จะซื้อหูฟังครับ แต่เลือกไม่ถูก ควรดูยังไง

กระทู้คำถาม
คือผมจะซื้อหูฟังอะครับแต่เลือกไม่ถูก
ไม่เคยเลือกหูฟังเลย เยอะไปหมด

เลยอยากถามว่าทำไม บางตัว
1.ความต้านทานโอห์ม ไม่เท่ากันครับ บางตัว 32 อีกตัว 47 แล้วระหว่าง 32 กับ 47 อันไหนเวิร์กกว่า คืออะไีรหรือครับ
2.ขนาดตัวขับเสียง 40 มม. คืออะไีรหรือครับ
3.ค่าความไวเสียงที่ 108dB+5dB อีกตัว 105dB และอีกตัว 113db+3dB อันไหนเวิร์กกว่ากัน คืออะไีรหรือครับ
4.ตอบสนองความถี่ 20Hz to 20Hz อีกตัว 10Hz - 24KHz และอีกตัว 15 Hz ถึง 20 kHz ตัวไหนเวิร์กครับ คืออะไีรหรือครับ

ขออภัยที่ถามเยอะครับแต่ อยากรู้รายละเอียดสักนิดก่อนซื้อ
ขอบคุณสำหรับ คำตอบล่วงหน้าจ้ายิ้มยิ้มกระทิงเริงร่าอมยิ้ม22
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
ปรกติถ้าจะเลือกหูฟังมาเพื่อฟังเพลง ตัว spec ไม่ต้องใส่ใจรายละเอียดมากครับ เพราะโดยปรกติหูฟังพวกที่ไซส์เล็กอย่างตระกูล in-ear และ earbud มักจะไม่ได้กินกำลังขับอะไรมากมาย ถ้าไม่ใช่พวกโอห์มสูงที่ออกแบบมาให้ใช้เฉพาะทางและเพื่อผลทางเสียง โดยทั่วไปมือถือก็ขับออกครับ

ทีนี้พวก spec ต่างๆอย่าง

1.ความต้านทานโอห์ม ไม่เท่ากันครับ บางตัว 32 อีกตัว 47 แล้วระหว่าง 32 กับ 47 อันไหนเวิร์กกว่า คืออะไีรหรือครับ

  - ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันคือ "ค่าความต้านทาน" ถ้าพูดกันตรงๆมันก็คือตัวกำหนดว่า กระแสไฟฟ้าจะไหลในระบบหรือในสายได้แค่ไหน
  ยิ่งตัวเลขสูง ตัวกระแสก็ยิ่งไหลได้ยากขึ่น ถ้าเทียบกันระหว่าง 16ohm และ 100ohm ก็จะเห็นได้ว่า ตัว 100ohm เสียงจะเบากว่า
  ใน volume ระดับเดียวกัน

2.ขนาดตัวขับเสียง 40 มม. คืออะไีรหรือครับ

  - โดยปรกติขนาดของ driver ยิ่งใหญ่ ก็จะให้ dynamic-range ที่ดียิ่งขึ้นครับ แต่มันก็ไม่ใช่เสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกมาทำ driver
     รวมไปถึงคุณภาพแม่เหล็กที่ใช้ด้วย แต่ใหญ่ไว้ก่อนจะดีที่สุด เพียงแต่ใหญ่มากๆมันก็จะทำให้ออกแบบให้ใส่สบายได้ยากขึ้น โดยมากจึงมักจะ
     เลือกให้อยู่ในระดับพอดีๆ ครับ

3.ค่าความไวเสียงที่ 108dB+5dB อีกตัว 105dB และอีกตัว 113db+3dB อันไหนเวิร์กกว่ากัน คืออะไีรหรือครับ
  
