นักประวัติศาสตร์มักกล่าวว่า กงล้อประวัติศาสตร์มักจะหมุนกลับมาเสมอๆ เหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันโดยเงื่อนไขสองเหตุการณ์กำลังทับซ้อนกันอย่างเหลือเชื่อ กล่าวคือ การชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นอมินีทักษิณของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปี 2551 นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล กับเหตุการณ์การปฏิวัติโดยประชาชนเมื่อวันที่ 24-25 พ.ย. 2556 ที่ผ่านมาที่นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ
ความคล้ายคลึงกันของทั้งสองเหตุการณ์นั้นก็มาจากจุดเริ่มต้นจุดเดียวกันคือการลุแก่อำนาจของทักษิณ ชินวัตร ผ่านนอมินี โดยอาศัยความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย จนเป็นเหตุให้ประชาชนทุกภาคส่วนพากันหลั่งไหลมาชุมนุมร่วมกันและยกระดับเป็นการขับไล่ระบอบทักษิณในที่สุด
เมื่อมองย้อนกลับไป หากไม่มีการสลับขั้วการเมืองที่จัดกันในค่ายทหารในครั้งนั้น ประเทศไทยคงจะมีการปฏิรูปทางการเมืองไปเป็นที่เรียบร้อย การเมืองไทยคงจะใสสะอาด ไม่ต่องกลับมาอยู่ในวังวนของสองพรรคผลัดกันชมสมบัติจนประชาชนพากันเดือดร้อนกลายเป็นบันไดให้นักการเมืองนำมาขยายผลจนต้องกลับมาประท้วงกันใหม่ในวันนี้
วันนี้สุเทพ เทือกสุบรรณ คงสัมผัสรับรู้กับตัวเองแล้วว่า ศรัทธาและความคาดคาดหวังของมวลชนที่มาร่วมสู้ด้วยใจบริสุทธิ์ร่วมแรงร่วมใจกับเขาในขณะนี้นั้น มันแตกต่างกับอำนาจและเกมการเมืองที่ตนเองเคยสวมหัวโขนสมัยเป็นนักการเมืองมากแค่ไหน ได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ ชุบชีวิตใหม่ให้เขาอย่างไร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากสุเทพ เทือกสุบรรณ จะหมดความพิสมัยจากการเป็นนักการเมืองแล้วจริงๆ และนำไปสู่กับการตัดสินใจครั้งสำคัญของชีวิต
การหักดิบเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมราชดำเนิน เข้ายึดสถานที่ราชการ ประสานและบูรณาการกับกลุ่ม คปท. และกปท. จนทำให้ตนเองต้องโดนออกหมายจับเช่นเดียวกับแกนนำพันธมิตรเมื่อครั้งโน้น เป็นการปลดแอกครั้งสำคัญที่พิสูจน์ตัวเองของสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ว่ากันว่าสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ใหญ่หัวอนุรักษ์นิยมของพรรคประชาธิปัตย์ไม่น้อย
เชื่อว่าการประกาศสู้หมดหน้าตักของสุเทพ เทือกสุบรรณเพื่อปิดเกมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็คงจะตกผลึกเหมือนกับที่ สนธิ ลิ้มทองกุล ได้เคยผ่านจุดตรงนั้นมาแล้วว่าระบบรัฐสภาไทยนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การสลับขั้วทางการเมือง และการลาออกของนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่การยุบสภา ไม่ใช่คำตอบในการแก้ปัญหา หากไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองเสียใหม่ เพิ่มอำนาจการตรวจสอบให้กับภาคประชาชน แก้ไขที่มาของคนที่จะมาทำหน้าที่ในสภาให้หลากหลาย และปรับกติกาของคนที่จะมาทำหน้าที่ตัวแทนของประชาชน แก้ไขเรื่องปัญหาการทุจริตคอรัปชัน ปฏิรูปพลังงาน และปฏิรูปตำรวจ เสียก่อน มิเช่นนั้นก็จะเป็นการว่ายวนอยู่ในอ่างผลัดกันประท้วงไม่จบไม่สิ้น
แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดตรงนั้นได้ โจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องฟันฝ่าไปให้ได้คือ ทำอย่างไรถึงจะล้มรัฐบาลได้เป็นสิ่งแรกเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การปฏิรูป ก้าวเดินนับจากนี้เป็นต้นไปจะถือว่าเป็นการต่อสู้ที่แท้จริงที่เอาชาติเป็นเดิมพัน ไม่ใช่แค่การเป่านกหวีดออกมารวมตัวถ่ายไอจีโชว์ความเก๋ในเฟซบุ๊กกันอย่างสนุกสนานอีกต่อไป
บทเรียนอันล้ำค่าที่สนธิ ลิ้มทองกุลและแกนนำพันธมิตรได้เคยผ่านมาแล้ว และเป็นสัจธรรมเสมอที่สุเทพ เทือกสุบรรณต้องบริหารจัดการให้ดีคือ ไม่ว่าประชาชนจะยึดที่ทำการรัฐบาลอย่างไร เช่นสมัยก่อนพันธมิตรยึดทำเนียบ ล้อมสภา มาวันนี้ม็อบราชดำเนินยึดกระทรวงการคลัง หากทหารไม่เคลื่อนไหวก็ยากที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ เกิดขึ้นทั้งนั้น
ซึ่งทหารก็คงจะไม่ใช้วิธีเดิมๆ ให้มีการสลับขั้วสวิงไปยังพรรคประชาธิปัตย์อีก และประชาชนก็ยิ่งไม่ยอมเพราะไม่ต่างอะไรกับการวนกลับไปที่เดิม และผิดวัตถุประสงค์ที่สู้กันมาจนถึงขั้นนี้ กับการที่จะเดินหน้าล้มระบอบทักษิณเพื่อปฏิรูปประเทศไทย
นับจากวันที่ 24-25 พ.ย. ที่ผ่านมา สถานะของสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และก็ยิ่งหันหลังกลับไปไม่ได้อย่างแท้จริง กล่าวคือถ้าไม่เป็น “ผู้นำการปฏิวัติประชาชน” ก็ต้องเป็น “กบฏ” ดังนั้นเส้นทางของสุเทพเทือกสุบรรณกับพรรคประชาธิปัตย์หัวอนุรักษ์นิยมจึงมีเป้าหมายที่ต่างออกไป พรรคประชาธิปัตย์จะมีกรอบที่จะเดินไปกับสุเทพจนถึงที่สุดไม่ได้ เพราะนั่นหมายถึงการเสี่ยงที่จะโดนยุบพรรคถ้าออกแอคชั่นมากไปกว่านี้ และนั่นเป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายชวน หลีกภัย จะไม่มีวันยอมให้เกิดขึ้น
ที่สำคัญการต่อสายกับทหาร โดยเฉพาะกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ไม่เหมือนเมื่อครั้งที่สุเทพ เทือกสุบรรณสามารถต่อสายคุยได้ครั้งเป็นรองนายกฯ ด้านความมั่นคง หรือเหมือนเมื่อครั้งยังมีอำนาจอยู่ในพรรคที่สามารถสลับขั้วได้หากมีอุบัติเหตุทางการเมือง และ วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าทั้งเชื่อฟังและทั้งรักทั้งหลงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาหอย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากเพียงใด
สุเทพ เทือกสุบรรณในวันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับสนธิ ลิ้มทองกุลในวันนั้น ที่นอกจากจะเจอกระหนาบทั้งสองข้างแล้ว ยังต้องเจออกับพวกโลกสวยที่ชอบขี้ไม่สุด จากที่ชุมนุมด้วยกัน ก็เริ่มตีตัวออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยที่ไปยึดสถานที่ราชการอีก ทั้งๆ ที่มันเป็นหมากที่เลี่ยงไม่ได้ในการที่จะทำให้รัฐบาลทรราชต้องหมดสภาพ
ดังนั้นชั่วโมงนี้คงจะไม่มีใครเข้าใจหัวอกของสุเทพ เทือกสุบรรณ มากไปกว่าสนธิ ลิ้มทองกุล คนที่สุเทพเคยมองว่าเป็นหอกข้างแคร่ของพรรคประชาธิปัตย์เสมอมา ทั้งนี้ใครจะคิดว่าคนที่เคยมองข้ามการเมืองข้างถนนของภาคประชาชน อย่างสุเทพจะกลับกลายเป็นวีรบุรุษข้างถนนท่ามกลางประชาชนที่รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างทุกวันนี้
