ปลาเล็กอย่าง ปลาหางนกยูง ปลาทอง ปลาหางดาบ มีสมองขนาดไหน เป็นสัตว์สังคมไหมคะ

ถามในแง่ของวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา นะคะ
ที่ไม่มองในแง่ของจิตวิญญาณ ความสงสาร ความรู้สึก นะคะ

เพราะอย่างพวกสัตว์เล็กบางจำพวก
การดำรงอยู่ การกิน การเคลื่อนไหว อาศัยสัญชาติญาณ

แล้วอย่างปลาเล็ก ล่ะคะ

ที่สงสัย ก็เพราะ


- เห็นบางคน เลี้ยงปลาตู้ โดยมีปลาตัวเดียวบ้าง (อย่าง เช่นปลามังกร เดี่ยว ๆ  แม้จะเป็นขนาดใหญ่กว่าที่ยกตัวอย่างในหัวกระทู้ก็ตาม)
- เห็นบางคน เลี้ยงปนกันแบบหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ก็มีตัวเดียว เช่น เลี้ยงปลาทอง 4-5 พันธุ์ ในตู้เดียวกัน แต่ว่า มีแค่พันธุ์ละตัว
- บางคน ก็เลี้ยง แค่ตัวเดียวเลย (ปลาทอง ในโหล ตั้งบนโต๊ะ อย่างที่เห็นในหนังหลายเรื่อง)

แล้ว อีกอย่างถ้าเราจะเลี้ยงปลาหางนกยูง หลายตัว
แต่มีเพื่อนจะโละปลาหางดาบมาให้ตัวหนึ่ง (เพราะเขาเลี้ยงเหลือตัวเดียว แล้วจะเลิกเลี้ยงแล้ว)
จะมีผลให้มันเครียดหรือไม่ (หาก มองในแง่สัตว์สังคม)

หรือว่า ปลา สื่อสาร-สังคม ข้ามพันธุ์กันได้ (แบบใน หนังการ์ตูน Finding Nemo)


ขอบคุณทุกความเห็นล่วงหน้าค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ตอบ
ปลาที่ว่ามาไม่ใช่สัตว์สังคมครับ แม้จะว่ายเป็นฝูง แต่นั้นไม่ใช่สังคมของมันจริง ๆ เพราะมันใช้สัญชาติญาณ และเอาเข้าจริง ๆ ปลาหางนกยูงไม่ได้ว่ายเป็นฝูงด้วย

ปลาเล็กไม่สามารถสื่อสารแบบซับซ้อนได้เหมือนปลาใหญ่ อย่างปลานิล จะฉลาดกว่าปลาหางนกยูงชัดเจน

แต่ปลาเล็กจะสื่อสารแบบเบสิค ๆ โดยใช้ภาษากายแทน คือ โกรธ ว่ายไล่ตัวอื่น อ้าปากขู่ ทำให้ตัวเองสีเข้ม ถอดสี หรือหายใจแรงเป็นต้น

พวกมันสมองเล็กมาก และแทบไม่มีการจดจำถึงอันตรายใด ๆ เลย เช่น เคยถูกปลาตัวนี้กัดมาทีนึง ไม่นาน มันก็จะว่ายไปที่เดิมให้โดนกัดอีก

ปลาจะเครียดหรือไม่เครียด อยู่ที่สภาพน้ำ การจัดสถานที่ในตู้ ความสว่าง ความเป็นกรดเป็นด่างและเพื่อนร่วมตู้ ถ้าปลาในสภาพแวดล้อมเป็นพวกตัวใหญ่ ๆ ชอบไล่ แบบนี้ปลาคุณจะถอดสี และหลบมุม เครียด บางตัวก็เป็นตัวดำไปเลย

ถ้าในกรณีของปลาสอด ก็คงไม่มีปัญหาครับ ปัญหาความเครียดน้อยด้วย เพราะสมองเล็ก ไม่มีกลไกลสลับซับซ้อน ดังนั้น ถ้าน้ำดี ปลาจะกลับมากินอาหารได้อย่างรวดเร็ว ไม่เหมือนพวกปลาไอคิวสูง ๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่