1 ฟองน้ำ (Sponge)
ฟองน้ำเป็นสัตว์เกาะนิ่งอยู่กับที่ มีลำตัวเป็นรูพรุนดำรงชีวิตได้โดยอาศัยระบบท่อให้น้ำไหลผ่านลำตัว มีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นหนามที่เรียกว่า สปิคุล (Spicule) หรือเส้นใยอ่อนนุ่ม (Spongin)
การป้องกันและรักษา หลีกเลี่ยงจากการสัมผัสฟองน้ำขนาดใหญ่ตามแนวปะการัง เช่น ฟองน้ำครก หากเป็นความบังเอิญที่ไม่ได้ระวังตัว
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้น คือ การทำให้สปคุลของฟองน้ำหลุดออกไป โดยทำการล้างแผลบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำกรดน้ำส้ม 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 15-30 นาที ยาจำพวกแอนติฮิสตามีน ใช้ทาบรรเทาอาการผื่นคัน
2 ขนนกทะเล (Sea feather)
ขนนกทะเลเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายพืชและมีอยู่หลายชนิด แต่ละตัวมีรูปร่างเป็นโพลิปขนาดเล็กอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือนิคม มักพบตามแนวปะการังเกาะกับหลักที่ปักอยู่ริมชายฝั่ง เสาสะพานท่าเรือ ตลอดจนเศษวัสดุที่ลอยในทะเล บางชนิดมีลักษณะคล้ายขนนก และบางชนิดลักษณะคล้ายเฟิร์น เมื่อผิวหนังสัมผัสกับนิคมของขนนกทะเล โพลิปจะปล่อยนีมาโตศีย์สต์ ที่มีพิษแทรกเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน
การป้องกันและรักษา หลีกเลี่ยงการสัมผัสขนนกทะเลโดยตรง การใส่เสื้อผ้าป้องกันอันตรายได้ ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยแอลกอฮอล์ปะคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น หากมีอาการรุนแรงต้องส่งแพทย์ทันที
3 ปะการัง (Corals)
ปะการังเป็นสัตว์ทะเลกลุ่มใหญ่ที่มีมากกว่า 750 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แบบเดี่ยว ปะการังมีฐานรองรับโพลิปหรือตัวปะการังเป็นหินปูน บางชนิดมีหนามหรือแง่ยื่นที่แหลมคม และบางชนิดมีนีมาโตศีย์สต์ที่มีน้ำพิษ ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง ปะการังที่อาจทำให้เกิดบาดแผล ได้แก่ ปะการังเขากวาง (Acropora) ปะการังแกแลคซี่ (Galaxea) ปะการังลูกโป่ง(Plerogyra) ปะการังดอกจอก(Pec-tinea) ปะการังสมองหยาบ(Symphyllia) เป็นต้น มีรายงานว่าปะการังเห็ดบางชนิดผลิตนีมาโตศีย์สต์ที่มีพิษทำให้เกิดอาการบวมแดงและผื่นคันได้
การป้องกันและรักษา หินปูนของปะการังมีความแข็งและแหลมคม การเดินเหยียบย่ำไปบนปะการัง หรือดำน้ำผ่านแนวปะการัง อาจทำให้เกิดบาดแผล เนื่องจากปะการังมักมีพวกแบคทีเรียอาศัยอยู่เป็นสาเหตุทำให้บาดแผลหายช้าจึงต้องล้างด้วยน้ำสะอาด หรือ แอลกอฮอล์โดยเร็ว และตรวจดูว่าไม่มีเศษปะการังติดค้างอยู่ ใส่ยาฆ่าเชื้อ ถ้าแผลมีขนาดกว้างและลึก ควรรีบนำส่งแพทย์
4ปะการังไฟ (Fire coral)
ปะการังไฟ ไม่ใช่ปะการังแท้จริง แต่เป็นสัตว์ทะเลพวกเดียวกับขนนกทะเลและมีพิษเช่นเดียวกัน โพลิปมีขนาดเล็กอาศัยอยู่รวมกันเป็นนิคม โดยสร้างหินปูนฐานรองรับโพลิปจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับปะการังมาก
