ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชได้เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง เพื่อแจกเป็นของชำร่วยในงานเลี้ยงฉลองวันแซยิดของท่าน ให้ชื่อ“โครงกระดูกในตู้”ตามสำนวนฝรั่งที่ว่า skeleton in the cupboard ซึ่งมีความหมายว่า เรื่องปกปิดของคนในตระกูลที่ก่อเรื่องไม่ดีงามไว้ ในเล่ม ท่านเอาเรื่องราวของบรรพบุรุษราชสกุลปราโมชเรียงตามสาแหรกมาเล่าให้อ่านอย่างสนุกสนาน ผู้อ่านไม่เห็นว่าใครได้ทำความเสื่อมเสียแก่ตระกูลตรงไหน กลับจะเป็นการยกย่องบรรพบุรุษของท่านกลายๆด้วยซ้ำ หนังสือเล่มนี้ขายดีมาก พิมพ์แล้วพิมพ์เล่าไม่ต่ำกว่า๖ครั้ง ผู้ที่ชื่นชอบทักษะวรรณกรรมของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ คงไม่มีใครที่จะพลาดเล่มนี้
หนึ่งในบุคคลที่ท่านนำมาเล่าในลักษณะหมิ่นเหม่ที่สุดตามความหมายของฝรั่ง ก็คือ ม.จ.ฉวีวาด ปราโมช ท่านป้าของท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์นำเรื่องไว้ว่า
" ท่านป้าฉวีวาดเป็นโครงกระดูกในตู้โดยแท้ เพราะเรื่องราวของท่านถูกปิดบังซุบซิบกันมานาน ไม่ให้ลูกหลานได้รู้ ที่ผู้เขียนเรื่องนี้บังเอิญรู้โดยละเอียด ก็เพราะสมัยหนึ่งที่ท่านป้าฉวีวาดชรามากแล้ว ท่านเกิดโปรดปรานหลานคนนี้ขึ้นมาและเอาไป "เลี้ยง" ไว้กับท่าน การเลี้ยงหลานของท่านออกจะแปลก เพราะท่านบรรทมกลางวันเป็นส่วนมาก แต่ปลุกหลานขึ้นมาคุยตอนกลางคืน เล่าเรื่องอะไรต่ออะไรให้ฟัง ท่านเสวยข้าวเย็นหรือข้าวเช้าก็ไม่แน่นัก ตอนราวๆตีสองของวัน และเสวยอะไรแปลกๆ เช่น เปลือกส้มเขียวหวานจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น ท่านปลุกหลานที่ท่าน "เลี้ยง" ให้ลุกขึ้นกินข้าวด้วยในยามวิกาลเช่นนั้นทุกคืนไป
ท่านป้าฉวีวาดท่านมีผิวขาวผ่องสมชื่อ และแม้แต่เมื่ออายุท่าน 70 กว่า แล้ว ท่านก็ยังมีรูปร่างหน้าตาและท่าทางซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นคนสวยมากเมื่อยังสาวๆ และนอกจากสวยแล้ว ยังเป็นคนใจแข็งเก่งกาจมากอีกด้วย"
เมื่อม.ร.ว.คึกฤทธิ์เบิกตัวท่านป้าอย่างนี้แล้ว ก็ย้อนความไปว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ เสด็จพ่อของม.จ.ฉวีวาดได้นำพระธิดาไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯแต่ยังเยาว์ ด้วยความที่หน้าตาผิวพรรณน่าเอ็นดูจึงทรงโปรดมาก และทรงเลี้ยงแบบพระราชธิดาของพระองค์จนชาววังเรียกว่า ‘ลูกเธอปลอม’
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์อ้างว่าเรื่องที่ท่านจะเล่าต่อไปเป็นเรื่องที่ส่งเสริมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง กล่าวคือท่านป้าฉวีวาด เล่าให้ท่านฟังว่าท่านเคยวิ่งเล่นมากับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกเธออื่นๆ เมื่อยังทรงพระเยาว์ทุกพระองค์จนเป็นที่คุ้นเคย
