ฝากประจำ กับวงเงิน OD

อยากรู้ว่า การที่เราขอวงเงินโอดี จากธนาคาร โดยที่ธนาคารบอกว่าให้เราใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด มีประโยชน์อย่างไรครับ
เพิ่งทำธุระกิจ ได้ประมาณ 3 ปี อยากขอวงเงินโอดีไว้ใช้ ในยามฉุกเฉินเผื่อขัดสน
ธนาคารแนะนำว่า
1.ให้เอาหลักทรัพย์เข้าคำประกัน (ที่ดินมูลค่าประมาณ 3 ล้านบาท)
วงเงินที่อนุมัติ เป็น OD 1 ล้าน ดอกเบี้ยประมาณ 9% ต่อปี + ให้กู้ 1 ล้าน ผ่อนชำระ 5 ปี เดือนล่ะ 22,000 บาท
2.ให้เอาหลักทรัพย์เป็นเงินสดเข้าคำประกัน
วงเงินที่อนุมัติ เป็น OD = จำนวนเงินที่ฝาก เช่น (ฝาก 2 ล้าน อนุมัติ OD 2 ล้าน) เสียดอกเบี้ย + 2.5% ของดอกเบี้ยเงินฝาก

เลยอยากถามว่า แบบที่ 2 มีประโยชน์ อย่างไร เหมือน งงๆ เงินที่เราใช้มันก็เงินเรา แล้วต้องเสียดอกให้ธนาคาร 2.5% ของเงินฝาก
อยากให้ผู้รู้ช่วยแนะนำทีจ้า
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เลยอยากถามว่า แบบที่ 2 มีประโยชน์ อย่างไร เหมือน งงๆ เงินที่เราใช้มันก็เงินเรา แล้วต้องเสียดอกให้ธนาคาร 2.5% ของเงินฝาก
อยากให้ผู้รู้ช่วยแนะนำทีจ้า
แบบ 1 ค่าใช้จ่านบาน ค่าประเมิน  ค่าจำนอง ค่าบริการจดจำนอง ค่าประกันอัคคีภัย  ค่าประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เต็มวงเงิน+ระยะเวลาเท่ากับสัญญากู้ และโอดี  ร่วมแสน   อำนาจอนุมัติเป็นไปตามขั้นตอน   และ เพิ่งทำธุระกิจ  วิเคราะห์ยากมั่งครับ กี่ปี ข้อมูลมากน้อยขนาดไหน คนวิเคราะห์ปวดกะบาล เอกสารไม่ครบ  วิ่งพล่าน  ความเสี่ยงสูง เลยถูกคิดดอกแพง ไปเลยแบบ 2 อำนาจอนุมัติ ต่ำลงมา อาจเป็นที่สาขา ไว ค่าใช้จ่ายหายไปเกือบหมด ส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรพย์ คิดว่าคงเหลือเพียง   ค่าประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ลูกต่อรองให้หากมีที่อื่น และไม่อยากซื้อเพิ่ม ส่วน เงินที่เราใช้มันก็เงินเรา ถูกไม่เต็ม 100  คิดใหม่ เราใช้เงินเราค้ำ ก็ยังคงได้ดอกปกติ ส่วนที่เบิกมาใช้ของธนาคาร เสียดอกตามตกลงกันไป หากธุรกิจไปไม่รอด เบื่อ อยากเลิก ก็หักล้างกันไปหากมีนี้ค้าง  ธนาคารมีความเสี่ยงน้อยลง  / แล้วต้องเสียดอกให้ธนาคาร 2.5% ของเงินฝาก
อยากให้ผู้รู้ช่วยแนะนำทีจ้า  ของถูกไม่มีดี ของฟรีไม่มีในโลก   ก็แค่เคยนั่งตรงนั้น และก็จะทำแบบนี้ แต่ไม่เคยมีลูกค้าว่อนคำถามแบบนี้  ก็แชร์กันไปครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่