   -ค่า Sensitivity ปรกติจะเป็นตัวบ่งบอกว่าหูฟังตัวนั้นหรือขับยากครับ ปรกติค่าที่ระบุจะเป็นค่าสูงสุดที่กระแส 1khz เช่น 108db+5db @1khz  
    หรือ 108db+5db หมายถึง ที่กระแส 1khz ตัวหูฟังจะให้ระดับเสียงถึง 108db ส่วนค่า + - 5db มันคือ Swing Rate ที่อาจจะดังกว่านั้น 5db
    หรือ เบากว่านั้น 5db ครับ ตรงนี้ถ้าหูฟังตัวไหนมีค่า Sensitivity สูงๆ แม้จะโอห์มสูงก็ตาม ก็จะสามารถใช้มือถือขับได้ด้วยครับ แต่ก็จะ
    ไม่ได้ Dynamic ที่โดนขวางด้วย ค่า impedance อีกที พูดง่ายๆคือดังได้ยิน แต่เสียงบางขาดมิติ ประมาณนั้นครับ

4.ตอบสนองความถี่ 20Hz to 20Hz อีกตัว 10Hz - 24KHz และอีกตัว 15 Hz ถึง 20 kHz ตัวไหนเวิร์กครับ คืออะไีรหรือครับ

    - Frequency Response จริงๆมันเป็นค่าที่กำหนดศักยภาพของหูฟังนั้นๆครับ โดยปรกติหูคนเราจะได้ยินความถี่ที่ 20hz-20khz( 20000hz )
      เกินกว่านั้นในทางวิทยาศาสตร์ว่า ไม่ได้ยิน แต่ในความเป็นจริง ต่ำกว่านั้น หรือสูงกว่านั้น คนบางคนก็สามารถได้ยินครับ พูดตามตรงคือ ค่า
      20hz-20khz เป็นค่ามาตรฐานสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเรื่องความบกพร่องทางการได้ยิน พวกที่ยินมากกว่านี้คือพวก เกินมาตรฐาน ครับ
      ถามว่าสำคัญกับการฟังเพลงไม๊ ก็ต้องตอบว่า ถ้าใช้ฟังเพลงกันจริงๆ ถือว่าไม่สำคัญครับ เหตุผลเพราะ player ทั่วๆไป ให้ได้เต็มที่แค่
     20hz-20khz ดังนั้น ต่อให้เลือก Frequency Response เทพแค่ไหน เราก็ไม่มีทางได้ยินที่เกินกว่านั้นแน่นอน ยกเว้น DAC บางตัว หรือ พวกชุด
      soundcard หรือ งาน live ที่ต่อชุด PA หรือ Mixer ตรงๆ พวกนั้นก็จะมีศักยภาพพอเพียงกับหูฟังครับ โดยมากพวก Frequency Response
      คนที่จะดูมักจะดูเพื่อเลือกมาใช้งานมากกว่าใช้ฟังเพลงครับ


และวิธีการเลือกหูฟังที่ดีที่สุด คือ การไปขอลองฟังด้วยตัวเอง ที่ Player ตัวเอง และ เพลงที่ตัวเองชอบครับ

ชอบอันไหนซื้ออันนั้น
ความคิดเห็นที่ 3
ใช้กับ player ชนิดไหนครับ ถ้าเป็น smart phone หรือ ipod ให้มองไปที่หูฟัง โอมห์ต่ำๆ ไม่เกิน 32 โอมห์ไว้ก่อนครับจะได้ฟังเสียงที่เต็มประสิทธิภาพของหูฟังจริงๆ

ขนาดตัวขับ คือขนาด driver  นั่นเองครับ

ส่วนความไวเสียง กับการตอบสนองความถี่ ความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่ต้องไปสนใจมากครับ
เพราะถึงอย่างไร หูเราก็บอกความแตกต่างไม่ได้อยู่แล้ว ต้องใช้เครื่องวัดอย่างเดียว จะกันเหนียว
เลือกย่านกว้างๆไว้ก่อนก็ไม่ผิดครับ

ที่สำคัญน่าเป็นเรื่องบุคคลิกเสียงของแต่ละแบรนด์มากกว่านะครับ เรื่องเทคนิคจะเป็นไงก็ช่าง แต่ถ้าลองฟังแบรนด์ไหนแล้วชอบ specification ก็ไม่สำคัญแล้วครับ

ปัจฉิมลิขิต หูฟังตัวละ 2000 เสียงมันคนละเรื่องกับตัวละ200 เลยนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่