วิทยา แจ่มกระจ่าง ประธานสมาพันธ์ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค กทม. ที่อีกบทบาทหนึ่งคืออาสาสมัครไกล่เกลี่ย เล่าว่า ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง มีบ้านสองหลังที่ใช้รั้วด้านข้างร่วมกัน หลังหนึ่งเป็นของนักธุรกิจ อีกหลังหนึ่งเป็นของข้าราชการบำนาญ ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีฐานะดีทั้งคู่
เหตุการณ์ที่กลายเป็นข้อพิพาท คือการต่อเติมหลังคาบ้านของทั้งคู่ จนเกือบจะชนรั้วที่กั้นระหว่างบ้านทั้ง 2 หลัง ปัญหาคือบ้านของนักธุรกิจติดตั้งรางน้ำ แต่บ้านของข้าราชการบำนาญไม่ได้ติดตั้ง ทำให้เมื่อฝนตก น้ำจากหลังคาบ้านข้าราชการบำนาญ ไหลข้ามรั้วไปยังบ้านของนักธุรกิจ จนกลายเป็นเรื่องเป็นราว หวิดจะเป็นคดีขึ้นโรงขึ้นศาลกัน
“หลังนึงปลูก 5 ล้าน เป็นอดีตข้าราชการเพิ่งเกษียณใหม่ๆ อีกหลังปลูก 6 ล้าน เป็นคหบดี อาชีพค้าขาย มีสตางค์ทั้งคู่ ก็ต่อเติมกันเต็มพื้นที่ หลังคาชิดรั้วกันทั้งคู่ แต่บ้านข้าราชการไม่ยอมใส่รางน้ำ เจ้าหน้าที่เขตมาเขาก็บอกว่าเดี๋ยว ก็เดี๋ยวมาเป็นปี เขตจะให้ สก. (สมาชิกสภา กทม.) ไปเจรจา ก็ไม่ได้ เพราะ สก. จะเข้าข้างใครไม่ได้ เขาก็กลัวเสียคะแนนเสียงของเขา ก็เลยบอกให้ผมช่วยไปเจรจาให้หน่อย”
กรณีของคุณวิทยา ดูเหมือนจะยากกว่าพอสมควร เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะดี และค่อนข้างถือตัวกันทั้งคู่ นอกจากนี้
หากปล่อยให้คดีความถึงโรงถึงศาล ปัญหาจะไม่ได้จบแค่ผลแพ้ชนะของคนสองคนเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง บ้านแทบทุกหลังในชุมชนดังกล่าว ล้วนแต่ต่อเติมในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นการต่อเติมแบบผิดกฎหมายทั้งสิ้น ดังนั้นหากศาลมีคำสั่งให้รื้อ คงต้องรื้อกันทั้งหมู่บ้าน อันจะเป็นเรื่องราวใหญ่โตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“เจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้ารื้อทั้ง 2 หลังก็ไม่เท่าไร แต่นี่ต้องรื้อทั้งหมู่บ้าน เพราะต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งนั้นเลย นี่คือปัญหาใหญ่ของชุมชน พอจะไปคุยกับอดีตข้าราชการ เขาไม่คุย ปิดประตูใส่เลย ผมเลยไปถามคหบดี ถามว่าต่อเติมเท่าไร? เขาบอก 4 แสน บ้านข้างๆ ก็คงไล่เลี่ยกัน ซึ่งเขายินดีรื้อ ผมบอกว่า..ท่านครับ ถ้าศาลสั่งรื้อก็ต้องรื้อ แต่อย่าลืมนะครับ หมู่บ้านท่าน 300 หลังคาเรือน ต่อเติมกันเป็นส่วนใหญ่ ถ้ารื้อก็ต้องรื้อกันหมด ความเดือดร้อนไม่ใช่แค่ 2 หลังนะ แต่มันอยู่ทั้งชุมชนเลย
ผมก็เลยบอกว่า เอาแบบนี้นะ ท่านต่อเติมมา 3-4 แสนได้ ผมขอท่านอีก 3-4 หมื่น ต่อรั้ว แต่อย่าไปต่อบนกำแพง (รั้วที่ใช้ร่วมกัน) นะ ท่านทำรั้วซ้อนขึ้นมาเลย จะก่อให้สวยงามยังไงก็ได้ เขาก็ยอมสร้างรั้วขึ้นมา เลยหลังคาที่มีปัญหานิดเดียวไม่ถึงศอก ท่านว่าน้ำเข้าบ้านใครครับ? น้ำก็เข้าบ้านคนที่ทำน้ำฝนไหลลงมานั่นแหละครับ ฝนตกกี่ครั้งน้ำก็ไหลเข้าบ้านอดีตข้าราชการคนนั้น 2 อาทิตย์ครับ ใส่รางน้ำอย่างดีเลย”
ที่มา :
http://www.naewna.com/scoop/75166
------------------------
คิดยังไงกับวิธีแก้ปัญหาแบบนี้ครับ?
