ผมรู้จักเว็บบอร์ดแห่งนี้มานานพอสมควร เมื่อก่อนก็แค่เข้ามาอ่านเฉยๆ ไม่ค่อยได้ตั้งกระทู้และชักชวนเพื่อนๆ ในเว็บบอร์ดให้ร่วมสนทนาหรือถกเถียงในประเด็นอะไรมากมายนัก ไม่ได้เป็นคนสนใจอะไรเป็นพิเศษ ชอบอะไรหลายอย่าง สนใจอะไรหลายเรื่อง เป็นเป็ดที่ไม่ได้มีความรู้เฉพาะเจาะจงอะไรสักอย่าง (แม้แต่เรื่องที่ร่ำเรียนมายังคืนอาจารย์ไปบ้างเลย) ผมจึงไม่ได้เป็นแฟนประจำของห้องใดห้องหนึ่งใน Pantip เป็นพิเศษ ไปมันทั่วตั้งแต่ห้องกล้อง ห้องสมุด มาบุญครอง หว้ากอ สีลม หรือแม้แต่ ราชดำเนิน
หลายวันนี้มาผมเห็นจำนวนกระทู้ในห้องราชดำเนินที่มีอัตราการตั้งกระทู้ใหม่และการตอบกระทู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามอุณหภูมิการเมืองในปัจจุบัน เห็นหลายๆ คนบ่นว่ากระทู้ตกไปเร็วมาก ก็ไม่ว่ากันหรอกครับ Internet มันเป็นพื้นที่สาธารณะ ใครอยากจะพูดอะไร ระบายอะไร มันก็เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล แต่จำนวนกระทู้และความเห็นที่เกิดขึ้นมันทำให้ผมนึกถึงเทคโนโลยี ADSL และเทคโนโลยีบรอดแบนด์อื่นๆ ที่ใช้ตามบ้านหรือที่เค้าเรียกกันว่า Consumer Broadband อย่าเพิ่งงงครับ ผมจะเล่าให้ฟังว่าสองเรื่องนี่มันเกี่ยวกันยังไง
ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Asymmetric นั่นก็คือมันออกแบบมาให้ Download Speed มากกว่า Upload Speed. ตอนมันเข้ามาใหม่ๆ ผมเคยคิดว่าทำไมมันไม่ออกแบบให้ D/L = U/L วะ ผมจะได้เอามาใช้แทน Leased Line เพราะค่าเช่า Leased Line มันโคตรแพงอ่ะ พี่คนนึงที่ทำงานด้วยกันเค้าก็บอกว่า
"เพราะมันเป็น Consumer Broadband ไง โดยทั่วไปแล้ว เราจะดึงข้อมูลจาก Internet มากกว่าที่จะส่งข้อมูลขึ้นไปบน internet"
คำพูดนี้มันเป็นจริงสำหรับคนรุ่นผมนะครับ Generation ที่โตมาพร้อมกับ Dial Up Modem 33.6k จนเป็น 56k ต่อ ISP ติดช่วง 2 ทุ่มนี่ดีใจเหมือนถูกหวย ไม่มี Facebook, Instagram หรือแม้แต่ webboard เหมือนทุกวันนี้
ผมเป็นคนรุ่นที่โตมาและคุ้นเคยกับการใช้ internet เพื่อการ "อ่าน" หรือดึงข้อมูลเพื่อมาใช้งาน มากกว่าที่จะ "เขียน" หรือส่งอะไรขึ้นไปบน Internet ในเมื่อพฤติกรรมการใช้งานของคนส่วนใหญ่รวมทั้ง Application ต่างๆ มันเป็นแบบนั้น เทคโนโลยี Consumer Broadband ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น ADSL, VDSL, Cable Modem หรือแม้แต่ 3G WCDMA, HSPA /4G LTE ที่เราใช้กันทุกวันนี้ล้วนถูกออกแบบให้เรา "อ่าน" หรือดึงข้อมูล มากกว่าที่จะ "เขียน" หรือส่งข้อมูลขึ้นไปบน internet
แต่ทุกอย่างมันก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา คน Generation ใหม่ๆ เติบโตมากับความรู้สึกอยากมีตัวตนบนโลกออนไลน์ ผ่านทางการ Chat/Share/Comment/Upload รวมถึงการตั้งกระทู้ บางครั้งตัวผมเองก็ยังรู้สึกถึงการอยากได้รับการยอมรับหรือการมีตัวตนบนโลกเสมือนนี้เลย นับประสาอะไรกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีและการเข้าถึง Internet แทบจะทุกเวลา
ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะรู้สึกว่า ผมเหนื่อยหน่ายกับหลายเรื่องในบ้านเมืองเราเหลือเกิน ในโลกที่หมุนเร็วขึ้นนี้ ความอดทนของคนในสังคมดูจะลดลงเรื่อยๆ เราพร้อมจะตอบโต้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดไม่เหมือนกัน โดยยอมอดทนรับฟังได้น้อยมาก ถ้าเทียบกับการใช้งาน Pantip ผมก็รู้สึกว่าทุกคนพร้อมที่จะ "เขียน" เพื่อที่จะบอกโลกว่าฉันมีตัวตนอยู่ในโลกนี้นะ แต่เราให้เวลากับการ "อ่าน" หรือยอมรับการมีตัวตนของคนอื่นน้อยลง
ถ้ากระทู้นี้ทำให้หลายๆ คนได้ตระหนักรู้ในสิ่งเหล่านี้บ้าง และได้ย้อนกลับมามองตัวเอง ผมก็รู้สึกดีใจ แต่ถ้ากระทู้นี้ทำให้ท่านใดขัดเคืองใจในสิ่งที่ผมได้พูดถึงก็ขออโหสิผมด้วยเถิดครับ ขอสติจงอยู่กับท่านทุกคน การได้ละวาง ถอยตัวเองออกมาห่างๆ อาจจะดีกว่าในบางสถานการณ์นะครับ ผมไม่เคยไปม็อบ ไม่ได้มีอุดมการณ์อะไรที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนชั้นกลางที่ทำมาหากินตามปกติ ไม่ทำอะไรให้เป็นภาระกับคนอื่นในสังคม เลี้ยงดูและอบรมลูกให้อยู่ในทำนองคลองธรรมและสอนให้เขาคิดเป็นวิเคราะห์เป็นและรับผิดชอบตัวเอง ไม่ได้มีสี (แต่เวลาใครพูดถึงสลิ่มก็แอบสะดุ้งเหมือนกันนะ อาจจะเพราะว่าเป็นคนที่อาศัยอยู่ กทม. แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไรหรอก)
ท้ายที่สุดนี้ผมขอยกข้อความนี้มาปิดท้ายกระทู้นี้หน่อยแล้วกันนะครับ
“google อาจตอบคําถามเราได้ทุกคําถาม แต่ google ไม่สามารถบอกเราว่าควรถามอะไร” (โตมร ศุขปรีชา)
โลกศตวรรษใหม่สร้างความท้าทายใหม่หลายประการ หนึ่ง โลกได้เคลื่อนสู่ “สังคมความรู้” เราไม่จำเป็นต้องท่องจำกันต่อไป ทุกอย่างหาได้จากอินเทอร์เน็ต แต่ทักษะใหม่คือที่จําเป็นคือ ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ทักษะในการเลือกสรรข้อมูลและประมวลข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่อย่างท่วมท้น
ที่ยกมานี้เป็นสรุปการบรรยายเรื่อง “การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิต” ซึ่งบรรยายโดย อ.ปกป้อง จันวิทย์ ในงานสัมมนาวิชาการของ TDRI ซึ่งหาฉบับเต็มอ่านได้ตาม Link ข้างล่างนี้
http://thaipublica.org/2013/11/tdri-year-end-4/
อ้อ อย่าลืมหาหรือซื้อหนังสือจริงๆ กันบ้างนะครับ แม้ว่า internet จะให้คำตอบกับแทบทุกคำถามของคุณได้ แต่ผมก็เชื่อว่ามาตรฐานการคัดกรองและตรวจสอบของสิ่งพิมพ์ในปัจจุบันยังเหนือกว่า internet มากครับ
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้นะครับ (รู้สึกว่าผมเยิ่นเย้อเหมือนกันนะเนี่ย)
