อนาคต ประเทศ ยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ศึกษา ยุค "เปรม"
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16:05:10 น.
จะเข้าใจความรู้สึกของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเข้าใจความรู้สึกของ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง จะเข้าใจความรู้สึกของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในกรณีเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ได้ดี
จำเป็นต้องเรียนรู้จาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
จำเป็นต้องเรียนรู้จาก นายเสนาะ อูนากูล
เพราะ 2 คนนี้มีส่วนอย่างสำคัญในการผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก
อย่างที่เรียกว่า "อีสเทิร์น ซีบอร์ด"
หากใครได้อ่านหนังสือ "พลังเทคโนแครต" อันสำนักพิมพ์มติชนตีพิมพ์ตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 2556
1 จะเข้าใจในรายละเอียดของ "โครงการ"
1 จะเข้าใจในอารมณ์ความรู้สึกของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เข้าใจในอารมณ์ความรู้สึกของ นายเสนาะ อูนากูล
โครงการ "อีสเทิร์น ซีบอร์ด" เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อปี 2524 ขณะ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะ นายเสนาะ อูนากูล เป็นเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แล้วจะเข้าใจรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายเสนาะ อูนากูล เจ้าของหนังสือ "พลังเทคโนแครต" ยอมรับว่า
"อีสเทิร์น" ซีบอร์ดเป็นแผนงานขนาดใหญ่และใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล
ที่แตกต่างไปจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในปี 2556 ก็คือ
"มีลักษณะเป็นแผนงานแบบผสมผสาน บูรณาการระหว่างโครงการพัฒนาต่างๆ ภายใต้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก"
ยุทธศาสตร์ก็คือ จะวาง "โครงสร้างพื้นฐาน" สำหรับ "อุตสาหกรรม"
ทั้งท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม ถนน รถไฟ น้ำ ไฟฟ้า สื่อสารและโทรคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกให้อุตสาหกรรมต่างๆ
ที่คล้ายกับบรรยากาศในปี 2556 ก็คือ
"ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งคัดค้านและสนับสนุนจากหลายฝ่าย"
ที่น่ายินดีก็คือ ครม.สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตัดสินใจเดินหน้าโครงการต่อไปโดยไม่ตัดทอนโครงการ
ที่แตกต่างระหว่างเมื่อปี 2524 กับเมื่อปี 2556
โครงการในปี 2556 รัฐบาลประกาศอย่างเด่นชัดว่าจะใช้เงินกู้ภายในประเทศ ขณะที่เมื่อปี 2524 ใช้เงินกู้จากต่างประเทศเป็นจำนวนเกือบ 30,000 ล้านบาท
เป็น 30,000 ล้านเมื่อ 32 ปีก่อน
จากนี้จึงเห็นได้ว่า ไม่ว่า "อีสเทิร์น ซีบอร์ด" เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ไม่ว่า "รถไฟ" ที่เสนอในปี 2556 มีลักษณะในทางยุทธศาสตร์เหมือนกัน
นั่นก็คือ มุ่งไปยัง "โครงสร้างพื้นฐาน"
เพียงแต่เมื่อปี 2524 เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกับการเติบใหญ่และการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม
กรอบของโครงการจึงกว้างขวาง
ขณะที่ที่เสนอขึ้นในปี 2556 เน้นยังเป็นการเฉพาะไปยังโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมซึ่งแต่เดิมเน้นในเรื่องถนนหนทาง แต่ครั้งใหม่นี้เน้นอย่างหนักแน่นและจริงจังไปยังรถไฟทางคู่ และ รถไฟความเร็วสูง
รถไฟทางคู่เป็นการต่อยอดจากที่เคยทำมาในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยาวนานเป็นเวลากว่า 100 ปี โดยแทบไม่มีการพัฒนาและส่งผลอย่างเด่นชัดถึงความล้าหลัง หยุดนิ่ง
ขณะรถไฟความเร็วสูงบ่งบอกถึง "อนาคต"
ทั้งหมดนี้ต้องการเห็นการพัฒนา ทั้งหมดนี้ต้องการเห็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของรถไฟไทยที่จะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและโลก
เป็นเจตนาของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เบื้องหน้าความเพียรอย่างเต็มเรี่ยวแรงของรัฐบาลต้องการเห็นการลงมืออย่างจริงจังในปี 2557
เราสัมผัสได้ถึงกระแสต่อต้าน กระแสคัดค้าน โดยอาศัยกระทั่งเงื่อนปมทางกฎหมายและแรงเบียด แรงต้านจากองค์กรอิสระโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ
ต้องการหยุด "ประเทศ" ไม่ต้องการให้ "พัฒนา"
(ที่มา:มติชนรายวัน 28 ต.ค.2556)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382951020&grpid=01&catid=12&subcatid=1200
อนาคต ประเทศ ยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ศึกษา ยุค "เปรม"
อนาคต ประเทศ ยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ศึกษา ยุค "เปรม"
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16:05:10 น.
