ไปรพ.นะสิ!
ครับ ก็เข้าใจ คุณพยายามนำคนไข้ส่งรพ.ให้เร็วที่สุด อันนี้เห็นด้วย
ยิ่งถ้าพูดถึงน้ำใจต่อสังคม ที่พวกคุณทำเพื่อคนเดือดร้อน โดยไม่ได้รับผลประโยชน์(รึเปล่า) ผมยิ่งต้องขอบคุณพวกคุณมาก
แต่บางครั้ง การทำประโยชน์ต่อสังคม มันก็ไม่ควรจะไปทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อคนอื่นเขา
ที่มาตั้งกระทู้นี่ เพราะหลายครั้ง ที่เห็นว่าคุณรีบมาก จนลืมนึกถึงความปลอดภัยบนท้องถนนของคนอื่นไปด้วยรึเปล่า
ผมขอเล่าประสบการณ์ตรงนะครับ
ที่4แยก มันก็จะแดงแล้วล่ะ ไฟเหลืองละ ผมก็ชลอรถ เพราะเป็นแยกใหญ่ รถขับกันเร็ว มอร์ไซด์ก็เยอะ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เห็นไฟเหลืองน่าจะชลอความเร็ว เพราะพอผมถึงแยกมันก็แดงแล้ว น่าจะแดงอยู่สัก 2-3 วิ รถกู้ภัยมาเลนขวา แซงรถผม ฝ่าไฟที่เพิ่งแดง ชนกับมอร์ไซด์ที่มาอีกทางเลยครับ กลางแยกนั่นล่ะ ดีที่คนขับมอร์ไซด์น่าจะไม่เป็นไรมากถึงชีวิต เพราะเห็นยังพอขยับแขนขยับคอได้ แล้วก็ดีที่กู้ภัยคันนั้น ก็ลงมาช่วยกัน รีบหามส่งรพ.ไปอีกคน
คือ ก็ไม่รู้ว่า ทางกู้ภัยมีคนเจ็บบนรถอยู่แล้วรึเปล่า หรือแค่กำลังจะไปรับคนเจ็บที่อื่น
แล้วก็ไม่รู้ว่า ถ้ากำลังจะไปรับคนเจ็บคนอื่น ไม่แน่ใจว่าคนนั้นจะเจ็บเท่าคนนี้หรือเปล่า คนนี้ผมว่าน่าจะมีปัญหาที่หลัง เพราะไม่เห็นขยับท่อนล่างเลย ขยับแต่แขนไปมา อันนี้เดาเอานะ ในฐานะจุดๆๆ กลัวจะเป็นกระดูกไขสันหลังได้รับอันตราย อัมพาตท่อนล่าง
คือถ้าจะฝ่าไฟแดงแยกใหญ่ๆแบบนั้น เพราะมีคนไข้เจ็บหนักมากบนรถ ยังไงก็น่าจะชลอรถหน่อย เอาว่าปลอดภัย ค่อยๆขอทางฝ่าไฟแดงไป น่าจะดีกว่ารีบปรู๊ด รีบให้มันข้ามแยก เพราะมอร์ไซด์อีกฝั่งเขาก็อยู่แถวหน้า แค่อีกฝั่งหยุดเขาก็เตรียมตัวออกกันแล้ว แล้วต่อให้มีเสียงหวอ บางทีเขาก็ไม่ได้สังเกตว่าหวอมาจากฝั่งไหน บางทีตึกบัง รถบัง เขาเห็นทางเขาไฟเขียวเขาก็บึ่งออกแล้วเช่นกัน
นี่ก็เป็นอุธาหรณ์
และในฐานะจุดๆๆ ผมบอกเลยว่า ถ้าคุณรีบมากแค่ไหน ส่งรพ.ใกล้ที่สุด ได้เร็วขึ้นกว่ารีบปกติ สัก 3 นาที
ก็ไม่ได้แปลว่าจะช่วยเหลือคนไข้ให้พ้นขีดอันตรายได้ทุกราย
จริงอยู่ที่ส่งถึงเร็วกว่า ถึงมือหมอเร็วกว่า น่าจะมีโอกาสรอดสูงกว่า ปลอดภัยมากกว่า
แต่ผมว่ามันน่าจะมีลิมิตว่า เร็วแค่ไหน เร็วแค่ว่าปลอดภัยต่อผู้สัญจรคนอื่นๆได้ไหม
ไม่ใช่เร็วรักษาผลประโยชน์ฝ่ายตนฝ่ายเดียว โดยหลงลืมความปลอดภัยของคนอื่น
นี่ขอเอาเรื่องจริงมาพูดนะครับ ในฐานะจุดๆๆนี่ล่ะ
หมอที่ห้องฉุกเฉิน (ER) ที่ไม่ได้ยุ่งมาก มีแพทย์เวรคนเดียว เขาก็ไม่ได้นั่งเฝ้านอนเฝ้าERทุกนาทีนะครับ บางคนไม่ห่อข้าวมากิน ก็เดินออกไปเซเว่นหน้ารพ.บ้าง ไปร้านกาแฟในรพ.บ้าง พักเที่ยงก็ไปกินข้าวที่โรงอาหารในรพ.บ้าง
พวกนี้ใช้เวลาไม่น่าต่ำกว่า 5 นาทีครับ บางคนไปไกลกว่านั้นเผลอๆเป็น 10 นาที
คุณรีบมาก ถึงเร็วกว่ารีบปกติแค่ 3 นาที นู่น หมอยังอยู่เซเว่นอยู่เลย หมอบางคนยังเมาท์มอยกันที่ร้านกาแฟ
คุณมาถึง พยาบาลเห็นคนไข้ ไม่มีชีพจร ถึงโทรตามหมอเวร กว่าจะโทรติด กว่าจะรับสาย กว่าจะรีบเดินรีบวิ่งมา ER (แต่หมอสาวๆสวยๆบางคนวิ่งไม่ได้ครับ ใส่กระโปรงแคบ กระโปรงสั้น แถมมือนึงถือกาแฟ มือนึงถือข้าวเซเว่น ทุลักทุเล เพราะงั้นใช้วิธีเดินเร็วแบบแข่งกีฬาเดินเร็วเอาน่ะครับ)
แต่ยังไงซะผมว่า ก็น่าจะหลายนาที กว่าจะถึง ER
แต่ถ้า ER รพ.ใหญ่ รร.แพทย์ รพศ. พวกนี้หมอมีหลายคน แถมอาจจะยุ่งทั้งวัน เผลอๆไม่ได้กินข้าวด้วยซ้ำ อาจจะฝากพยาบาลซื้อข้าวให้ หรือห่อมากินเอง เวลาพักสลับกันลงพัก เพราะงั้นไม่ค่อยมีปัญหา
แต่ถ้าเป็นรพช. ที่ทั้งวันทั้งคืน มีหมอคนเดียว กลางคืนนอนบ้านพักในรพ. หรือบางคนนอนบ้านใกล้ๆรพ. อันนี้จะหนักเลย
หลับลึกๆ โทรนานกว่าจะรับ กว่าจะแต่งตัว กว่าจะแบกสังขารสะโหลสะเหล (มีคำนี้ไหมในพจนานุกรม) คือง่วงอ่ะ มากด้วย บางคนหนักกว่า คือ เดินเอา บางคนดีมีจักยาน บางคนมอร์ไซด์ , นี่หนักกว่าหมอER ที่นอนที่ER อีกนะครับ กว่าจะมาถึงผมว่า เผลอๆบางครั้งอาจถึง 30 นาที
เอาล่ะ แน่นอนมีพยายาลเวรอยู่ประจำห้องER แม้หมอไม่ได้นอนนั่น
แต่บางครั้งการมาถึงไว มีจนท.พยาบาลช่วย มันก็ไม่ได้ช่วยให้การรักษาไปในทางที่ถูกต้องเสมอ หมอมาเร็วย่อมดีกว่ามาช้า
ผมยกตัวอย่างนะ
คนไข้หยุดหายใจ ไม่มีชีพจร กู้ภัยไวมาก รีบสุดชีวิต นำส่งจากบ้านมาถึงรพ.แป๊บเดียว อาจจะไม่เกิน5นาที
แต่กว่าจะตามหมอมาได้ 5 นาที หมอมาถึง เห็นพยาบาลช่วยกันปั๊มหัวใจคนไข้ เปิดเส้นให้น้ำเกลือ เตรียมอะดรีนานลิน(ยากระตุ้นหัวใจ)ไว้ให้เรียบร้อย หมอบอก "เดี๋ยวหยุดก่อน ขอดู EKG monitor หน่อย" (เครื่องดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดติดตาม)
อัยหยา! นีมัน VT (เป็นหัวใจเต้นเร็วแบบไม่ปรกติแบบหนึ่ง) นี่หว่า, หมอก็เตรียมช็อตไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจคนไข้ ช็อกที สองที หัวใจกลับมาเต้นปกติละ คนนี้อาจจะรอดละ ดังนั้นคนนี้ถ้าหมอมาช้า ปั๊มไปเถอะครับ โอกาสที่จะปั๊มขึ้นและรอดน้อยมากกว่าการได้รับการช็อตไฟฟ้าเสียอีก
ในกรณีเดียวกันนี้ ถามว่า ถ้าหมอมาช้าล่ะ 15 นาที 20 นาที กว่าจะออกจากบ้านพัก ท้ายรพ.
