อ้อมกอดของคาร์ล ชมิตต์
ข้อเสนอสภาประชาชน และนายกรัฐมนตรีมาตรา 3 หรือ 7 ของสุเทพ เทือบสุบรรณ ผู้ต้องหากบฎของตำรวจ และ ที่ประชุมอธิการบดี (ที่อยากมีอำนาจทางการเมืองทางลัด) เสมือนนัดแนะกันล่วงหน้า เป็นสิ่งที่คุ้นๆอย่างยิ่ง กับข้อเสนอ”การเมืองใหม่”เมื่อ 4 ปีก่อนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ยังคงมีมนต์เสน่ห์สำหรับคนที่เกลียด”ระบอบทักษิณ”อย่างเข้ากระดูกดำ ปมปัญหาที่บรรดามวลชนผู้เกลียดชัง”ระบอบทักษิณ” และการเมืองแบบรัฐสภา ที่ชื่นชมหรือนิยมแนวคิดตามข้อเสนอของสุเทพ หรือ กลุ่มอธิการบดี ควรตระหนักและเข้าใจให้ถ่องแท้จากนี้ไปก็คือว่า แนวคิดดังกล่าว ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นแนวคืดเก่าที่น่าสยดสยอง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเผด็จการเบ็ดเสร็จโดย ”พ่ออุปถัมภ์ของลัทธินาซี”ในเยอรมนีของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพวก เต็มเปา (ไม่ว่าโดยเจตนาหรือบังเอิญ)
คาร์ล ชมิตต์ นักปรัชญาการเมืองและกฎหมายของเยอรมันยุคก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขียนหนังสือปรัชญาการเมืองชื่อ “วิกฤตของประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา”(Crisis of Parliamantary Democracy) ไว้เมื่อ ค.ศ. 1932 ซึ่งถูกพวกพรรคชาติสังคมนิยม หรือ นาซี ของฮิตเลอร์ เอาไปเป็นคัมภีร์หลัก ลากถูเยอรมนีหายนะ และสังหารหมู่ศัตรูทางการเมืองหลายล้านคนในเวลาต่อมา
ปรัชญารากฐานของชมิตต์ เริ่มต้นจากพื้นฐานความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อมนุษย์ว่า มีทั้งเสมอภาคกันและไม่เสอมภาคกัน โดยมนุษย์มีธรรมชาติที่จะเลือกปฏิบัติกับคนที่เป็นมิตรอย่างเสมอภาค และคนที่ไม่ใช่มิตรหรือศัตรูอย่างไม่เสมอภาค
จากพื้นฐานดังกล่าว ชมิตต์นำไปอธิบายความสัมพันธ์และการจัดระเบียบโครงสร้างทางการเมืองว่า การจำแนกมิตรและศัตรู จะทำให้สังคมที่เป็นประชาธิปไตยมีความชัดเจนในการสร้างเจตจำนงของรัฐขึ้นมาได้โดยมีเป้าหมายชัดเจน รัฐในความหมายของชมิตต์นั้น ยืมเอามาจากนิยามของ เฮเกลโดยตรง นั่นคือ มีฐานะเป็นองค์ประธานสูงสุดทางจริยธรรมของปวงชน ที่สามารถตัดสินด้วยตนเอง รัฐจึงมีฐานะและคุณค่าอยู่เหนือกฎหมาย, ศีลธรรม และระบบเหตุผลทั้งปวง ไม่จำเป็นต้องขึ้นต่อปทัสถานทางจริยธรรมอื่นใด หรืออีกนัยหนึ่ง รัฐคือพระเจ้าผู้ซึ่งเราไม่มีวันหยั่งถึงเจตจำนงได้ (State as a willful and inscrutable God) เมื่อเจตจำนงสูงสุดของสังคมคือรัฐ ดังนั้น ประชาธิปไตย แนวคิดเสรีนิยม และ ระบบรัฐสภา จึงต้องพิจารณา แยกแยะจากกัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนตาสว่างเห็นว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น ไปกันไม่ได้เลยกับระบบรัฐสภาจากการเลือกตั้ง
