ก่อนอื่นแนะนำก่อนว่าตัวผมนั้นใช้มือถือ Samsung galaxy S4 ซึ่งมีระบบ NFC รองรับบริการ App AIS Mpay ให้ และเมื่อสัปดาห์ก่อน ทาง SS ได้มีโปร Gift แจกซิม AIS Mpay Rabbit ที่ BTS SIAM ก็เลยเอามาลองใช้ดูครับ ในส่วนของผมจะเน้นใช้งานกับ AIS M-Pay Rabbit โดยเฉพาะการขึ้นรถไฟฟ้า BTS ครับ
ตอนแรกที่ได้บัตรรับซิมที่ AIS มาก็ต้องนำไปแลกเป็นซิม Mpay Rabbit ที่ Shop AIS ก่อน ขั้นตอนก็เหมือนเปลี่ยนซิมใหม่ทั่วไปครับ จากนั้นเราจะต้องโหลด App Mpay มาจาก Google play มาลงเครื่องครับ แอพจะเป็นรูปกระเป๋าตังสีแดง
พอเราเข้าแอพไป แอพจะให้เราลงทะเบียนก่อนและให้เติมเงินที่เรียกว่า M-cash ซึ่งอาจจะเติมเงินผ่าน ATM คล้ายๆ เติมเงินมือถือ หรือ ผูกเข้ากับบัญชีธนาคารก็ได้ครับ ส่วนตัวผมเลือกเติมผ่าน ATM ก่อน เพราะยังไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัย เมื่อเติมเงินเข้าไปแล้วจำนวนเงินก็จะเข้าในบัญชีของ M-Cash ตามจำนวนเงินที่เราเติมก่อนครับ จากนั้นเราก็จะต้องนำเงินจากบัญชี M-pay นี้ไปโอนเข้าบัญชีสำหรับใช้จ่ายต่างๆ เช่น Rabbit card รถไฟฟ้า BTS , เติมเงินให้มือถือ , จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ หรือบริการอื่นๆครับ ตามวิธีการใช้งานของเว็บด้านล่างเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://mobiledista.com/the-ais-mpay-rabbit/
สิ่งที่ผมใช้มา 1 อาทิตย์ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ เป็น Rabbit card ขึ้นรถไฟฟ้า เติมเงินมือถือ จ่ายโดนัท เป็นต้น พอจะนำประสบการณ์มาเล่าได้บ้างดังนี้ครับ
เรื่องการใช้เป็นบัตรบริการรถไฟฟ้า BTS นั้น ใช้งานได้ดีพอสมควรครับ เวลาใช้จะมีการบอกยอดเงินคงเหลือให้เรา และสามารถเช็คได้ด้วยว่าเราขึ้นที่ไหนลงสถานีไหนได้อีกด้วย ปัญหาของการใช้ขึ้นรถไฟฟ้าสำหรับตัวผมก็คือ ในบางครั้งคือก่อนการใช้ต้องมีการเข้าเมนู M-pay rabbit นั้นอาจจะต้องใช้เวลาบ้าง ในกรณีที่เวลาเร่งด่วนเราจะต้องเสียเวลาในการเปิดหน้า App มาใช้ ซึ่งตรงนี้การใช้บัตร Rabbit ธรรมดาอาจจะเร็วกว่าคือ ถอดออกจากกระเป๋าตังแล้ว แตะประตูเข้าไปเลยไม่ต้องเสียเวลาเข้าแอพ
อีกเรื่องหนึ่งคือการใช้มือถือแตะประตูเพื่อเข้าออก BTS นั้น ตรงนี้อาจจะเจอปัญหาที่ว่าสแกนไม่ค่อยติดบ้าง ซึ่งอันนี้ผมพอรู้สาเหตุว่าอาจจะมาจากจุดส่งสัญญาณ NFC ของมือถือแต่ละเครื่องมีตำแหน่งไม่เหมือนกัน ดังนั้นอาจจะต้องศึกษามือถือของตัวเองด้วยว่าจุดปล่อยสัญญาณ NFC อยู่ตรงไหน หรือว่าเคสของโทรศัพท์อาจเป็นแม่เหล็กทำให้เกิดคลื่นรบกวนได้