VT ที่คนไข้เป็น อาจจะกลายเป็น Asystole คือหยุดเต้นแบบไม่มีอะไรเลย อย่างนี้เริ่มแก้ไขยากแล้ว ต่อให้ช็อตก็ไม่ค่อยได้ผลเหมือนตอนกำลังเป็น VT
ที่พูดมานี้ ไม่ได้จะมาว่าหมอนั่นล่ะเป็นตัวการสำคัญที่สุด ที่จะบอกว่าคนไข้จะรอดหรือไม่รอด( เดี๋ยวจะมีดราม่าอีก)
เพราะมันต้องพิจารณาอะไรๆอีกหลายอย่างร่วมกัน ไม่ใช่แค่ความรวดเร็วในการรักษา อาจจะต้องดูปัจจัยเรื่องภาวะแทรกซ้อน โรคประจำตัว ความพร้อมของหัตถการในการช่วยเหลือ ความพร้อมของยาและศักยภาพของรพ.นั้นๆด้วย เป็นต้น
แต่ในฐานะจุดๆๆ ผมยังเห็นว่า ความรวดเร็วในการให้บริการคนไข้ ยังเป็นประเด็นแรกๆที่ต้องให้ความใส่ใจ
ทั้งระดับการจัดการก่อนถึงรพ. และที่รพ. รวมถึงการส่งต่อ
อาจไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าระดับการจัดการก่อนถึงรพ. ทำได้ดี ทำได้ไว แต่ที่รพ.จัดการไม่ได้เรื่อง ซึ่งก็รวมถึงการส่งต่อก็จะช้าด้วย
อาจไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าระดับการจัดการก่อนถึงรพ. ทำได้ดี ทำได้ไว รพ.จัดการได้ตามมาตรฐาน และการส่งต่อล่าช้า โยนกันไปกันมา ที่นั่นไม่รับที่นู่นไม่รับ, ต้องรอconsult staff ก่อน ถือสายรอแป๊บ ซึ่งบางทีมันไม่แป๊บ,ไม่มีเครื่องนั่นเครื่องนี่ เครื่องมือไม่พร้อม ให้โทรที่อื่นดู, สิทธิ์ไม่รองรับ ลองโทรหารพ.ต้นสังกัดก่อน (ทั้งๆที่รพ.ต้นสังกัดไกลกว่า รร.แพทย์ซะอีก แต่ต้องทำตามระบบ), โทรหารพศ.ต้นสังกัด บอกให้แฟกซ์ผลนั่นผลนู่นมาให้ดูก่อน , รพศ.ต้นสังกัดบอก หมอคนที่ทำได้รักษาได้ไม่อยู่ไปประชุมต่างประเทศ เดี๋ยวประสานต่อรร.แพทย์ให้,
ไม่แปลกเลยที่สมัยผมอยู่ รพช. เคยต้องรอส่งต่อคนไข้คนหนึ่ง ถึง 10 ชม. โทรหารพ.บ้าน "เดี๋ยวโทรติดต่อกลับมาอีกที 30 นาทีนะคะ รอปรึกษาหมอเวรก่อน" โทรหารพ.ในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันตก รวมถึง 14 รพ. กว่าจะหาที่ลงได้ ผลร้ายตกไปอยู่ที่ตัวคนไข้โดยตรง
ข้อเสนอของผมนะ เรื่องการจัดการก่อนถึงรพ. จริงๆมันมีแนวทางกันแพร่หลายอยู่ แล้ว และได้ยึดถือปฏิบัติกันมา
อย่างเช่น การโทรแจ้งก่อนนำส่ง เพื่อแจ้งสถานะผู้ป่วย ให้ทางรพ.เตรียมความพร้อม (เช่น รีบโทรหาหมอไว้เลย ไม่ใช่ ไปถึงเจอว่าแย่แล้วค่อยตามหมอ ) แต่แนวทางวิธีปฏิบัติพวกนี้ ผมว่ามันหละหลวมและไม่จริงจังเอาเสียเลย
สมัยอยู่ ER น้อยครั้งมากที่จะได้รับโทรศัพท์ จากพยาบาลว่า กู้ภัยแจ้งว่าคนไข้ไม่ดี ไม่หายใจ ไม่มีชีพจร กำลังนำส่ง?