ปะการังไฟมีรูปร่าง 3 แบบใหญ่คือ แบบแผ่น แบบก้อน และแบบแขนง โดยทั่วไปมักมีสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาล พบปะปนอยู่กับสัตว์อื่นในแนวปะการังทั่วไป หากสัมผัสกับปะการังไฟ จะทำให้เกิดรอยไหม้ บวมแดงและปวดแสบบริเวณผิวหนังที่สัมผัส
การรักษา การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือการล้างแผลด้วยน้ำส้มสายชูหรือล้างด้วยอะลูมิเนียมซัลเฟตอีกครั้งหนึ่งสิ่งที่ควรระมัดระวังคือ หากส่วนที่สัมผัสปะการังเป็นมือ ก็อย่าได้นำมาเช็ดหน้าหรือให้เข้าตาโดยเด็ดขาด เพราะน้ำพิษจากนีมาโตศีย์สต์ของปะการังไฟที่ยังเหลืออยู่ จะทำให้เกิดระคายเคืองได้ สำหรับครีมที่เป็นยาปฏิชีวนะนั้นใช้ป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไม่ใช่การรักษาสารพิษจากนีมาโตศีย์สต์ โดยตรง
5 แมงกะพรุน (Jelly fish)
แมงกะพรุนทั่วไปมีรูปร่างคล้ายร่ม หรือ กระดิ่งคว่ำ (medusa) ลำตัวโปร่งแสงประกอบด้วยวุ้นเป็นส่วนใหญ่ ดำรงชีวิตโดยการว่ายเวียนและล่องลอยไปตามกระแสน้ำและแรงพัดพาของคลื่นลม อาหารที่แมงกะพรุนกินได้แก่ ปลา ครัสเตเซียน และแพลงค์ตอนอื่นๆ บริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นออกมารอบปากมีเข็มพิษนีมาโตศีย์สต์ ใช้ฆ่าเหยื่อหรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ปริมาณของนีมาโตศีย์สต์อาจมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ใน 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ภายในนีมาโตศีย์สต์ มีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นบวมแดงเป็นรอยไหม้ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด บางรายทำให้เกิดอาการจุกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เป็นไข้ บางรายถึงเสียชีวิต โดยทั่วไปเรียกแมงกะพรุนมีพิษว่าแมงกะพรุนไฟ
การป้องกันและรักษา การป้องกันการถูกแมงกะพรุนไฟ คือ การหลีกเลี่ยงลงเล่นน้ำทะเลบริเวณที่มีแมงกะพรุนชุกชุม หรือ ช่วงหลังพายุฝน เพราะจะมีกระเปาะพิษของแมงกะพรุนหลุดลอยไปในน้ำทะเลแม้จะไม่ได้สัมผัสกับแมงกะพรุนโดยตรงก็ตาม
การเกิดพิษเมื่อถูกแมงกะพรุน กระทำได้โดยใช้น้ำส้มสายชูล้างแผลเพื่อไม่ให้นีมาโตศีย์สต์ปล่อยน้ำพิษภายในกระเปาะออก หลังจากนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์ ตำรา ยากลางบ้านที่มักใช้กัน คือ นำใบผักบุ้งทะเลบดแล้วพอกบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน จะช่วยให้อาการต่างๆบรรเทาลงได้
6ดอกไม้ทะเล (Sea anemone)
ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ทะเลที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ด้านปากมีหนวดเรียงรายอยู่รอบปาก ด้านล่างเป็นฐานยึดเกาะอยู่กับก้อนหิน ก้อนปะการัง หรือฝังตัวลงในพื้นทะเลบริเวณดินเลนหรือดินทราย ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตแบบเดี่ยว ไม่มีการสร้างหินปูนเป็นฐานรองรับโพลิปเหมือนปะการัง
