เหตุปะทะที่บริเวณถนนรามคำแหง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ยังคงเป็นที่สับสนของคนจำนวนมากในสังคม ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ใครเป็นผู้เริ่มก่อเหตุ และใครคือผู้ใช้ความรุนแรง จนเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตขึ้นแก่กัน? ทีมข่าววอยซ์ทีวี ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อประมวลเหตุการณ์และบทสรุปที่ได้จากเหตุการณ์ครั้งดังกล่าว
เหตุการณ์ปะทะระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง และฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ในคืนวันที่ 30 พฤศจิกายน ไปจนถึงเช้าวันที่ 1 ธันวาคม บนถนนรามคำแหง รอบราชมังคลากีฬาสถาน คือเหตุปะทะทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดในรอบปี 2556 ด้วยตัวเลขผู้เสียชีวิต ที่ยืนยันอย่างเป็นทางการแล้ว 5 ราย และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้กลุ่ม นปช. จัดชุมนุมมาตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายนเพื่อแสดงพลังคัดค้านการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และนัดหมายระดมพลครั้งใหญ่ในวันที่ 30 พฤศจิกายน และช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ที่อ้างตนเองว่าเป็นกลุ่มนักศึกษารามคำแหง ได้ตั้งจุดสกัดดักทำร้ายคนเสื้อแดง ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน พวกเขาได้นัดชุมนุมย่อยที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ตรงกันกับวันที่มีการนัดระดมพลใหญ่ของคนเสื้อแดง ความรุนแรงเริ่มก่อตัวในช่วงเย็น ขณะที่ผู้ชุมนุมซึ่งเป็นนักศึกษาจำนวนมากอยู่ภายในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างสงบ
กลับมีกลุ่มชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่ง มีท่อนเหล็ก มีด และไม้เป็นอาวุธ นำรั้วแผงเหล็กมากั้นปิดถนนตั้งด่านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ดักสกัดและทำร้ายคนเสื้อแดง ตามที่ปรากฏภาพการรุมทุบรถแทกซี่ ซึ่งวิ่งผ่านถนนรามคำแหงมาทางราชมังคลากีฬาสถาน และการรุมทุบรถเมล์ซึ่งมีคนเสื้อแดงโดยสารมาอย่างบ้าคลั่ง
และเคลื่อนตัวมาประชิดทางเข้าสนามราชมังคลาฯ และปักหลักบริเวณป้ายรถเมล์ฝั่งตรงข้ามประตู 1 ยั่วยุกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งอยู่ภายในสนามให้ออกมาปะทะ ณ จุดนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่และกระบองได้ตั้งแนวกั้นกลางระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมสองฝั่ง รั้วราชมังคลากีฬาสถานฝั่งทางด้านหน้าถูกปิดสนิทและถนนรามคำแหงถูกปิดตายตั้งแต่นั้น
ส่วนกลุ่มคนเสื้อแดงภายในรั้วราชมังคลากีฬาสถาน เริ่มสรรหาสิ่งของเท่าที่จะหยิบฉวยได้ ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวเตรียมพร้อมสำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่อยู่นอกรั้ว ซึ่งอาจจะบุกเข้ามาได้ทุกเมื่อ
ระหว่างนั้นมีเพียงการขว้างปาสิ่งของ ขวดแก้ว ใส่กันเป็นระยะๆ แต่สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเมื่อยิ่งตกดึก เสียงปืน ระเบิดปิงปอง ปะทัด และพลุก็ยิ่งดังถี่ขึ้น มีความพยายามวิ่งข้ามฟากตอบโต้กันไปมาระหว่างสองฝั่ง ตามด้วยการปะทะบาดเจ็บประปราย ตลอดเวลาไปจนถึงช่วงเช้า