แต่ที่ได้ยินบ่อยกว่า คือ "หมอคะ ที่ ER มีคนไข้ Arrest (หัวใจหยุดเต้น) ค่ะ" มาถึง เห็นกู้ภัยจอดอยู่หน้ารพ. !
อะไรเนี่ย
แค่ทำให้มันถูกต้องได้มาตรฐาน ตามแนวทาง ซะก็แล้ว
บางที กู้ภัยเขาก็โทรบอกนะครับ ไม่ใช่ไม่โทร แต่จนท.เรานั่นล่ะ ทราบแล้วไม่ตามหมอ ที่ไม่ตามเพราะ
- หมอดุ "โทรมาทำไม คนไข้ยังมาไม่ถึง ER ซะหน่อย!"
- ตามยาก แกบอกแล้วว่าไม่ต้องตามถ้าไม่เร่งด่วน
- คิดว่าตามง่าย อยู่ในรพ. โทรตามเดี๋ยวแป๊บเดียวก็มาถึง รอตามตอนคนไข้มาก็ได้ ซึ่งจริงๆหมอเขาก็มีธุระ อยากออกนอกรพ.บ้างไรบ้าง ไปเซเว่นบ้างไรบ้างนะ
- คิดว่าทุกๆครั้งก็มาได้เร็วไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ใครจะไปรู้ว่าวันนั้นมือถือหมออาจจะแบทหมด ตอนอยู่นอกรพ., ไม่ก็เผลอทำมือถือหาย, ท้องเสียเข้าห้องน้ำ, ทะเลาะกับเมีย
- หนักกว่านั้น บางรพ.ที่ไม่ได้มีมือถือที่ห้อง ER สำหรับโทรหาแพทย์ โดยตรง ต้องโอนไปโอเปอเรเตอร์ก่อน แล้วค่อยโทรออกมือถือหมอ อันนี้มีตัวแปรเพิ่มคือจนท.โอเปอร์เรเตอร์ของรพ. เข้ามายุ่งด้วยละ ถ้าตัวแปรนี้มีปัญหา สายไม่ว่าง ยิ่งรอนานเข้าไปใหญ่
และอีก ฯลฯ
ที่กล่าวมานี้ เพื่อแค่จะบอกว่า คุณกู้ภัยครับ
ชีวิตคนไข้จะรอดไม่รอด จะปลอดภัยไม่ปลอดภัย ไม่ได้อยู่ที่คุณคุณเดียว
มีปัจจัยอะไรอีกมากมายก่ายกอง
คุณทำเต็มที่เท่าที่คุณทำได้ โอเคแล้ว คุณทำเพื่อคนอื่น ไม่หวังสิ่งตอบแทน โอเคแล้ว
แต่ได้โปรดอย่านึกถึงคนที่กำลังช่วยแต่ฝ่ายเดียว จนหลุดประเด็นความปลอดภัยของคนอื่นๆ รวมถึงตัวคุณและคนบนรถด้วย
เรารีบ เท่าที่เรารีบได้อย่างปลอดภัยเถอะครับ
ปล. เอามาพูดเรื่องจริงที่ประสบมา ในฐานะจุดๆๆ หวังว่าคงไม่มีหมอๆมาดราม่านะครับ
และจะยิ่งดีมาก ถ้าหมอๆ กู้ภัย คนที่เคยประสบเหตุ จะมาร่วมกันวิเคราะห์ ถึงปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้เหตุการณืแบบนี้มันไม่เกิดอีก
ในฐานะ...(จุด จุด จุด) คุณกู้ภัย คุณจะขับเร็วไปไหน... ฮึ!
