คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ไม่เกี่ยวครับ
กลไกรักษาความร้อนของร่างกาย ไม่ได้ทำอย่างนั้นแน่นอน
มันเป็นเรื่องของฟิสิกส์เรื่องการพาความร้อน และกลไกทางสรีรวิทยาครับ
ปกติแล้วเวลาที่ร่างกายเจอกับอุณหภูมิภายนอกที่เย็น ๆ เช่น ตอนอาบน้ำเย็น
เมื่อน้ำเย็นสัมผัสผิวหนัง ร่างกายจะสูญเสียความร้อนที่ผิวหนังผ่านทาง "การพาความร้อน"
เลือดประกอบด้วยน้ำ ซึ่งน้ำเป็นสารที่มีความจุความร้อนจำเพาะสูง ร่างกายเรามีอุณภูมิ 37 องศาเซลเซียส เลือดก็จะมีอุณหภูมิเท่ากันด้วย
การดังนั้น การดึงเอาพลังงานความร้อนออกจากเลือด จึงเป้นการดึงเอาพลังงานความร้อนออกจากร่างกายในปริมาณมากพอควรเลย
เพื่อไม่ให้เกิดการพาความร้อนออกจากเลือด ร่างกายจึงเกิดการหดตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง (Vasoconstriction) เมื่อหลอดเลือดหดตัว
มันก็มีรัศมีเล็กลง และมีความต้านทานมากขึ้น เพื่อลดปริมาณของเลือดที่มาที่ผิวหนังครับ (ควานต้านทางของท่อจะแปรผกผันกับรัศมี เหมือนกับเวลาที่เราบีบสายยางนะครับ น้ำจะมาได้น้อยลง)
พอเลือดมาที่ผิวหนังน้อยลง ก็จะมีการพาความร้อนออกไปน้อยลง
คุณจึงเห้นว่า เวลาอากาศหนาว ๆ มือเท้าจะเย็นเฉียบ ถ้าหนาวมาก ๆ หลอดเลือดจะหดตัว มีเลือดมาน้อยซะจน ปลายมือปลายเท้าเขียว หรือ ชาไปเลยก็มี ใช่ไหมครับ มันอธิบายได้ด้วยกลไกนี้
"แต่หลอดเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังนั้น มันไม่เกี่ยวอะไรกับหลอดเลือดที่มาเลี้ยงทางเดินอาหารเลย" มาจากคนละตอกันเลยครับ
ต่อให้ที่ผิวหนังคุณหด ก็ไม่ได้จำเป็นว่าที่กะเพราะอาหารจะต้องหดเหมือนกันด้วย
หลอดเลือดของทางเดินอาหาร จะมีการขยายตัว (Vasodilation) เมื่อ มีอาหารในทางเดินอาหาร เพื่อรับสารอาหารไปยังร่างกาย ครับ
เวลาคุณกินข้าวใหม่ ๆ จะง่วงหนังตาหย่อน เพราะเลือดมัวแต่ไปเลี้ยงทางเดินอาหารไงครับ (เลยไปสมองกับกล้ามเนื้อลดลง ห้า ๆๆ)
เมื่อไม่มีความจำเป้นต้องใช้ทางเดินอาหาร เช่น เวลาไม่ได้กินอะไรเลย มันจะมีการหดตัว (vasoconstriction)
และจะหดรัดจนแน่นปั๋ง ในกรณีทีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ถ้า คุณโดนมีดตัดแขนขาดเสียเลือดมาก ต้องสำรองนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ เป็นต้น ร่างกายจะคิดว่า ตอนนี้เลือดน้อยนะ เอาไปให้สมองดีกว่า ไม่ต้องเอามาที่ทางเดินอาหารหรอก เพราะสมองขาดเลือดแล้วตาย แต่ทางเดินอาหารพอทนไหว
ดังนั้น ไม่เกี่ยวกันครับ
