มีความเป็นไปได้อย่างมากในอนาคตที่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ จะใช้เทคโนโลยีอภิมหาข้อมูล (Big Data) เพื่อรองรับการเติบโตของข้อมูล ความสามารถในการรับข้อมูลเชิงลึก และสร้างสรรค์นวัตกรรมรูปแบบใหม่ ซึ่งบทบาทของ Big Data ต่อรัฐบาลสหรัฐฯ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การเสริมสร้างการรักษาความปลอดภัยและป้องกันการทุจริต
ในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2012 The multi-agency Medicare Fraud Strike Force ได้เปิดเผยถึงการปราบปรามทุจริตครั้งประวัติศาสตร์ของระบบประกันสุขภาพสหรัฐฯ โดยมีการเรียกเก็บเงินที่เป็นเท็จจำนวน 452 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ FBI David Welker กล่าวว่า งบประมาณของระบบประกันสุขภาพรายปีที่มีมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จำนวนร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 10 มีการทุจริต
ดังนั้น Big Data จะสามารถเข้ามาช่วยในการตรวจสอบทุจริต โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยใช้เทคโนโลยี Big Data เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและกิจกรรมที่ผิดปกติ เพื่อป้องกันภัยคุกคามได้อย่างทันการณ์ รวมถึง คอยระวังพฤติกรรมที่น่าสงสัยโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลการทุจริตในอดีต
นอกจากนี้ Big Data ยังถูกใช้เพื่อวิเคราะห์และโต้ตอบต่อภัย คุกคามอย่างทันท่วงที เช่น ศูนย์บัญชาการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ ใช้เทคโนโลยี Big Data ในการวิเคราะห์และตรวจสอบสินค้าที่เข้าออกประเทศ
2. การพัฒนาการให้บริการและการตอบสนองแบบฉับพลัน
เทคโนโลยี Big Data ช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างชาญฉลาด และมีความคล่องตัวมากขึ้น
ในระดับมลรัฐและท้องถิ่น Big Data ช่วยในการตรวจสอบระบบการขนส่งที่ซับซ้อน การวิเคราะห์แบบฉับพลันช่วยให้เจ้าหน้าที่ สามารถคาดการณ์และป้องกันปัญหาที่อาจมีผลกระทบต่อระบบการคมนาคมของประเทศ และสามารถบรรเทาการแออัดของจราจรและปัญหาของการขนส่งอื่นๆ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถนำ Big Data มาพัฒนา ระบบการขึ้นเรื่องร้องทุกข์ (โทร 311) และการแจ้ง เหตุร้ายฉุกเฉิน (โทร 911) โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดจากการส่งข้อความ การติดต่อทางโทรศัพท์ และการโพส ข้อมูลบน Social Network เพื่อให้ รัฐบาลสามารถตอบสนองและเตรียมการต่อเหตุร้ายได้ทันท่วงที รวมถึง พัฒนากลไกการเก็บข้อมูลและกระบวนการในการแจ้งเหตุ
3. การสร้างความเป็นประชาธิปไตยทางข้อมูล
อาทิ ระบบการร้องทุกข์ (โทร 311) ที่เป็นระบบที่ เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ ดังนั้น ข้อมูลเหล่านั้น เปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลที่สำคัญของนักพัฒนาและกลุ่มคนต่างๆ ที่ต้องการสร้างโปรแกรมประยุกต์ให้แก่รัฐบาล
เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามา ใช้ระบบ Open-Data Executive Order ในการพัฒนา ระบบทางความคิดและการแนะแนวทางในการทำงาน แก่หน่วยงานราชการต่างๆ นอกจากนี้ ยังเป็นแบบอย่างที่ดีต่อหน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการบริการสุขภาพ เริ่มมีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาว่า โรงพยาบาลแต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญในด้านอะไร และมีการจัดเก็บค่าบริการประมาณเท่าไร เพื่อให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เหมาะสมที่สุด ทั้งในด้านประสิทธิภาพและราคา
การที่รัฐบาลพยายามขยายการใช้เทคโนโลยี Big Data จะทำให้การเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องปกติ เนื่องจาก ประชาชน ภาคธุรกิจ และผู้ออกกฎหมายได้ร่วมค้นหาวิธีการ และพัฒนาการปกครองประเทศ ถึงแม้ว่า อำนาจตัดสินใจจะ ขึ้นอยู่กับรัฐบาล แต่ประชาชนจะมีบทบาทร่วมในการตัดสินใจ ว่าจะใช้ข้อมูลอย่างไรเพื่อทำให้รัฐบาลมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเปิดเผย
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วอชิงตัน ดี.ซี.
