สัตตมหาสถาน
สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ 7 แห่ง
สัตตมหาสถาน หมายถึง สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง ที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) หลังจากตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ พุทธคยา แล้ว โดยแต่ละแห่งเป็นสถานที่รอบๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาแห่งละ ๑ สัปดาห์ รวม ๗ สัปดาห์ หรือ ๔๙ วัน เรียงตามลำดับดังต่อไปนี้
สัปดาห์ที่ ๑ : “พระแท่นวัชรอาสน์”
พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งสมาธิที่ “พระแท่นวัชรอาสน์” หรือโพธิบัลลังก์ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๗ วัน พระองค์ได้ทรงกำหนดนึกในพระหทัย เพื่อพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาทแบบตามลำดับตลอดปฐมยามแห่งราตรีนั้น แล้วมีพุทธอุทานว่า “ในการใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ผู้นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ”
ในเวลากลางคืน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาทแบบย้อนตามลำดับ คือ พิจารณาจากปลายมาจุดเริ่มแรกแล้วมีพุทธอุทานว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย”
ในปัจฉิมยาม ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งแบบตามลำดับและย้อนตามลำดับแล้วมีพุทธอุทานว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์ผู้นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศ ฉะนั้น”
หมายเหตุ : “พระมหาเจดีย์พุทธคยา” หรือ “พระมหาโพธิเจดีย์” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” โดยมี “พระแท่นวัชรอาสน์” หรือ “โพธิบัลลังก์” ซึ่งมีความหมายว่า “พระที่นั่งแห่งมหาบุรุษผู้ใจเพชร” ประดิษฐานคั่นอยู่ระหว่างกลาง
“พระแท่นวัชรอาสน์” นี้ พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้ทรงดำริให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่รองรับเครื่องสักการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่แต่ละครั้งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังเป็นจำนวนมากมาย โคนต้นไม้ที่เห็นในภาพนื้ คือ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อรักษาคุ้มครองพระแท่นและต้นพระศรีมหาโพธิ์ให้ปลอดภัยจากการสัมผัสจับต้องของผู้เข้าชม ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากไม่ขาดสายในแต่ละวัน ทางการจึงสร้างกำแพงล้อมต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นไว้ดั่งที่เห็นในภาพ กำแพงนี้ถูกตกแต่งด้วยพวงมาลัย ผ้าสีต่างๆ และสายธงทิวต่างๆ ที่ชาวพุทธนำมาบูชาผูกไว้รอบกำแพง จนผู้ชมเดินรอบฐานพระมหาเจดีย์พุทธคยาไม่สามารถมองเห็นพระแท่นได้ในระดับสายตา
สัปดาห์ที่ ๒ : “อนิมิสเจดีย์”
พระพุทธองค์ทรงพระดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” เมื่อได้ระยะพอควรกับการทอดพระเนตร ก็ทรงหันกลับพระพักตร์มายืนพิจารณาต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้ประทับตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ทรงลืมพระเนตรโดยมิได้กระพริบเลยตลอดสัปดาห์ เพื่อทบทวนความทรงจำต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วโดยลำดับ ความหมุนเวียนผันแปรอันเกิดขึ้นตามอำนาจของสังขารจักรก็มาหยุดลงแค่นี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นที่ให้กำเนิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสัจธรรมอันบริสุทธิ์ สามารถชำระล้างกิเลสนานาชนิดของสัตว์โลกได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ทรงพอพระทัยในการตรัสรู้นี้เป็นอย่างยิ่ง
สถานที่นี้จึงเรียกว่า “อนิมิสเจดีย์” หรือเจดีย์ที่ไม่กระพริบตา
สัปดาห์ที่ ๓ : “รัตนจงกรมเจดีย์”
พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาเดินจงกรมอยู่ ๗ วัน ตรงระหว่างกลางแห่ง “อนิมิสเจดีย์” กับ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ทางด้านทิศเหนือของพระวิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา สถานที่ตรงนั้นได้ก่อฐานปูนสูงขึ้นประมาณ ๔ ฟุตจากพื้นถนน แล้วสลักหินเป็นรูปดอกบัวโตพอประมาณ ๑๙ ดอก แสดงว่าเป็นทางเดินจงกรมของพระพุทธเจ้า
สถานที่นี้จึงเรียกว่า “รัตนจงกรมเจดีย์” หรือเจดีย์แห่งทางจงกรมที่ประดับด้วยเพชรพลอย