และยังมีเรื่องที่ทรงคุยให้หลานฟังอีกว่า เจ้านายที่ม.จ.ฉวีวาดทรงคอยหาทางรังแกเล่นเป็นของสนุกอยู่เสมอ ก็หาใช่ใครอื่นไม่ นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงพระเยาว์ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงใช้ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯขึ้นไปหยิบของบนหอพระ ท่านหญิงฉวีวาดนั่งอยู่ข้างพระทวาร พอเสด็จลงมาท่านก็ยื่นขาออกไปขัดพระชงฆ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็เลยทรงล้มลง ตกอัฒจันทร์ลงมาหลายขั้น เป็นเหตุให้สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงกริ้วว่างุ่มง่ามเซ่อซ่า
แต่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็ทรงนิ่งเสีย มิได้ทูลฟ้องว่าใครเป็นต้นเหตุให้ตกอัฒจันทร์ ท่านหญิงฉวีวาดก็ยิ่งเห็นว่าตัวเองเก่ง รังแกเจ้าฟ้าพระราชกุมารพระองค์ใหญ่ได้
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ดำเนินเรื่องต่อว่าม.จ.ฉวีวาดเติบโตในลักษณะนั้นจนเป็นสาว จึงกลับมาปลูกตำหนักอยู่ในวังกรมขุนวรจักรฯ แล้วพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่๔ มาติดพันจนถึงขนาดขอหมั้นกันเรียบร้อย วันหนึ่งความแตกว่ากรมหลวงพิชิตฯ มีหม่อมอยู่ในวังแล้วอีกคนหนึ่งชื่อหม่อมสุ่น ม.จ.ฉวีวาดไม่พอพระทัย สุดท้ายเอาของหมั้นโยนทิ้งออกไปทางหน้าต่างพระตำหนัก กรมหลวงพิชิตฯต้องให้มหาดเล็กมาเก็บไปจากถนน การหมั้นจึงเลิกไปโดยปริยาย
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เกริ่นเรื่องไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ขณะนั้นเจ้านายทางวังหลวงและวังหน้าไม่ถูกกัน เพราะผลพวงจากการที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อาศัยอำนาจผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ปกครองวังหน้าสืบจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดา ตอนประชุมกันเพื่อลงมตินี้นั้น พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรฯทรงค้านว่า ตามธรรมเนียมควรรอให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตั้ง โดนสมเด็จเจ้าพระยาสวนกลับไปว่า “ตัวอยากจะเป็นเองหรือ” ท่านเลยต้องยอมเพราะกลัวอำนาจ แล้วไม่เสด็จออกจากวังอีกเลยจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงประกอบพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกครั้งที่๒ สมเด็จเจ้าพระยาพ้นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไปแล้ว ท่านจึงยอมเสด็จออกจากวังมาเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว
การที่เจ้านายฝ่ายวังหลวงมีความรู้สึกเขม่นวังหน้าขนาดนี้ ม.จ.ฉวีวาดจึงทำการแก้แค้นกรมหลวงพิชิตฯซึ่งถือเป็นเจ้านายวังหลวง ด้วยการไปฝักใฝ่กับทางวังหน้าให้สาแก่ใจ จนสนิทสนมกับนายน๊อกซ์ อดีตทหารวังหน้ายศนายร้อยเอก ซึ่งได้ดิบได้ดีอังกฤษแต่งตั้งให้เป็นกงสุลใหญ่ วางแผนจะยกกรมพระราชวังบวรฯขึ้นเป็นใหญ่ โดยแบ่งประเทศสยามให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯปกครองทางเหนือและกรมพระราชวังบวรฯปกครองทางใต้
ข้อความข้างบนนี้มาจากคำบอกเล่าของม.จ.ฉวีวาดล้วนๆ ส่วนข้อเท็จจริงที่ปรากฏมีอยู่เพียงว่า ม.จ.ฉวีวาดเพียงได้ไปรู้จัก จนได้เสกสมรสกับเจ้านายวังหน้า พระโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ ซึ่งเป็นคนสงบเสงียมเรียบร้อย