ครับ ก็เข้าใจ คุณพยายามนำคนไข้ส่งรพ.ให้เร็วที่สุด อันนี้เห็นด้วย
ยิ่งถ้าพูดถึงน้ำใจต่อสังคม ที่พวกคุณทำเพื่อคนเดือดร้อน โดยไม่ได้รับผลประโยชน์(รึเปล่า) ผมยิ่งต้องขอบคุณพวกคุณมาก
แต่บางครั้ง การทำประโยชน์ต่อสังคม มันก็ไม่ควรจะไปทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อคนอื่นเขา
ที่มาตั้งกระทู้นี่ เพราะหลายครั้ง ที่เห็นว่าคุณรีบมาก จนลืมนึกถึงความปลอดภัยบนท้องถนนของคนอื่นไปด้วยรึเปล่า
ผมขอเล่าประสบการณ์ตรงนะครับ
ที่4แยก มันก็จะแดงแล้วล่ะ ไฟเหลืองละ ผมก็ชลอรถ เพราะเป็นแยกใหญ่ รถขับกันเร็ว มอร์ไซด์ก็เยอะ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เห็นไฟเหลืองน่าจะชลอความเร็ว เพราะพอผมถึงแยกมันก็แดงแล้ว น่าจะแดงอยู่สัก 2-3 วิ รถกู้ภัยมาเลนขวา แซงรถผม ฝ่าไฟที่เพิ่งแดง ชนกับมอร์ไซด์ที่มาอีกทางเลยครับ กลางแยกนั่นล่ะ ดีที่คนขับมอร์ไซด์น่าจะไม่เป็นไรมากถึงชีวิต เพราะเห็นยังพอขยับแขนขยับคอได้ แล้วก็ดีที่กู้ภัยคันนั้น ก็ลงมาช่วยกัน รีบหามส่งรพ.ไปอีกคน
คือ ก็ไม่รู้ว่า ทางกู้ภัยมีคนเจ็บบนรถอยู่แล้วรึเปล่า หรือแค่กำลังจะไปรับคนเจ็บที่อื่น
แล้วก็ไม่รู้ว่า ถ้ากำลังจะไปรับคนเจ็บคนอื่น ไม่แน่ใจว่าคนนั้นจะเจ็บเท่าคนนี้หรือเปล่า คนนี้ผมว่าน่าจะมีปัญหาที่หลัง เพราะไม่เห็นขยับท่อนล่างเลย ขยับแต่แขนไปมา อันนี้เดาเอานะ ในฐานะจุดๆๆ กลัวจะเป็นกระดูกไขสันหลังได้รับอันตราย อัมพาตท่อนล่าง
คือถ้าจะฝ่าไฟแดงแยกใหญ่ๆแบบนั้น เพราะมีคนไข้เจ็บหนักมากบนรถ ยังไงก็น่าจะชลอรถหน่อย เอาว่าปลอดภัย ค่อยๆขอทางฝ่าไฟแดงไป น่าจะดีกว่ารีบปรู๊ด รีบให้มันข้ามแยก เพราะมอร์ไซด์อีกฝั่งเขาก็อยู่แถวหน้า แค่อีกฝั่งหยุดเขาก็เตรียมตัวออกกันแล้ว แล้วต่อให้มีเสียงหวอ บางทีเขาก็ไม่ได้สังเกตว่าหวอมาจากฝั่งไหน บางทีตึกบัง รถบัง เขาเห็นทางเขาไฟเขียวเขาก็บึ่งออกแล้วเช่นกัน
นี่ก็เป็นอุธาหรณ์
และในฐานะจุดๆๆ ผมบอกเลยว่า ถ้าคุณรีบมากแค่ไหน ส่งรพ.ใกล้ที่สุด ได้เร็วขึ้นกว่ารีบปกติ สัก 3 นาที
ก็ไม่ได้แปลว่าจะช่วยเหลือคนไข้ให้พ้นขีดอันตรายได้ทุกราย
จริงอยู่ที่ส่งถึงเร็วกว่า ถึงมือหมอเร็วกว่า น่าจะมีโอกาสรอดสูงกว่า ปลอดภัยมากกว่า
แต่ผมว่ามันน่าจะมีลิมิตว่า เร็วแค่ไหน เร็วแค่ว่าปลอดภัยต่อผู้สัญจรคนอื่นๆได้ไหม
ไม่ใช่เร็วรักษาผลประโยชน์ฝ่ายตนฝ่ายเดียว โดยหลงลืมความปลอดภัยของคนอื่น
นี่ขอเอาเรื่องจริงมาพูดนะครับ ในฐานะจุดๆๆนี่ล่ะ
