บิดาที่หย่ากับมารดาแล้ว มีสิทธิ์ได้รับมรดกจากบุตรหรือไม่ (ในกรณีที่บุตรเสียชีวิตก่อน)

กระทู้คำถาม
บังเอิญนั่งอ่าน กฏหมายประชาชน เลยมาเจอข้อนี้ครับ เกิดความสงสัยขึ้นมา จึงอยากเรียนถาม

บิดามารดา เป็น บุคคล ขั้นที่สองในการ รับมรดก จาก บุตร ในกรณีที่ บุตร ไม่มีภรรยาที่จดทะเบียนที่ถูกต้องตามกฏหมาย และหรือ บุตร ธิดา

ลำดับที่ ๒ บิดามารดาของเจ้ามรดก
ในกรณีของบิดา บิดานั้นจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กล่าวคือ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก) แม้ว่าจะได้มีพฤติการณ์รับรองบุตรนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรตน ดังกล่าวในข้อ ข. ก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรตน ส่วนมารดานั้นย่อมเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม

จากข้อความด้านบน จึงเกิดความสงสัยว่า

1 เมื่อมาระดา และ บิดา ของ ผู้ตาย ได้เคยจดทะเบียนสมรส และ จดทะเบียนหย่ากันแล้ว นานแล้ว  กรณีนี้ บิดา ยังจะมีสิทธิ์เป็นหนึ่งในผุ้รับมรดกจากบุตรหรือไม่ (ในกรณีที่บุตรไม่ได้ทำพินัยกรรม)

2 เมื่อ บิดา มารดา หย่ากันนานแล้ว บิดาไปมีภรรยาใหม่ มีลูกใหม่ แต่ บิดาได้ตายไปก่อน บุตร ส่วนที่เป็นสิทธิ์ของบิดา จะตกไปอยู่กับภรรยาใหม่ หรือ น้องน้อง ต่างมารดาหรือไม่

3 ถ้านำสืบได้ว่า ทรัพย์สินทั้งหมดของบุตรซึ่งเสียชีวิต มาจาก การให้โดยเสน่หา จาก ญาติ ฝ่ายมารดา จะมีผลให้ บิดาผุ้ซึ่งหย่ากับมารดาไปแล้ว ยังมีสิทธิ์หรือไม่มีสิทธิ์ ใน มรดกกองนี้ประการใด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่