เหตุผล คือ รัฐสภาที่มาจากนักการเมืองผ่านกระบวนเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่ฉ้อฉล ทำให้สถานภาพของบุคคลที่เป็นตัวแทนปวงชนสับสน เนื่องจาก ผู้ถูกปกครองกลายสภาพเป็นผู้ปกครองอย่างสับสนเลอะเทอะ และบ่อนทำลายเอกภาพกับอัตลักษณ์ของรัฐ ชมิตต์เห็นว่า ขันติธรรมทางความคิดแบบเสรีนิยม ที่มีต่อความเห็นต่างขั้วกัน คือ การลวงโลก (liberal tolerance towards opposing political views is deceiving) เพราะแท้จริงมีเป้าหมายเพื่อการประนีประนอมผลประโยชน์ จึงไร้ประสิทธิภาพ และงุ่มง่ามในการตัดสินใจ เมื่อ กระบวนการต่อรองในรัฐสภาทุกชนิด ล้วนมีเป้าหมายมุ่งสู่การประนีประนอมเฉพาะหน้า และ”ขายผ้าเอาหน้ารอด”ชั่วคราว และ ตอบสนองผลประโยชน์หรือพฤติกรรมสามานย์ของพวกกระฎุมพีเท่านั้น จึงไม่สอดรับกับเจตจำนงของรัฐและมวลมหาประชาชน
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง จะต้องเริ่มต้นที่การสร้างเอกภาพอย่างสมบูรณ์ให้กับรัฐและสาธารณะ มุ่งขจัดความหลากหลายยอกย้อนในรัฐสภาจากการเลือกตั้ง ที่ทำให้สูญเสียเอกภาพ รัฐที่มีประสิทธิภาพ และสร้างเจตจำนงสูงสุดให้ปวงชนได้ จึงต้อง”ลดความเป็นการเมือง”(depoliticizations) ซึ่งจะสามารถขจัดวาทกรรมบนปลายลิ้นที่ว่างเปล่าของนักเลือกตั้งอาชีพที่มีพฤติกรรมลับๆล่อๆ จากสายตาของมวลชน เพื่อปล้นชิงความมั่งคั่งและสิทธิธรรมของสาธารณชน วิธีการลดความเป็นการเมืองของชมิตต์ เพื่อสร้าง ประชาธิปไต่ที่ปราศจากการเมือง(Apolitical Democracy)คือ การจำแนกมิตร และศัตรูของรัฐออก แล้วก็ทำลายพวกที่ถูกถือศัตรูไปลงให้ราบคาบ (หากไม่มีศัตรู ก็ต้องสร้างมันขึ้นมา แล้วหาทางทำลายลงไป) ชมิตต์ระบุชัดเจนว่า การลายล้างสัตรูของประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น ไม่ถือเป็นการทำลายประชาธิปไตย (to exclude one part of those governed without ceasing to be a democracy) แต่เป็นการฟอกขาวประชาธิปไตยให้สะอาดบริสุทธิ์
ข้อเสนอของชมิตต์นั้น ประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่จำต้องพึ่งพาหลักการเรื่องถ่วงดุลตามแนวทางเสรีนิยมของเจเรมี เบนแธม โดยระบุว่า หากจำเป็นต้องมีรัฐสภา(ซึ่งมาจากระบบสัดส่วนโดยการสรรหาและระบบเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์) รัฐสภาจะต้องมีอำนาจต่ำกว่าผู้นำบริหารของรัฐซึ่งเป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่แท้จริงที่ถือครองเจตจำนงแห่งรัฐ ผลลัพธ์ของประชาธิปไตยที่แท้จริง
ตามข้อเสนอของชมิตต์เป็นเช่นไร คงทราบกันดี เพราะประวัติศาสตร์ของเยอรมนีภายใต้พรรคนาซีก็ยืนยันชัดแล้ว แต่มาถึงยามนี้ คนไทยบางกลุ่มกำลังเชื่อมั่นว่า การปัดฝุ่นเอาประชาธิปไตยที่แท้จริงของชมิตต์มาใช้ จะสามารถหยั่งรากในสังคมไทย และทำลายล้าง”ระอบทักษิณ”ให้สิ้นทราก เพื่อให้บ้านเมือง”สะอาดหมดจด” ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ชวนสยดสยองยิ่งนัก
โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายใต้กำมือของรัฏฐาธิปัตย์ที่เยี่ยมยอดอย่าง สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้บรรลุแล้ว ใครจะเอาก็เอาเถอะครับ ผู้เขียนในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์คนหนึ่งละ ที่จะไม่เอาด้วยเป็นอันขาด เพราะกลัว”การเมืองบริสุทธิ์ที่ปราศจากการเมือง”ยิ่งยวด
วิษณุ เชาวลิตกุล
