ดาราบางคน(มากว่า1คน)บอกว่า"ผิดเป็นผิดถูกเป็นถูก"ฟังดูเผินๆเป็นตรรกะที่ดี แต่ผมมองว่าเป็นคำพูดสอนให้คนโง่ครับ!

ทำไมผมถึงคิดเช่นนั้น...  และดาราที่พูดซึ่งชัดเจนว่าพวกเขาหมายถึง คุณทักษิณ เพราะดาราเหล่านี้ออกมาต่อต้านเรื่อง พรบ.นิรโทษกรรม ที่คุณทักษิณจะได้ประโยชน์ตรงนี้ไปด้วย

ถ้าเราเอาเอาตามที่ดาราบางคนพูดเช่นนั้น   คดีหญิงสาวคนหนึ่งจะไม่ได้รับความเป็นธรรม และจำเลยที่ต้องเป็นแพะรับบาป(บางคนตายในคุก)ก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะศาลตัดสินแล้วว่า แพะเหล่านี้ผิด คดีนี่เป็นอุธาหรณ์และสะเทือนขวัญเป็นอย่างมากจนนำมาสร้างภาพยนตร์ พอพูดถึงตรงนี้ หลายท่านที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองก็คงจะร้องอ๋อ   ครับผมหมายถึงคดี "ฆาตรรม เชอร์รี่แอน ดันแคน"

เรื่องราวของ หญิงสาวเชอร์รีแอน เป็นเรื่องที่น่าสงสารซึ่งต้องตามหาความจริง เพื่อให้เธอได้รับความเป็นธรรมถึงการตายของเธอแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น คดีนี้ได้ทำให้คนบริสุทธิ์ที่ไม่รู้เรื่อง5คนต้องโดน"ยัดข้อหา"โดยการปั้นพยานเท็จ สำนวนเท็จ แล้วส่งฟ้อง จนศาลตัดสินว่า แพะเหล่านี้ผิด โทษที่แพะเหล่านี้ต้องโดนคือ"ประหารชีวิต"

มาถึงตรงนี้ ถ้าเราเชื่อเอาตามดำพูดของดารา(โง่ๆ)บางคนที่พูดว่า "ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก"แล้วจบเรื่องมันสะ ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องเอะใจใดๆทั้งสิ้น  ผมรับรองว่า จะไม่สามารถหาความเป็นธรรมให้ เชอร์รีแอน และแพะ5คนที่ต้องรับบาป รับโทษโดยที่พวกเขาไม่ได้ก่อไม่ได้เลย

แต่ทว่า ญาติของแพะไม่ยึดเอาคำที่ดาราบางคนพูดว่า"ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก" แต่เพราะเขายังไม่สิ้นสงสัย เขาไม่เชื่อคำตัดสินที่ไม่ถูกต้องยุติธรรม พวกเขาจึงไม่หยุดค้นหาความจริง และยื่นอุธรณ์จนศาลอุธรณ์ยกฟ้อง แต่ให้จำคุก(ไม่ให้ประกัน)6ปี ส่งผลให้แพะ1คนตายในคุก

และต่อมาตำรวจกองปราบได้รื้อทำคดีใหม่ จนในที่สุดก็จับคนร้ายตัวจริงได้ จนถึงศาลฏีกาได้ตัดสินคนร้ายตัวจริงได้ในที่สุด ส่วนตำรวจ และพยานเท็จก็ได้รับการลงโทษกันไป

แต่น่าเวทนายิ่งนักเพราะ มันสายไปแล้ว แพะที่ได้รับอิสระภาพเมื่อพ้นคุกไม่นานก็ต้องตายกันด้วยโรคร้ายที่ติดมาจากคุก และคนสุดท้ายเพิ่งเสียชีวิตไม่นานมานี้

บทเรียนอุธาหรณ์ของเรื่องนี้ บอกได้เป้นอย่างดีกับไอ้คำว่า "ผิดป็นผิด ถูกเป็นถูก" ว่ามันไม่ใช่ข้อยุติที่เชื่อได้เสมอไป เหตุผลคือ ต้องดู ต้องเอะใจในสาระ และกระบวนการยุติธรรมว่า มันถูกต้องยุติธรรมจริงไหม  มันยังมีอะไรที่น่าสงสัยอยู่บ้างไหม และผมเชื่อว่าคนฉลาด ที่ไม่ขาดเฉลียวเขาจะเป็นผู้สังเกตุเห็นความไม่ชอบมาพากลในเรื่องแบบนี้ได้ดี กว่าคนที่ "หูเบา"

คดีนี้ชัดเจนว่า มีการสร้างตัวละครปั้นพยานเท็จ จากกระบวนการชั้น(สอบสวน) แล้วศาลก็ตัดสินไปตามสำนวนคำฟ้อง (ตรงนี้ทำให้ผมนึกถึง คดี คุณทักษิณ ที่ ถูก คตส.ที่แต่งตั้งโดย กบฏยึดอำนาจ ปชช.เมื่อปี 49)ซึ่งไม่มีความน่าเชื่อถือเลย  เพราะ คตส.นอกจากจะแต่งตั้งโดย คณะยึดอำนาจแล้ว ยังเอาคนที่เกลียดชัง เป็นปฏิปักกับ คุณทักษิณมาทำสำนวนคดีอีก  อีกทั้งเป็นคดีทางการเมืองที่มีการใส่ร้ายกันมาตั้งแต่ต้น
ซึ่งต่างกับคดีของเชอร์รี่แอน ที่ไม่ใช่เรื่องการเมืองที่มีเหตุจากการใส่ร้ายกลั่นแกล้งกันทางการเมืองใดๆไม่

ดังนั้น คนฉลาดที่มีความเฉลียวและรักในความยุติธรรม(จริง) และเป็นคนช่างสังเกตุ จะไม่มีทางเชื่อถือกระบวนการการตรวจสอบดำเนินคดีของ คตส.ได้เลย

อย่างที่ผมบอกไปแล้วในคดีเชอร์รี่แอน ว่า  คดีนี้ กระบวนการชั้นต้นได้มีการสร้างหลักฐานเท็จ พยานเท็จ จนส่งให้อัยการสั่งฟ้อง แล้วศาลก็ตัดสินไปตามพยานเท็จ ดังนั้น เมื่อเทียบกับ คตส.ที่ไม่ชอบคุณทักษิณอยู่แล้วเป้นทุนมาทำคดีเขา อีกทั้งศาลที่ตัดสินคดีนี้ ก็ยอมรับอำนาจที่ไม่ถูกต้องของคณะยึดอำนาจ ที่เป็นกบฏ ผิดกฏหมายมาตรา 113ด้วยแล้ว ถามจริงๆว่ามันเป็นกระบวนการยุติธรรมที่บริสุทธุ์ ใสสะอาดปราศจากอคติใดๆเลยจริงเหรอ สาธุชนผู้มีปัญญาและรักความยุติธรรม ท่านจะรู้ดี

สรุป คดีที่คุณทักษิณถูกตัดสินไปแล้วนั้น จึงยังไม่อาจเอาคำว่า"ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก"มาใช้ได้จริง   มิเช่นนั้นก็จะไม่เกิดความเป็นธรรมจริงๆต่อคุณทักษิณ และก็จะขัดความรู้สึกต่อคนที่รักความยุติธรรมทั่วไปในประเทศนี้ซึ่งมีจำนวนมากมาย

สุดท้าย ผมถึงบอกว่า คำว่า"ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก" ที่ฟังดูเผินๆก็น่าจะเชื่อถือและยึดเป็นหลักการได้  แต่ประโยคนี้มันจะน่าเชื่อถือและนำมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อ คดีความนั้นๆ หมดสิ้นแล้วซึ่งความสงสัยต่อคู่ความ และต่อผู้พบเห็นทราบเรื่องครับ จึงจะใช้คำนั้นได้อย่างถูกต้อง

ย้ำอีกครั้ง หากเราเชื่อและทำตามคำว่า"ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก"โดยยังไม่สิ้นสงสัย  ผมบอกได้เลยว่า เชอร์รี่แอน และแพะรับบาป5คนก็จะได้รับความอยุติธรรมตลอดไป...และกระบวนการยุติธรรมไทย ก็จะเป็นกระบวนการยุติธรรมที่"มักง่าย"ขาดความน่าเชื่อถือในสายตาผู้รักความยุติธรรม ทั้งในและต่างประเทศในที่สุด

คดีเชอร์รี่แอน แบบย่อๆจากเดลินวส์    http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=104854

                                        
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่