หมอที่ห้องฉุกเฉิน (ER) ที่ไม่ได้ยุ่งมาก มีแพทย์เวรคนเดียว เขาก็ไม่ได้นั่งเฝ้านอนเฝ้าERทุกนาทีนะครับ บางคนไม่ห่อข้าวมากิน ก็เดินออกไปเซเว่นหน้ารพ.บ้าง ไปร้านกาแฟในรพ.บ้าง พักเที่ยงก็ไปกินข้าวที่โรงอาหารในรพ.บ้าง
พวกนี้ใช้เวลาไม่น่าต่ำกว่า 5 นาทีครับ บางคนไปไกลกว่านั้นเผลอๆเป็น 10 นาที
คุณรีบมาก ถึงเร็วกว่ารีบปกติแค่ 3 นาที นู่น หมอยังอยู่เซเว่นอยู่เลย หมอบางคนยังเมาท์มอยกันที่ร้านกาแฟ
คุณมาถึง พยาบาลเห็นคนไข้ ไม่มีชีพจร ถึงโทรตามหมอเวร กว่าจะโทรติด กว่าจะรับสาย กว่าจะรีบเดินรีบวิ่งมา ER (แต่หมอสาวๆสวยๆบางคนวิ่งไม่ได้ครับ ใส่กระโปรงแคบ กระโปรงสั้น แถมมือนึงถือกาแฟ มือนึงถือข้าวเซเว่น ทุลักทุเล เพราะงั้นใช้วิธีเดินเร็วแบบแข่งกีฬาเดินเร็วเอาน่ะครับ)
แต่ยังไงซะผมว่า ก็น่าจะหลายนาที กว่าจะถึง ER
แต่ถ้า ER รพ.ใหญ่ รร.แพทย์ รพศ. พวกนี้หมอมีหลายคน แถมอาจจะยุ่งทั้งวัน เผลอๆไม่ได้กินข้าวด้วยซ้ำ อาจจะฝากพยาบาลซื้อข้าวให้ หรือห่อมากินเอง เวลาพักสลับกันลงพัก เพราะงั้นไม่ค่อยมีปัญหา
แต่ถ้าเป็นรพช. ที่ทั้งวันทั้งคืน มีหมอคนเดียว กลางคืนนอนบ้านพักในรพ. หรือบางคนนอนบ้านใกล้ๆรพ. อันนี้จะหนักเลย
หลับลึกๆ โทรนานกว่าจะรับ กว่าจะแต่งตัว กว่าจะแบกสังขารสะโหลสะเหล (มีคำนี้ไหมในพจนานุกรม) คือง่วงอ่ะ มากด้วย บางคนหนักกว่า คือ เดินเอา บางคนดีมีจักยาน บางคนมอร์ไซด์ , นี่หนักกว่าหมอER ที่นอนที่ER อีกนะครับ กว่าจะมาถึงผมว่า เผลอๆบางครั้งอาจถึง 30 นาที
เอาล่ะ แน่นอนมีพยายาลเวรอยู่ประจำห้องER แม้หมอไม่ได้นอนนั่น
แต่บางครั้งการมาถึงไว มีจนท.พยาบาลช่วย มันก็ไม่ได้ช่วยให้การรักษาไปในทางที่ถูกต้องเสมอ หมอมาเร็วย่อมดีกว่ามาช้า
ผมยกตัวอย่างนะ
คนไข้หยุดหายใจ ไม่มีชีพจร กู้ภัยไวมาก รีบสุดชีวิต นำส่งจากบ้านมาถึงรพ.แป๊บเดียว อาจจะไม่เกิน5นาที
แต่กว่าจะตามหมอมาได้ 5 นาที หมอมาถึง เห็นพยาบาลช่วยกันปั๊มหัวใจคนไข้ เปิดเส้นให้น้ำเกลือ เตรียมอะดรีนานลิน(ยากระตุ้นหัวใจ)ไว้ให้เรียบร้อย หมอบอก "เดี๋ยวหยุดก่อน ขอดู EKG monitor หน่อย" (เครื่องดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดติดตาม)
อัยหยา! นีมัน VT (เป็นหัวใจเต้นเร็วแบบไม่ปรกติแบบหนึ่ง) นี่หว่า, หมอก็เตรียมช็อตไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจคนไข้ ช็อกที สองที หัวใจกลับมาเต้นปกติละ คนนี้อาจจะรอดละ ดังนั้นคนนี้ถ้าหมอมาช้า ปั๊มไปเถอะครับ โอกาสที่จะปั๊มขึ้นและรอดน้อยมากกว่าการได้รับการช็อตไฟฟ้าเสียอีก
ในกรณีเดียวกันนี้ ถามว่า ถ้าหมอมาช้าล่ะ 15 นาที 20 นาที กว่าจะออกจากบ้านพัก ท้ายรพ.
