ทีมสถาปนิกได้ลองร่างแบบที่จะช่วยสร้างบรรยากาศการเชียร์ที่น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นในสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
หนึ่งในนั้นก็คือซาวด์ คลาวด์ ที่จะทำให้เสียงเชียร์ดังกระหึ่มมากกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็ยังมีแผนที่จะเพิ่มพื้นที่ให้แฟนๆ ได้เข้าชมเกมจากบนหลังคาอีกด้วย
ทีมสถาปนิกซึ่งได้ออกแบบสนามนิว เวมบลีย์ นั้นคือผู้อยู่เบื้องหลังของแผนการนี้
พวกเขาน่าจะใช้วัสดุที่ช่วยสะท้อนเสียงติดตั้งไว้โดยรอบของสนาม ซึ่งนั่นจะช่วยให้บรรยากาศการเชียร์น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน พวกเขายังบอกด้วยว่ามีพื้นที่สำหรับแฟนๆ ที่หาซื้อตั๋วไม่ได้ราว 20,000 คนสามารถเข้าไปชมเกมได้ที่หลังคาของสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด
นี่จะถือเป็นแรงดึงดูดมหาศาลสำหรับแฟนๆ ทั้งก่อน และหลังเกมเลยทีเดียว
"บรรยากาศของมันจะน่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นอยู่แล้ว หากว่าเสียงเชียร์นั้นดังขึ้น ทุกคนต่างก็จะตะโกนเชียร์กันมากขึ้น มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว" คริสโตเฟอร์ ลี สถาปนิกซึ่งสร้างสนามแข่งมาแล้ว 30 แห่งทั่วโลกกล่าว
ป็อปปูลัส บริษัทของเขาถูกนิตยสารเทคโนโลยีอย่าง Wired ถามถึงเกี่ยวกับการออกแบบโรงละครแห่งความฝันใหม่เพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นของเกมการแข่งขัน
สำหรับซาวด์คลาวด์ และการปรับปรุงสนามหลายอย่างนั้นมีความเป็นไปได้สูงอย่างมาก เขาเสริมว่า "ในสิ่งที่เราพูดกันอยู่นี้ไม่มีอะไรที่มีราคาสูงเกินไปเลย"
นอกเหนือจากนี้แล้วก็ยังมีในส่วนของแฟนโซนด้านนอกสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด ซึ่งทีมเพื่อนบ้านอย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้ นั้นได้สร้างเอาไว้แล้วที่ด้านนอกของสนามเอติฮัด
พลังงานในนั้นจะเก็บสะสมจากการเคลื่อนไหวของผู้คน เป็นเทคโนโลยีที่มีชื่อว่าเพียโซอิเล็กทริค ร็อคเกอร์ส ซึ่งจะเก็บพลังงานทุกๆ ครั้งที่มีใครสักคนเคลื่อนไหว แล้วนั่นช่วยให้ในการสร้างความอุ่นให้กับที่นั่งด้วย อ้างอิงจากคำพูดของมิสเตอร์ลี
จอแอลอีดีขนาดใหญ่ 2 จอยังติดตั้งไว้ในนั้นเพื่ออัพเดตข่าวสารให้กับแฟนๆ โดยจอที่ติดตั้งในสนามแข่งยังสามารถใช้ในการระบุการเคลื่อนไหวของนักเตะได้ด้วย
"มันคือการให้ข้อมูลในแบบเดียวกับที่คุณได้รับเมื่ออยู่บ้าน โดยคราวนี้มาในรูปแบบ 3 มิติ" ลีผู้เกิดในออสเตรเลียกล่าว
ในสนามยังจะมีการติดตั้งเทอร์โบ ไวไฟ เพื่อให้แฟนๆ สามารถสั่งเครื่องดื่ม และยังสามารถติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ ผ่านทางโซเชียล เน็ตเวิร์ค ได้ด้วย
นอกสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด นั้นยังมีไฟแอลอีดีที่สามารถเล่นวิดีโอแบบสดๆ ได้ด้วย โดยทีมสถาปนิกเหล่านี้ได้ลองสร้างมันขึ้นมาใช้ดูแล้วในสนามฟุตบอลที่คาซัคสถาน
แต่ตอนนี้ทางสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยังไม่ได้มีการติดต่อกับทีมงานป็อปปูลัสแต่อย่างใด ที่พวกเขาทำเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศนั้นก็คือการจัดโซนสำหรับร้องเพลงเชียร์ขึ้นมา และก็ได้ทดลองใช้ไปแล้วในเกมที่เจอกับเรอัล โซเซียดัด เมื่อไม่นานมานี้
cedit : www.redarmyfc.com
[บทความผีแดง 2013-11-25] สถาปัตยกรรมที่จะช่วยสร้างบรรยากาศในโอลด์ แทรฟฟอร์ด
หนึ่งในนั้นก็คือซาวด์ คลาวด์ ที่จะทำให้เสียงเชียร์ดังกระหึ่มมากกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็ยังมีแผนที่จะเพิ่มพื้นที่ให้แฟนๆ ได้เข้าชมเกมจากบนหลังคาอีกด้วย
ทีมสถาปนิกซึ่งได้ออกแบบสนามนิว เวมบลีย์ นั้นคือผู้อยู่เบื้องหลังของแผนการนี้
พวกเขาน่าจะใช้วัสดุที่ช่วยสะท้อนเสียงติดตั้งไว้โดยรอบของสนาม ซึ่งนั่นจะช่วยให้บรรยากาศการเชียร์น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน พวกเขายังบอกด้วยว่ามีพื้นที่สำหรับแฟนๆ ที่หาซื้อตั๋วไม่ได้ราว 20,000 คนสามารถเข้าไปชมเกมได้ที่หลังคาของสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด
นี่จะถือเป็นแรงดึงดูดมหาศาลสำหรับแฟนๆ ทั้งก่อน และหลังเกมเลยทีเดียว
"บรรยากาศของมันจะน่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นอยู่แล้ว หากว่าเสียงเชียร์นั้นดังขึ้น ทุกคนต่างก็จะตะโกนเชียร์กันมากขึ้น มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว" คริสโตเฟอร์ ลี สถาปนิกซึ่งสร้างสนามแข่งมาแล้ว 30 แห่งทั่วโลกกล่าว
ป็อปปูลัส บริษัทของเขาถูกนิตยสารเทคโนโลยีอย่าง Wired ถามถึงเกี่ยวกับการออกแบบโรงละครแห่งความฝันใหม่เพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นของเกมการแข่งขัน
สำหรับซาวด์คลาวด์ และการปรับปรุงสนามหลายอย่างนั้นมีความเป็นไปได้สูงอย่างมาก เขาเสริมว่า "ในสิ่งที่เราพูดกันอยู่นี้ไม่มีอะไรที่มีราคาสูงเกินไปเลย"
นอกเหนือจากนี้แล้วก็ยังมีในส่วนของแฟนโซนด้านนอกสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด ซึ่งทีมเพื่อนบ้านอย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้ นั้นได้สร้างเอาไว้แล้วที่ด้านนอกของสนามเอติฮัด
พลังงานในนั้นจะเก็บสะสมจากการเคลื่อนไหวของผู้คน เป็นเทคโนโลยีที่มีชื่อว่าเพียโซอิเล็กทริค ร็อคเกอร์ส ซึ่งจะเก็บพลังงานทุกๆ ครั้งที่มีใครสักคนเคลื่อนไหว แล้วนั่นช่วยให้ในการสร้างความอุ่นให้กับที่นั่งด้วย อ้างอิงจากคำพูดของมิสเตอร์ลี
จอแอลอีดีขนาดใหญ่ 2 จอยังติดตั้งไว้ในนั้นเพื่ออัพเดตข่าวสารให้กับแฟนๆ โดยจอที่ติดตั้งในสนามแข่งยังสามารถใช้ในการระบุการเคลื่อนไหวของนักเตะได้ด้วย
"มันคือการให้ข้อมูลในแบบเดียวกับที่คุณได้รับเมื่ออยู่บ้าน โดยคราวนี้มาในรูปแบบ 3 มิติ" ลีผู้เกิดในออสเตรเลียกล่าว
ในสนามยังจะมีการติดตั้งเทอร์โบ ไวไฟ เพื่อให้แฟนๆ สามารถสั่งเครื่องดื่ม และยังสามารถติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ ผ่านทางโซเชียล เน็ตเวิร์ค ได้ด้วย
นอกสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด นั้นยังมีไฟแอลอีดีที่สามารถเล่นวิดีโอแบบสดๆ ได้ด้วย โดยทีมสถาปนิกเหล่านี้ได้ลองสร้างมันขึ้นมาใช้ดูแล้วในสนามฟุตบอลที่คาซัคสถาน
แต่ตอนนี้ทางสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยังไม่ได้มีการติดต่อกับทีมงานป็อปปูลัสแต่อย่างใด ที่พวกเขาทำเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศนั้นก็คือการจัดโซนสำหรับร้องเพลงเชียร์ขึ้นมา และก็ได้ทดลองใช้ไปแล้วในเกมที่เจอกับเรอัล โซเซียดัด เมื่อไม่นานมานี้
cedit : www.redarmyfc.com