สุเทพ เทือกสุบรรณ กับแนวคิดของฮิตเลอร์
ข้อเสนอสภาประชาชน และนายกรัฐมนตรีมาตรา 3 หรือ 7 ของสุเทพ เทือบสุบรรณ ผู้ต้องหากบฎของตำรวจ และ ที่ประชุมอธิการบดี (ที่อยากมีอำนาจทางการเมืองทางลัด) เสมือนนัดแนะกันล่วงหน้า เป็นสิ่งที่คุ้นๆอย่างยิ่ง กับข้อเสนอ”การเมืองใหม่”เมื่อ 4 ปีก่อนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ยังคงมีมนต์เสน่ห์สำหรับคนที่เกลียด”ระบอบทักษิณ”อย่างเข้ากระดูกดำ ปมปัญหาที่บรรดามวลชนผู้เกลียดชัง”ระบอบทักษิณ” และการเมืองแบบรัฐสภา ที่ชื่นชมหรือนิยมแนวคิดตามข้อเสนอของสุเทพ หรือ กลุ่มอธิการบดี ควรตระหนักและเข้าใจให้ถ่องแท้จากนี้ไปก็คือว่า แนวคิดดังกล่าว ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นแนวคืดเก่าที่น่าสยดสยอง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเผด็จการเบ็ดเสร็จโดย ”พ่ออุปถัมภ์ของลัทธินาซี”ในเยอรมนีของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพวก เต็มเปา (ไม่ว่าโดยเจตนาหรือบังเอิญ)
คาร์ล ชมิตต์ นักปรัชญาการเมืองและกฎหมายของเยอรมันยุคก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขียนหนังสือปรัชญาการเมืองชื่อ “วิกฤตของประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา”(Crisis of Parliamantary Democracy) ไว้เมื่อ ค.ศ. 1932 ซึ่งถูกพวกพรรคชาติสังคมนิยม หรือ นาซี ของฮิตเลอร์ เอาไปเป็นคัมภีร์หลัก ลากถูเยอรมนีหายนะ และสังหารหมู่ศัตรูทางการเมืองหลายล้านคนในเวลาต่อมา ปรัชญารากฐานของชมิตต์ เริ่มต้นจากพื้นฐานความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อมนุษย์ว่า มีทั้งเสมอภาคกันและไม่เสอมภาคกัน โดยมนุษย์มีธรรมชาติที่จะเลือกปฏิบัติกับคนที่เป็นมิตรอย่างเสมอภาค และคนที่ไม่ใช่มิตรหรือศัตรูอย่างไม่เสมอภาค
จากพื้นฐานดังกล่าว ชมิตต์นำไปอธิบายความสัมพันธ์และการจัดระเบียบโครงสร้างทางการเมืองว่า การจำแนกมิตรและศัตรู จะทำให้สังคมที่เป็นประชาธิปไตยมีความชัดเจนในการสร้างเจตจำนงของรัฐขึ้นมาได้โดยมีเป้าหมายชัดเจน รัฐในความหมายของชมิตต์นั้น ยืมเอามาจากนิยามของ เฮเกลโดยตรง นั่นคือ มีฐานะเป็นองค์ประธานสูงสุดทางจริยธรรมของปวงชน ที่สามารถตัดสินด้วยตนเอง รัฐจึงมีฐานะและคุณค่าอยู่เหนือกฎหมาย, ศีลธรรม และระบบเหตุผลทั้งปวง ไม่จำเป็นต้องขึ้นต่อปทัสถานทางจริยธรรมอื่นใด หรืออีกนัยหนึ่ง รัฐคือพระเจ้าผู้ซึ่งเราไม่มีวันหยั่งถึงเจตจำนงได้ (State as a willful and inscrutable God) เมื่อเจตจำนงสูงสุดของสังคมคือรัฐ ดังนั้น ประชาธิปไตย แนวคิดเสรีนิยม และ ระบบรัฐสภา จึงต้องพิจารณา แยกแยะจากกัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนตาสว่างเห็นว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น ไปกันไม่ได้เลยกับระบบรัฐสภาจากการเลือกตั้ง