"ต้องช่วยสุเทพ เพราะหากมันแพ้ มันหมายถึงคนไทยทุกคนแพ้ อนาคตประเทศนี้คงจะล่มสลายไปจริง"
นี่คือคำพูดของ สนธิ ลิ้มทองกุล ที่กล่าวกับคนใกล้ชิด หลังจากประเมินจากสถานการณ์ที่เมื่อหลับตาดูก็รู้ว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ กำลังจะต้องเผชิญกับอะไร และนับจากนี้ไปต่างหากถึงจะเป็นการต่อสู้ที่แท้จริง ที่ต้องอาศัยการยืนหยัดปักหลัก การพร้อมจะเดิมพันด้วยชีวิต ซึ่งต่างจากการนัดรวมตัวตามสถานีรถไฟฟ้า เป่านกหวีดถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนานและต่างคนต่างกลับบ้านหรือไปเดินห้างต่อเหมือนที่ผ่านผ่านมา
อันที่จริงการต่อสู้ที่นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณจะมีพลังมากขึ้น หากบรรดาสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จะคิดกันได้ว่าถึงเวลาแล้วที่กระโดดลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาร่วมกับสุเทพทั้งพรรค โดยเฉพาะหากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและนายกรณ์ จาติกวาณิช นำร่องร่วมปักหลักด้วยก็จะยิ่งสร้างขวัญและกำลังใจให้มวลชนฮึกเหิมพร้อมจะร่วมยืนหยัดไปด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นตัวเร่งให้ปิดเกมได้ง่ายขึ้น และเป็นการตอกย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ป่วยการที่จะไปอภิปรายในสภาซึ่งไม่สามารถช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อต่อไป ความอ่อนล้าก็จะเกิดกับม็อบที่ไม่มีที่ให้ถอยแล้ว
คนที่จะเป็นแนวร่วมนับจากนี้จึงต้องเป็นคนที่เห็นทางออกของประเทศไทยในมุมมองเดียวกัน พร้อมที่จะสู้ไปให้สุดซอยไปถึงสถานีปฏิรูปประเทศไทย และพร้อมที่จะแลกด้วยความมั่นคงในหน้าที่การงานปากท้องของครอบครัว
คุณสมบัติเหล่านี้มีครบถ้วนอยู่ในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั่นเอง ซึ่งก็มีทั้งที่ออกไปร่วมชุมนุมกับการชุมนุมต่างๆ แล้วก็ไม่น้อย และก็ยังมีทั้งที่รอดูความชัดเจนการต่อสู้ของสุเทพ เทือกสุบรรณอยู่ และในวันนี้เชื่อว่ามวลชนพันธมิตรทุกคนพร้อมที่จะร่วมกันจับมือก้าวกันไปข้างหน้าด้วยกัน
ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มพันธมิตรที่พร้อมที่จะทุ่มเต็มที่เท่านั้น หากแต่การศึกครั้งนี้จะชนะได้คนไทยทุกคนทุกหมู่เหล่าต้องร่วมแรงร่วมใจกันให้ได้อย่างวันที่ 24-25 พ.ย. ที่ผ่านมา ถ้าคนในปริมาณมากปักหลักยืนหยัด ลุกฮือกันทั่วประเทศ ข้าราชการทั้งพลเรือนและตำรวจทหารกล้าพอที่จะเปิดหน้าอารยะขัดขืนให้รัฐบาลไปต่อไม่ได้ วันนั้นรัฐบาลก็จะหมดสภาพไปโดยปริยาย ขี้ข้า บริวาร ชู้รัก ที่เป็นเหมือนเห็บหมาก็พร้อมจะตีตัวออกห่างและเชื่อว่าทหารจะต้องมีการกดดันภายในกันเอง และหันมาร่วมกับการต่อสู้ภาคประชาชนในที่สุด ตัวอย่างก็มีให้เห็นมาแล้วที่อียิปต์ ก็อยู่ที่ว่าคนไทยจะมองภาพเดียวกัน ยอมเหน็ดยอมเหนื่อยร่วมแรงร่วมใจเพื่อเร่งปิดเกมให้เร็ว ให้ไปสู่จุดนั้นได้หรือเปล่า
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000147025