จะเข้าใจความรู้สึกของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเข้าใจความรู้สึกของ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง จะเข้าใจความรู้สึกของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในกรณีเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ได้ดี
จำเป็นต้องเรียนรู้จาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
จำเป็นต้องเรียนรู้จาก นายเสนาะ อูนากูล
เพราะ 2 คนนี้มีส่วนอย่างสำคัญในการผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก
อย่างที่เรียกว่า "อีสเทิร์น ซีบอร์ด"
หากใครได้อ่านหนังสือ "พลังเทคโนแครต" อันสำนักพิมพ์มติชนตีพิมพ์ตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 2556
1 จะเข้าใจในรายละเอียดของ "โครงการ"
1 จะเข้าใจในอารมณ์ความรู้สึกของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เข้าใจในอารมณ์ความรู้สึกของ นายเสนาะ อูนากูล
โครงการ "อีสเทิร์น ซีบอร์ด" เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อปี 2524 ขณะ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะ นายเสนาะ อูนากูล เป็นเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แล้วจะเข้าใจรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายเสนาะ อูนากูล เจ้าของหนังสือ "พลังเทคโนแครต" ยอมรับว่า
"อีสเทิร์น" ซีบอร์ดเป็นแผนงานขนาดใหญ่และใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล
ที่แตกต่างไปจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในปี 2556 ก็คือ
"มีลักษณะเป็นแผนงานแบบผสมผสาน บูรณาการระหว่างโครงการพัฒนาต่างๆ ภายใต้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก"
ยุทธศาสตร์ก็คือ จะวาง "โครงสร้างพื้นฐาน" สำหรับ "อุตสาหกรรม"
ทั้งท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม ถนน รถไฟ น้ำ ไฟฟ้า สื่อสารและโทรคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกให้อุตสาหกรรมต่างๆ
ที่คล้ายกับบรรยากาศในปี 2556 ก็คือ
"ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งคัดค้านและสนับสนุนจากหลายฝ่าย"
ที่น่ายินดีก็คือ ครม.สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตัดสินใจเดินหน้าโครงการต่อไปโดยไม่ตัดทอนโครงการ
ที่แตกต่างระหว่างเมื่อปี 2524 กับเมื่อปี 2556
โครงการในปี 2556 รัฐบาลประกาศอย่างเด่นชัดว่าจะใช้เงินกู้ภายในประเทศ ขณะที่เมื่อปี 2524 ใช้เงินกู้จากต่างประเทศเป็นจำนวนเกือบ 30,000 ล้านบาท
เป็น 30,000 ล้านเมื่อ 32 ปีก่อน
จากนี้จึงเห็นได้ว่า ไม่ว่า "อีสเทิร์น ซีบอร์ด" เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ไม่ว่า "รถไฟ" ที่เสนอในปี 2556 มีลักษณะในทางยุทธศาสตร์เหมือนกัน
นั่นก็คือ มุ่งไปยัง "โครงสร้างพื้นฐาน"
เพียงแต่เมื่อปี 2524 เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกับการเติบใหญ่และการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม
กรอบของโครงการจึงกว้างขวาง
ขณะที่ที่เสนอขึ้นในปี 2556 เน้นยังเป็นการเฉพาะไปยังโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมซึ่งแต่เดิมเน้นในเรื่องถนนหนทาง แต่ครั้งใหม่นี้เน้นอย่างหนักแน่นและจริงจังไปยังรถไฟทางคู่ และ รถไฟความเร็วสูง
รถไฟทางคู่เป็นการต่อยอดจากที่เคยทำมาในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยาวนานเป็นเวลากว่า 100 ปี โดยแทบไม่มีการพัฒนาและส่งผลอย่างเด่นชัดถึงความล้าหลัง หยุดนิ่ง
ขณะรถไฟความเร็วสูงบ่งบอกถึง "อนาคต"
ทั้งหมดนี้ต้องการเห็นการพัฒนา ทั้งหมดนี้ต้องการเห็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของรถไฟไทยที่จะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและโลก
เป็นเจตนาของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เบื้องหน้าความเพียรอย่างเต็มเรี่ยวแรงของรัฐบาลต้องการเห็นการลงมืออย่างจริงจังในปี 2557
เราสัมผัสได้ถึงกระแสต่อต้าน กระแสคัดค้าน โดยอาศัยกระทั่งเงื่อนปมทางกฎหมายและแรงเบียด แรงต้านจากองค์กรอิสระโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ
ต้องการหยุด "ประเทศ" ไม่ต้องการให้ "พัฒนา"
(ที่มา:มติชนรายวัน 28 ต.ค.2556)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382951020&grpid=01&catid=12&subcatid=1200