โพสต์นี้ เหมือนการบรรลุผลสำเร็จในด้านจินตนาการที่คิดไว้แต่แรกตั้งแต่ SONY ออก SONY QX-10 และ QX-100 ด้วยความที่ไม่มีจอภาพกับตัวเลนส์ เลยมีอิสระในการถ่ายและบันทึกภาพและโมเม้นท์ที่ประทับใจ กับโอกาสที่หาไม่ได้
มาวันนี้ ก็มีโอกาสที่จะเอา SONY QX-10 ได้ดำดิ่งใต้น้ำ
แต่จะขอแค่ทดลอง ทดสอบดูให้เห็นว่า
มันลงน้ำได้อย่างไร?
ผลเป็นอย่างไร?
ใส่เข้าไปได้ไหม? …
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน … กระทู้นี้ มีไว้เพื่อให้เห็นว่า เราทดลอง และทดสอบการใข้งานอีกรูปแบบหนึ่ง
(ไม่ได้แนะนำให้ทำตาม หากเกิดความเสียหายใดใดกับอุปกรณ์ ทางเราไม่ขอรับผิดชอบสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น)
ด้วยความตั้งใจที่จะเอาเจ้า SONY QX-10 ลงดำน้ำสักหน่อย แต่ก็ด้วยความกังวลต่างๆ ที่มี
จะลงได้ไหม?
ลงแล้วเป็นอย่างไร?
ใช้ housing ตัวไหนดี?
ราคาเท่าไหร่? (ถึงเรียกว่าใช้งานได้เหมาะสม)
น้ำจะเข้าไหม?
จะลองสั่งจากไหนมาลองก่อนไหม?
ภาพ (นิ่ง กะภาพวีดิโอ) ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร?
เสียงล่ะ?
อย่ากระนั้นเลย ถ้าใครใจร้อนก็เชิญกดดูคลิปที่บันทึกจาก SONY QX-10 เมื่อใส่ใน SeaShell housing แล้วอยู่ในตู้ปลาหมอสีกันเลย ^^
แล้วค่อยมาดูรายละเอียดในส่วนต่อไปก็ได้ครับ [บันทึกจาก SONY QX-10]
ส่วนคลิปนี้ คือ ทดลองใส่กระดาษทิชชู่เข้าไปแล้วเอาลงน้ำ ก่อนที่จะถึงเวลาเอา SONY QX-10 ลงน้ำจริง [บันทึกจาก Canon Powershot]
แน่นอนครับว่า มันน่าตื่นเต้นมาก ด้วยความที่ไม่เคยมีกล้องแบบเอาลงน้ำถ่ายรูปได้ หรือแม้แต่บันทึกเป็นคลิปวีดิโอได้ … อาจดูเชยๆ เอ้าท์ๆ แต่ … วันนี้ ก็ไม่ได้เอ้าท์แล้ว เมื่อเจอเพื่อนที่ชอบดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ได้ให้คำแนะนำอย่างเดียว แต่มีอุปกรณ์ที่เรากำลังฝันๆ เอาไว้อยู่เลย (แต่แอบบอกว่า ราคามันก็ใช่ย่อยอยู่นะ)
นั่นก็คือ SeaShell โดยตัวมันให้คำอธิบายว่า “Universal Water Proof Camera Case” ซึ่งก็คือ housing สำหรับกล้อง compact ทั่วๆ ไป โดยใช้งานร่วมกับกล้องหลายๆ ยี่ห้อ และหลายรุ่นที่เป็นแบบ compact โดยหลัก สำหรับตัวนี้ จะสามารถลงลึกได้ถึง 40m (เมตร) เลย
เมื่อกางตัว SeaShell ออกดู ก็เห็นรายละเอียดที่มากมายที่อยู่ภายในของเจ้าตัว housing กันน้ำตัวนี้ ซึ่งเราสามารถเอากล้อง compact ที่เรามี ใส่เข้าไปได้ พร้อมการปรับแต่งต่างๆ จากอุปกรณ์เสริมตกแต่งที่มีมาพร้อมในกล่อง เท่าที่ได้จับและสัมผัส วัสดุมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ใช่พลาสติกก๊อกแก๊กทั่วไป
ถ้าดูจากเอกสารการใช้งานอย่างย่อ ก็จะเห็นจุดสำคัญๆ ของตัว SeaShell ตัวนี้
ถึงเวลาทดสอบ … เอากระดาษทิชชู่แบบบาง (เพื่อให้มั่นใจว่า เวลาน้ำเข้า ชัดเจน และรู้แน่นอน!)
