สงสัยเกี่ยวกับการบิดเบี้ยวของกาลอวกาศ ครับ (มีรูปประกอบ)

พอดีซื้อหนังสือ "The brief history of time" มาอ่าน แล้ว สงสัยหนะครับ (ยังอ่านไม่จบ)


ตามรูปประกอบนะครับ ตอนนี้ผมเข้าใจว่า ยิ่งวัตถุมีมวลมาก ยิ่งทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของกาลอวกาศ (SpaceTime)
ซึ่งจะทำให้แสงเดินทางโค้งงอ และปรากฎสู่สายตาเรา เสมือนว่ามันมาจากตำแหน่งนั้นจริงๆ

แต่ผมไม่เข้าใจว่า มวลไปทำให้มันบิดเบี้ยวได้อย่างไร เพราะเข้าใจว่า การเดินทางของแสงในรูปภาพนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงเลยใช่ไหมครับ

อ้างอิง: http://www.thephysicsmill.com/2012/12/02/ftl-part-3-general-relativity-shortcuts/
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
ถ้าว่าตามทฤษฎีสัมพัทธภาพก็ต้องบอกว่าแสงไม่ได้ถูก "ดึง" ให้โค้งครับ แต่เป็นเพราะกาลอวกาศรอบๆวัตถุที่มีแรงโน้มถ่วงสูงๆจะบิดโค้งครับ นึกภาพว่าแสงวิ่งมาตามทางหรือถนนของมันครับ อยู่ๆถนนถูกดึงให้โค้ง แสงซึ่งอยู่บนถนนก็ต้องวิ่งตามทางที่มันกำลังวิ่งอยู่ครับ(แสงไม่ได้โค้ง แต่วิ่งไปตรงๆบนทางที่โค้ง)

"ปัญหาใหญ่สำหรับไอน์สไตน์ก็คือ ถ้าไม่อธิบายว่าแสงโค้งเพราะแรงโน้มถ่วงของดวงดาว จะอธิบายว่าแสงโค้งเพราะสาเหตุอะไร ? เพราะปกติแสงจะต้องเดินทางเป็นเส้นตรง ไอน์สไตน์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะบอกว่า แสงโค้งเพราะมันเคลื่อนตัวไปในอวกาศที่โค้ง เส้นทางเดินของมันจึงโค้งตามไปด้วย ปัญหาอยู่ที่ว่าไอน์สไตน์จะหาเครื่องมือคณิตศาสตร์ชุดใดมาอธิบายอวกาศที่โค้งได้ เพราะเรขาคณิตปกติที่เราใช้กันอยู่ เป็นเรขาคณิตแบบยูคลิดซึ่งใช้อธิบายอวกาศที่แบนราบเรียบ ไอน์สไตน์เองพอรู้อยู่บ้างแล้ว "
-อ้างอิงบางส่วนมาจาก http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=542&Itemid=0&limit=1&limitstart=3

ลองตามไปอ่านดูได้ครับ แต่กลไกโดยละเอียดจะเป็นแบบไหนนี่คงต้องให้ปรมาจารย์ด้านสัมพัทธภาพมาอธิบายต่อล่ะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่