คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ผมขอแชร์ข้อมูลให้กับคุณแม่ทุกๆคนดังนี้นะครับ
การเจาะน้ำคร่ำหรือการทำ CVS นั้นมีความเสี่ยงต่อการแท้งประมาณ 0.5% แต่ว่ามีความแม่นยำมากกว่า 99% ส่วนการตรวจ biochemical screening (tripple test/ quad test) จากเลือดแม่เพื่อดูค่า AFP, B-HCG, UE, PAAP-A, Inhibin A รสทถึวการวัด Nuchal Translucency นั้นมีความแม่นยำอยู่ระหว่าง 70 - 90% โดยมีผลบวกลวงอยู่ 5% โดยการตรวจ biochemical screening นี้ถือว่าเป็นการตรวจคัดกรอง ไม่ได้เป็นการตรวจวินิจฉัย การที่ผลออกมาว่าลูกคุณมีความเสี่ยงสูง (น้อยกว่า 1 ต่อ 200 หรือ 300) ไม่ได้แปลว่าลูกของคุณจะผิดปกติ คุณหมอจะแนะนำให้ทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อทำการยืนยันผลอีกครั้งหนึ่ง
โดยตามสถิติแล้วพบว่าผู้หญิงจำนวน 20 คนที่ถูกเจาะน้ำคร่ำตรวจเนื่องจากผลการตรวจ biochemical screening มีความเสี่ยงสูง พบว่ามีแค่ 1 คนเท่านั้นที่ลูกมีความผิดปกติจริงๆ โดยที่อีก 19 คนนั้นปกติดี แต่ต้องถูกเจาะน้ำคร่ำโดยไม่สมเหตุผล ยิ่งไปกว่านั้นตามสถิติพบว่าผู้หญิงที่ลูกในท้องผิดปกติจริงๆ 20 คนเข้ารับการตรวจ biochemical screening พบว่ามีแค่ประมาณ 17 คนเท่านั้นที่จะถูกพบเจอความผิดปกติ โดยที่อีก 3 คนนั้นผลออกมาว่ามีความเสี่ยงต่ำ โดยที่คุณแม่จะทราบอีกทีตอนลูกคลอดออกมาครับหรือว่าตอนอายุครรภ์ที่มากขึ้นและคุณหมออัลตราซาวด์เห็นความผิดปกติ
ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองแบบใหม่ที่เรียกว่า NIPT (non-invasive prenatal testing) ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า biochemical screening และสามารถตรวจหาความผิดปกติได้ครอบคลุมมากกว่า ตรวจหาเพศของทารกก็ได้ และที่สำคัญสามารถตรวจได้ตั้งแต่ 9 สัปดาห์เป็นต้นไป ปัญหาคือราคาสูงมากเนื่องจากจะต้องถูกส่งไปตรวจที่ต่างประเทศ ถ้าของ panorama ก็ถูกส่งไปตรวจที่อเมริกา ถ้าของ NIFTY ก็จะถูกส่งไปจีน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกๆเทคนิคการตรวจก็มีข้อดีและข้อจำกัดครับ NIPT เองก็พลาดได้ แม้ว่าความแม่นยำจะสูงกว่า 99% ก็ตาม
ที่ผมอธิบายมาทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการทำให้คุณแม่หลายๆท่านกังวลกับผลการตรวจนะครับ ผมแค่อยากจะให้ข้อมูลที่บางทีคุณหมอเองไม่มีเวลามาอธิบายให้คนไข้ทุกๆคนรับทราบ เพื่อที่จะได้นำไปพิจารณาทางเลือกต่างๆว่าการตรวจชนิดไหนเหมาะสมสำหรับเรา และเราเองรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนครับ
การเจาะน้ำคร่ำหรือการทำ CVS นั้นมีความเสี่ยงต่อการแท้งประมาณ 0.5% แต่ว่ามีความแม่นยำมากกว่า 99% ส่วนการตรวจ biochemical screening (tripple test/ quad test) จากเลือดแม่เพื่อดูค่า AFP, B-HCG, UE, PAAP-A, Inhibin A รสทถึวการวัด Nuchal Translucency นั้นมีความแม่นยำอยู่ระหว่าง 70 - 90% โดยมีผลบวกลวงอยู่ 5% โดยการตรวจ biochemical screening นี้ถือว่าเป็นการตรวจคัดกรอง ไม่ได้เป็นการตรวจวินิจฉัย การที่ผลออกมาว่าลูกคุณมีความเสี่ยงสูง (น้อยกว่า 1 ต่อ 200 หรือ 300) ไม่ได้แปลว่าลูกของคุณจะผิดปกติ คุณหมอจะแนะนำให้ทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อทำการยืนยันผลอีกครั้งหนึ่ง
โดยตามสถิติแล้วพบว่าผู้หญิงจำนวน 20 คนที่ถูกเจาะน้ำคร่ำตรวจเนื่องจากผลการตรวจ biochemical screening มีความเสี่ยงสูง พบว่ามีแค่ 1 คนเท่านั้นที่ลูกมีความผิดปกติจริงๆ โดยที่อีก 19 คนนั้นปกติดี แต่ต้องถูกเจาะน้ำคร่ำโดยไม่สมเหตุผล ยิ่งไปกว่านั้นตามสถิติพบว่าผู้หญิงที่ลูกในท้องผิดปกติจริงๆ 20 คนเข้ารับการตรวจ biochemical screening พบว่ามีแค่ประมาณ 17 คนเท่านั้นที่จะถูกพบเจอความผิดปกติ โดยที่อีก 3 คนนั้นผลออกมาว่ามีความเสี่ยงต่ำ โดยที่คุณแม่จะทราบอีกทีตอนลูกคลอดออกมาครับหรือว่าตอนอายุครรภ์ที่มากขึ้นและคุณหมออัลตราซาวด์เห็นความผิดปกติ
ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองแบบใหม่ที่เรียกว่า NIPT (non-invasive prenatal testing) ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า biochemical screening และสามารถตรวจหาความผิดปกติได้ครอบคลุมมากกว่า ตรวจหาเพศของทารกก็ได้ และที่สำคัญสามารถตรวจได้ตั้งแต่ 9 สัปดาห์เป็นต้นไป ปัญหาคือราคาสูงมากเนื่องจากจะต้องถูกส่งไปตรวจที่ต่างประเทศ ถ้าของ panorama ก็ถูกส่งไปตรวจที่อเมริกา ถ้าของ NIFTY ก็จะถูกส่งไปจีน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกๆเทคนิคการตรวจก็มีข้อดีและข้อจำกัดครับ NIPT เองก็พลาดได้ แม้ว่าความแม่นยำจะสูงกว่า 99% ก็ตาม
ที่ผมอธิบายมาทั้งหมดนี้ไม่ได้ต้องการทำให้คุณแม่หลายๆท่านกังวลกับผลการตรวจนะครับ ผมแค่อยากจะให้ข้อมูลที่บางทีคุณหมอเองไม่มีเวลามาอธิบายให้คนไข้ทุกๆคนรับทราบ เพื่อที่จะได้นำไปพิจารณาทางเลือกต่างๆว่าการตรวจชนิดไหนเหมาะสมสำหรับเรา และเราเองรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนครับ
แสดงความคิดเห็น
ตรวจคัดกรองดาวน์ของลูกในครรภ์ตอน 15 สัปดาห์ ด้วยวิธีเจาะเลือด ผลออกมาแล้วครับ ช่วยดูหน่อย
ผลที่ได้จากคุณหมอ คุณหมอแจ้งว่า ผลเป็น negative 1:8800
คุณหมอไม่ได้สรุปอะไรให้ชัดเจน และทำเสมือนว่าเป็นปกติดี ไม่มีปัญหาอะไรให้ต้องกังวล
อยากทราบว่าเพื่อนๆในห้องที่ไปคัดกรองดาวน์มา ได้ค่าประมาณเท่าไหร่กันบ้างครับ
ขอบคุณครับ