จากนั้น เริ่มเลยครับ เอามาลองทดสอบครั้งแรก (แบบไม่มี SONY QX-10 ) จับกดลงในตู้ปลาหมอสีก่อน เพื่อความมั่นใจ
หลังจากพา SeaShell ลงไปเล่นน้ำในตู้ปลาหมอสีแล้ว … ก็เอามาลองแกะดูสิว่า น้ำมันซึมผ่านเข้าไปได้ถึงด้านในไหม 555+ สบายใจได้ กระดาษทิชชู่ ยังไม่มีรอยใดใด เอากระดาษทิชชู่ขึ้นมาขยี้ดู บีบดู ก็ไม่มีความรู้สึกของน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา … การทดลองครั้งแรก … ผ่าน!!!!
มามา … เอา SONY QX-10 ดำดิ่งกัน! เมื่อทดสอบเบื้องต้นผ่านแล้ว … ก็มาถึงคราว SONY QX-10 ที่จะต้องลงน้ำ โดยในภาพจะเห็นว่า ตัว SONY QX-10 จะต้องเอาตัวที่ยึดกับมือถือออก เนื่องจากมันจะหนาเกินไป (นั่นหมายความว่า housing กันน้ำตัวนี้ หมดสิทธิ์ใช้งานกับ SONY QX-100 อย่างแน่นอน ) แต่พอเอาตัวแขนยึดด้านหลังออกไปเท่านั้นแหละ ก็สามารถปิดฝาหลังของ SeaShell housing ได้อย่างสบาย
มาดูใกล้ๆ กันว่า เมื่อ SONY QX-10 วางลงไปแล้วเป็นยังไงบ้าง … ต้องบอกว่า มันใส่ลงไปได้เกือบพอดีเป๊ะ แต่ดีที่ยังมีที่ว่างเหลือให้อีกนิด ก็เลยแก้ไขโดยการเอาเศษกระดาษมาใส่รองเฉพาะส่วนฐานเอาไว้ เพราะส่วนหัว จะเป็นปุ่ม Power ON/OFF
บริเวณด้านบน จะปล่อยไว้ เพราะมีปุ่ม Power ON/OFF อยู่ในจุดนี้ แถม ดูให้ดีๆ มันสามารถกดใช้งานได้ด้วย เพราะความสูงของมันเมื่อใส่ลงไป และความพอดี เลยทำให้ไม่ลำบากในการกด Power ON/OFF นั่นเอง
เมื่อปิดฝาหลังของ SeaShell housing สังเกตุเลยว่า แน่หนามาก แล้วก็ถึงเวลา … จับกดน้ำนั่นเอง 555
(สงสัย จะได้เลนส์ SONY QX-10 ตัวใหม่ล่ะวันนี้)
(ภาพจากกล้อง Canon PowerShot) ให้เห็นภาพที่แสดงบนหน้าจอ Samsung Galaxy S4 ได้ภาพมาจากในตู้ปลา ผ่าน SONY QX-10 (พร้อมกับเศษกระดาษทิชชู่ด้วย เผื่อน้ำเข้า จะได้ไหวตัวทัน 555)
ในภาพจะสังเกตว่า ต้องเอามือช่วยกดตัวอุปกรณ์ให้ลงใต้น้ำ เนื่องจากตัว housing มันจะลอย
2 ภาพด้านล่างนี้ คือ ภาพนิ่งที่ถ่ายจากเลนส์ SONY QX-10 ผ่านจอ Samsung Galaxy S4
(หลังจากเอาขึ้นจากน้ำ) นี่คือ สภาพของ SONY QX-10 ที่เปียกปอน .. เอ๊ย!!! ไม่เปียกๆๆๆๆ และอยู่ในสถานะ Power ON ด้วย ดูได้จาก lens ที่ยื่นออกมา ซึ่งข้อดีของ SeaShell housing ชุดนี้ รองรับการ zoom ของกล้องด้วย เรียกว่า ใช้งานได้ครบฟังก์ชั่นของมันเลยแหละ
และนี่คือ ภาพนายแบบของเรา “ปลาหมอสี” จากการบันทึกคลิปวีดิโอผ่านเลนส์ SONY QX-10 ที่ถูกซีลอยู่ใน SeaShell