การแต่งงานกันระหว่างพระองค์เจ้าสายวังหน้ากับหม่อมเจ้าสายวังหลวงนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บอกว่าเป็นเรื่องเสียหายขายพระพักตร์เจ้านายทางวังหลวงมาก เพราะเจ้านายฝ่ายในที่ไปสมรสกับเจ้านายวังหน้าไม่เคยมี อย่างไรก็ดี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ก็เล่าว่าชีวิตสมรสของทั้งคู่ก็มิได้ราบรื่นนัก เพราะความประพฤติของฝ่ายหญิงเอง
โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร
หนึ่งในบุคคลที่ท่านนำมาเล่าในลักษณะหมิ่นเหม่ที่สุดตามความหมายของฝรั่ง ก็คือ ม.จ.ฉวีวาด ปราโมช ท่านป้าของท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์นำเรื่องไว้ว่า
" ท่านป้าฉวีวาดเป็นโครงกระดูกในตู้โดยแท้ เพราะเรื่องราวของท่านถูกปิดบังซุบซิบกันมานาน ไม่ให้ลูกหลานได้รู้ ที่ผู้เขียนเรื่องนี้บังเอิญรู้โดยละเอียด ก็เพราะสมัยหนึ่งที่ท่านป้าฉวีวาดชรามากแล้ว ท่านเกิดโปรดปรานหลานคนนี้ขึ้นมาและเอาไป "เลี้ยง" ไว้กับท่าน การเลี้ยงหลานของท่านออกจะแปลก เพราะท่านบรรทมกลางวันเป็นส่วนมาก แต่ปลุกหลานขึ้นมาคุยตอนกลางคืน เล่าเรื่องอะไรต่ออะไรให้ฟัง ท่านเสวยข้าวเย็นหรือข้าวเช้าก็ไม่แน่นัก ตอนราวๆตีสองของวัน และเสวยอะไรแปลกๆ เช่น เปลือกส้มเขียวหวานจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น ท่านปลุกหลานที่ท่าน "เลี้ยง" ให้ลุกขึ้นกินข้าวด้วยในยามวิกาลเช่นนั้นทุกคืนไป
ท่านป้าฉวีวาดท่านมีผิวขาวผ่องสมชื่อ และแม้แต่เมื่ออายุท่าน 70 กว่า แล้ว ท่านก็ยังมีรูปร่างหน้าตาและท่าทางซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นคนสวยมากเมื่อยังสาวๆ และนอกจากสวยแล้ว ยังเป็นคนใจแข็งเก่งกาจมากอีกด้วย"
เมื่อม.ร.ว.คึกฤทธิ์เบิกตัวท่านป้าอย่างนี้แล้ว ก็ย้อนความไปว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ เสด็จพ่อของม.จ.ฉวีวาดได้นำพระธิดาไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯแต่ยังเยาว์ ด้วยความที่หน้าตาผิวพรรณน่าเอ็นดูจึงทรงโปรดมาก และทรงเลี้ยงแบบพระราชธิดาของพระองค์จนชาววังเรียกว่า ‘ลูกเธอปลอม’
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์อ้างว่าเรื่องที่ท่านจะเล่าต่อไปเป็นเรื่องที่ส่งเสริมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง กล่าวคือท่านป้าฉวีวาด เล่าให้ท่านฟังว่าท่านเคยวิ่งเล่นมากับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกเธออื่นๆ เมื่อยังทรงพระเยาว์ทุกพระองค์จนเป็นที่คุ้นเคย
และยังมีเรื่องที่ทรงคุยให้หลานฟังอีกว่า เจ้านายที่ม.จ.ฉวีวาดทรงคอยหาทางรังแกเล่นเป็นของสนุกอยู่เสมอ ก็หาใช่ใครอื่นไม่ นอกจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงพระเยาว์ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงใช้ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯขึ้นไปหยิบของบนหอพระ ท่านหญิงฉวีวาดนั่งอยู่ข้างพระทวาร พอเสด็จลงมาท่านก็ยื่นขาออกไปขัดพระชงฆ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็เลยทรงล้มลง ตกอัฒจันทร์ลงมาหลายขั้น เป็นเหตุให้สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงกริ้วว่างุ่มง่ามเซ่อซ่า