เหตุผล คือ รัฐสภาที่มาจากนักการเมืองผ่านกระบวนเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่ฉ้อฉล ทำให้สถานภาพของบุคคลที่เป็นตัวแทนปวงชนสับสน เนื่องจาก ผู้ถูกปกครองกลายสภาพเป็นผู้ปกครองอย่างสับสนเลอะเทอะ และบ่อนทำลายเอกภาพกับอัตลักษณ์ของรัฐ ชมิตต์เห็นว่า ขันติธรรมทางความคิดแบบเสรีนิยม ที่มีต่อความเห็นต่างขั้วกัน คือ การลวงโลก (liberal tolerance towards opposing political views is deceiving) เพราะแท้จริงมีเป้าหมายเพื่อการประนีประนอมผลประโยชน์ จึงไร้ประสิทธิภาพ และงุ่มง่ามในการตัดสินใจ เมื่อ กระบวนการต่อรองในรัฐสภาทุกชนิด ล้วนมีเป้าหมายมุ่งสู่การประนีประนอมเฉพาะหน้า และ”ขายผ้าเอาหน้ารอด”ชั่วคราว และ ตอบสนองผลประโยชน์หรือพฤติกรรมสามานย์ของพวกกระฎุมพีเท่านั้น จึงไม่สอดรับกับเจตจำนงของรัฐและมวลมหาประชาชน
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง จะต้องเริ่มต้นที่การสร้างเอกภาพอย่างสมบูรณ์ให้กับรัฐและสาธารณะ มุ่งขจัดความหลากหลายยอกย้อนในรัฐสภาจากการเลือกตั้ง ที่ทำให้สูญเสียเอกภาพ รัฐที่มีประสิทธิภาพ และสร้างเจตจำนงสูงสุดให้ปวงชนได้ จึงต้อง”ลดความเป็นการเมือง”(depoliticizations) ซึ่งจะสามารถขจัดวาทกรรมบนปลายลิ้นที่ว่างเปล่าของนักเลือกตั้งอาชีพที่มีพฤติกรรมลับๆล่อๆ จากสายตาของมวลชน เพื่อปล้นชิงความมั่งคั่งและสิทธิธรรมของสาธารณชน วิธีการลดความเป็นการเมืองของชมิตต์ เพื่อสร้าง ประชาธิปไต่ที่ปราศจากการเมือง(Apolitical Democracy)คือ การจำแนกมิตร และศัตรูของรัฐออก แล้วก็ทำลายพวกที่ถูกถือศัตรูไปลงให้ราบคาบ (หากไม่มีศัตรู ก็ต้องสร้างมันขึ้นมา แล้วหาทางทำลายลงไป) ชมิตต์ระบุชัดเจนว่า การลายล้างสัตรูของประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น ไม่ถือเป็นการทำลายประชาธิปไตย (to exclude one part of those governed without ceasing to be a democracy) แต่เป็นการฟอกขาวประชาธิปไตยให้สะอาดบริสุทธิ์
ข้อเสนอของชมิตต์นั้น ประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่จำต้องพึ่งพาหลักการเรื่องถ่วงดุลตามแนวทางเสรีนิยมของเจเรมี เบนแธม โดยระบุว่า หากจำเป็นต้องมีรัฐสภา(ซึ่งมาจากระบบสัดส่วนโดยการสรรหาและระบบเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์) รัฐสภาจะต้องมีอำนาจต่ำกว่าผู้นำบริหารของรัฐซึ่งเป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่แท้จริงที่ถือครองเจตจำนงแห่งรัฐ ผลลัพธ์ของประชาธิปไตยที่แท้จริง ตามข้อเสนอของชมิตต์เป็นเช่นไร คงทราบกันดี เพราะประวัติศาสตร์ของเยอรมนีภายใต้พรรคนาซีก็ยืนยันชัดแล้ว แต่มาถึงยามนี้ คนไทยบางกลุ่มกำลังเชื่อมั่นว่า การปัดฝุ่นเอาประชาธิปไตยที่แท้จริงของชมิตต์มาใช้ จะสามารถหยั่งรากในสังคมไทย และทำลายล้าง”ระอบทักษิณ”ให้สิ้นทราก เพื่อให้บ้านเมือง”สะอาดหมดจด” ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ชวนสยดสยองยิ่งนัก
โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายใต้กำมือของรัฏฐาธิปัตย์ที่เยี่ยมยอดอย่าง สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้บรรลุแล้ว ใครจะเอาก็เอาเถอะครับ ผู้เขียนในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์คนหนึ่งละ ที่จะไม่เอาด้วยเป็นอันขาด เพราะกลัว”การเมืองบริสุทธิ์ที่ปราศจากการเมือง”ยิ่งยวด
วิษณุ เชาวลิตกุล