ในเวลาเดียวกัน ด้านหลังราชมังคลากีฬาสถานก็มีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้น แต่ทว่าในจุดนี้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำการอยู่เป็นจำนวนน้อยมาก ทำให้การปะทะมีความรุนแรงกว่าอีกด้าน ทั้งสองฝั่งมีอาวุธและเข้าห้ำหั่นกันอย่างหนักหน่วง ตั้งแต่ช่วงค่ำไปจนถึงเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น
จุดนี้เอง ที่มีการเสียชีวิตของทั้งสองฝ่ายถึง 2 ราย ประกอบไปด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 1 ราย คือนายทวีศักดิ์ โพธิแก้ว เสียชีวิตในเวลาประมาณ 19 นาฬิกา 30นาที ของวันที่ 30 พฤศจิกายน และคนเสื้อแดงหนึ่งราย คือพลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ เสียชีวิตในเช้ามืดของวันที่1 ธันวาคม ในซอยรามคำแหง 24
ตามมาด้วยการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงอีก 2 ราย ภายในการกีฬาแห่งประเทศไทย 1 รายคือนายวิโรจน์ เข็มนาค ถูกยิงบริเวณด้านล่างสนามกีฬาฝั่งติดกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในเช้ามืดของวันที่ 1 ธันวาคม และกรณีของนายวิษณุ เภาพู่ ถูกยิงบริเวณด้านหน้าประตู 2 ของราชมังคลากีฬาสถาน
ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลาย มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไปมากกว่านี้ แกนนำ นปช. ได้ประกาศยุติการชุมนุม และให้คนเสื้อแดงทั้งหมดถอนตัวทันที โดยใช้ประตู 4 ฝั่งหลังสนามกีฬาเป็นทางออก ภายใต้การอารักขาของตำรวจอย่างเข้มงวด
แต่เหตุการณ์ทั้งหมดก็ไม่ได้จบลงแต่เพียงเท่านี้ เพราะรามคำแหงยังคงเป็นสมรภูมิรบที่ไม่มีข้าศึก ของผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลต่อเนื่องไปอีกหนึ่งวันเต็มๆหลังจากนั้น และความตาย ก็ไม่ได้จบลงที่ 4 ศพของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น
รายงานพิเศษ "ย้อนรอยสมรภูมิรามคำแหง" ตอนที่ 1 : 'The Longest Night' "
เหตุปะทะที่บริเวณถนนรามคำแหง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ยังคงเป็นที่สับสนของคนจำนวนมากในสังคม ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ใครเป็นผู้เริ่มก่อเหตุ และใครคือผู้ใช้ความรุนแรง จนเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตขึ้นแก่กัน? ทีมข่าววอยซ์ทีวี ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อประมวลเหตุการณ์และบทสรุปที่ได้จากเหตุการณ์ครั้งดังกล่าว
เหตุการณ์ปะทะระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง และฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ในคืนวันที่ 30 พฤศจิกายน ไปจนถึงเช้าวันที่ 1 ธันวาคม บนถนนรามคำแหง รอบราชมังคลากีฬาสถาน คือเหตุปะทะทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดในรอบปี 2556 ด้วยตัวเลขผู้เสียชีวิต ที่ยืนยันอย่างเป็นทางการแล้ว 5 ราย และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้กลุ่ม นปช. จัดชุมนุมมาตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายนเพื่อแสดงพลังคัดค้านการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และนัดหมายระดมพลครั้งใหญ่ในวันที่ 30 พฤศจิกายน และช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ที่อ้างตนเองว่าเป็นกลุ่มนักศึกษารามคำแหง ได้ตั้งจุดสกัดดักทำร้ายคนเสื้อแดง ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน พวกเขาได้นัดชุมนุมย่อยที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ตรงกันกับวันที่มีการนัดระดมพลใหญ่ของคนเสื้อแดง ความรุนแรงเริ่มก่อตัวในช่วงเย็น ขณะที่ผู้ชุมนุมซึ่งเป็นนักศึกษาจำนวนมากอยู่ภายในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างสงบ