(ไฟล์ที่บันทึกไว้ จะเก็บอยุ่ใน microSD card ที่อยู่ในตัว SONY QX-10)
สรุปการทดลองและทดสอบ ในการเอา SONY QX-10 ลงใต้น้ำ
*ใส่ SONY QX-10 เข้าไปใน SeaShell housing (จะวางได้พอดิบพอดี แต่หาพลาสติกนุ่มๆ ยาง หรือกระดาษรองส่วนท้ายนิดเดียวเท่านั้น)
*ต้องเอาตัวเกาะหลัง ที่ไว้ใช้ยึดกับมือถือต่างๆ ของ SONY QX-10 ออกด้วย ไม่งั้นจะปิดฝาหลังของ SeaShell ไม่ได้
(ซึ่งทำให้ได้คำตอบว่า SeaShell ตัวนี้ ไม่รองรับ SONY QX-100 แน่นอน)
*ก่อนจะปิดฝาหลัง SeaShell housing ให้ Power ON เจ้า SONY QX-10 และทำการเชื่อมต่อก่อนเอาลงดำน้ำ
*น้ำไม่เข้า ไม่ซึม แถมเวลาเปิดฝาหลังออกมา มีเสียง “บลุ๊ก!” มั่นใจได้ว่า … กันน้ำได้ดีแน่นอน
*ภาพนิ่งที่ได้ ก็มีความคมชัด
*ภาพวีดิโอคลิปที่ได้ ก็ชัดเจนดี ได้ทั้งภาพและเสียง
*ภาพที่แสดงผ่านหน้าจอมือถือ Samsung Galaxy S4 ถือว่า ชัดเจน ไม่ต่างกับที่ใช้งานบนบกทั่วไป
*ระยะในการทดลอง 4 นาทีนิดๆ (ระยะเวลาในคลิป 2 นาทีกว่าๆ)
** ในโอกาสหน้า จะเอา SONY QX-10 ไปลงน้ำแบบนานกว่านี้ แล้วมาดูภาพสวยๆ ใต้น้ำกัน
(ดูแบบ real-time ได้จากหน้าจอมือถือ / แทปเล๊ดได้ด้วย ^^)
ท้ายสุดนี้ ก็ต้องขอบคุณ K. Bee Kanja เจ้าของ SeaShell housing ที่ได้ให้ทดลองและทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าว
(ซึ่งเจ้าตัวบอกเลยว่า SeaShell ซื้อมาได้ราวครึ่งปีแล้ว ว่าจะซื้อมาใช้ แต่ยังไม่เคยได้ใช้เลย) รวมถึงสถานที่ในการทดสอบ ทดลองด้วยครับ
[CR] ห๊ะ!!! เอา SONY QX-10 ลงใต้น้ำรึ!?! … บ้าไปแล้ว – -” BY Gadzbox
มาวันนี้ ก็มีโอกาสที่จะเอา SONY QX-10 ได้ดำดิ่งใต้น้ำ
แต่จะขอแค่ทดลอง ทดสอบดูให้เห็นว่า
มันลงน้ำได้อย่างไร?
ผลเป็นอย่างไร?
ใส่เข้าไปได้ไหม? …
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน … กระทู้นี้ มีไว้เพื่อให้เห็นว่า เราทดลอง และทดสอบการใข้งานอีกรูปแบบหนึ่ง
(ไม่ได้แนะนำให้ทำตาม หากเกิดความเสียหายใดใดกับอุปกรณ์ ทางเราไม่ขอรับผิดชอบสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น)
ด้วยความตั้งใจที่จะเอาเจ้า SONY QX-10 ลงดำน้ำสักหน่อย แต่ก็ด้วยความกังวลต่างๆ ที่มี
จะลงได้ไหม?
ลงแล้วเป็นอย่างไร?
ใช้ housing ตัวไหนดี?
ราคาเท่าไหร่? (ถึงเรียกว่าใช้งานได้เหมาะสม)
น้ำจะเข้าไหม?
จะลองสั่งจากไหนมาลองก่อนไหม?
ภาพ (นิ่ง กะภาพวีดิโอ) ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร?
เสียงล่ะ?
อย่ากระนั้นเลย ถ้าใครใจร้อนก็เชิญกดดูคลิปที่บันทึกจาก SONY QX-10 เมื่อใส่ใน SeaShell housing แล้วอยู่ในตู้ปลาหมอสีกันเลย ^^
แล้วค่อยมาดูรายละเอียดในส่วนต่อไปก็ได้ครับ [บันทึกจาก SONY QX-10]
ส่วนคลิปนี้ คือ ทดลองใส่กระดาษทิชชู่เข้าไปแล้วเอาลงน้ำ ก่อนที่จะถึงเวลาเอา SONY QX-10 ลงน้ำจริง [บันทึกจาก Canon Powershot]
แน่นอนครับว่า มันน่าตื่นเต้นมาก ด้วยความที่ไม่เคยมีกล้องแบบเอาลงน้ำถ่ายรูปได้ หรือแม้แต่บันทึกเป็นคลิปวีดิโอได้ … อาจดูเชยๆ เอ้าท์ๆ แต่ … วันนี้ ก็ไม่ได้เอ้าท์แล้ว เมื่อเจอเพื่อนที่ชอบดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ได้ให้คำแนะนำอย่างเดียว แต่มีอุปกรณ์ที่เรากำลังฝันๆ เอาไว้อยู่เลย (แต่แอบบอกว่า ราคามันก็ใช่ย่อยอยู่นะ)
นั่นก็คือ SeaShell โดยตัวมันให้คำอธิบายว่า “Universal Water Proof Camera Case” ซึ่งก็คือ housing สำหรับกล้อง compact ทั่วๆ ไป โดยใช้งานร่วมกับกล้องหลายๆ ยี่ห้อ และหลายรุ่นที่เป็นแบบ compact โดยหลัก สำหรับตัวนี้ จะสามารถลงลึกได้ถึง 40m (เมตร) เลย
เมื่อกางตัว SeaShell ออกดู ก็เห็นรายละเอียดที่มากมายที่อยู่ภายในของเจ้าตัว housing กันน้ำตัวนี้ ซึ่งเราสามารถเอากล้อง compact ที่เรามี ใส่เข้าไปได้ พร้อมการปรับแต่งต่างๆ จากอุปกรณ์เสริมตกแต่งที่มีมาพร้อมในกล่อง เท่าที่ได้จับและสัมผัส วัสดุมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ใช่พลาสติกก๊อกแก๊กทั่วไป
ถ้าดูจากเอกสารการใช้งานอย่างย่อ ก็จะเห็นจุดสำคัญๆ ของตัว SeaShell ตัวนี้
ถึงเวลาทดสอบ … เอากระดาษทิชชู่แบบบาง (เพื่อให้มั่นใจว่า เวลาน้ำเข้า ชัดเจน และรู้แน่นอน!)
จากนั้น เริ่มเลยครับ เอามาลองทดสอบครั้งแรก (แบบไม่มี SONY QX-10 ) จับกดลงในตู้ปลาหมอสีก่อน เพื่อความมั่นใจ
หลังจากพา SeaShell ลงไปเล่นน้ำในตู้ปลาหมอสีแล้ว … ก็เอามาลองแกะดูสิว่า น้ำมันซึมผ่านเข้าไปได้ถึงด้านในไหม 555+ สบายใจได้ กระดาษทิชชู่ ยังไม่มีรอยใดใด เอากระดาษทิชชู่ขึ้นมาขยี้ดู บีบดู ก็ไม่มีความรู้สึกของน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา … การทดลองครั้งแรก … ผ่าน!!!!
มามา … เอา SONY QX-10 ดำดิ่งกัน! เมื่อทดสอบเบื้องต้นผ่านแล้ว … ก็มาถึงคราว SONY QX-10 ที่จะต้องลงน้ำ โดยในภาพจะเห็นว่า ตัว SONY QX-10 จะต้องเอาตัวที่ยึดกับมือถือออก เนื่องจากมันจะหนาเกินไป (นั่นหมายความว่า housing กันน้ำตัวนี้ หมดสิทธิ์ใช้งานกับ SONY QX-100 อย่างแน่นอน ) แต่พอเอาตัวแขนยึดด้านหลังออกไปเท่านั้นแหละ ก็สามารถปิดฝาหลังของ SeaShell housing ได้อย่างสบาย
มาดูใกล้ๆ กันว่า เมื่อ SONY QX-10 วางลงไปแล้วเป็นยังไงบ้าง … ต้องบอกว่า มันใส่ลงไปได้เกือบพอดีเป๊ะ แต่ดีที่ยังมีที่ว่างเหลือให้อีกนิด ก็เลยแก้ไขโดยการเอาเศษกระดาษมาใส่รองเฉพาะส่วนฐานเอาไว้ เพราะส่วนหัว จะเป็นปุ่ม Power ON/OFF
