คนที่ชอบอ้างตำราอย่างเดียวเวลาถูกถามปัญหาธรรมะหรืออธิบายธรรมะนั้น อย่าคิดว่านั่นเป็นการบ่งบอกถึงความเฉลียวฉลาด เพราะการอ้างตำรานั้นแสดงถึงความไม่แน่ใจหรือไม่รู้ความจริงในสิ่งที่แสดงไป ถ้าเรามีความแน่ในในสิ่งที่เราแสดงไปแล้ว เราไม่จำเป็นต้องอ้างตำราก็ได้
การอ้างตำรานั้น บางคนอาจจะคิดว่าคนอ้างมีความรู้มาก แต่ความจริงแล้วก็เป็นแค่การได้อ่านแล้วจำมาอ้างเท่านั้น ซึ่งยังเป็นปัญญาขั้นฟังมา(สุตมยปัญญา)เท่านั้น
อีกทั้งพระพุทธเจ้าก็ยังสอนว่า "อย่าเชื่อเพียงเราเหตุว่ามีตำราอ้างอิง" เพราะตำรานั้นเราก็ไม่รู้ว่ามันถูกต้องหรือไม่? คือเราก็ไม่รู้ว่าคนแต่งตำรานั้นมีความรู้ถูกต้องหรือไม่ ถ้ากรณีที่คนแต่งมีความรู้ถูกต้อง แต่เราก็ไม่รู้ว่าตำรานั้นได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับหรือไม่ ถ้าเราเชื่อตำรา เราก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับความรู้ที่ผิดๆมาโดยไม่รู้ตัว
ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงที่สาวกจะได้รับคำสอนที่ผิดเพี้ยน พระพุทธเจ้าจึงได้สอนว่าอย่าเพิ่งไปเชื่อตำราใดๆ จนกว่าเราจะได้พิสูจน์จนเห็นผลจริงก่อนจึงค่อยเชื่อ ถ้าไม่ได้ผลก็อย่าเชื่อ อย่างนี้เราจะได้รับแต่ความรู้ที่ถูกต้องเสมอ ไม่มีทางได้รับความรู้ที่ผิดเพี้ยนได้ ซึ่งนี่นับเป็นพระปัญญาอันสูงส่งของพระพุทธเจ้าโดยแท้
การอ้างตำรานั้น ถ้าเราสามารถอธิบายเหตุผลให้คนอ่านได้เข้าใจได้แล้วเราจะอ้างตำรามาสนับสนุนเหตุผลนั้นด้วยก็ได้ แต่การอ้างตำราเพียงอย่างเดียวโดยไม่อธิบายเหตุผลนั้น ไม่นับว่าคนอ้างเป็นผู้มีความเข้าใจในเนื้อหาธรรมะที่นำมาอ้างนั้นเลย อย่างนี้เขาเรียกว่า ลูบๆคลำๆตำรา คือไม่ได้เอาจริง หรือไม่ได้พิจารณาเนื้อหาจากตำรานั้นจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจริงๆ
อ้างตำราอย่าคิดว่าฉลาด
การอ้างตำรานั้น บางคนอาจจะคิดว่าคนอ้างมีความรู้มาก แต่ความจริงแล้วก็เป็นแค่การได้อ่านแล้วจำมาอ้างเท่านั้น ซึ่งยังเป็นปัญญาขั้นฟังมา(สุตมยปัญญา)เท่านั้น
อีกทั้งพระพุทธเจ้าก็ยังสอนว่า "อย่าเชื่อเพียงเราเหตุว่ามีตำราอ้างอิง" เพราะตำรานั้นเราก็ไม่รู้ว่ามันถูกต้องหรือไม่? คือเราก็ไม่รู้ว่าคนแต่งตำรานั้นมีความรู้ถูกต้องหรือไม่ ถ้ากรณีที่คนแต่งมีความรู้ถูกต้อง แต่เราก็ไม่รู้ว่าตำรานั้นได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับหรือไม่ ถ้าเราเชื่อตำรา เราก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับความรู้ที่ผิดๆมาโดยไม่รู้ตัว
ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงที่สาวกจะได้รับคำสอนที่ผิดเพี้ยน พระพุทธเจ้าจึงได้สอนว่าอย่าเพิ่งไปเชื่อตำราใดๆ จนกว่าเราจะได้พิสูจน์จนเห็นผลจริงก่อนจึงค่อยเชื่อ ถ้าไม่ได้ผลก็อย่าเชื่อ อย่างนี้เราจะได้รับแต่ความรู้ที่ถูกต้องเสมอ ไม่มีทางได้รับความรู้ที่ผิดเพี้ยนได้ ซึ่งนี่นับเป็นพระปัญญาอันสูงส่งของพระพุทธเจ้าโดยแท้
การอ้างตำรานั้น ถ้าเราสามารถอธิบายเหตุผลให้คนอ่านได้เข้าใจได้แล้วเราจะอ้างตำรามาสนับสนุนเหตุผลนั้นด้วยก็ได้ แต่การอ้างตำราเพียงอย่างเดียวโดยไม่อธิบายเหตุผลนั้น ไม่นับว่าคนอ้างเป็นผู้มีความเข้าใจในเนื้อหาธรรมะที่นำมาอ้างนั้นเลย อย่างนี้เขาเรียกว่า ลูบๆคลำๆตำรา คือไม่ได้เอาจริง หรือไม่ได้พิจารณาเนื้อหาจากตำรานั้นจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจริงๆ