พิพากษาจำคุก 84 นักรบศรีวิชัย-การ์ดพันธมิตร กรณีบุกยึด NBT มีความผิดฐานบุกรุก และซ่องโจร เผยหนึ่งในนักรบศรีวิชัย โดนโทษหนักกว่าเพื่อน 1 ปี 18 เดือน เพราะมีปืนอยู่ในมือ ส่วน 3 เยาวชนร่วมก๊วน ศาลปรานีให้รอการลงโทษ เปิดโอกาสกลับตัวเป็นคนดี
ศาลตัดสินคดีการ์ดพันธมิตรนักรบศรีวิชัยยึด NBT โดยเมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 30 ธ.ค. ที่ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาคดีที่นายธเนศร์ คำชุม กับพวกรวม 85 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย และการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลย ในความผิดฐาน สมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ร่วมกันไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไปหรือซ่อนตัวในเคหสถาน หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีอาวุธในเวลากลางคืน ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธ ร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร
บรรยายโจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 22-25 ส.ค.51 จำเลยทั้ง 82 คน กับพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นเยาวชน ร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานี NBT พร้อมพกอาวุธจำนวนมาก จากนั้นได้ร่วมกันทำลายทรัพย์สิน รวมค่าเสียหายกว่า 6 แสนบาท ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของทางราชการ จำเลยที่ 1 มีเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ในชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในข้อหาพกพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามที่จำเลยที่ 1 รับว่า ได้ร่วมกับพวกเกินกว่า 5 คน บุกรุกเข้าไปสถานีโทรทัศน์ NBT เป็นการกระทำความผิดฐานซ่องโจร แม้โจทก์จะไม่มี พยานหลักฐาน แต่ตามพฤติการณ์บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิด และมีความผิดฐานมีวิทยุสื่อสารในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 คือนายชนินทร์ อินทร์พรหม ยังกระทำผิดฐานมีอาวุธปืน และพกพาปืนไปในที่สาธารณะด้วย ส่วนจำเลยอื่น โจทก์ ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยคนใดพกพาปืนชนิดไหน จึงลงโทษจำเลยอื่นไม่ได้ ส่วนความผิดฐานมั่วสุม บุกรุก และทำให้เสียทรัพย์นั้นเห็นว่า การวินิจฉัยว่าจำเลยใดกระทำความ
ผิดนั้น ต้องพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นเพียงการที่จำเลยร่วมกันบุกรุกสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ NBT เท่านั้น
นอกจากนี้ ในความผิดฐานกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองนั้น เห็นว่า จากการนำสืบของพนักงานสอบสวน พยานโจทก์ระบุว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ประกาศชักชวนอาสาสมัครที่จะไปชุมนุมที่สถานีโทรทัศน์ NBT ให้ไปรวมกลุ่มที่ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ซึ่งเกิดหลังจากที่ กลุ่มจำเลยกระทำการดังกล่าวไปแล้ว ไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งหมดจะมีเจตนาร่วมกันกับแกนนำได้ อีกทั้งไม่ ปรากฏว่าเกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการบุกรุกสถานีโทรทัศน์ NBT ก็ตาม แต่เป็นเพียงความผิดฐานบุกรุก และจำเลยทั้งหมดยังไม่มีความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันข่มขืนใจอีกด้วย เนื่องจากโจทก์ ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดในความผิดฐานดังกล่าว
ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1-41 และ 43-85 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 210 ขณะกระทำผิด จำเลยที่ 30, 47, 81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี เห็นสมควรลดโทษมาตราส่วนโทษ 1 ใน 3 จำเลยที่ 83-85 อายุต่ำกว่า 18 ปี เห็นสมควรละโทษให้กึ่งหนึ่ง ฐานเป็นซ่องโจร จำคุกจำเลยที่ 1-29 ที่ 31-41 ที่ 43-46 ที่ 48-80 ที่ 82 จำคุกคนละ 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 30 ที่ 47 ที่ 81 คนละ 8 เดือน สั่งจำคุกจำเลยที่ 83-85 คนละ 6 เดือน ฐานบุกรุก จำคุกจำเลยที่ 1-29, 31-41, 43-46, 48-80 และที่ 82 คนละ 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 30, 47, 81 คนละ 8 เดือน จำคุกจำเลยที่ 83-85 คนละ 6 เดือน ส่วนจำเลยที่ 42 คือนายมานิตย์ อรรถรัฐ หนีประกัน ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว
นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน จำคุก 1 ปี และความผิด พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม สั่งจำคุก 1 ปี จำเลยที่ 2 มีความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน สั่งปรับ 1 พันบาท ส่วนจำเลยที่ 39 และ 80 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ สั่งปรับคนละ 1 พันบาท เพิ่มโทษจำเลยที่ 24 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 รวมเป็นจำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน การกระทำของจำเลยที่ 1-41 และ 43-85 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
จำเลยที่ 1 และ 2 ให้การรับสารภาพ ความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ จำเลยที่ 39 และ 80 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี 18 เดือน และจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน และสั่งปรับ 500 บาท ส่วนจำเลยที่ 3-29, 31-38, 40, 41, 43-46, 48-79 และ 82 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 39 และ 80 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน ปรับ 500 บาท จำเลยที่ 30, 47 และ 81 มีกำหนด 12 เดือน จำเลยที่ 83-85 มีกำหนด 9 เดือน จำเลยที่ 24 มีกำหนด 1 ปี 12 เดือน ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 30, 47, 81, 83, 85 ได้รับโทษจำคุกมาก่อน และขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 30, 47 และ 81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี จำเลยที่ 83-85 ยังเป็นเยาวชน เห็นควรให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษจำเลยดังกล่าวไว้ มีกำหนด 2 ปี และให้ริบของกลางโดยให้วิทยุคมนาคมไว้ใช้ในราชการของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ข้อหาและคำร้องอื่นให้ยก
ต่อมาเวลา 19.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้ง 84 คน โดยตีหลักทรัพย์คนละ 2 แสนบาท
http://www.thairath.co.th/today/view/138062
คุกหมด84คน นักรบศรีวิชัย คดียึดเอ็นบีที
ศาลตัดสินคดีการ์ดพันธมิตรนักรบศรีวิชัยยึด NBT โดยเมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 30 ธ.ค. ที่ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาคดีที่นายธเนศร์ คำชุม กับพวกรวม 85 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย และการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลย ในความผิดฐาน สมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ร่วมกันไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไปหรือซ่อนตัวในเคหสถาน หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีอาวุธในเวลากลางคืน ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธ ร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร
บรรยายโจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 22-25 ส.ค.51 จำเลยทั้ง 82 คน กับพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นเยาวชน ร่วมกันบุกรุกอาคารสำนักงานสถานี NBT พร้อมพกอาวุธจำนวนมาก จากนั้นได้ร่วมกันทำลายทรัพย์สิน รวมค่าเสียหายกว่า 6 แสนบาท ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของทางราชการ จำเลยที่ 1 มีเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ในชั้นสอบสวน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในข้อหาพกพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามที่จำเลยที่ 1 รับว่า ได้ร่วมกับพวกเกินกว่า 5 คน บุกรุกเข้าไปสถานีโทรทัศน์ NBT เป็นการกระทำความผิดฐานซ่องโจร แม้โจทก์จะไม่มี พยานหลักฐาน แต่ตามพฤติการณ์บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิด และมีความผิดฐานมีวิทยุสื่อสารในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 คือนายชนินทร์ อินทร์พรหม ยังกระทำผิดฐานมีอาวุธปืน และพกพาปืนไปในที่สาธารณะด้วย ส่วนจำเลยอื่น โจทก์ ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยคนใดพกพาปืนชนิดไหน จึงลงโทษจำเลยอื่นไม่ได้ ส่วนความผิดฐานมั่วสุม บุกรุก และทำให้เสียทรัพย์นั้นเห็นว่า การวินิจฉัยว่าจำเลยใดกระทำความ