กลับมีกลุ่มชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่ง มีท่อนเหล็ก มีด และไม้เป็นอาวุธ นำรั้วแผงเหล็กมากั้นปิดถนนตั้งด่านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ดักสกัดและทำร้ายคนเสื้อแดง ตามที่ปรากฏภาพการรุมทุบรถแทกซี่ ซึ่งวิ่งผ่านถนนรามคำแหงมาทางราชมังคลากีฬาสถาน และการรุมทุบรถเมล์ซึ่งมีคนเสื้อแดงโดยสารมาอย่างบ้าคลั่ง
และเคลื่อนตัวมาประชิดทางเข้าสนามราชมังคลาฯ และปักหลักบริเวณป้ายรถเมล์ฝั่งตรงข้ามประตู 1 ยั่วยุกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งอยู่ภายในสนามให้ออกมาปะทะ ณ จุดนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่และกระบองได้ตั้งแนวกั้นกลางระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมสองฝั่ง รั้วราชมังคลากีฬาสถานฝั่งทางด้านหน้าถูกปิดสนิทและถนนรามคำแหงถูกปิดตายตั้งแต่นั้น
ส่วนกลุ่มคนเสื้อแดงภายในรั้วราชมังคลากีฬาสถาน เริ่มสรรหาสิ่งของเท่าที่จะหยิบฉวยได้ ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวเตรียมพร้อมสำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่อยู่นอกรั้ว ซึ่งอาจจะบุกเข้ามาได้ทุกเมื่อ
ระหว่างนั้นมีเพียงการขว้างปาสิ่งของ ขวดแก้ว ใส่กันเป็นระยะๆ แต่สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเมื่อยิ่งตกดึก เสียงปืน ระเบิดปิงปอง ปะทัด และพลุก็ยิ่งดังถี่ขึ้น มีความพยายามวิ่งข้ามฟากตอบโต้กันไปมาระหว่างสองฝั่ง ตามด้วยการปะทะบาดเจ็บประปราย ตลอดเวลาไปจนถึงช่วงเช้า
ในเวลาเดียวกัน ด้านหลังราชมังคลากีฬาสถานก็มีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้น แต่ทว่าในจุดนี้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำการอยู่เป็นจำนวนน้อยมาก ทำให้การปะทะมีความรุนแรงกว่าอีกด้าน ทั้งสองฝั่งมีอาวุธและเข้าห้ำหั่นกันอย่างหนักหน่วง ตั้งแต่ช่วงค่ำไปจนถึงเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น
จุดนี้เอง ที่มีการเสียชีวิตของทั้งสองฝ่ายถึง 2 ราย ประกอบไปด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 1 ราย คือนายทวีศักดิ์ โพธิแก้ว เสียชีวิตในเวลาประมาณ 19 นาฬิกา 30นาที ของวันที่ 30 พฤศจิกายน และคนเสื้อแดงหนึ่งราย คือพลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ เสียชีวิตในเช้ามืดของวันที่1 ธันวาคม ในซอยรามคำแหง 24
ตามมาด้วยการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงอีก 2 ราย ภายในการกีฬาแห่งประเทศไทย 1 รายคือนายวิโรจน์ เข็มนาค ถูกยิงบริเวณด้านล่างสนามกีฬาฝั่งติดกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในเช้ามืดของวันที่ 1 ธันวาคม และกรณีของนายวิษณุ เภาพู่ ถูกยิงบริเวณด้านหน้าประตู 2 ของราชมังคลากีฬาสถาน
ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลาย มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไปมากกว่านี้ แกนนำ นปช. ได้ประกาศยุติการชุมนุม และให้คนเสื้อแดงทั้งหมดถอนตัวทันที โดยใช้ประตู 4 ฝั่งหลังสนามกีฬาเป็นทางออก ภายใต้การอารักขาของตำรวจอย่างเข้มงวด
แต่เหตุการณ์ทั้งหมดก็ไม่ได้จบลงแต่เพียงเท่านี้ เพราะรามคำแหงยังคงเป็นสมรภูมิรบที่ไม่มีข้าศึก ของผู้ชุมนุมฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลต่อเนื่องไปอีกหนึ่งวันเต็มๆหลังจากนั้น และความตาย ก็ไม่ได้จบลงที่ 4 ศพของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น