โพลิปดอกไม้ทะเลมักมีขนาดใหญ่ บางชนิดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 30 เซนติเมตร มักพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เมื่อสัมผัสหนวดของดอกไม้ทะเล นีมาโตศีย์สต์จากหนวดของดอกไม้ทะเล จะทำให้เกิดผื่นแดงและคันบริเวณที่สัมผัส ถ้าอาการรุนแรงมากจะทำให้เกิดอาการบวมแดง มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน
การรักษา การปฐมพยาบาลในเบื้องต้น ให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล และพยายามล้างเอาเมือก และชิ้นส่วนของหนวดดอกไม้ทะเลออกให้หมด ถ้าผู้ป่วยมีอาการทรุดลงให้นำส่งแพทย์โดยด่วน
7บุ้งทะเล (Fire worms)
บุ้งทะเลเป็นหนอนปล้องจำพวกเดียวกับแม่เพรียงหรือไส้เดือนทะเล แต่มีลำตัวสั้นกว่า เป็นสัตว์ทะเลพวกโพลีย์ฆีต (polychaete) ตามลำตัวมีขนยาวมาก และมีส่วนยื่นของร่างกายออกไปเป็นคู่ด้านข้าง ช่วยในการว่ายน้ำ ขนที่มีลักษณะเป็นเส้นแข็งนี้จะหลุดจากตัวบุ้งได้ง่ายและแทงเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน
ในธรรมชาติ บุ้งทะเลอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลใต้ก้อนหินใต้ซอกปะการัง ตามลำคลองในเขตป่าชายเลน หรือตามพื้นทะเลและถูกจับมาโดยอวนหน้าดิน ตัวอย่างของบุ้งทะเลจึงพบปะปนอยู่กับสัตว์น้ำอื่นๆที่ถูกนำไปทำอาหารสัตว์
การป้องกันและรักษา ต้องระมัดระวังไม่ให้บุ้งทะเลสัมผัสกับผิวหนัง หรือใช้มือเปล่าหยิบจับบุ้งทะเล หากถูกบุ้งทะเล ทำการแก้ไขได้โดยหยิบขนบุ้งออกให้หมด แล้วใช้ครีม หรือ ยาน้ำคาลาไมน์ ทาเพื่อบรรเทาอาการคัน และป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดตามมาได้
8 เพรียงหิน (Rock Barnacle)
เพรียงหินเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับกุ้งและปู ที่มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปจากพวกกุ้งมาก โดยสร้างเปลือกหินปุนออกมาช่วยยึดติดอยู่กับที่ และห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ทำให้สามารถอาศัยอยู่บนบกได้เป็นเวลานาน เพรียงหินอาศัยอยู่ตามโขดหิน เสาสะพานท่าเรือ หลักโป๊ะ หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ ฟาร์มหอยนางรม หรืออาจพบเกาะอยู่บนสัตว์มีเปลือก เช่น หอย แมงดาทะเล ปู เป็นต้น เป็นสัตว์ที่พบบ่อย และพบชุกชุมตามริมชายฝั่งทะเลทั่วไป
การป้องกันและรักษา อันตรายที่อาจได้รับจากเพรียงหิน คือการถูกบาดจากเปลือกที่แหลมคม ขณะเดินไปตามโขดหินหรือจากการดำน้ำเก็บหอยแมลงภู่ เป็นต้น หากถูกเพรียงหินบาดให้ทำความสะอาดบาดแผล และใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาแดง และเสียเลือดมากให้นำส่งแพทย์เพื่อเย็บบาดแผลนั้นทันที
9 ปู (Crab)
อันตรายจากปูหนีบนั้นยังไม่ร้ายแรงเท่ากับการบริโภคปูมีพิษ เช่นเดียวกับแมงดาไฟ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ตัวอย่างปูมีพิษได้แก่ ปูใบ้แดง (Artergatis intergerrimus) และปูใบ้ลาย(Lophozozymus pictor) เป็นต้น