ผิดนั้น ต้องพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นเพียงการที่จำเลยร่วมกันบุกรุกสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุ NBT เท่านั้น
นอกจากนี้ ในความผิดฐานกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองนั้น เห็นว่า จากการนำสืบของพนักงานสอบสวน พยานโจทก์ระบุว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ประกาศชักชวนอาสาสมัครที่จะไปชุมนุมที่สถานีโทรทัศน์ NBT ให้ไปรวมกลุ่มที่ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ซึ่งเกิดหลังจากที่ กลุ่มจำเลยกระทำการดังกล่าวไปแล้ว ไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งหมดจะมีเจตนาร่วมกันกับแกนนำได้ อีกทั้งไม่ ปรากฏว่าเกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการบุกรุกสถานีโทรทัศน์ NBT ก็ตาม แต่เป็นเพียงความผิดฐานบุกรุก และจำเลยทั้งหมดยังไม่มีความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ ร่วมกันข่มขืนใจอีกด้วย เนื่องจากโจทก์ ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดในความผิดฐานดังกล่าว
ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1-41 และ 43-85 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 210 ขณะกระทำผิด จำเลยที่ 30, 47, 81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี เห็นสมควรลดโทษมาตราส่วนโทษ 1 ใน 3 จำเลยที่ 83-85 อายุต่ำกว่า 18 ปี เห็นสมควรละโทษให้กึ่งหนึ่ง ฐานเป็นซ่องโจร จำคุกจำเลยที่ 1-29 ที่ 31-41 ที่ 43-46 ที่ 48-80 ที่ 82 จำคุกคนละ 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 30 ที่ 47 ที่ 81 คนละ 8 เดือน สั่งจำคุกจำเลยที่ 83-85 คนละ 6 เดือน ฐานบุกรุก จำคุกจำเลยที่ 1-29, 31-41, 43-46, 48-80 และที่ 82 คนละ 1 ปี จำคุกจำเลยที่ 30, 47, 81 คนละ 8 เดือน จำคุกจำเลยที่ 83-85 คนละ 6 เดือน ส่วนจำเลยที่ 42 คือนายมานิตย์ อรรถรัฐ หนีประกัน ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว
นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน จำคุก 1 ปี และความผิด พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม สั่งจำคุก 1 ปี จำเลยที่ 2 มีความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน สั่งปรับ 1 พันบาท ส่วนจำเลยที่ 39 และ 80 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ สั่งปรับคนละ 1 พันบาท เพิ่มโทษจำเลยที่ 24 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 รวมเป็นจำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน การกระทำของจำเลยที่ 1-41 และ 43-85 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
จำเลยที่ 1 และ 2 ให้การรับสารภาพ ความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ จำเลยที่ 39 และ 80 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี 18 เดือน และจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน และสั่งปรับ 500 บาท ส่วนจำเลยที่ 3-29, 31-38, 40, 41, 43-46, 48-79 และ 82 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 39 และ 80 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน ปรับ 500 บาท จำเลยที่ 30, 47 และ 81 มีกำหนด 12 เดือน จำเลยที่ 83-85 มีกำหนด 9 เดือน จำเลยที่ 24 มีกำหนด 1 ปี 12 เดือน ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 30, 47, 81, 83, 85 ได้รับโทษจำคุกมาก่อน และขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 30, 47 และ 81 อายุยังไม่เกิน 20 ปี จำเลยที่ 83-85 ยังเป็นเยาวชน เห็นควรให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษจำเลยดังกล่าวไว้ มีกำหนด 2 ปี และให้ริบของกลางโดยให้วิทยุคมนาคมไว้ใช้ในราชการของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ข้อหาและคำร้องอื่นให้ยก
ต่อมาเวลา 19.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้ง 84 คน โดยตีหลักทรัพย์คนละ 2 แสนบาท
http://www.thairath.co.th/today/view/138062