เรือล่มเกาะล้าน ขอสดุดีฮีโร่ และ นี่จะไม่ใช่อุบัติเหตุทางเรือจากความประมาท ครั้งสุดท้าย

ขอเขียน สั้นๆ สำหรับ เหตุการ์ณเรือล่มที่เกาะล้านเมื่อวาน  

สรุปเหตุการ์ณตอนนี้ ยังไม่ 100 %

วันแรกข่าวมา ว่าคลื่นซัด 2-3 ลูก เมื่อน้ำเข้าเรือ แล้ว ปั้มดูดน้ำออกของเรือเสีย (มันไม่มีทางเสีย ตอนนั้นครับ มีแต่เสียอยู่แล้ว)
วันนี้ เรือชน หินโสโครก (โดยปกติ เรือที่วิ่ง ประจำ จะมี รูท หรือ เส้นทางการวิ่งที่ตายตัว ดังนั้น ถ้าถามผม มันไม่น่าที่จะ ชนครับ ยิ่งวิ่งมานานยิ่งยากที่จะชน )


ซึ่งไม่ว่าเหตุการ์ณจะสรุปอออกมาอย่างไร ?

มีผู้เสียขีวิต และบาดเจ็บไปแล้วมากมายครับ


จากประสพการ์ณ ที่ผมคุ้นเคยกับเรือและเคยทำเรือประเภทท่องเที่ยวมาก่อน จะขอบอกว่า

1 นี่ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย

2 มาตรฐานเรือ ข้ามฝาก ระหว่างเกาะ ของกรม เจ้าท่า มีระบุชัดเจน เรือที่บรรทุกผู้โดยสาร ต้องมี แพชูชีพ ย้ำนะครับ แพชูชีพ
หน้าตาแบบนี้



พอเรือจม หรือ ดึงเชือกก่อนที่เรือจะล่ม เป็นแบบนี้


ทั้งนี้ เพื่อ ประวิงเวลา ให้ความช่วยเหลือมาทัน



แต่ เรือลำนี้ และลำอื่นๆ จากที่ผมเคยไปมาแล้วหลายครั้ง "ไม่มี"

แต่ เรือข้ามเกาะ อย่าง ลมพระยา (ขออภัยที่เอ่ยนามแต่เป็นตัวอย่างที่ดี)
ที่ข้ามไปสมุย กลับมี อย่างครบจำนวน

ความแตกต่างคืออะไร กฎของเจ้าท่าไม่ควบคุม หรือ เจ้าของเรือเห็นแก่ตัว ?


ซึ่ง สนนราคา ของแพชูชีพ คือ 15 คนประมาณ 60,000 บาท ถึง 70,000 บาท อาจมองว่าแพง
และหากกวดขันบังคับ อาจทำให้ต้องขึ้นราคาค่าโดยสาร

แต่คงไม่มีอะไรแพง ไปกว่าความปลอดภัยในการเดินทาง ของเรือ กลางทะเล

ถูกไหมครับ ?

3 เสื้อชูชีพ

เท่าที่ผมเคยเห็น ชูชีพ มีเพียง 70-80 จากที่เคยนั่งแล้วนับไปด้วย ลำที่ผมเห็น อยู่ บนเพดาน และข้างเรือ แต่ที่อยู่บนเพดานนั้น มีพลาสติดเคลือบไว้อีกที คงเพื่อกันไม่ให้มัน เทลงมาเกะกะ คนที่นั่ง ซึ่งนั่นทำให้ การเข้าถึงชูชีพยากเข้าไปอีก

บางคนจะหยิบมาใส่ เพื่อป้องกัน ก็ไม่กล้า กลัวคนเรือว่า มันหยิบยากเดี๋ยวรบกวนคนอื่นเขา

และ หลายๆ อัน เป็นไซท์คนธรรมดา ซึ่งถ้าฝรั่งรัสเซีย หนักๆ ใส่ มันจะปริ่มกับน้ำครับ

และห่วงยางชนิดแข๊ง ซึ่งเอาไว้ช่วย คนตกน้ำ ก็มีจำนวนไม่พอ แถมไม่อยู่ในสภาพใช้งานได้
หลายอันผมพบว่า มันทากาวติดกับ เหล็กข้างเรือ เหมือนเพื่อหลอกเจ้าท่าเวลาที่มาตรวจเท่านั้น