http://ostc.thaiembdc.org/13th/?p=1487
บทบาทของ Big Data ต่อการปฏิรูประบบการทำงานรัฐบาล
มีความเป็นไปได้อย่างมากในอนาคตที่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ จะใช้เทคโนโลยีอภิมหาข้อมูล (Big Data) เพื่อรองรับการเติบโตของข้อมูล ความสามารถในการรับข้อมูลเชิงลึก และสร้างสรรค์นวัตกรรมรูปแบบใหม่ ซึ่งบทบาทของ Big Data ต่อรัฐบาลสหรัฐฯ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การเสริมสร้างการรักษาความปลอดภัยและป้องกันการทุจริต
ในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2012 The multi-agency Medicare Fraud Strike Force ได้เปิดเผยถึงการปราบปรามทุจริตครั้งประวัติศาสตร์ของระบบประกันสุขภาพสหรัฐฯ โดยมีการเรียกเก็บเงินที่เป็นเท็จจำนวน 452 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ FBI David Welker กล่าวว่า งบประมาณของระบบประกันสุขภาพรายปีที่มีมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จำนวนร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 10 มีการทุจริต
ดังนั้น Big Data จะสามารถเข้ามาช่วยในการตรวจสอบทุจริต โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยใช้เทคโนโลยี Big Data เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและกิจกรรมที่ผิดปกติ เพื่อป้องกันภัยคุกคามได้อย่างทันการณ์ รวมถึง คอยระวังพฤติกรรมที่น่าสงสัยโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลการทุจริตในอดีต
นอกจากนี้ Big Data ยังถูกใช้เพื่อวิเคราะห์และโต้ตอบต่อภัย คุกคามอย่างทันท่วงที เช่น ศูนย์บัญชาการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ ใช้เทคโนโลยี Big Data ในการวิเคราะห์และตรวจสอบสินค้าที่เข้าออกประเทศ
2. การพัฒนาการให้บริการและการตอบสนองแบบฉับพลัน
เทคโนโลยี Big Data ช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างชาญฉลาด และมีความคล่องตัวมากขึ้น
ในระดับมลรัฐและท้องถิ่น Big Data ช่วยในการตรวจสอบระบบการขนส่งที่ซับซ้อน การวิเคราะห์แบบฉับพลันช่วยให้เจ้าหน้าที่ สามารถคาดการณ์และป้องกันปัญหาที่อาจมีผลกระทบต่อระบบการคมนาคมของประเทศ และสามารถบรรเทาการแออัดของจราจรและปัญหาของการขนส่งอื่นๆ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถนำ Big Data มาพัฒนา ระบบการขึ้นเรื่องร้องทุกข์ (โทร 311) และการแจ้ง เหตุร้ายฉุกเฉิน (โทร 911) โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดจากการส่งข้อความ การติดต่อทางโทรศัพท์ และการโพส ข้อมูลบน Social Network เพื่อให้ รัฐบาลสามารถตอบสนองและเตรียมการต่อเหตุร้ายได้ทันท่วงที รวมถึง พัฒนากลไกการเก็บข้อมูลและกระบวนการในการแจ้งเหตุ
3. การสร้างความเป็นประชาธิปไตยทางข้อมูล
อาทิ ระบบการร้องทุกข์ (โทร 311) ที่เป็นระบบที่ เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ ดังนั้น ข้อมูลเหล่านั้น เปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลที่สำคัญของนักพัฒนาและกลุ่มคนต่างๆ ที่ต้องการสร้างโปรแกรมประยุกต์ให้แก่รัฐบาล
เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามา ใช้ระบบ Open-Data Executive Order ในการพัฒนา ระบบทางความคิดและการแนะแนวทางในการทำงาน แก่หน่วยงานราชการต่างๆ นอกจากนี้ ยังเป็นแบบอย่างที่ดีต่อหน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการบริการสุขภาพ เริ่มมีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาว่า โรงพยาบาลแต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญในด้านอะไร และมีการจัดเก็บค่าบริการประมาณเท่าไร เพื่อให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เหมาะสมที่สุด ทั้งในด้านประสิทธิภาพและราคา
การที่รัฐบาลพยายามขยายการใช้เทคโนโลยี Big Data จะทำให้การเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องปกติ เนื่องจาก ประชาชน ภาคธุรกิจ และผู้ออกกฎหมายได้ร่วมค้นหาวิธีการ และพัฒนาการปกครองประเทศ ถึงแม้ว่า อำนาจตัดสินใจจะ ขึ้นอยู่กับรัฐบาล แต่ประชาชนจะมีบทบาทร่วมในการตัดสินใจ ว่าจะใช้ข้อมูลอย่างไรเพื่อทำให้รัฐบาลมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเปิดเผย
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วอชิงตัน ดี.ซี.
http://ostc.thaiembdc.org/13th/?p=1487