ผมถึงกับต้องมาปรับเปลี่ยนชื่อกระทู้กันเลยทีเดียวเพราะหลายคนเข้าใจว่าผมอยากรู้เรื่อง Broadband หรือผมเขียนไม่รู้เรื่องจริงๆ เนี่ย
รู้ไหมทำไมเทคโนโลยี Broadband ต่างๆ จึงออกแบบให้ D/L Speed > U/L Speed: คิดเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะจำนวนกระทู้ของห้อง รดน
หลายวันนี้มาผมเห็นจำนวนกระทู้ในห้องราชดำเนินที่มีอัตราการตั้งกระทู้ใหม่และการตอบกระทู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามอุณหภูมิการเมืองในปัจจุบัน เห็นหลายๆ คนบ่นว่ากระทู้ตกไปเร็วมาก ก็ไม่ว่ากันหรอกครับ Internet มันเป็นพื้นที่สาธารณะ ใครอยากจะพูดอะไร ระบายอะไร มันก็เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล แต่จำนวนกระทู้และความเห็นที่เกิดขึ้นมันทำให้ผมนึกถึงเทคโนโลยี ADSL และเทคโนโลยีบรอดแบนด์อื่นๆ ที่ใช้ตามบ้านหรือที่เค้าเรียกกันว่า Consumer Broadband อย่าเพิ่งงงครับ ผมจะเล่าให้ฟังว่าสองเรื่องนี่มันเกี่ยวกันยังไง
ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Asymmetric นั่นก็คือมันออกแบบมาให้ Download Speed มากกว่า Upload Speed. ตอนมันเข้ามาใหม่ๆ ผมเคยคิดว่าทำไมมันไม่ออกแบบให้ D/L = U/L วะ ผมจะได้เอามาใช้แทน Leased Line เพราะค่าเช่า Leased Line มันโคตรแพงอ่ะ พี่คนนึงที่ทำงานด้วยกันเค้าก็บอกว่า
"เพราะมันเป็น Consumer Broadband ไง โดยทั่วไปแล้ว เราจะดึงข้อมูลจาก Internet มากกว่าที่จะส่งข้อมูลขึ้นไปบน internet"
คำพูดนี้มันเป็นจริงสำหรับคนรุ่นผมนะครับ Generation ที่โตมาพร้อมกับ Dial Up Modem 33.6k จนเป็น 56k ต่อ ISP ติดช่วง 2 ทุ่มนี่ดีใจเหมือนถูกหวย ไม่มี Facebook, Instagram หรือแม้แต่ webboard เหมือนทุกวันนี้
ผมเป็นคนรุ่นที่โตมาและคุ้นเคยกับการใช้ internet เพื่อการ "อ่าน" หรือดึงข้อมูลเพื่อมาใช้งาน มากกว่าที่จะ "เขียน" หรือส่งอะไรขึ้นไปบน Internet ในเมื่อพฤติกรรมการใช้งานของคนส่วนใหญ่รวมทั้ง Application ต่างๆ มันเป็นแบบนั้น เทคโนโลยี Consumer Broadband ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น ADSL, VDSL, Cable Modem หรือแม้แต่ 3G WCDMA, HSPA /4G LTE ที่เราใช้กันทุกวันนี้ล้วนถูกออกแบบให้เรา "อ่าน" หรือดึงข้อมูล มากกว่าที่จะ "เขียน" หรือส่งข้อมูลขึ้นไปบน internet
แต่ทุกอย่างมันก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา คน Generation ใหม่ๆ เติบโตมากับความรู้สึกอยากมีตัวตนบนโลกออนไลน์ ผ่านทางการ Chat/Share/Comment/Upload รวมถึงการตั้งกระทู้ บางครั้งตัวผมเองก็ยังรู้สึกถึงการอยากได้รับการยอมรับหรือการมีตัวตนบนโลกเสมือนนี้เลย นับประสาอะไรกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีและการเข้าถึง Internet แทบจะทุกเวลา
ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะรู้สึกว่า ผมเหนื่อยหน่ายกับหลายเรื่องในบ้านเมืองเราเหลือเกิน ในโลกที่หมุนเร็วขึ้นนี้ ความอดทนของคนในสังคมดูจะลดลงเรื่อยๆ เราพร้อมจะตอบโต้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดไม่เหมือนกัน โดยยอมอดทนรับฟังได้น้อยมาก ถ้าเทียบกับการใช้งาน Pantip ผมก็รู้สึกว่าทุกคนพร้อมที่จะ "เขียน" เพื่อที่จะบอกโลกว่าฉันมีตัวตนอยู่ในโลกนี้นะ แต่เราให้เวลากับการ "อ่าน" หรือยอมรับการมีตัวตนของคนอื่นน้อยลง
ถ้ากระทู้นี้ทำให้หลายๆ คนได้ตระหนักรู้ในสิ่งเหล่านี้บ้าง และได้ย้อนกลับมามองตัวเอง ผมก็รู้สึกดีใจ แต่ถ้ากระทู้นี้ทำให้ท่านใดขัดเคืองใจในสิ่งที่ผมได้พูดถึงก็ขออโหสิผมด้วยเถิดครับ ขอสติจงอยู่กับท่านทุกคน การได้ละวาง ถอยตัวเองออกมาห่างๆ อาจจะดีกว่าในบางสถานการณ์นะครับ ผมไม่เคยไปม็อบ ไม่ได้มีอุดมการณ์อะไรที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนชั้นกลางที่ทำมาหากินตามปกติ ไม่ทำอะไรให้เป็นภาระกับคนอื่นในสังคม เลี้ยงดูและอบรมลูกให้อยู่ในทำนองคลองธรรมและสอนให้เขาคิดเป็นวิเคราะห์เป็นและรับผิดชอบตัวเอง ไม่ได้มีสี (แต่เวลาใครพูดถึงสลิ่มก็แอบสะดุ้งเหมือนกันนะ อาจจะเพราะว่าเป็นคนที่อาศัยอยู่ กทม. แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไรหรอก)
ท้ายที่สุดนี้ผมขอยกข้อความนี้มาปิดท้ายกระทู้นี้หน่อยแล้วกันนะครับ
“google อาจตอบคําถามเราได้ทุกคําถาม แต่ google ไม่สามารถบอกเราว่าควรถามอะไร” (โตมร ศุขปรีชา)
โลกศตวรรษใหม่สร้างความท้าทายใหม่หลายประการ หนึ่ง โลกได้เคลื่อนสู่ “สังคมความรู้” เราไม่จำเป็นต้องท่องจำกันต่อไป ทุกอย่างหาได้จากอินเทอร์เน็ต แต่ทักษะใหม่คือที่จําเป็นคือ ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ทักษะในการเลือกสรรข้อมูลและประมวลข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่อย่างท่วมท้น
ที่ยกมานี้เป็นสรุปการบรรยายเรื่อง “การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อผลิต” ซึ่งบรรยายโดย อ.ปกป้อง จันวิทย์ ในงานสัมมนาวิชาการของ TDRI ซึ่งหาฉบับเต็มอ่านได้ตาม Link ข้างล่างนี้
http://thaipublica.org/2013/11/tdri-year-end-4/
อ้อ อย่าลืมหาหรือซื้อหนังสือจริงๆ กันบ้างนะครับ แม้ว่า internet จะให้คำตอบกับแทบทุกคำถามของคุณได้ แต่ผมก็เชื่อว่ามาตรฐานการคัดกรองและตรวจสอบของสิ่งพิมพ์ในปัจจุบันยังเหนือกว่า internet มากครับ
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้นะครับ (รู้สึกว่าผมเยิ่นเย้อเหมือนกันนะเนี่ย)
ผมถึงกับต้องมาปรับเปลี่ยนชื่อกระทู้กันเลยทีเดียวเพราะหลายคนเข้าใจว่าผมอยากรู้เรื่อง Broadband หรือผมเขียนไม่รู้เรื่องจริงๆ เนี่ย