พิษอันเกิดจากปูที่นำมาบริโภค บางครั้งอาจเกิดจากปุม้าหรือปูทะเลก็ได้ เช่น ปูม้าที่ไม่สด หรือปูที่มีดินตะกอนจากพื้นทะเลติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะบริเวณเหงือกปู เมื่อนำมาปรุงอาหาร แบคทีเรียจากปูที่ไม่สดและดินตะกอนจะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้เช่นกัน บางคนอาจไม่สามารถบริโภคปูได้เลยเนื่องจากแพ้อาหารทะเล หากบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดเป็นผืนคัน หรือ บวมที่ใบหน้าและลำคอก็ได้
การบริโภคปูมีพิษ ในไม่กี่ชั่วโมงจะเกิดอาการบวมที่ริมฝีปาก ลิ้น ปาก ลำคอและใบหน้า ถ่ายท้อง ปวดท้อง และช็อค
การป้องกันและรักษา การป้องกันอันตรายจากปูคือการหลีกเลี่ยงบริโภคปูชนิดที่ไม่คุ้นเคย แต่หากบริโภคปูที่มีพิษเข้าไป ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว และควรนำตัวอย่างปูที่มีพิษนั้นไปด้วย
10 แมงดาทะเล (Horse-shoe crab)
แมงดาทะเลเป็นสัตว์ทะเลโบราณที่ยังคงเหลืออยู่ในโลกปัจจุบันเพียง 4 ชนิด ที่พบในทะเลไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือแมงดาจานหรือแมงดาหางเหลี่ยม (Tachypleus gigas) และ แมงดาถ้วยหรือแมงดาหางกลม (Carcinoscorpius rotundicauda) ทั้งสองชนิดมีความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน แมงดาจานอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล วางไข่ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินทราย ส่วนแมงดาถ้วยอาสัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามลำคลองในป่าชายเลน
เท่าที่มีรายงานในประเทศไทย เฉพาะแมงดาหางกลมเท่านั้นที่อาจเป็นพิษ และมักเรียกชื่อแมงดาที่เป็นพิษว่าแมงดาไฟ หรือ เหรา จนบางครั้งทำให้เข้าใจสับสนว่า เหรา เป็นแมงดาชนิดที่สาม จากคำบอกเล่ามักอธิบายถึงลักษณะของเหราว่าตามลำตัวมีขนยาวที่นักอนุกรมวิธานได้ศึกษาแน่ชัดแล้วว่า แมงดาไฟ หรือ เหรา ก็คือแมงดาหางกลมบางตัวนั่นเอง การเป็นพิษนั้นจะเกิดเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน เหตุที่แมงดาถ้วยมีพิษเป็นบางช่วงนี้ สันนิษฐานว่าเวลาดังกล่าวอาจมีการเจริญแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนบางชนิด เช่น ไดโนแฟลกเจลเลต ที่สร้างสารพิษ แล้วแพลงค์ตอนชนิดดังกล่าวถูกกินโดยหอยหรือหนอนซึ่งเป็นสัตว์หน้าดิน เมื่อพิษเข้ามาสะสมในหอยหรือหนอนแล้วถูกกินโดยแมงดาทะเล พิษจึงมาสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วย เมื่อคนบริโภคแมงดาถ้วยตัวที่มีสารพิษสะสมอยู่ จึงทำให้เกิดอาการพิษได้ แม้ว่าจะได้ปรุงไข่หรือเนื้อที่บริโภคให้สุดแล้วก็ตาม
อาการของคนที่บริโภคแมงดาถ้วยที่มีสารพิษเข้าไป จะทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ปากชาพูดไม่ได้ แขนขาอ่อนเปลี้ย กล้ามเนื้อไม่ทำงาน หมดความรู้สึกและอาจเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่บริโภคเข้าไปมากหรือน้อย การรักษา เมื่อพบผู้ที่บริโภคแมงดาทะเลแล้วเกิดเป็นพิษ ให้ทำการล้างท้อง ทำให้อาเจียน และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
สัตว์และพืชทะเล ที่อันตราย รวมถึงวิธีการรักษาเบื้องต้น .....
ฟองน้ำเป็นสัตว์เกาะนิ่งอยู่กับที่ มีลำตัวเป็นรูพรุนดำรงชีวิตได้โดยอาศัยระบบท่อให้น้ำไหลผ่านลำตัว มีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นหนามที่เรียกว่า สปิคุล (Spicule) หรือเส้นใยอ่อนนุ่ม (Spongin)
การป้องกันและรักษา หลีกเลี่ยงจากการสัมผัสฟองน้ำขนาดใหญ่ตามแนวปะการัง เช่น ฟองน้ำครก หากเป็นความบังเอิญที่ไม่ได้ระวังตัว
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้น คือ การทำให้สปคุลของฟองน้ำหลุดออกไป โดยทำการล้างแผลบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำกรดน้ำส้ม 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 15-30 นาที ยาจำพวกแอนติฮิสตามีน ใช้ทาบรรเทาอาการผื่นคัน
2 ขนนกทะเล (Sea feather)
ขนนกทะเลเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายพืชและมีอยู่หลายชนิด แต่ละตัวมีรูปร่างเป็นโพลิปขนาดเล็กอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือนิคม มักพบตามแนวปะการังเกาะกับหลักที่ปักอยู่ริมชายฝั่ง เสาสะพานท่าเรือ ตลอดจนเศษวัสดุที่ลอยในทะเล บางชนิดมีลักษณะคล้ายขนนก และบางชนิดลักษณะคล้ายเฟิร์น เมื่อผิวหนังสัมผัสกับนิคมของขนนกทะเล โพลิปจะปล่อยนีมาโตศีย์สต์ ที่มีพิษแทรกเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน
การป้องกันและรักษา หลีกเลี่ยงการสัมผัสขนนกทะเลโดยตรง การใส่เสื้อผ้าป้องกันอันตรายได้ ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยแอลกอฮอล์ปะคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น หากมีอาการรุนแรงต้องส่งแพทย์ทันที
3 ปะการัง (Corals)
ปะการังเป็นสัตว์ทะเลกลุ่มใหญ่ที่มีมากกว่า 750 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แบบเดี่ยว ปะการังมีฐานรองรับโพลิปหรือตัวปะการังเป็นหินปูน บางชนิดมีหนามหรือแง่ยื่นที่แหลมคม และบางชนิดมีนีมาโตศีย์สต์ที่มีน้ำพิษ ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง ปะการังที่อาจทำให้เกิดบาดแผล ได้แก่ ปะการังเขากวาง (Acropora) ปะการังแกแลคซี่ (Galaxea) ปะการังลูกโป่ง(Plerogyra) ปะการังดอกจอก(Pec-tinea) ปะการังสมองหยาบ(Symphyllia) เป็นต้น มีรายงานว่าปะการังเห็ดบางชนิดผลิตนีมาโตศีย์สต์ที่มีพิษทำให้เกิดอาการบวมแดงและผื่นคันได้
การป้องกันและรักษา หินปูนของปะการังมีความแข็งและแหลมคม การเดินเหยียบย่ำไปบนปะการัง หรือดำน้ำผ่านแนวปะการัง อาจทำให้เกิดบาดแผล เนื่องจากปะการังมักมีพวกแบคทีเรียอาศัยอยู่เป็นสาเหตุทำให้บาดแผลหายช้าจึงต้องล้างด้วยน้ำสะอาด หรือ แอลกอฮอล์โดยเร็ว และตรวจดูว่าไม่มีเศษปะการังติดค้างอยู่ ใส่ยาฆ่าเชื้อ ถ้าแผลมีขนาดกว้างและลึก ควรรีบนำส่งแพทย์
4ปะการังไฟ (Fire coral)
ปะการังไฟ ไม่ใช่ปะการังแท้จริง แต่เป็นสัตว์ทะเลพวกเดียวกับขนนกทะเลและมีพิษเช่นเดียวกัน โพลิปมีขนาดเล็กอาศัยอยู่รวมกันเป็นนิคม โดยสร้างหินปูนฐานรองรับโพลิปจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับปะการังมาก
ปะการังไฟมีรูปร่าง 3 แบบใหญ่คือ แบบแผ่น แบบก้อน และแบบแขนง โดยทั่วไปมักมีสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาล พบปะปนอยู่กับสัตว์อื่นในแนวปะการังทั่วไป หากสัมผัสกับปะการังไฟ จะทำให้เกิดรอยไหม้ บวมแดงและปวดแสบบริเวณผิวหนังที่สัมผัส
การรักษา การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือการล้างแผลด้วยน้ำส้มสายชูหรือล้างด้วยอะลูมิเนียมซัลเฟตอีกครั้งหนึ่งสิ่งที่ควรระมัดระวังคือ หากส่วนที่สัมผัสปะการังเป็นมือ ก็อย่าได้นำมาเช็ดหน้าหรือให้เข้าตาโดยเด็ดขาด เพราะน้ำพิษจากนีมาโตศีย์สต์ของปะการังไฟที่ยังเหลืออยู่ จะทำให้เกิดระคายเคืองได้ สำหรับครีมที่เป็นยาปฏิชีวนะนั้นใช้ป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไม่ใช่การรักษาสารพิษจากนีมาโตศีย์สต์ โดยตรง
5 แมงกะพรุน (Jelly fish)
แมงกะพรุนทั่วไปมีรูปร่างคล้ายร่ม หรือ กระดิ่งคว่ำ (medusa) ลำตัวโปร่งแสงประกอบด้วยวุ้นเป็นส่วนใหญ่ ดำรงชีวิตโดยการว่ายเวียนและล่องลอยไปตามกระแสน้ำและแรงพัดพาของคลื่นลม อาหารที่แมงกะพรุนกินได้แก่ ปลา ครัสเตเซียน และแพลงค์ตอนอื่นๆ บริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นออกมารอบปากมีเข็มพิษนีมาโตศีย์สต์ ใช้ฆ่าเหยื่อหรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ปริมาณของนีมาโตศีย์สต์อาจมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ใน 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ภายในนีมาโตศีย์สต์ มีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นบวมแดงเป็นรอยไหม้ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด บางรายทำให้เกิดอาการจุกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เป็นไข้ บางรายถึงเสียชีวิต โดยทั่วไปเรียกแมงกะพรุนมีพิษว่าแมงกะพรุนไฟ
การป้องกันและรักษา การป้องกันการถูกแมงกะพรุนไฟ คือ การหลีกเลี่ยงลงเล่นน้ำทะเลบริเวณที่มีแมงกะพรุนชุกชุม หรือ ช่วงหลังพายุฝน เพราะจะมีกระเปาะพิษของแมงกะพรุนหลุดลอยไปในน้ำทะเลแม้จะไม่ได้สัมผัสกับแมงกะพรุนโดยตรงก็ตาม
การเกิดพิษเมื่อถูกแมงกะพรุน กระทำได้โดยใช้น้ำส้มสายชูล้างแผลเพื่อไม่ให้นีมาโตศีย์สต์ปล่อยน้ำพิษภายในกระเปาะออก หลังจากนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์ ตำรา ยากลางบ้านที่มักใช้กัน คือ นำใบผักบุ้งทะเลบดแล้วพอกบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน จะช่วยให้อาการต่างๆบรรเทาลงได้
6ดอกไม้ทะเล (Sea anemone)
ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ทะเลที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ด้านปากมีหนวดเรียงรายอยู่รอบปาก ด้านล่างเป็นฐานยึดเกาะอยู่กับก้อนหิน ก้อนปะการัง หรือฝังตัวลงในพื้นทะเลบริเวณดินเลนหรือดินทราย ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตแบบเดี่ยว ไม่มีการสร้างหินปูนเป็นฐานรองรับโพลิปเหมือนปะการัง