VT ที่คนไข้เป็น อาจจะกลายเป็น Asystole คือหยุดเต้นแบบไม่มีอะไรเลย อย่างนี้เริ่มแก้ไขยากแล้ว ต่อให้ช็อตก็ไม่ค่อยได้ผลเหมือนตอนกำลังเป็น VT
ที่พูดมานี้ ไม่ได้จะมาว่าหมอนั่นล่ะเป็นตัวการสำคัญที่สุด ที่จะบอกว่าคนไข้จะรอดหรือไม่รอด( เดี๋ยวจะมีดราม่าอีก)
เพราะมันต้องพิจารณาอะไรๆอีกหลายอย่างร่วมกัน ไม่ใช่แค่ความรวดเร็วในการรักษา อาจจะต้องดูปัจจัยเรื่องภาวะแทรกซ้อน โรคประจำตัว ความพร้อมของหัตถการในการช่วยเหลือ ความพร้อมของยาและศักยภาพของรพ.นั้นๆด้วย เป็นต้น
แต่ในฐานะจุดๆๆ ผมยังเห็นว่า ความรวดเร็วในการให้บริการคนไข้ ยังเป็นประเด็นแรกๆที่ต้องให้ความใส่ใจ
ทั้งระดับการจัดการก่อนถึงรพ. และที่รพ. รวมถึงการส่งต่อ
อาจไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าระดับการจัดการก่อนถึงรพ. ทำได้ดี ทำได้ไว แต่ที่รพ.จัดการไม่ได้เรื่อง ซึ่งก็รวมถึงการส่งต่อก็จะช้าด้วย
อาจไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าระดับการจัดการก่อนถึงรพ. ทำได้ดี ทำได้ไว รพ.จัดการได้ตามมาตรฐาน และการส่งต่อล่าช้า โยนกันไปกันมา ที่นั่นไม่รับที่นู่นไม่รับ, ต้องรอconsult staff ก่อน ถือสายรอแป๊บ ซึ่งบางทีมันไม่แป๊บ,ไม่มีเครื่องนั่นเครื่องนี่ เครื่องมือไม่พร้อม ให้โทรที่อื่นดู, สิทธิ์ไม่รองรับ ลองโทรหารพ.ต้นสังกัดก่อน (ทั้งๆที่รพ.ต้นสังกัดไกลกว่า รร.แพทย์ซะอีก แต่ต้องทำตามระบบ), โทรหารพศ.ต้นสังกัด บอกให้แฟกซ์ผลนั่นผลนู่นมาให้ดูก่อน , รพศ.ต้นสังกัดบอก หมอคนที่ทำได้รักษาได้ไม่อยู่ไปประชุมต่างประเทศ เดี๋ยวประสานต่อรร.แพทย์ให้,
ไม่แปลกเลยที่สมัยผมอยู่ รพช. เคยต้องรอส่งต่อคนไข้คนหนึ่ง ถึง 10 ชม. โทรหารพ.บ้าน "เดี๋ยวโทรติดต่อกลับมาอีกที 30 นาทีนะคะ รอปรึกษาหมอเวรก่อน" โทรหารพ.ในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันตก รวมถึง 14 รพ. กว่าจะหาที่ลงได้ ผลร้ายตกไปอยู่ที่ตัวคนไข้โดยตรง
ข้อเสนอของผมนะ เรื่องการจัดการก่อนถึงรพ. จริงๆมันมีแนวทางกันแพร่หลายอยู่ แล้ว และได้ยึดถือปฏิบัติกันมา
อย่างเช่น การโทรแจ้งก่อนนำส่ง เพื่อแจ้งสถานะผู้ป่วย ให้ทางรพ.เตรียมความพร้อม (เช่น รีบโทรหาหมอไว้เลย ไม่ใช่ ไปถึงเจอว่าแย่แล้วค่อยตามหมอ ) แต่แนวทางวิธีปฏิบัติพวกนี้ ผมว่ามันหละหลวมและไม่จริงจังเอาเสียเลย
สมัยอยู่ ER น้อยครั้งมากที่จะได้รับโทรศัพท์ จากพยาบาลว่า กู้ภัยแจ้งว่าคนไข้ไม่ดี ไม่หายใจ ไม่มีชีพจร กำลังนำส่ง?
