เราต้องเข้าใจว่า ร่างกายนั้นมันไม่ได้มีตัวตนเป็นของมันเองเลย(อนัตตา) เพราะมันเป็นเพียงธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ไฟ ลม) ที่มาประชุมหรือปรุงแต่งกันขึ้นมาเป็นรูปร่างได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยอาศัยลักษณะทางพันธุกรรม(DNA)จากพ่อแม่ที่ถ่ายทอดมาเป็นตัวควบคุมให้เกิดลักษณะต่างๆของร่างกายขึ้นมา
เมื่อร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาสร้างขึ้นมา ดังนั้นมันจึงไม่มีอิสระ คือมันต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่มาปรุงแต่งมันขึ้นมา (คือดิน น้ำ ไฟ ลม) เมื่อสิ่งเหล่านี้แปรปรวน ร่างกายมันก็ต้องแปรปรวนตามไปด้วย อีกทั้งเมื่อปรุงแต่งเป็นร่างกายขึ้นมาแล้ว มันก็ไม่สามารถที่จะประชุมเกิดเป็นร่างกายอยู่ได้ตลอดไปชั่วนิรันดร(ไม่เป็นอมตะหรือเป็นอนิจจัง) ซึ่งเมื่อขณะที่ยังตั้งอยู่ ร่างกายก็ยังต้องทนที่จะประคับประคองตัวตนชั่วคราวของมันเอาไว้ด้วยความยากลำบาก(ทุกขัง)
นี่คือการมองเห็นความจริงสูงสุดในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของร่างกาย ตามหลักวิทยาศาสตร์ ถ้าเราจะเข้าใจเรื่องร่างกายซึ่งเป็นวัตถุเช่นนี้แล้ว เราก็จะเข้าใจได้ว่า ลักษณะของความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานั้น ก็ย่อมมีแก่จิตของเราทุกคนด้วย
คือจิตของเราทุกคนก็ต้องอาศัยร่างกายมาปรุงแต่งให้เกิดการรับรู้(วิญญาณ)ขึ้นมาก่อน แล้วยังต้องอาศัยความจำจากสมองที่สั่งสมเอาไว้มาร่วมปรุงแต่งให้เกิดเป็นความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมาอีกที ถ้าไม่มีร่างกาย ก็จะไม่มีวิญญาณหรือไม่สามารถรับรู้สิ่งใดได้ หรือถึงแม้จะมีร่างกายที่ยังไม่ตาย แต่ถ้าสมองเสีย ความทรงจำก็จะหายไป จิตก็จะไม่สมบูรณ์ คือถึงจะรับรู้ได้ แต่ก็จำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ได้ เอาแต่นอนนิ่งๆเป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงนิทราไปจนกว่าร่างกายจะตาย
ดังนั้นจิตจึงไม่มีตัวตนเป็นของตนเองเลย(อนัตตา) เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับหายไปในที่สุดไม่ช้าก็เร็ว(อนิจจัง) แม้ขณะที่ยังตั้งอยู่ จิตก็ยังมีความรู้สึกที่ต้องทนอยู่เสมอ คือถ้าจิตว่างก็ทนได้ง่าย ถ้าจิตวุ่นหรือเกิดความยึดถือว่าตัวเองขึ้นมาก็ทนได้ยาก (ทุกขัง)
ร่างกายเกิดมาจากธาตุ ๔ มาประชุมกัน โดยมีลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มาควบคุมให้มีลักษณะตามพ่อแม่
เมื่อร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาสร้างขึ้นมา ดังนั้นมันจึงไม่มีอิสระ คือมันต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่มาปรุงแต่งมันขึ้นมา (คือดิน น้ำ ไฟ ลม) เมื่อสิ่งเหล่านี้แปรปรวน ร่างกายมันก็ต้องแปรปรวนตามไปด้วย อีกทั้งเมื่อปรุงแต่งเป็นร่างกายขึ้นมาแล้ว มันก็ไม่สามารถที่จะประชุมเกิดเป็นร่างกายอยู่ได้ตลอดไปชั่วนิรันดร(ไม่เป็นอมตะหรือเป็นอนิจจัง) ซึ่งเมื่อขณะที่ยังตั้งอยู่ ร่างกายก็ยังต้องทนที่จะประคับประคองตัวตนชั่วคราวของมันเอาไว้ด้วยความยากลำบาก(ทุกขัง)
นี่คือการมองเห็นความจริงสูงสุดในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของร่างกาย ตามหลักวิทยาศาสตร์ ถ้าเราจะเข้าใจเรื่องร่างกายซึ่งเป็นวัตถุเช่นนี้แล้ว เราก็จะเข้าใจได้ว่า ลักษณะของความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานั้น ก็ย่อมมีแก่จิตของเราทุกคนด้วย
คือจิตของเราทุกคนก็ต้องอาศัยร่างกายมาปรุงแต่งให้เกิดการรับรู้(วิญญาณ)ขึ้นมาก่อน แล้วยังต้องอาศัยความจำจากสมองที่สั่งสมเอาไว้มาร่วมปรุงแต่งให้เกิดเป็นความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมาอีกที ถ้าไม่มีร่างกาย ก็จะไม่มีวิญญาณหรือไม่สามารถรับรู้สิ่งใดได้ หรือถึงแม้จะมีร่างกายที่ยังไม่ตาย แต่ถ้าสมองเสีย ความทรงจำก็จะหายไป จิตก็จะไม่สมบูรณ์ คือถึงจะรับรู้ได้ แต่ก็จำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ได้ เอาแต่นอนนิ่งๆเป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงนิทราไปจนกว่าร่างกายจะตาย
ดังนั้นจิตจึงไม่มีตัวตนเป็นของตนเองเลย(อนัตตา) เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับหายไปในที่สุดไม่ช้าก็เร็ว(อนิจจัง) แม้ขณะที่ยังตั้งอยู่ จิตก็ยังมีความรู้สึกที่ต้องทนอยู่เสมอ คือถ้าจิตว่างก็ทนได้ง่าย ถ้าจิตวุ่นหรือเกิดความยึดถือว่าตัวเองขึ้นมาก็ทนได้ยาก (ทุกขัง)