กลไกรักษาความร้อนของร่างกาย ไม่ได้ทำอย่างนั้นแน่นอน
มันเป็นเรื่องของฟิสิกส์เรื่องการพาความร้อน และกลไกทางสรีรวิทยาครับ
ปกติแล้วเวลาที่ร่างกายเจอกับอุณหภูมิภายนอกที่เย็น ๆ เช่น ตอนอาบน้ำเย็น
เมื่อน้ำเย็นสัมผัสผิวหนัง ร่างกายจะสูญเสียความร้อนที่ผิวหนังผ่านทาง "การพาความร้อน"
เลือดประกอบด้วยน้ำ ซึ่งน้ำเป็นสารที่มีความจุความร้อนจำเพาะสูง ร่างกายเรามีอุณภูมิ 37 องศาเซลเซียส เลือดก็จะมีอุณหภูมิเท่ากันด้วย
การดังนั้น การดึงเอาพลังงานความร้อนออกจากเลือด จึงเป้นการดึงเอาพลังงานความร้อนออกจากร่างกายในปริมาณมากพอควรเลย
เพื่อไม่ให้เกิดการพาความร้อนออกจากเลือด ร่างกายจึงเกิดการหดตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง (Vasoconstriction) เมื่อหลอดเลือดหดตัว
มันก็มีรัศมีเล็กลง และมีความต้านทานมากขึ้น เพื่อลดปริมาณของเลือดที่มาที่ผิวหนังครับ (ควานต้านทางของท่อจะแปรผกผันกับรัศมี เหมือนกับเวลาที่เราบีบสายยางนะครับ น้ำจะมาได้น้อยลง)
พอเลือดมาที่ผิวหนังน้อยลง ก็จะมีการพาความร้อนออกไปน้อยลง
คุณจึงเห้นว่า เวลาอากาศหนาว ๆ มือเท้าจะเย็นเฉียบ ถ้าหนาวมาก ๆ หลอดเลือดจะหดตัว มีเลือดมาน้อยซะจน ปลายมือปลายเท้าเขียว หรือ ชาไปเลยก็มี ใช่ไหมครับ มันอธิบายได้ด้วยกลไกนี้
"แต่หลอดเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังนั้น มันไม่เกี่ยวอะไรกับหลอดเลือดที่มาเลี้ยงทางเดินอาหารเลย" มาจากคนละตอกันเลยครับ
ต่อให้ที่ผิวหนังคุณหด ก็ไม่ได้จำเป็นว่าที่กะเพราะอาหารจะต้องหดเหมือนกันด้วย
หลอดเลือดของทางเดินอาหาร จะมีการขยายตัว (Vasodilation) เมื่อ มีอาหารในทางเดินอาหาร เพื่อรับสารอาหารไปยังร่างกาย ครับ
เวลาคุณกินข้าวใหม่ ๆ จะง่วงหนังตาหย่อน เพราะเลือดมัวแต่ไปเลี้ยงทางเดินอาหารไงครับ (เลยไปสมองกับกล้ามเนื้อลดลง ห้า ๆๆ)
เมื่อไม่มีความจำเป้นต้องใช้ทางเดินอาหาร เช่น เวลาไม่ได้กินอะไรเลย มันจะมีการหดตัว (vasoconstriction)
และจะหดรัดจนแน่นปั๋ง ในกรณีทีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ถ้า คุณโดนมีดตัดแขนขาดเสียเลือดมาก ต้องสำรองนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ เป็นต้น ร่างกายจะคิดว่า ตอนนี้เลือดน้อยนะ เอาไปให้สมองดีกว่า ไม่ต้องเอามาที่ทางเดินอาหารหรอก เพราะสมองขาดเลือดแล้วตาย แต่ทางเดินอาหารพอทนไหว
ดังนั้น ไม่เกี่ยวกันครับ
แสดงความคิดเห็น
ห้ามอาบน้ำ หลังทานข้าวเป็นเรื่องจริงไหมครับ