บริเวณด้านบน จะปล่อยไว้ เพราะมีปุ่ม Power ON/OFF อยู่ในจุดนี้ แถม ดูให้ดีๆ มันสามารถกดใช้งานได้ด้วย เพราะความสูงของมันเมื่อใส่ลงไป และความพอดี เลยทำให้ไม่ลำบากในการกด Power ON/OFF นั่นเอง
เมื่อปิดฝาหลังของ SeaShell housing สังเกตุเลยว่า แน่หนามาก แล้วก็ถึงเวลา … จับกดน้ำนั่นเอง 555
(สงสัย จะได้เลนส์ SONY QX-10 ตัวใหม่ล่ะวันนี้)
(ภาพจากกล้อง Canon PowerShot) ให้เห็นภาพที่แสดงบนหน้าจอ Samsung Galaxy S4 ได้ภาพมาจากในตู้ปลา ผ่าน SONY QX-10 (พร้อมกับเศษกระดาษทิชชู่ด้วย เผื่อน้ำเข้า จะได้ไหวตัวทัน 555)
ในภาพจะสังเกตว่า ต้องเอามือช่วยกดตัวอุปกรณ์ให้ลงใต้น้ำ เนื่องจากตัว housing มันจะลอย
2 ภาพด้านล่างนี้ คือ ภาพนิ่งที่ถ่ายจากเลนส์ SONY QX-10 ผ่านจอ Samsung Galaxy S4
(หลังจากเอาขึ้นจากน้ำ) นี่คือ สภาพของ SONY QX-10 ที่เปียกปอน .. เอ๊ย!!! ไม่เปียกๆๆๆๆ และอยู่ในสถานะ Power ON ด้วย ดูได้จาก lens ที่ยื่นออกมา ซึ่งข้อดีของ SeaShell housing ชุดนี้ รองรับการ zoom ของกล้องด้วย เรียกว่า ใช้งานได้ครบฟังก์ชั่นของมันเลยแหละ
และนี่คือ ภาพนายแบบของเรา “ปลาหมอสี” จากการบันทึกคลิปวีดิโอผ่านเลนส์ SONY QX-10 ที่ถูกซีลอยู่ใน SeaShell
(ไฟล์ที่บันทึกไว้ จะเก็บอยุ่ใน microSD card ที่อยู่ในตัว SONY QX-10)
สรุปการทดลองและทดสอบ ในการเอา SONY QX-10 ลงใต้น้ำ
*ใส่ SONY QX-10 เข้าไปใน SeaShell housing (จะวางได้พอดิบพอดี แต่หาพลาสติกนุ่มๆ ยาง หรือกระดาษรองส่วนท้ายนิดเดียวเท่านั้น)
*ต้องเอาตัวเกาะหลัง ที่ไว้ใช้ยึดกับมือถือต่างๆ ของ SONY QX-10 ออกด้วย ไม่งั้นจะปิดฝาหลังของ SeaShell ไม่ได้
(ซึ่งทำให้ได้คำตอบว่า SeaShell ตัวนี้ ไม่รองรับ SONY QX-100 แน่นอน)
*ก่อนจะปิดฝาหลัง SeaShell housing ให้ Power ON เจ้า SONY QX-10 และทำการเชื่อมต่อก่อนเอาลงดำน้ำ
*น้ำไม่เข้า ไม่ซึม แถมเวลาเปิดฝาหลังออกมา มีเสียง “บลุ๊ก!” มั่นใจได้ว่า … กันน้ำได้ดีแน่นอน
*ภาพนิ่งที่ได้ ก็มีความคมชัด
*ภาพวีดิโอคลิปที่ได้ ก็ชัดเจนดี ได้ทั้งภาพและเสียง
*ภาพที่แสดงผ่านหน้าจอมือถือ Samsung Galaxy S4 ถือว่า ชัดเจน ไม่ต่างกับที่ใช้งานบนบกทั่วไป
*ระยะในการทดลอง 4 นาทีนิดๆ (ระยะเวลาในคลิป 2 นาทีกว่าๆ)
** ในโอกาสหน้า จะเอา SONY QX-10 ไปลงน้ำแบบนานกว่านี้ แล้วมาดูภาพสวยๆ ใต้น้ำกัน
(ดูแบบ real-time ได้จากหน้าจอมือถือ / แทปเล๊ดได้ด้วย ^^)
ท้ายสุดนี้ ก็ต้องขอบคุณ K. Bee Kanja เจ้าของ SeaShell housing ที่ได้ให้ทดลองและทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าว
(ซึ่งเจ้าตัวบอกเลยว่า SeaShell ซื้อมาได้ราวครึ่งปีแล้ว ว่าจะซื้อมาใช้ แต่ยังไม่เคยได้ใช้เลย) รวมถึงสถานที่ในการทดสอบ ทดลองด้วยครับ