สิ่งที่อาจจะทำให้มีปัญหาในการออกจากสถานี BTS เลยก็คือในกรณีที่เราใช้บริการรถไฟฟ้าเสร็จแล้ว กำลังจะออกประตูปรากฏว่าในบริเวณนั้นเป็นจุดอับสัญญาณอินเตอร์เน็ตมือถือ หรือเมนูค้างอยู่ที่คำว่า "ระบบกำลังทำรายการ" ทำให้ไม่สามารถออกจากสถานีได้ ผมเคยเจอเหตุการณ์นี้ครั้งนึงตรง BTS หมอชิต ช่วงนั้นเน็ตมือถือไม่เดิน ออกจากสถานีไม่ได้ โดยจะมีสัญญาณเตือนคล้ายๆกับบัตรตังหมดประมาณนั้นครับ ก็เลยต้องเดินหาสัญญาณสักพักแล้วถึงจะออกมาได้ครับ
โดยสรุปนะครับ ผมคิดว่าการใช้บริการ AIS M-pay นั้นถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่อาจจะมีปัญหาบ้าง โดยเฉพาะการใช้เป็นบัตรขึ้นรถไฟฟ้า BTS ที่อาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาด้วย ดังนั้นใครที่คิดว่าการใช้บัตร M-pay Rabbit ขึ้นรถไฟฟ้าจะทำให้เราสะดวกรวดเร็วขึ้นอาจจะต้องคิดหนักหน่อยนะครับเพราะในบางครั้งผมคิดว่าการใช้บัตร Rabbit ธรรมดาอาจจะเร็วกว่า ซึ่งอันนี้อาจจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเฉพาะผมก็ได้นะครับ ส่วนเรื่องการใช้บริการอื่นๆ เช่น การเติมเงินโทรศัพท์มือถือ การชำระค่าสินค้า ผมให้ผ่านครับ สามารถใช้เป็นกระเป๋าเงินสำรองได้ในบางโอกาสครับ ถ้าหากพัฒนาให้ใช้กับร้านสะดวกซื้ออื่นๆได้นี่ถือว่าโอเคเลยครับ นี่ก็เป็นประสบการณ์การใช้ AIS Mpay ของผมในช่วง 1 อาทิตย์แรก ถ้ามีโอกาสใช้บริการอื่นๆของ Mpay นอกเหนือจากนี้จะนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
[SR] รีวิวประสบการ์ใช้งาน AIS M pay 1 อาทิตย์แรกครับ
ตอนแรกที่ได้บัตรรับซิมที่ AIS มาก็ต้องนำไปแลกเป็นซิม Mpay Rabbit ที่ Shop AIS ก่อน ขั้นตอนก็เหมือนเปลี่ยนซิมใหม่ทั่วไปครับ จากนั้นเราจะต้องโหลด App Mpay มาจาก Google play มาลงเครื่องครับ แอพจะเป็นรูปกระเป๋าตังสีแดง
พอเราเข้าแอพไป แอพจะให้เราลงทะเบียนก่อนและให้เติมเงินที่เรียกว่า M-cash ซึ่งอาจจะเติมเงินผ่าน ATM คล้ายๆ เติมเงินมือถือ หรือ ผูกเข้ากับบัญชีธนาคารก็ได้ครับ ส่วนตัวผมเลือกเติมผ่าน ATM ก่อน เพราะยังไม่แน่ใจเรื่องความปลอดภัย เมื่อเติมเงินเข้าไปแล้วจำนวนเงินก็จะเข้าในบัญชีของ M-Cash ตามจำนวนเงินที่เราเติมก่อนครับ จากนั้นเราก็จะต้องนำเงินจากบัญชี M-pay นี้ไปโอนเข้าบัญชีสำหรับใช้จ่ายต่างๆ เช่น Rabbit card รถไฟฟ้า BTS , เติมเงินให้มือถือ , จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ หรือบริการอื่นๆครับ ตามวิธีการใช้งานของเว็บด้านล่างเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สิ่งที่ผมใช้มา 1 อาทิตย์ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ เป็น Rabbit card ขึ้นรถไฟฟ้า เติมเงินมือถือ จ่ายโดนัท เป็นต้น พอจะนำประสบการณ์มาเล่าได้บ้างดังนี้ครับ
เรื่องการใช้เป็นบัตรบริการรถไฟฟ้า BTS นั้น ใช้งานได้ดีพอสมควรครับ เวลาใช้จะมีการบอกยอดเงินคงเหลือให้เรา และสามารถเช็คได้ด้วยว่าเราขึ้นที่ไหนลงสถานีไหนได้อีกด้วย ปัญหาของการใช้ขึ้นรถไฟฟ้าสำหรับตัวผมก็คือ ในบางครั้งคือก่อนการใช้ต้องมีการเข้าเมนู M-pay rabbit นั้นอาจจะต้องใช้เวลาบ้าง ในกรณีที่เวลาเร่งด่วนเราจะต้องเสียเวลาในการเปิดหน้า App มาใช้ ซึ่งตรงนี้การใช้บัตร Rabbit ธรรมดาอาจจะเร็วกว่าคือ ถอดออกจากกระเป๋าตังแล้ว แตะประตูเข้าไปเลยไม่ต้องเสียเวลาเข้าแอพ
อีกเรื่องหนึ่งคือการใช้มือถือแตะประตูเพื่อเข้าออก BTS นั้น ตรงนี้อาจจะเจอปัญหาที่ว่าสแกนไม่ค่อยติดบ้าง ซึ่งอันนี้ผมพอรู้สาเหตุว่าอาจจะมาจากจุดส่งสัญญาณ NFC ของมือถือแต่ละเครื่องมีตำแหน่งไม่เหมือนกัน ดังนั้นอาจจะต้องศึกษามือถือของตัวเองด้วยว่าจุดปล่อยสัญญาณ NFC อยู่ตรงไหน หรือว่าเคสของโทรศัพท์อาจเป็นแม่เหล็กทำให้เกิดคลื่นรบกวนได้
สิ่งที่อาจจะทำให้มีปัญหาในการออกจากสถานี BTS เลยก็คือในกรณีที่เราใช้บริการรถไฟฟ้าเสร็จแล้ว กำลังจะออกประตูปรากฏว่าในบริเวณนั้นเป็นจุดอับสัญญาณอินเตอร์เน็ตมือถือ หรือเมนูค้างอยู่ที่คำว่า "ระบบกำลังทำรายการ" ทำให้ไม่สามารถออกจากสถานีได้ ผมเคยเจอเหตุการณ์นี้ครั้งนึงตรง BTS หมอชิต ช่วงนั้นเน็ตมือถือไม่เดิน ออกจากสถานีไม่ได้ โดยจะมีสัญญาณเตือนคล้ายๆกับบัตรตังหมดประมาณนั้นครับ ก็เลยต้องเดินหาสัญญาณสักพักแล้วถึงจะออกมาได้ครับ
โดยสรุปนะครับ ผมคิดว่าการใช้บริการ AIS M-pay นั้นถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่อาจจะมีปัญหาบ้าง โดยเฉพาะการใช้เป็นบัตรขึ้นรถไฟฟ้า BTS ที่อาจจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาด้วย ดังนั้นใครที่คิดว่าการใช้บัตร M-pay Rabbit ขึ้นรถไฟฟ้าจะทำให้เราสะดวกรวดเร็วขึ้นอาจจะต้องคิดหนักหน่อยนะครับเพราะในบางครั้งผมคิดว่าการใช้บัตร Rabbit ธรรมดาอาจจะเร็วกว่า ซึ่งอันนี้อาจจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเฉพาะผมก็ได้นะครับ ส่วนเรื่องการใช้บริการอื่นๆ เช่น การเติมเงินโทรศัพท์มือถือ การชำระค่าสินค้า ผมให้ผ่านครับ สามารถใช้เป็นกระเป๋าเงินสำรองได้ในบางโอกาสครับ ถ้าหากพัฒนาให้ใช้กับร้านสะดวกซื้ออื่นๆได้นี่ถือว่าโอเคเลยครับ นี่ก็เป็นประสบการณ์การใช้ AIS Mpay ของผมในช่วง 1 อาทิตย์แรก ถ้ามีโอกาสใช้บริการอื่นๆของ Mpay นอกเหนือจากนี้จะนำมาเล่าสู่กันฟังครับ