คิดยังไงกับวิธีแก้ปัญหาแบบนี้ครับ?
เหตุการณ์ที่กลายเป็นข้อพิพาท คือการต่อเติมหลังคาบ้านของทั้งคู่ จนเกือบจะชนรั้วที่กั้นระหว่างบ้านทั้ง 2 หลัง ปัญหาคือบ้านของนักธุรกิจติดตั้งรางน้ำ แต่บ้านของข้าราชการบำนาญไม่ได้ติดตั้ง ทำให้เมื่อฝนตก น้ำจากหลังคาบ้านข้าราชการบำนาญ ไหลข้ามรั้วไปยังบ้านของนักธุรกิจ จนกลายเป็นเรื่องเป็นราว หวิดจะเป็นคดีขึ้นโรงขึ้นศาลกัน
“หลังนึงปลูก 5 ล้าน เป็นอดีตข้าราชการเพิ่งเกษียณใหม่ๆ อีกหลังปลูก 6 ล้าน เป็นคหบดี อาชีพค้าขาย มีสตางค์ทั้งคู่ ก็ต่อเติมกันเต็มพื้นที่ หลังคาชิดรั้วกันทั้งคู่ แต่บ้านข้าราชการไม่ยอมใส่รางน้ำ เจ้าหน้าที่เขตมาเขาก็บอกว่าเดี๋ยว ก็เดี๋ยวมาเป็นปี เขตจะให้ สก. (สมาชิกสภา กทม.) ไปเจรจา ก็ไม่ได้ เพราะ สก. จะเข้าข้างใครไม่ได้ เขาก็กลัวเสียคะแนนเสียงของเขา ก็เลยบอกให้ผมช่วยไปเจรจาให้หน่อย”
กรณีของคุณวิทยา ดูเหมือนจะยากกว่าพอสมควร เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะดี และค่อนข้างถือตัวกันทั้งคู่ นอกจากนี้ หากปล่อยให้คดีความถึงโรงถึงศาล ปัญหาจะไม่ได้จบแค่ผลแพ้ชนะของคนสองคนเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง บ้านแทบทุกหลังในชุมชนดังกล่าว ล้วนแต่ต่อเติมในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นการต่อเติมแบบผิดกฎหมายทั้งสิ้น ดังนั้นหากศาลมีคำสั่งให้รื้อ คงต้องรื้อกันทั้งหมู่บ้าน อันจะเป็นเรื่องราวใหญ่โตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“เจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้ารื้อทั้ง 2 หลังก็ไม่เท่าไร แต่นี่ต้องรื้อทั้งหมู่บ้าน เพราะต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งนั้นเลย นี่คือปัญหาใหญ่ของชุมชน พอจะไปคุยกับอดีตข้าราชการ เขาไม่คุย ปิดประตูใส่เลย ผมเลยไปถามคหบดี ถามว่าต่อเติมเท่าไร? เขาบอก 4 แสน บ้านข้างๆ ก็คงไล่เลี่ยกัน ซึ่งเขายินดีรื้อ ผมบอกว่า..ท่านครับ ถ้าศาลสั่งรื้อก็ต้องรื้อ แต่อย่าลืมนะครับ หมู่บ้านท่าน 300 หลังคาเรือน ต่อเติมกันเป็นส่วนใหญ่ ถ้ารื้อก็ต้องรื้อกันหมด ความเดือดร้อนไม่ใช่แค่ 2 หลังนะ แต่มันอยู่ทั้งชุมชนเลย
ผมก็เลยบอกว่า เอาแบบนี้นะ ท่านต่อเติมมา 3-4 แสนได้ ผมขอท่านอีก 3-4 หมื่น ต่อรั้ว แต่อย่าไปต่อบนกำแพง (รั้วที่ใช้ร่วมกัน) นะ ท่านทำรั้วซ้อนขึ้นมาเลย จะก่อให้สวยงามยังไงก็ได้ เขาก็ยอมสร้างรั้วขึ้นมา เลยหลังคาที่มีปัญหานิดเดียวไม่ถึงศอก ท่านว่าน้ำเข้าบ้านใครครับ? น้ำก็เข้าบ้านคนที่ทำน้ำฝนไหลลงมานั่นแหละครับ ฝนตกกี่ครั้งน้ำก็ไหลเข้าบ้านอดีตข้าราชการคนนั้น 2 อาทิตย์ครับ ใส่รางน้ำอย่างดีเลย”
ที่มา :
http://www.naewna.com/scoop/75166
------------------------
คิดยังไงกับวิธีแก้ปัญหาแบบนี้ครับ?