แต่ที่ได้ยินบ่อยกว่า คือ "หมอคะ ที่ ER มีคนไข้ Arrest (หัวใจหยุดเต้น) ค่ะ" มาถึง เห็นกู้ภัยจอดอยู่หน้ารพ. !
อะไรเนี่ย
แค่ทำให้มันถูกต้องได้มาตรฐาน ตามแนวทาง ซะก็แล้ว
บางที กู้ภัยเขาก็โทรบอกนะครับ ไม่ใช่ไม่โทร แต่จนท.เรานั่นล่ะ ทราบแล้วไม่ตามหมอ ที่ไม่ตามเพราะ
- หมอดุ "โทรมาทำไม คนไข้ยังมาไม่ถึง ER ซะหน่อย!"
- ตามยาก แกบอกแล้วว่าไม่ต้องตามถ้าไม่เร่งด่วน
- คิดว่าตามง่าย อยู่ในรพ. โทรตามเดี๋ยวแป๊บเดียวก็มาถึง รอตามตอนคนไข้มาก็ได้ ซึ่งจริงๆหมอเขาก็มีธุระ อยากออกนอกรพ.บ้างไรบ้าง ไปเซเว่นบ้างไรบ้างนะ
- คิดว่าทุกๆครั้งก็มาได้เร็วไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ใครจะไปรู้ว่าวันนั้นมือถือหมออาจจะแบทหมด ตอนอยู่นอกรพ., ไม่ก็เผลอทำมือถือหาย, ท้องเสียเข้าห้องน้ำ, ทะเลาะกับเมีย
- หนักกว่านั้น บางรพ.ที่ไม่ได้มีมือถือที่ห้อง ER สำหรับโทรหาแพทย์ โดยตรง ต้องโอนไปโอเปอเรเตอร์ก่อน แล้วค่อยโทรออกมือถือหมอ อันนี้มีตัวแปรเพิ่มคือจนท.โอเปอร์เรเตอร์ของรพ. เข้ามายุ่งด้วยละ ถ้าตัวแปรนี้มีปัญหา สายไม่ว่าง ยิ่งรอนานเข้าไปใหญ่
และอีก ฯลฯ
ที่กล่าวมานี้ เพื่อแค่จะบอกว่า คุณกู้ภัยครับ
ชีวิตคนไข้จะรอดไม่รอด จะปลอดภัยไม่ปลอดภัย ไม่ได้อยู่ที่คุณคุณเดียว
มีปัจจัยอะไรอีกมากมายก่ายกอง
คุณทำเต็มที่เท่าที่คุณทำได้ โอเคแล้ว คุณทำเพื่อคนอื่น ไม่หวังสิ่งตอบแทน โอเคแล้ว
แต่ได้โปรดอย่านึกถึงคนที่กำลังช่วยแต่ฝ่ายเดียว จนหลุดประเด็นความปลอดภัยของคนอื่นๆ รวมถึงตัวคุณและคนบนรถด้วย
เรารีบ เท่าที่เรารีบได้อย่างปลอดภัยเถอะครับ
ปล. เอามาพูดเรื่องจริงที่ประสบมา ในฐานะจุดๆๆ หวังว่าคงไม่มีหมอๆมาดราม่านะครับ
และจะยิ่งดีมาก ถ้าหมอๆ กู้ภัย คนที่เคยประสบเหตุ จะมาร่วมกันวิเคราะห์ ถึงปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้เหตุการณืแบบนี้มันไม่เกิดอีก