สอบถามเรื่องเครื่องทำน้ำอุ่น เกียวกับระบบป้องกันไฟรั่ว

กระทู้คำถาม
ตอนนี้ผมเพิ่งซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นของ Stiebel มาใช้  พอเข้ามากระทู้ใน Pantip เพิ่งรู้ว่าระบบ ELCB ดีกว่าระบบ ELSD

พนักงานดันบอกว่า ELSD ดีกว่าที่เร็วกว่า ก็เลยตัดตัวเลือกที่เป็น ELCB หมด แต่ไม่บอกเรื่องความน่าเชื่อถือในตัวระบบ

อุตส่าห์บอกเค้าว่าเน้นเรื่องความปลอดภัย  

ตอนนี้พนักงานยังไม่ได้มาติดตั้งให้ครับ  เลยอยากทราบว่าควรจะต้องเพิ่ม Breaker หรืออะไรหรือไม่ครับ ผมไม่ค่อยมีความรู้ด้านไฟฟ้าครับ

ขอบคุณมากครับ

ปล. เพิ่งซื้อบ้านมือสองมาครับ เลยอยากเปลี่ยนเครื่องทำน้ำอุ่นเพราะเครื่องมันดูเก่าแล้ว และก็ไม่รู้ระบบสายดินมันโอเคหรือไม่  ตอนนี้เท่าที่ทราบก็มี breaker ของเครื่องทำน้ำอุ่นแยกต่างหากที่ตู้แผงไฟรวมครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ระบบ ELCB ดีกว่าระบบ ELSD ?  อันนี้คงไม่จริงนะ ทั้ง 2 เเบบต่างมีข้อดี เเละ ข้อด้อยต่างกัน เเต่ที่ทั้ง 2 อย่างเหมือนๆกันคือ ทำหน้าที่ตัดไฟรั่วเหมือนกัน

- ELCB ( Earth Leakage Circuit Breaker) ตัว ELCB เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ELCB จะทำตัดไฟออกจากการเครื่องทั้งหมด การทำงานเป็นเเบบร่วมกับระบบกลไก Mechanic ดังนั้นคุณจะหมั่นเทสกด เเละ โยกคันขึ้นทุกๆเดือน ถ้าเป็นการใช้งานเเทบทุกวัน

- ELSD ( Earth Leakage Safety Device ) จริงๆมันก็คือ ELCB รูปเเบบหนึ่งเพียงเเต่ถูกฝังบิ้วอินร่วมเข้าไปด้วยเลย เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ELSD จะตัดทิปการทำงานเฉพาะของแผงวงจรควบคุมเท่านั้น การทำงานเป็นเเบบอีเลคโทรนิคส์ล้วนๆ ข้อดีโดยรวมมีการตรวจจับกระเเสไฟที่รั่วได้ดีกว่า ผู้ผลิตสามารถออกเเบบตัวเครื่องทำน้ำอุ่น,น้ำร้อน ให้มีดีไซน์เครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนให้มีขนาดเล็กลงได้ หรือ รูปเเบบดีไซน์ตัวเครื่องที่ต้องการได้ เเละ ในระยะหลังๆเหมือนกึ่งๆโดนบังคับหากคุณเลือกเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อน ประเภทที่ใช้ระบบตรวจจับเเรงดันน้ำเเบบ โฟลสวิทช์ หรือ Read Switch  ไปในตัวครับ ( ระยะหลังผมเเทบไม่เห็นระบบโฟลสวิทช์เซนเซอร์ ทำงานร่วมกับตัวเบรกเกอร์ ELCB เดิมๆเเยกออกมาเเล้วนะ )

เราควรมีสติ-อย่าวิตกจนเกินเหตุ กับกระทู้ที่เเสดงความคิดเห็นเพียงไม่กี่กระทู้เมื่อเทียบยอดการขายเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้ระบบ ELSD ตั้งเเต่ที่ผมเห็นมีใช้งานมากว่า 15 ปีในบ้านเรา ยอดขายทุกยี่ห้อน่าจะมีหลายเเสนเครื่อง ( เเต่ไม่ใช่ผมบอกไม่ให้เชื่อนะ เเต่ควรมีตรรกะว่าเราควรจะเชื่อถือได้เเค่ไหน )

จากที่เคยผ่านงานติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆในห้องน้ำรวมทั้งเครื่องทำน้ำอุ่น,น้ำร้อน ทุกระดับราคา สาเหตุที่ทำให้เครื่องทำน้ำอุ่น,น้ำร้อน ที่มีการเสียชำรุดส่วนหนึ่งมาจากการออกเเบบเครื่องทำน้ำอุ่น,น้ำร้อน จุดตำเเหน่งเเผงวงจรหลักในตัวเครื่อง จากตัวเเผงวงจรที่ออกเเบบไม่ค่อยดีอันนี้จริงครับ เเต่เราก็ควรเเยกเเยะเป็นยี่ห้อนั้น เเละ เป็นรุ่นๆนั้น เเละ ปีผลิตนั้นๆไป ไม่ควรที่จะเหมารวมยกเข่งไปเเบบนี้

อีกอย่างส่วนหนึ่งจากที่ไปช่วยถอดเครื่องทำน้ำอุ่น,น้ำร้อน ที่ถอดไปส่งซ่อม,ไปเคลม ส่วนใหญ่ที่เจอๆมาการติดตั้งจุดเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีตำเเหน่งความสูงของเครื่องทำน้ำอุ่นมักอยู่ใกล้จุดก็อกอาบน้ำเเบบฝักบัวใกล้จนเกินไป( หลายที่ที่เห็นเวลาอาบน้ำจะมีน้ำจากฝักบัวที่โดนตัวคนอาบเวลาสระผม บางส่วนจะกระเด็นไปโดนตัวเครื่องทำน้ำอุ่นทุกครั้งทุกวันซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่า เจ้าของบ้านกลับไม่กลัวตาย เเละ ทำไมไม่ยอมเเก้ไขฯ ) เเละ ห้องน้ำบางเเห่งมีการออกเเบบไม่ดี การระบายอากาศถ่าย-เททำได้ไม่ดีเลย ( เข้าไปถ้าไม่เปิดพัดลมดูดอากาศอยุ่ไม่ได้ครับ หายใจมันอึดอัดไปหมด หรือ ห้องน้ำนั้นมีความชื้นในห้องน้ำสูง ก็เป็นส่วนหนึ่งด้วยนะครับ

ภาพจาก กูเกิ้ล

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่