แต่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็ทรงนิ่งเสีย มิได้ทูลฟ้องว่าใครเป็นต้นเหตุให้ตกอัฒจันทร์ ท่านหญิงฉวีวาดก็ยิ่งเห็นว่าตัวเองเก่ง รังแกเจ้าฟ้าพระราชกุมารพระองค์ใหญ่ได้
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ดำเนินเรื่องต่อว่าม.จ.ฉวีวาดเติบโตในลักษณะนั้นจนเป็นสาว จึงกลับมาปลูกตำหนักอยู่ในวังกรมขุนวรจักรฯ แล้วพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่๔ มาติดพันจนถึงขนาดขอหมั้นกันเรียบร้อย วันหนึ่งความแตกว่ากรมหลวงพิชิตฯ มีหม่อมอยู่ในวังแล้วอีกคนหนึ่งชื่อหม่อมสุ่น ม.จ.ฉวีวาดไม่พอพระทัย สุดท้ายเอาของหมั้นโยนทิ้งออกไปทางหน้าต่างพระตำหนัก กรมหลวงพิชิตฯต้องให้มหาดเล็กมาเก็บไปจากถนน การหมั้นจึงเลิกไปโดยปริยาย
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เกริ่นเรื่องไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ขณะนั้นเจ้านายทางวังหลวงและวังหน้าไม่ถูกกัน เพราะผลพวงจากการที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อาศัยอำนาจผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ปกครองวังหน้าสืบจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดา ตอนประชุมกันเพื่อลงมตินี้นั้น พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรฯทรงค้านว่า ตามธรรมเนียมควรรอให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตั้ง โดนสมเด็จเจ้าพระยาสวนกลับไปว่า “ตัวอยากจะเป็นเองหรือ” ท่านเลยต้องยอมเพราะกลัวอำนาจ แล้วไม่เสด็จออกจากวังอีกเลยจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงประกอบพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกครั้งที่๒ สมเด็จเจ้าพระยาพ้นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไปแล้ว ท่านจึงยอมเสด็จออกจากวังมาเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว
การที่เจ้านายฝ่ายวังหลวงมีความรู้สึกเขม่นวังหน้าขนาดนี้ ม.จ.ฉวีวาดจึงทำการแก้แค้นกรมหลวงพิชิตฯซึ่งถือเป็นเจ้านายวังหลวง ด้วยการไปฝักใฝ่กับทางวังหน้าให้สาแก่ใจ จนสนิทสนมกับนายน๊อกซ์ อดีตทหารวังหน้ายศนายร้อยเอก ซึ่งได้ดิบได้ดีอังกฤษแต่งตั้งให้เป็นกงสุลใหญ่ วางแผนจะยกกรมพระราชวังบวรฯขึ้นเป็นใหญ่ โดยแบ่งประเทศสยามให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯปกครองทางเหนือและกรมพระราชวังบวรฯปกครองทางใต้
ข้อความข้างบนนี้มาจากคำบอกเล่าของม.จ.ฉวีวาดล้วนๆ ส่วนข้อเท็จจริงที่ปรากฏมีอยู่เพียงว่า ม.จ.ฉวีวาดเพียงได้ไปรู้จัก จนได้เสกสมรสกับเจ้านายวังหน้า พระโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ ซึ่งเป็นคนสงบเสงียมเรียบร้อย
การแต่งงานกันระหว่างพระองค์เจ้าสายวังหน้ากับหม่อมเจ้าสายวังหลวงนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บอกว่าเป็นเรื่องเสียหายขายพระพักตร์เจ้านายทางวังหลวงมาก เพราะเจ้านายฝ่ายในที่ไปสมรสกับเจ้านายวังหน้าไม่เคยมี อย่างไรก็ดี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ก็เล่าว่าชีวิตสมรสของทั้งคู่ก็มิได้ราบรื่นนัก เพราะความประพฤติของฝ่ายหญิงเอง