โพลิปดอกไม้ทะเลมักมีขนาดใหญ่ บางชนิดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 30 เซนติเมตร มักพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เมื่อสัมผัสหนวดของดอกไม้ทะเล นีมาโตศีย์สต์จากหนวดของดอกไม้ทะเล จะทำให้เกิดผื่นแดงและคันบริเวณที่สัมผัส ถ้าอาการรุนแรงมากจะทำให้เกิดอาการบวมแดง มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน
การรักษา การปฐมพยาบาลในเบื้องต้น ให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างแผล และพยายามล้างเอาเมือก และชิ้นส่วนของหนวดดอกไม้ทะเลออกให้หมด ถ้าผู้ป่วยมีอาการทรุดลงให้นำส่งแพทย์โดยด่วน
7บุ้งทะเล (Fire worms)
บุ้งทะเลเป็นหนอนปล้องจำพวกเดียวกับแม่เพรียงหรือไส้เดือนทะเล แต่มีลำตัวสั้นกว่า เป็นสัตว์ทะเลพวกโพลีย์ฆีต (polychaete) ตามลำตัวมีขนยาวมาก และมีส่วนยื่นของร่างกายออกไปเป็นคู่ด้านข้าง ช่วยในการว่ายน้ำ ขนที่มีลักษณะเป็นเส้นแข็งนี้จะหลุดจากตัวบุ้งได้ง่ายและแทงเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน
ในธรรมชาติ บุ้งทะเลอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลใต้ก้อนหินใต้ซอกปะการัง ตามลำคลองในเขตป่าชายเลน หรือตามพื้นทะเลและถูกจับมาโดยอวนหน้าดิน ตัวอย่างของบุ้งทะเลจึงพบปะปนอยู่กับสัตว์น้ำอื่นๆที่ถูกนำไปทำอาหารสัตว์
การป้องกันและรักษา ต้องระมัดระวังไม่ให้บุ้งทะเลสัมผัสกับผิวหนัง หรือใช้มือเปล่าหยิบจับบุ้งทะเล หากถูกบุ้งทะเล ทำการแก้ไขได้โดยหยิบขนบุ้งออกให้หมด แล้วใช้ครีม หรือ ยาน้ำคาลาไมน์ ทาเพื่อบรรเทาอาการคัน และป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดตามมาได้
8 เพรียงหิน (Rock Barnacle)
เพรียงหินเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับกุ้งและปู ที่มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปจากพวกกุ้งมาก โดยสร้างเปลือกหินปุนออกมาช่วยยึดติดอยู่กับที่ และห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ทำให้สามารถอาศัยอยู่บนบกได้เป็นเวลานาน เพรียงหินอาศัยอยู่ตามโขดหิน เสาสะพานท่าเรือ หลักโป๊ะ หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ ฟาร์มหอยนางรม หรืออาจพบเกาะอยู่บนสัตว์มีเปลือก เช่น หอย แมงดาทะเล ปู เป็นต้น เป็นสัตว์ที่พบบ่อย และพบชุกชุมตามริมชายฝั่งทะเลทั่วไป
การป้องกันและรักษา อันตรายที่อาจได้รับจากเพรียงหิน คือการถูกบาดจากเปลือกที่แหลมคม ขณะเดินไปตามโขดหินหรือจากการดำน้ำเก็บหอยแมลงภู่ เป็นต้น หากถูกเพรียงหินบาดให้ทำความสะอาดบาดแผล และใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาแดง และเสียเลือดมากให้นำส่งแพทย์เพื่อเย็บบาดแผลนั้นทันที
9 ปู (Crab)
อันตรายจากปูหนีบนั้นยังไม่ร้ายแรงเท่ากับการบริโภคปูมีพิษ เช่นเดียวกับแมงดาไฟ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ตัวอย่างปูมีพิษได้แก่ ปูใบ้แดง (Artergatis intergerrimus) และปูใบ้ลาย(Lophozozymus pictor) เป็นต้น
พิษอันเกิดจากปูที่นำมาบริโภค บางครั้งอาจเกิดจากปุม้าหรือปูทะเลก็ได้ เช่น ปูม้าที่ไม่สด หรือปูที่มีดินตะกอนจากพื้นทะเลติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะบริเวณเหงือกปู เมื่อนำมาปรุงอาหาร แบคทีเรียจากปูที่ไม่สดและดินตะกอนจะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้เช่นกัน บางคนอาจไม่สามารถบริโภคปูได้เลยเนื่องจากแพ้อาหารทะเล หากบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดเป็นผืนคัน หรือ บวมที่ใบหน้าและลำคอก็ได้
การบริโภคปูมีพิษ ในไม่กี่ชั่วโมงจะเกิดอาการบวมที่ริมฝีปาก ลิ้น ปาก ลำคอและใบหน้า ถ่ายท้อง ปวดท้อง และช็อค
การป้องกันและรักษา การป้องกันอันตรายจากปูคือการหลีกเลี่ยงบริโภคปูชนิดที่ไม่คุ้นเคย แต่หากบริโภคปูที่มีพิษเข้าไป ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว และควรนำตัวอย่างปูที่มีพิษนั้นไปด้วย
10 แมงดาทะเล (Horse-shoe crab)
แมงดาทะเลเป็นสัตว์ทะเลโบราณที่ยังคงเหลืออยู่ในโลกปัจจุบันเพียง 4 ชนิด ที่พบในทะเลไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือแมงดาจานหรือแมงดาหางเหลี่ยม (Tachypleus gigas) และ แมงดาถ้วยหรือแมงดาหางกลม (Carcinoscorpius rotundicauda) ทั้งสองชนิดมีความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน แมงดาจานอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล วางไข่ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินทราย ส่วนแมงดาถ้วยอาสัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามลำคลองในป่าชายเลน
เท่าที่มีรายงานในประเทศไทย เฉพาะแมงดาหางกลมเท่านั้นที่อาจเป็นพิษ และมักเรียกชื่อแมงดาที่เป็นพิษว่าแมงดาไฟ หรือ เหรา จนบางครั้งทำให้เข้าใจสับสนว่า เหรา เป็นแมงดาชนิดที่สาม จากคำบอกเล่ามักอธิบายถึงลักษณะของเหราว่าตามลำตัวมีขนยาวที่นักอนุกรมวิธานได้ศึกษาแน่ชัดแล้วว่า แมงดาไฟ หรือ เหรา ก็คือแมงดาหางกลมบางตัวนั่นเอง การเป็นพิษนั้นจะเกิดเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน เหตุที่แมงดาถ้วยมีพิษเป็นบางช่วงนี้ สันนิษฐานว่าเวลาดังกล่าวอาจมีการเจริญแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนบางชนิด เช่น ไดโนแฟลกเจลเลต ที่สร้างสารพิษ แล้วแพลงค์ตอนชนิดดังกล่าวถูกกินโดยหอยหรือหนอนซึ่งเป็นสัตว์หน้าดิน เมื่อพิษเข้ามาสะสมในหอยหรือหนอนแล้วถูกกินโดยแมงดาทะเล พิษจึงมาสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วย เมื่อคนบริโภคแมงดาถ้วยตัวที่มีสารพิษสะสมอยู่ จึงทำให้เกิดอาการพิษได้ แม้ว่าจะได้ปรุงไข่หรือเนื้อที่บริโภคให้สุดแล้วก็ตาม
อาการของคนที่บริโภคแมงดาถ้วยที่มีสารพิษเข้าไป จะทำให้เกิดอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ปากชาพูดไม่ได้ แขนขาอ่อนเปลี้ย กล้ามเนื้อไม่ทำงาน หมดความรู้สึกและอาจเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่บริโภคเข้าไปมากหรือน้อย การรักษา เมื่อพบผู้ที่บริโภคแมงดาทะเลแล้วเกิดเป็นพิษ ให้ทำการล้างท้อง ทำให้อาเจียน และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด