไหน”
ส่วน “ธุรกิจกุ้งและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกุ้ง” คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 23 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มธุรกิจทั้งหมด บริษัททำตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารกุ้ง ,พัฒนาสายพันธุ์กุ้ง และจำหน่ายลูกกุ้ง ส่วนในแง่ของฟาร์ม เราเริ่มทำตั้งแต่ฟาร์มกุ้งขนาดเล็กๆ ด้วยการร่วมลงทุนกับ “บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด” ประเทศญี่ปุ่น ในการจัดตั้ง “บริษัท ทีเอ็มเอซี จำกัด” สัดส่วนลงทุน 51:49 เปอร์เซ็นต์ กำลังการผลิตประมาณ 10,000 ตันต่อปี
แม้จะเป็นตัวเลขการผลิตที่ไม่มาก เมื่อเทียบกับการผลิตของบริษัทประมาณ 100,000 ตันต่อปี แต่เราเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องศึกษาการทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ทุกวันนี้ผู้ซื้อให้ความสำคัญในเรื่องการเพาะเลี้ยงอย่างมาก และต้องการซื้อกับผู้ผลิตที่ให้ความมั่นใจได้ทั้งกระบวนการผลิต กลยุทธ์เหล่านี้ถือเป็น “จุดแข็ง” ในการทำตลาดของเรา
“ในภาวะที่เมืองไทยไม่มีเรื่องโรคระบาด EMS บ้านเราจะมีผลผลิตกุ้งประมาณ 500,000-600,000 ตันต่อปี โดยกลุ่มเราจะส่งกุ้งขายประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของตลาดรวม”
เขา เล่าต่อว่า ผู้บริหารระดับสูง วางแผน “เติบโต” ตลอดเวลา เราพยายามดักความเสี่ยงทุกทาง โดยเฉพาะการเข้าซื้อกิจการต่างๆ เช่น การเข้าไปลงทุนใน “ไทร-ยูเนี่ยน ซีฟูดส์” ผู้ผลิตและจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องและอาหารทะเลอื่นๆ เจ้าของแบรนด์เนม "Chicken of the Sea" ประเทศสหรัฐอเมริกา
รวมถึงการเทคโอเวอร์ บมจ.แพ็คฟู้ด (PPC) ผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปและส่งออกอาหารทะเลและอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กุ้ง ซึ่งการซื้อกิจการหลากหลายแห่ง ถือเป็นการขยายฐานการผลิตออกไปทั่วโลก เพื่อไม่ให้กระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองไทยเพียงอย่างเดียว
“การมี “แพ็คฟู้ด” ทำให้เราต้องเลื่อนการก่อสร้างโรงงานแปรรูปกุ้งใหม่ออกไปก่อน เพราะเราจะหันไปใช้กำลังการผลิตของบริษัทแห่งนี้แทน ทำให้ตอนนี้มีกำลังการผลิตเพียงพอต่อความต้องการ”
การขยายการลงทุนทางอ้อมจะทำให้บริษัทมี Supply Chain ที่แข็งแกร่งมากขึ้น และยังส่งผลให้ธุรกิจมีความครบวงจรมากขึ้น กลยุทธ์แบบนี้จะทำให้บริษัทสามารถแข่งขันในธุรกิจอาหารได้ง่ายมากขึ้น เมื่อเราครบวงจรจะสามารถตอบโจทย์ได้ในหลายๆข้อ โดยเฉพาะการมี “ธุรกิจยั่งยืน”
“วาย ยัท ปาโก้ ลี” บอกว่า แม้ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เราจะเจอปัญหามากมายคอยกดดันผลประกอบการ จนทำให้สิ้นปี 2556 อาจทำรายได้ได้เพียง 3,600-3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าเป้าหมายแรกที่วางไว้ระดับ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่ทางทีมงานเชื่อเหลือเกินว่า ในปี 2557 ทุกอย่างจะเริ่มดีขึ้น โดยรายได้อาจเพิ่มขึ้นประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ พุ่งมาแตะระดับ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังการผลิตกุ้งในเมืองไทยจะขยายตัวขึ้นเป็น 300,000 ตัน จาก 250,000 ตัน ในปี 2556
จากนั้นในปี 2558 อาจมีรายได้ระดับ 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 150,000 ล้านบาท ถามว่า มีโอกาสที่กำลังการผลิตกุ้งจะกลับมาระดับ 500,000-600,000 ตันต่อปีหรือไม่ ทุกอย่างต้องใช้เวลา แต่เชื่อว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ก่อนหน้านี้ “ธีรพงศ์ จันศิริ” เคยบอกว่า เรากำลังจะผ่าน “จุดต่ำสุด” แม้ปีหน้ายังต้องเผชิญกับโรคระบาด EMS แต่จะมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังผู้เลี้ยงกุ้งเริ่มปรับตัวได้แล้วขณะที่อัตราการรอดของลูกกุ้งมีมากขึ้น ส่งผลให้ผู้เลี้ยงมีความมั่นใจที่จะลงกุ้งมากขึ้น แต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
“เราจะดูแลธุรกิจในทุกส่วนให้มีความรัดกุมมากขึ้น โดยจะดูเรื่องความสามารถในการทำกำไรอย่างใกล้ชิด”
เขาไม่ลืมที่จะเล่าถึง “เรื่องท้าทาย” ที่เกิดขึ้นในปี 2556 ว่า ข้อแรก ราคาวัตถุดิบปลาทูน่าผันผวน ส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อของธุรกิจรับจ้างผลิต ข้อสอง การขาดแคลนวัตถุดิบกุ้ง หลังเกิดโรคระบาด EMS ที่เริ่มระบาดในเมืองไทยตั้งแต่ปลายปี 2555 ทำให้ราคาวัตถุดิบกุ้งในประเทศเพิ่มขึ้นมาก
ส่งผลกระทบต่อยอดขายและอัตราการทำกำไรของบริษัท ถ้าจำกันได้ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา ธุรกิจกุ้งแปรรูปในประเทศไทยเพื่อการส่งออกของบริษัทประสบปัญหา “ขาดทุน” ข้อสุดท้าย เราได้รับผลกระทบจากการ “ขาดทุน” ของธุรกิจผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของบริษัท
ตัวแทน “ธีรพงศ์ จันศิริ” ตบท้ายด้วยการพูดถึงเรื่องแผนการใช้เงินในปี 2557 ว่า เราจะใช้เงินในการปรับปรุงเครื่องจักรประมาณ 3,500 ล้านบาท ถือเป็นตัวเลขที่ลดลงจากปี 2556 ที่ใช้เงินมากถึง 4,000 ล้านบาท แต่ก็เป็นการลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ต้องการจะใช้เงินลงทุนในปีนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท
“เราคงยังไม่มีแผนควบรวมหรือซื้อกิจการ (M&A) จนกว่าภาพรวมของตลาดจะดีขึ้น”
สำหรับภาวะเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปในปี 2557 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นอาจส่งผลต่อตลาดหุ้นโดยรวม แต่ในแง่ของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคคงต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี จึงจะค่อยๆดีขึ้น พฤติกรรมคงจะเหมือนในช่วงที่เมืองไทยเกิด “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 กว่าจะเรียกความเชื่อมั่นคืนได้ต้องใช้เวลานานมาก
รีบ “ช้อน” ธุรกิจส่อแวว “ฟื้น”
บล.คันทรี่ กรุ๊ป แนะนำ “ซื้อ” ลงทุนหุ้น TUF ประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2557 ระดับ 70 บาท นักวิเคราะห์มองว่า บริษัทได้ผ่านพ้น “จุดต่ำสุดไปแล้ว” หลังไตรมาส 3 ปี 2556 บริษัทมีกำไรแตะระดับ 1,000 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จุดต่ำสุดผ่านมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2556
ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2556 ทางผู้บริหารมองว่า ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจปลาทูน่ามีโอกาสที่ลูกค้าที่ชะลอคำสั่งซื้อไปในช่วงไตรมาส 3 จะกลับเข้ามา หลังราคาปลาทูน่ามีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับธุรกิจกุ้งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศเริ่มมีความเชื่อมั่นกลับมาเลี้ยงอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้การขายอาหารกุ้งปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ฉะนั้นในปี 2557 คาดว่า “ทุกธุรกิจจะฟื้นตัว” โดยเฉพาะธุรกิจกุ้ง ทางผู้บริหารตั้งเป้าหมายรายได้ในปีหน้าว่า อาจเติบโตประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าธุรกิจปลาแซลม่อน ปลาหมึก รวมถึงธุรกิจอาหารกุ้งในประเทศจะมีการเติบโตที่มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ หลังจากมีการขยายตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับธุรกิจปลาทูน่าที่จะมีการขยายตลาดเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ฟาก “บล.ทรีนีตี้” แนะนำ “ซื้อ” หุ้น TUF เช่นกัน โดยให้ราคาเป้าหมายปี 2557 ระดับ 75 บาท บทวิเคราะห์ระบุว่า ผู้บริหารได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีความสะอาดมากขึ้น อาทิ การเตรียมบ่อเลี้ยง ,การบำบัดน้ำจากทะเลก่อนมาใช้เลี้ยง และการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ (EM) เพื่อเข้ากำจัดของเสียในบ่อ ทำให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค EMS ไม่สามารถเติบโตได้ ส่งผลให้อัตรารอดของกุ้งล่าสุดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20131216/549502/TUF-กลบ-จุดด้อยด้วยกลยุทธ์-ครบวงจร.html