และถ้าวันนั้น ชูชีพพร้อม ทุกคนใส่ เมื่อเกิดเรือล่ม
จะสามารถจับกลุ่มกันได้
คนที่อ่อนแอ ที่สุดในกลุ่ม
อยู่ตรงกลาง ที่เหลือ ล๊อกกันไว้

ขั้นตอนนี้ทำเพื่อให้ อยู่เกาะกันเป็นกลุ่ม และเมื่อมีคลิ่น เข้ามามากๆ จะมีจังหวะให้บางคนที่เหนื่อยได้พัก และสลับกันประคองกลุ่มครับ

4 เกาะล้านมีการขยายตัวอย่างมาก
บังกาโล เพิ่มมากขึ้นมาก และเรือ ที่มารับหน้าที่พาคนข้าม ไม่เพียงพอ จึงทำให้เรือเที่ยวสุดท้าย
เป็น รอบที่จำเป็น ของนักท่องเที่ยว เชื่อว่าหากไม่แก้ไขปัญหา เช่นการเพิ่มรอบเรือ การนับจำนวน นักท่องเที่ยว ที่ขึ้นเกาะกับ กลับ ให้ สมดุลกัน ปัญหาก็พร้อมจะเกิดได้อีก และเกิดได้ทุกเกาะ เช่นพีพี ลันตา ก็เคยมีประวัติมาแล้วทั้งนั้น

บางเกะในญี่ปุ่น เมื่อมีการลงที่ท่า นายท่าจะต้องทำการ นับจำนวนคนลง คนกลับ เสมอ เพื่อนำข้อมูลไว้เป็นสถิติ รวมไปถึง ในขณะที่เรือไม่เพียงพอ จะได้วางแผนป้องกันได้

ซึ่ง เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่กี่คน ไม่ต้องเป็นคอมพิวเตอร์ก็ทำได้

แต่เราเลือกที่จะไม่ทำ

5 วินาที แห่ง ฮีโร่

บังเอิญที่ ผมเข้ามาอ่านรายละเอียดในpantip หาข่าวเรือล่ม และพบว่า คุณ เสินกงเม่า เล่าเหตุการ์ณ ในขณะเกิดเหตุว่า

"เรือของครูและนักดำน้ำที่ไปดำน้ำ ผ่านเข้ามาที่เส้นทาง ใกล้จุดเรือจมพอดี จึงได้เข้าไปทำการช่วยเหลือ (ซึ่ง มีข่าวออกมากมายว่า กู้ภัยรีบรุดไปที่เกิดเหตุ และช่วยเรือผู้ประสพภัยเรือล่มได้ ซึ่ง คนที่อยู่ตรงจุดนั้น คือ ทีมที่ไปดำน้ำผ่านมาครับ) จากความช่วยเรือ ของฮีโร่ตัวจริง ในคราบนักดำน้ำ ทำให้สามารถช่วยชีวิต ได้ถึง 61 ชีวิต "

หลังจากที่ผมทราบ เลยลองไปค้นๆ ในกลุ่มดำน้ำดู  ในเพจ LIVING SEA

พบว่า ครูดำน้ำ ได้ช่วยผายปอดจน หลายคนกลับมาหายใจได้ หนึ่งในนั้นเป็นเด็กชายชาวจีน

เท่าที่ผมทราบชื่อผู้ที่อยู่บนเรือลำนั้น และระดมกันช่วยเรือ ผู้ประสพภัย คือ
ครูต้อ
ครูป๊อบ
คุณปอ
คุณสมหมายและทีมสตาฟ
คุณโจ
Doctor ปุ๋ย
ทร.วัง
คุณอุ๋ย
คุณเอ๋

หากขาดตกรายชื่อใดขออภัย ผมไม่ได้อยู่ในเหตุการ์ณ


6 ภาพเหตุการ์ณเมื่อวานนี้

คำว่าภาพเพียงภาพเดียว บรรยายได้ ล้านคำ หลากความรู้สึก เพิ่งเข้าใจวันนี้เองครับ



ขอยกย่อง ทุกๆคนบนเรือลำนั้นครับ ที่เข้าช่วยเหลืออย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้
หลังจากได้ดูคลิปแล้ว ประทับใจมากครับ



ขอสดุดีวีรกรรมที่กล้าหาญและเสียสละ ของทุกคนบนเรือลำนั้น ไว้ที่นี้ด้วยครับ


เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

ปล.

คลิปเหตุการ์ณจากข่าว ช่อง 7
http://news.bugaboo.tv/watch/89100/%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2_%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่