ชั่วโมงนี้จะมีใครที่เข้าใจ “สุเทพ ” ไปมากกว่า “สนธิ ลิ้ม” ที่เคยร่วมต่อสู้ รัฐบาล เคียงข้างประชาชน
นักประวัติศาสตร์มักกล่าวว่า กงล้อประวัติศาสตร์มักจะหมุนกลับมาเสมอๆ เหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันโดยเงื่อนไขสองเหตุการณ์กำลังทับซ้อนกันอย่างเหลือเชื่อ กล่าวคือ การชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นอมินีทักษิณของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปี 2551 นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล กับเหตุการณ์การปฏิวัติโดยประชาชนเมื่อวันที่ 24-25 พ.ย. 2556 ที่ผ่านมาที่นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ
ความคล้ายคลึงกันของทั้งสองเหตุการณ์นั้นก็มาจากจุดเริ่มต้นจุดเดียวกันคือการลุแก่อำนาจของทักษิณ ชินวัตร ผ่านนอมินี โดยอาศัยความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย จนเป็นเหตุให้ประชาชนทุกภาคส่วนพากันหลั่งไหลมาชุมนุมร่วมกันและยกระดับเป็นการขับไล่ระบอบทักษิณในที่สุด
เมื่อมองย้อนกลับไป หากไม่มีการสลับขั้วการเมืองที่จัดกันในค่ายทหารในครั้งนั้น ประเทศไทยคงจะมีการปฏิรูปทางการเมืองไปเป็นที่เรียบร้อย การเมืองไทยคงจะใสสะอาด ไม่ต่องกลับมาอยู่ในวังวนของสองพรรคผลัดกันชมสมบัติจนประชาชนพากันเดือดร้อนกลายเป็นบันไดให้นักการเมืองนำมาขยายผลจนต้องกลับมาประท้วงกันใหม่ในวันนี้
วันนี้สุเทพ เทือกสุบรรณ คงสัมผัสรับรู้กับตัวเองแล้วว่า ศรัทธาและความคาดคาดหวังของมวลชนที่มาร่วมสู้ด้วยใจบริสุทธิ์ร่วมแรงร่วมใจกับเขาในขณะนี้นั้น มันแตกต่างกับอำนาจและเกมการเมืองที่ตนเองเคยสวมหัวโขนสมัยเป็นนักการเมืองมากแค่ไหน ได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ ชุบชีวิตใหม่ให้เขาอย่างไร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากสุเทพ เทือกสุบรรณ จะหมดความพิสมัยจากการเป็นนักการเมืองแล้วจริงๆ และนำไปสู่กับการตัดสินใจครั้งสำคัญของชีวิต
การหักดิบเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมราชดำเนิน เข้ายึดสถานที่ราชการ ประสานและบูรณาการกับกลุ่ม คปท. และกปท. จนทำให้ตนเองต้องโดนออกหมายจับเช่นเดียวกับแกนนำพันธมิตรเมื่อครั้งโน้น เป็นการปลดแอกครั้งสำคัญที่พิสูจน์ตัวเองของสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ว่ากันว่าสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ใหญ่หัวอนุรักษ์นิยมของพรรคประชาธิปัตย์ไม่น้อย
เชื่อว่าการประกาศสู้หมดหน้าตักของสุเทพ เทือกสุบรรณเพื่อปิดเกมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็คงจะตกผลึกเหมือนกับที่ สนธิ ลิ้มทองกุล ได้เคยผ่านจุดตรงนั้นมาแล้วว่าระบบรัฐสภาไทยนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การสลับขั้วทางการเมือง และการลาออกของนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่การยุบสภา ไม่ใช่คำตอบในการแก้ปัญหา หากไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองเสียใหม่ เพิ่มอำนาจการตรวจสอบให้กับภาคประชาชน แก้ไขที่มาของคนที่จะมาทำหน้าที่ในสภาให้หลากหลาย และปรับกติกาของคนที่จะมาทำหน้าที่ตัวแทนของประชาชน แก้ไขเรื่องปัญหาการทุจริตคอรัปชัน ปฏิรูปพลังงาน และปฏิรูปตำรวจ เสียก่อน มิเช่นนั้นก็จะเป็นการว่ายวนอยู่ในอ่างผลัดกันประท้วงไม่จบไม่สิ้น
แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดตรงนั้นได้ โจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องฟันฝ่าไปให้ได้คือ ทำอย่างไรถึงจะล้มรัฐบาลได้เป็นสิ่งแรกเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การปฏิรูป ก้าวเดินนับจากนี้เป็นต้นไปจะถือว่าเป็นการต่อสู้ที่แท้จริงที่เอาชาติเป็นเดิมพัน ไม่ใช่แค่การเป่านกหวีดออกมารวมตัวถ่ายไอจีโชว์ความเก๋ในเฟซบุ๊กกันอย่างสนุกสนานอีกต่อไป
บทเรียนอันล้ำค่าที่สนธิ ลิ้มทองกุลและแกนนำพันธมิตรได้เคยผ่านมาแล้ว และเป็นสัจธรรมเสมอที่สุเทพ เทือกสุบรรณต้องบริหารจัดการให้ดีคือ ไม่ว่าประชาชนจะยึดที่ทำการรัฐบาลอย่างไร เช่นสมัยก่อนพันธมิตรยึดทำเนียบ ล้อมสภา มาวันนี้ม็อบราชดำเนินยึดกระทรวงการคลัง หากทหารไม่เคลื่อนไหวก็ยากที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ เกิดขึ้นทั้งนั้น
ซึ่งทหารก็คงจะไม่ใช้วิธีเดิมๆ ให้มีการสลับขั้วสวิงไปยังพรรคประชาธิปัตย์อีก และประชาชนก็ยิ่งไม่ยอมเพราะไม่ต่างอะไรกับการวนกลับไปที่เดิม และผิดวัตถุประสงค์ที่สู้กันมาจนถึงขั้นนี้ กับการที่จะเดินหน้าล้มระบอบทักษิณเพื่อปฏิรูปประเทศไทย
นับจากวันที่ 24-25 พ.ย. ที่ผ่านมา สถานะของสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และก็ยิ่งหันหลังกลับไปไม่ได้อย่างแท้จริง กล่าวคือถ้าไม่เป็น “ผู้นำการปฏิวัติประชาชน” ก็ต้องเป็น “กบฏ” ดังนั้นเส้นทางของสุเทพเทือกสุบรรณกับพรรคประชาธิปัตย์หัวอนุรักษ์นิยมจึงมีเป้าหมายที่ต่างออกไป พรรคประชาธิปัตย์จะมีกรอบที่จะเดินไปกับสุเทพจนถึงที่สุดไม่ได้ เพราะนั่นหมายถึงการเสี่ยงที่จะโดนยุบพรรคถ้าออกแอคชั่นมากไปกว่านี้ และนั่นเป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายชวน หลีกภัย จะไม่มีวันยอมให้เกิดขึ้น
ที่สำคัญการต่อสายกับทหาร โดยเฉพาะกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ไม่เหมือนเมื่อครั้งที่สุเทพ เทือกสุบรรณสามารถต่อสายคุยได้ครั้งเป็นรองนายกฯ ด้านความมั่นคง หรือเหมือนเมื่อครั้งยังมีอำนาจอยู่ในพรรคที่สามารถสลับขั้วได้หากมีอุบัติเหตุทางการเมือง และ วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าทั้งเชื่อฟังและทั้งรักทั้งหลงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาหอย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากเพียงใด
สุเทพ เทือกสุบรรณในวันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับสนธิ ลิ้มทองกุลในวันนั้น ที่นอกจากจะเจอกระหนาบทั้งสองข้างแล้ว ยังต้องเจออกับพวกโลกสวยที่ชอบขี้ไม่สุด จากที่ชุมนุมด้วยกัน ก็เริ่มตีตัวออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยที่ไปยึดสถานที่ราชการอีก ทั้งๆ ที่มันเป็นหมากที่เลี่ยงไม่ได้ในการที่จะทำให้รัฐบาลทรราชต้องหมดสภาพ
ดังนั้นชั่วโมงนี้คงจะไม่มีใครเข้าใจหัวอกของสุเทพ เทือกสุบรรณ มากไปกว่าสนธิ ลิ้มทองกุล คนที่สุเทพเคยมองว่าเป็นหอกข้างแคร่ของพรรคประชาธิปัตย์เสมอมา ทั้งนี้ใครจะคิดว่าคนที่เคยมองข้ามการเมืองข้างถนนของภาคประชาชน อย่างสุเทพจะกลับกลายเป็นวีรบุรุษข้างถนนท่ามกลางประชาชนที่รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างทุกวันนี้