สัตตมหาสถาน สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ 7 แห่ง
สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ 7 แห่ง
สัตตมหาสถาน หมายถึง สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง ที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) หลังจากตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ พุทธคยา แล้ว โดยแต่ละแห่งเป็นสถานที่รอบๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาแห่งละ ๑ สัปดาห์ รวม ๗ สัปดาห์ หรือ ๔๙ วัน เรียงตามลำดับดังต่อไปนี้
สัปดาห์ที่ ๑ : “พระแท่นวัชรอาสน์”
พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งสมาธิที่ “พระแท่นวัชรอาสน์” หรือโพธิบัลลังก์ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๗ วัน พระองค์ได้ทรงกำหนดนึกในพระหทัย เพื่อพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาทแบบตามลำดับตลอดปฐมยามแห่งราตรีนั้น แล้วมีพุทธอุทานว่า “ในการใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ผู้นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ”
ในเวลากลางคืน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาทแบบย้อนตามลำดับ คือ พิจารณาจากปลายมาจุดเริ่มแรกแล้วมีพุทธอุทานว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย”
ในปัจฉิมยาม ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งแบบตามลำดับและย้อนตามลำดับแล้วมีพุทธอุทานว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์ผู้นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศ ฉะนั้น”
หมายเหตุ : “พระมหาเจดีย์พุทธคยา” หรือ “พระมหาโพธิเจดีย์” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” โดยมี “พระแท่นวัชรอาสน์” หรือ “โพธิบัลลังก์” ซึ่งมีความหมายว่า “พระที่นั่งแห่งมหาบุรุษผู้ใจเพชร” ประดิษฐานคั่นอยู่ระหว่างกลาง
“พระแท่นวัชรอาสน์” นี้ พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้ทรงดำริให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่รองรับเครื่องสักการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่แต่ละครั้งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังเป็นจำนวนมากมาย โคนต้นไม้ที่เห็นในภาพนื้ คือ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อรักษาคุ้มครองพระแท่นและต้นพระศรีมหาโพธิ์ให้ปลอดภัยจากการสัมผัสจับต้องของผู้เข้าชม ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากไม่ขาดสายในแต่ละวัน ทางการจึงสร้างกำแพงล้อมต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นไว้ดั่งที่เห็นในภาพ กำแพงนี้ถูกตกแต่งด้วยพวงมาลัย ผ้าสีต่างๆ และสายธงทิวต่างๆ ที่ชาวพุทธนำมาบูชาผูกไว้รอบกำแพง จนผู้ชมเดินรอบฐานพระมหาเจดีย์พุทธคยาไม่สามารถมองเห็นพระแท่นได้ในระดับสายตา
พระพุทธองค์ทรงพระดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” เมื่อได้ระยะพอควรกับการทอดพระเนตร ก็ทรงหันกลับพระพักตร์มายืนพิจารณาต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้ประทับตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ทรงลืมพระเนตรโดยมิได้กระพริบเลยตลอดสัปดาห์ เพื่อทบทวนความทรงจำต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วโดยลำดับ ความหมุนเวียนผันแปรอันเกิดขึ้นตามอำนาจของสังขารจักรก็มาหยุดลงแค่นี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นที่ให้กำเนิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสัจธรรมอันบริสุทธิ์ สามารถชำระล้างกิเลสนานาชนิดของสัตว์โลกได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ทรงพอพระทัยในการตรัสรู้นี้เป็นอย่างยิ่ง
สถานที่นี้จึงเรียกว่า “อนิมิสเจดีย์” หรือเจดีย์ที่ไม่กระพริบตา
สัปดาห์ที่ ๓ : “รัตนจงกรมเจดีย์”
พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาเดินจงกรมอยู่ ๗ วัน ตรงระหว่างกลางแห่ง “อนิมิสเจดีย์” กับ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ทางด้านทิศเหนือของพระวิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา สถานที่ตรงนั้นได้ก่อฐานปูนสูงขึ้นประมาณ ๔ ฟุตจากพื้นถนน แล้วสลักหินเป็นรูปดอกบัวโตพอประมาณ ๑๙ ดอก แสดงว่าเป็นทางเดินจงกรมของพระพุทธเจ้า
สถานที่นี้จึงเรียกว่า “รัตนจงกรมเจดีย์” หรือเจดีย์แห่งทางจงกรมที่ประดับด้วยเพชรพลอย