ประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๗ การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง
มาตรา ๙๐ (กรรมเดียวหลายบท)
เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
มาตรา ๙๑ (ต่างกรรมต่างวาระ)
เมื่อปรากฎว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้
(๑) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(๒) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(๓) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
********************************************************************************************
ความผิดหลายบท
การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น อภิสิทธัตถะใช้ปืนยิงยางรถยนต์ของนาย ก. ที่กำลังวิ่งอยู่บนทางด่วน ทำให้รถยนต์ของนาย ก. ยางระเบิด เสียหลักตกลงจากทางด่วน เป็นเหตุให้นาย ก. เสียชีวิตคาที่ การกระทำของอภิสิทธัตถะ เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า
ความผิดหลายกระทง
การทำความผิดหลายกรรมต่างกันหรือที่เรียกว่า "ต่างกรรมต่างวาระ" การกระทำแต่ละกรรมนั้นเป็นอิสระจากกัน เช่น วันนี้อภิสิทธัตถะฆ่าคนตาย 1 คน วันรุ่งขึ้น ฆ่าคนตายอีก 1 คน การกระทำ แต่ละวันไม่เกี่ยวกัน เป็นความผิดสองกระทงต้องรับผิดชอบเป็นรายกระทงไป
******************************************************************************
ฆ่าคนตาย ตั้งแต่ วันที่ 10 เม ย. 53 ฆ่ามาเรื่อย ตายเกือบทุกวัน จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 53
เป็นการกระทำผิดต่อชีวิต ร่างกาย ต่อคนหลายๆคน ทำให้มีคนเสียชีวิตกว่า 99 คน บาดเจ็บอีกกว่า สองพันคน ต้องถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ ไม่น่าจะมัดรวมคดีเป็น กรรมเดียวกันได้ ............
องคุลีมาล ฆ่าคนตาย 999 คน กับ อภิสิทธัตถะ ฆ่าคนตาย 99 คน / ถือว่าเป็นการกระทำแบบกรรมเดียว อย่างนั้น หรือ ???
หมวด ๗ การกระทำความผิดหลายบทหรือหลายกระทง
มาตรา ๙๐ (กรรมเดียวหลายบท)
เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
มาตรา ๙๑ (ต่างกรรมต่างวาระ)
เมื่อปรากฎว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้
(๑) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(๒) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(๓) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
********************************************************************************************
ความผิดหลายบท
การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น อภิสิทธัตถะใช้ปืนยิงยางรถยนต์ของนาย ก. ที่กำลังวิ่งอยู่บนทางด่วน ทำให้รถยนต์ของนาย ก. ยางระเบิด เสียหลักตกลงจากทางด่วน เป็นเหตุให้นาย ก. เสียชีวิตคาที่ การกระทำของอภิสิทธัตถะ เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า
ความผิดหลายกระทง
การทำความผิดหลายกรรมต่างกันหรือที่เรียกว่า "ต่างกรรมต่างวาระ" การกระทำแต่ละกรรมนั้นเป็นอิสระจากกัน เช่น วันนี้อภิสิทธัตถะฆ่าคนตาย 1 คน วันรุ่งขึ้น ฆ่าคนตายอีก 1 คน การกระทำ แต่ละวันไม่เกี่ยวกัน เป็นความผิดสองกระทงต้องรับผิดชอบเป็นรายกระทงไป
******************************************************************************
ฆ่าคนตาย ตั้งแต่ วันที่ 10 เม ย. 53 ฆ่ามาเรื่อย ตายเกือบทุกวัน จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 53
เป็นการกระทำผิดต่อชีวิต ร่างกาย ต่อคนหลายๆคน ทำให้มีคนเสียชีวิตกว่า 99 คน บาดเจ็บอีกกว่า สองพันคน ต้องถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ ไม่น่าจะมัดรวมคดีเป็น กรรมเดียวกันได้ ............