"ต้องช่วยสุเทพ เพราะหากมันแพ้ มันหมายถึงคนไทยทุกคนแพ้ อนาคตประเทศนี้คงจะล่มสลายไปจริง"
นี่คือคำพูดของ สนธิ ลิ้มทองกุล ที่กล่าวกับคนใกล้ชิด หลังจากประเมินจากสถานการณ์ที่เมื่อหลับตาดูก็รู้ว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ กำลังจะต้องเผชิญกับอะไร และนับจากนี้ไปต่างหากถึงจะเป็นการต่อสู้ที่แท้จริง ที่ต้องอาศัยการยืนหยัดปักหลัก การพร้อมจะเดิมพันด้วยชีวิต ซึ่งต่างจากการนัดรวมตัวตามสถานีรถไฟฟ้า เป่านกหวีดถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนานและต่างคนต่างกลับบ้านหรือไปเดินห้างต่อเหมือนที่ผ่านผ่านมา
อันที่จริงการต่อสู้ที่นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณจะมีพลังมากขึ้น หากบรรดาสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จะคิดกันได้ว่าถึงเวลาแล้วที่กระโดดลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาร่วมกับสุเทพทั้งพรรค โดยเฉพาะหากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและนายกรณ์ จาติกวาณิช นำร่องร่วมปักหลักด้วยก็จะยิ่งสร้างขวัญและกำลังใจให้มวลชนฮึกเหิมพร้อมจะร่วมยืนหยัดไปด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นตัวเร่งให้ปิดเกมได้ง่ายขึ้น และเป็นการตอกย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ป่วยการที่จะไปอภิปรายในสภาซึ่งไม่สามารถช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อต่อไป ความอ่อนล้าก็จะเกิดกับม็อบที่ไม่มีที่ให้ถอยแล้ว
คนที่จะเป็นแนวร่วมนับจากนี้จึงต้องเป็นคนที่เห็นทางออกของประเทศไทยในมุมมองเดียวกัน พร้อมที่จะสู้ไปให้สุดซอยไปถึงสถานีปฏิรูปประเทศไทย และพร้อมที่จะแลกด้วยความมั่นคงในหน้าที่การงานปากท้องของครอบครัว
คุณสมบัติเหล่านี้มีครบถ้วนอยู่ในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั่นเอง ซึ่งก็มีทั้งที่ออกไปร่วมชุมนุมกับการชุมนุมต่างๆ แล้วก็ไม่น้อย และก็ยังมีทั้งที่รอดูความชัดเจนการต่อสู้ของสุเทพ เทือกสุบรรณอยู่ และในวันนี้เชื่อว่ามวลชนพันธมิตรทุกคนพร้อมที่จะร่วมกันจับมือก้าวกันไปข้างหน้าด้วยกัน
ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มพันธมิตรที่พร้อมที่จะทุ่มเต็มที่เท่านั้น หากแต่การศึกครั้งนี้จะชนะได้คนไทยทุกคนทุกหมู่เหล่าต้องร่วมแรงร่วมใจกันให้ได้อย่างวันที่ 24-25 พ.ย. ที่ผ่านมา ถ้าคนในปริมาณมากปักหลักยืนหยัด ลุกฮือกันทั่วประเทศ ข้าราชการทั้งพลเรือนและตำรวจทหารกล้าพอที่จะเปิดหน้าอารยะขัดขืนให้รัฐบาลไปต่อไม่ได้ วันนั้นรัฐบาลก็จะหมดสภาพไปโดยปริยาย ขี้ข้า บริวาร ชู้รัก ที่เป็นเหมือนเห็บหมาก็พร้อมจะตีตัวออกห่างและเชื่อว่าทหารจะต้องมีการกดดันภายในกันเอง และหันมาร่วมกับการต่อสู้ภาคประชาชนในที่สุด ตัวอย่างก็มีให้เห็นมาแล้วที่อียิปต์ ก็อยู่ที่ว่าคนไทยจะมองภาพเดียวกัน ยอมเหน็ดยอมเหนื่อยร่วมแรงร่วมใจเพื่อเร่งปิดเกมให้เร็ว ให้ไปสู่จุดนั้นได้หรือเปล่า
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000147025